วิธีการ รับมือกับพฤติกรรมดื้อเงียบ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

พฤติกรรมดื้อเงียบเป็นการแสดงความโกรธทางอ้อม โดยที่คนๆ นั้นพยายามทำให้คุณไม่พอใจหรือเจ็บปวดด้วยวิธีการที่ไม่ชัดเจน ซึ่งความท้าทายของมันก็คือคนๆ นั้นสามารถปฏิเสธได้ง่ายๆ ว่าเขาไม่ได้ทำอะไรผิด บ่อยครั้งคนเราแสดงพฤติกรรมดื้อเงียบออกมาเพราะเราไม่ได้เรียนรู้วิธีที่จะรับมือกับความขัดแย้งอย่างเหมาะสม แต่ทั้งนี้ก็มีวิธีที่ช่วยให้อีกฝ่ายได้ทบทวนพฤติกรรมของตัวเอง และใช้การสื่อสารเพื่อให้เขาเห็นพฤติกรรมดื้อเงียบของตัวเองด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ระบุพฤติกรรมดื้อเงียบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รู้สัญญาณของพฤติกรรมดื้อเงียบ.
    ธรรมชาติที่แอบแฝงของพฤติกรรมดื้อเงียบก็คือ มันจะทำให้คนที่ทำผิดปฏิเสธว่าตัวเองไม่ได้ทำ เมื่อเผชิญหน้ากัน เขาหรือเธออาจจะปฏิเสธว่าเขาไม่รู้ไม่เห็นเรื่องที่คุณพูดหรืออาจจะหาว่าคุณตอบโต้เกินกว่าเหตุ ทำใจให้สงบกับสิ่งที่ตัวเองรู้สึก และเรียนรู้วิธีที่จะระบุพฤติกรรมดื้อเงียบ
    • การแสดงออกของพฤติกรรมดื้อเงียบก็เช่น การแสดงความเห็นและการโต้ตอบแบบเหน็บแนม การจับผิดเกินกว่าเหตุ การยอมทำตามชั่วคราว (คนๆ นั้นตกลงที่จะทำตามที่ขอปากเปล่า แต่เลือกที่จะชะลอการลงมือปฏิบัติไว้ก่อน) การจงใจทำให้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ (คนๆ นั้นตกลงทำตามที่ขอแต่กลับทำให้แบบลวกๆ) ปล่อยให้ปัญหาลุกลามด้วยการนิ่งเฉย และมีความสุขกับการที่คนอื่นจะต้องมารองรับการกระทำลับๆ ล่อๆ ที่ตามมาที่สร้างความเจ็บปวด โดยมีจุดมุ่งหมายคือเพื่อแก้แค้น ก่นด่าความไม่ยุติธรรม และได้เงียบใส่คนอื่น สิ่งที่คนดื้อเงียบมักจะพูดคือ "ฉันไม่ได้บ้านะ" กับ "ฉันแค่ล้อเล่นน่ะ" [1]
    • สัญญาณอื่นๆ ของพฤติกรรมดื้อเงียบได้แก่ ความเกลียดชังที่มีต่อคำสั่งในเวลาของเขาแม้ว่าจะไม่ได้แสดงออกมาอย่างชัดเจนก็ตาม ความเกลียดชังต่อผู้มีอำนาจหรือคนที่มีสิทธิพิเศษมากกว่า การผัดวันประกันพรุ่งกับคำขอร้องของผู้อื่น การจงใจทำงานให้คนอื่นแบบขอไปที การแสดงพฤติกรรมเย้ยหยัน บึ้งตึง หรือชวนทะเลาะ และการบ่นว่าไม่มีใครเห็นคุณค่าของตัวเองเท่าที่ควร[2]
    • พฤติกรรมดื้อเงียบคือการต่อต้านคำสั่งของผู้อื่นอย่างอ้อมๆ และการเลี่ยงการเผชิญหน้าโดยตรง ซึ่งการเลี่ยงที่จะไม่เผชิญหน้าโดยตรงจะเป็นจุดที่เราพบปัญหามากที่สุด
  2. How.com.vn ไท: Step 2 แน่ใจว่าตัวเองไม่ได้ตอบโต้เกินกว่าเหตุ.
    มันอาจจะดูเหมือนว่าคนๆ นั้นกำลังพยายามทำให้คุณรำคาญ แต่มันก็เป็นไปได้ว่าคุณอาจจะสงสัยในตัวเขามากเกินไปและเก็บพฤติกรรมของเขามาคิดเล็กคิดน้อย ลองตรวจสอบความรู้สึกไม่มั่นคงของตัวเองก่อน ในอดีตเคยมีใครทำให้คุณต้องลำบากหรือเปล่า แล้วคนๆ นี้ทำให้คุณนึกถึงเขาไหม คุณคิดว่าคนๆ นี้กำลังทำในสิ่งที่คนๆ นั้นเคยทำกับคุณหรือเปล่า
    • ลองนึกว่าตัวเองเป็นเขาดู จากมุมนั้นคุณคิดว่าคนที่มีเหตุผลเขาจะทำแบบเดียวกันในสถานการณ์เหล่านั้นหรือเปล่า[3]
    • นึกไว้ในใจด้วยว่าบางคนเขาอาจจะมาสายเป็นประจำหรือทำงานเสร็จช้าเพราะว่าเขามีความผิดปกติบางอย่าง เช่น เป็นโรคสมาธิสั้น อย่าเพิ่งด่วนทึกทักว่าเขาจงใจแสดงพฤติกรรมมาที่คุณโดยตรงจริงๆ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สังเกตว่าเขาทำให้คุณรู้สึกอย่างไร.
    การรับมือกับคนที่มีพฤติกรรมดื้อเงียบอาจทำให้คุณรู้สึกคับข้องใจ โกรธ หรือแม้กระทั่งท้อใจ เพราะมันดูเหมือนว่าไม่มีอะไรที่คุณจะพูดหรือทำให้เขาพอใจได้เลย[4]
    • คุณอาจรู้สึกเจ็บปวดที่ต้องเป็นฝ่ายรองรับพฤติกรรมดื้อเงียบ เช่น คนๆ นั้นอาจจะเงียบใส่คุณ
    • คุณอาจจะรู้สึกคับข้องใจที่เขาเอาแต่บ่นแต่ไม่เคยพยายามทำให้สถานการณ์ของตัวเองดีขึ้นเลย ฟังสัญชาตญาณของตัวเองดีๆ
    • การอยู่ใกล้คนๆ นั้นอาจทำให้คุณทั้งเหนื่อยใจและมั่นใจในตัวเองน้อยลง เพราะคุณต้องเสียพลังงานมากมายไปในการพยายามรับมือกับพฤติกรรมดื้อเงียบ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ตอบโต้พฤติกรรมดื้อเงียบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 มีทัศนคติที่เป็นบวกอยู่เสมอ....
    มีทัศนคติที่เป็นบวกอยู่เสมอ. พลังของการคิดบวกช่วยให้เรารับมือกับเรื่องต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ คนที่ดื้อเงียบจะพยายามดึงคุณเข้าสู่ห้วงอารมณ์ที่เป็นลบ และบางครั้งก็เฝ้าคอยการตอบสนองที่เป็นลบจากคุณเพื่อที่เขาจะได้มีโอกาสกลับไปเล่นงานคุณอีกครั้งโดยไม่ต้องเป็นฝ่ายผิด คุณต้องไม่ปล่อยให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น[5]
    • การคิดบวกคือการที่คุณไม่ลดตัวไปอยู่ในระดับเดียวกับเขา อย่าแสดงพฤติกรรมดื้อเงียบตอบ อย่าใช้ถ้อยคำหยาบคาย ตะคอก หรือโมโหจนเกินเหตุ ถ้าคุณยังคิดบวกอยู่ได้ คุณก็จะอยู่ในจุดที่สามารถรวบรวมความสนใจทั้งหมดไปที่พฤติกรรมของเขาได้แทนที่จะเสียพลังงานไปกับพฤติกรรมของตัวเอง เพราะถ้าคุณโกรธ ความสนใจทั้งหมดของคุณก็จะเบี่ยงเบนไปจากปัญหาที่แท้จริง
    • สร้างพฤติกรรมเชิงบวกให้ดูเป็นตัวอย่าง ไม่ว่าคุณจะกำลังรับมือกับเด็กหรือผู้ใหญ่ ให้กล่าวถึงปัญหาด้วยท่าทางที่ทำให้เขารู้ว่าเขาต้องปฏิบัติกับคุณอย่างไร พฤติกรรมดื้อเงียบคือการระบายอารมณ์ภายใต้หน้ากากของความไม่ทุกข์ร้อน แทนที่จะเป็นอย่างนั้น ให้คุณเปิดใจ ซื่อสัตย์ และกล่าวถึงอารมณ์ของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา เวลาที่คุณต้องเจอกับพฤติกรรมดื้อเงียบ เช่น การเงียบใส่ ให้พยายามดึงบทสนทนาไปในทิศทางที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 นิ่งไว้เสมอ.
    ถ้าคุณไม่พอใจ ให้ทำใจให้สงบก่อนเกริ่นถึงปัญหา (ไปเดินเล่น เปิดเพลงดังๆ แล้วเต้นไปด้วย เล่นปริศนาอักษรไขว้) แล้วค่อยๆ คิดว่าคุณต้องการอะไรจากสถานการณ์นี้กันแน่ เช่น ผลที่ตามมาแบบไหนที่สมเหตุสมผลพอที่คุณจะยอมรับได้
    • อย่าตอบโต้เกินกว่าเหตุเด็ดขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งอย่าแสดงความเดือดดาลออกไป และอย่ากล่าวหาโต้งๆ ว่าเขาเป็นคนดื้อเงียบ เพราะจะเป็นการเปิดช่องให้เขาปฏิเสธทุกข้อกล่าวหาและหาว่าคุณ "คิดมากเกินไป" หรืออ่อนไหวง่าย/ขี้ระแวงได้
    • ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น อย่าหัวเสียเด็ดขาด อย่าให้อีกฝ่ายรู้ว่าเขาหรือเธอสามารถยั่วโมโหคุณได้ เพราะถ้าเป็นแบบนั้นมันจะยิ่งส่งเสริมพฤติกรรมและอาจเพิ่มโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกได้
    • อดกลั้นความรู้สึกที่อยากเกรี้ยวกราดตอบหรือแสดงปฏิกิริยาที่เต็มไปด้วยอารมณ์คุกรุ่น ถ้าคุณแสดงออกว่าคุณควบคุมตัวเองได้ คุณจะดูเป็นคนที่ใครก็มาปั่นหัวง่ายๆ ไม่ได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เริ่มบทสนทนาเกี่ยวกับปัญหา.
    สมมุติว่าคุณมีอารมณ์ที่มั่นคง เชื่อมั่นใจตัวเอง และนิ่ง วิธีการที่ดีที่สุดคือก็แค่บอกว่ามันเกิดอะไรขึ้น (เช่น "ฉันไม่แน่ใจนะว่าตัวเองเข้าใจถูกไหมนะ แต่เธอดูจะไม่พอใจที่โดมไม่ชวนเธอไปงานปาร์ตี้ เธออยากคุยเรื่องนี้หรือเปล่า")
    • พูดตรงๆ และเจาะจง เพราะคนดื้อเงียบจะใช้รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ มาบิดเบือนคำพูดถ้าคุณพูดกว้างเกินไปหรือพูดจาคลุมเครือ ถ้าคุณต้องเผชิญหน้ากับคนดื้อเงียบแล้วละก็ คุณต้องพูดประเด็นที่อยู่ตรงหน้าให้ชัดเจน
    • อันตรายของการเผชิญหน้ากันก็คือคำที่พูดออกไปกลายเป็นการเหมารวมเกินจริง เช่น คำพูดที่ว่า "เธอก็เป็นแบบนี้ตลอดแหละ!" คำพูดแบบนี้ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น เพราะฉะนั้นคุณต้องพูดถึงพฤติกรรมของคนๆ นั้นแบบเจาะจงไปเลย เช่น ถ้าคุณประสาทเสียกับการที่เขาไม่พูดไม่จากับคุณ ก็อธิบายเหตุการณ์ที่เจาะจงไปเลยว่าเมื่อไหร่ที่การเงียบใส่ของเขาทำให้คุณรู้สึกแบบนี้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พยายามทำให้เขายอมรับให้ได้ว่าเขากำลังไม่พอใจ....
    พยายามทำให้เขายอมรับให้ได้ว่าเขากำลังไม่พอใจ. พูดกับเขาด้วยท่าทีที่ไม่ขึงขังแต่หนักแน่น เช่น พูดว่า "เธอดูไม่ค่อยพอใจเท่าไหร่นะ" หรือ "ดูเหมือนจะมีอะไรกวนใจเธออยู่นะ"
    • บอกไปว่าพฤติกรรมของเขาทำให้คุณรู้สึกอย่างไร เช่น บอกว่า "เวลาที่เธอพูดห้วนๆ กับฉัน ฉันไม่สบายใจเลยและรู้สึกเหมือนถูกตัดบทด้วย" การพูดเช่นนี้จะทำให้เขาต้องยอมรับว่าพฤติกรรมของเขามีผลต่อคุณอย่างไร เน้นไปที่ว่าตัวคุณรู้สึกอย่างไรและอย่าใช้ภาษากล่าวโทษที่เป็นการวิจารณ์เขาอย่างรุนแรง
    • ใช้คำพูดที่ขึ้นต้นด้วย “ฉัน” เวลาสื่อสารกับใครก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของความขัดแย้ง พยายามใช้ “คำพูดที่ขึ้นต้นด้วยฉัน” แทนที่จะเป็น “คำพูดที่ขึ้นต้นด้วยเธอ” เช่น แทนที่จะพูดว่า “เธอนี่มันหยาบคายชะมัด” คุณอาจจะพูดว่า “ฉันรู้สึกไม่ดีเลยที่เธอกระแทกประตูใส่ฉัน เพราะฉันรู้สึกเหมือนเธอไม่อยากฟังฉันพูด” คำพูดแรกคือคำพูดที่ขึ้นต้นด้วยเธอ ซึ่งโดยทั่วไปคำพูดที่ขึ้นต้นด้วยเธอจะสื่อถึงการกล่าวหา ตัดสิน หรือกล่าวโทษ ในขณะที่คำพูดที่ขึ้นต้นด้วยฉันจะเป็นการแสดงความรู้สึกของคุณออกมาโดยไม่บอกว่าใครผิด
    • คนที่ดื้อเงียบจะพูดอ้อมไปอ้อมมา อย่าพูดจาอ้อมค้อมกลับ ให้พูดตรงๆ อย่างมีเมตตา ซื่อสัตย์แต่อ่อนโยน และก็ไม่ต้องรักษาน้ำใจมากจนเกินไป
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ปกป้องตัวเองจากพฤติกรรมดื้อเงียบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กำหนดขอบเขตกับคนดื้อเงียบ.
    แม้ว่าคุณจะไม่อยากกระตุ้นการเผชิญหน้าที่เต็มไปด้วยความโกรธ แต่คุณก็ไม่ใช่คนที่จะต้องมารองรับอารมณ์ของคนดื้อเงียบ ความดื้อเงียบเป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก และถือเป็นการทำร้ายกันรูปแบบหนึ่ง คุณจึงมีสิทธิ์ที่จะกำหนดขอบเขตขึ้นมา
    • หนึ่งในความผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดคือการยอมจำนนต่อความดื้อเงียบมากเกินไป พอคุณยอมสยบให้กับพฤติกรรมดื้อเงียบแล้ว คุณจะไม่เหลือทางเลือกเลย ซึ่งต้นตอของมันก็คือการดิ้นรนเพื่อให้ได้อำนาจ คุณสามารถคิดบวกและสงบนิ่งได้โดยที่ยังคงเข้มแข็งและหนักแน่นว่าตัวเองเต็มใจจะยอมแค่ไหน
    • ทำตามขอบเขตที่คุณตั้งไว้ ทำให้เขารู้ว่าคุณจะไม่ยอมให้เขาทำตัวแย่ๆ ใส่คุณ ถ้าเขามาสายเป็นประจำจนคุณหงุดหงิด ให้บอกเลยตรงๆ ว่า ครั้งหน้าถ้านัดมาดูหนังด้วยกันแล้วเธอสายอีก คุณจะเข้าไปดูคนเดียว วิธีนี้เป็นการบอกว่าคุณจะไม่ยอมอ่อนข้อให้กับพฤติกรรมของเขา
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ค้นหาและกล่าวถึงต้นตอของปัญหา.
    วิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับความโกรธประเภทนี้คือ การสังเกตความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้เร็วที่สุด ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดก็คือการขุดลงไปให้ลึกถึงต้นตอของความโกรธ
    • ถ้าเขาเป็นคนที่ไม่ค่อยแสดงความโกรธออกมาอยู่แล้ว ให้คุยกับคนที่สนิทกับเขามากพอที่จะบอกได้ว่าอะไรทำให้เขาหรือเธอโกรธ และมีสัญญาณเล็กๆ อะไรบ้างที่คนๆ นั้นจะแสดงออกมาเวลาโกรธ
    • ขุดลงไปให้ลึกและประเมินอย่างซื่อสัตย์ว่า อะไรที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้เกิดความดื้อเงียบ เพราะพฤติกรรมดื้อเงียบมักเป็นอาการที่มาจากสาเหตุอื่น
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ฝึกฝนการสื่อสารแบบตรงไปตรงมา.
    การสื่อสารมีทั้งการสื่อสารแบบก้าวร้าว การสื่อสารแบบนิ่งเฉย และการสื่อสารแบบดื้อเงียบ ซึ่งไม่มีการสื่อสารแบบไหนมีประสิทธิภาพเท่าการสื่อสารแบบตรงไปตรงมาเลย
    • การสื่อสารแบบตรงไปตรงมาคือการสื่อสารที่แสดงความคิดเห็นของตัวเองอย่างชัดเจนและไม่ได้เป็นการตอบโต้ โดยที่ยังให้เกียรติอีกฝ่ายด้วย แสดงความมั่นใจ ความเต็มใจที่จะร่วมมือ และแสดงออกว่าคุณอยากจะแก้ปัญหาในแบบที่ได้ประโยชน์กันทั้งสองฝ่าย[6]
    • นอกจากนี้คุณยังต้องรับฟังโดยแสดงการกล่าวหาหรือกล่าวโทษในบทสนทนาด้วย พิจารณาและยอมรับมุมมองของอีกฝ่าย ให้ความสำคัญกับความรู้สึกของเขาแม้ว่าคุณจะคิดว่าเขาผิดก็ตาม
  4. How.com.vn ไท: Step 4 รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรเลี่ยงคนๆ นั้นไปเลย.
    ถ้าคนๆ นั้นมีพฤติกรรมดื้อเงียบใส่คุณเป็นประจำ คุณก็ควรหลีกเลี่ยงคนๆ นั้นไปเลย เพราะอย่างไรคุณก็ควรเอาสุขภาพจิตของตัวเองไว้ก่อน
    • หาทางจำกัดเวลาที่ต้องอยู่ร่วมกับคนๆ นั้น และพยายามมีปฏิสัมพันธ์กับเขาเวลาอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่มเท่านั้น หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์แบบหนึ่งต่อหนึ่ง
    • ถ้าการมีเขาอยู่ในชีวิตไม่ได้ให้อะไรกับคุณมากมายนอกจากพลังงานลบ ให้ถามตัวเองว่ามันคุ้มไหมที่จะเก็บคนๆ นี้ไว้ในชีวิต
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ให้ข้อมูลที่คนๆ นั้นจะเอามาเล่นงานคุณทีหลังให้น้อยที่สุด....
    ให้ข้อมูลที่คนๆ นั้นจะเอามาเล่นงานคุณทีหลังให้น้อยที่สุด. อย่าเล่าข้อมูลส่วนตัว อารมณ์ หรือความคิดให้คนดื้อเงียบฟัง
    • เขาอาจจะถามคำถามเกี่ยวกับชีวิตของคุณที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไรหรือเป็นห่วงจริงๆ คุณจะตอบก็ได้ แต่อย่าให้รายละเอียด ตอบแบบสั้นๆ กว้างๆ แต่เป็นมิตร
    • หลีกเลี่ยงหัวข้อสนทนาที่ละเอียดอ่อนหรือเผยจุดอ่อนของคุณ คนที่มีพฤติกรรมดื้อเงียบมักจะจำสิ่งที่คุณเล่าให้เขาฟังได้ แม้ว่าบางครั้งจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่คุณไม่ได้ใส่ใจก็ตาม และจะหาทางเอาสิ่งนั้นมาเล่นงานคุณทีหลัง
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ขอความช่วยเหลือจากผู้ไกล่เกลี่ยหรือผู้ตัดสิน....
    ขอความช่วยเหลือจากผู้ไกล่เกลี่ยหรือผู้ตัดสิน. คนๆ นี้ควรเป็นบุคคลที่สามที่ไม่เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนจากฝ่ายบุคคล คนในครอบครัวที่ใกล้ชิด (แต่เป็นกลาง) หรือแม้กระทั่งเพื่อนของคุณทั้งสองคน ประเด็นคือต้องเป็นคนที่คนดื้อเงียบเขาเชื่อใจด้วยเช่นกัน
    • ก่อนที่จะพบผู้ไกล่เลี่ย ให้เขียนรายการสิ่งที่ทำให้คุณกังวลไปให้เขาก่อน พยายามมองเรื่องต่างๆ จากมุมมองของคนอื่น และทำความเข้าใจว่าทำไมเขาจึงโกรธ อย่าแสดงพฤติกรรมน่ารังเกียจ แค่บอกว่าพฤติกรรมดื้อเงียบของเขาทำให้คุณต้องตีตัวออกมาทั้งที่จริงๆ แล้วคุณตั้งใจจะช่วย
    • เวลาเผชิญหน้ากับคนดื้อเงียบด้วยตัวเอง คุณอาจจะได้ยินเขาพูดว่า "ขำๆ น่ะ แค่แหย่เล่น" หรือ "เธอคิดมากเกินไป" เพราะฉะนั้นการมีบุคคลที่สามเข้ามาร่วมด้วยจึงช่วยให้การคุยกันมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  7. How.com.vn ไท: Step 7 บอกถึงผลที่ตามมาให้ชัดเจนหากเขายังคงมีพฤติกรรมแบบนี้ต่อไป....
    บอกถึงผลที่ตามมาให้ชัดเจนหากเขายังคงมีพฤติกรรมแบบนี้ต่อไป. เนื่องจากคนที่ดื้อเงียบจะทำทุกอย่างลับหลัง เขาจึงมักต่อต้านเมื่อมีคนว่ากล่าวพฤติกรรมของเขา และเขามักจะตอบโต้อย่างเผ็ดร้อนด้วยการปฏิเสธ กล่าวโทษ และหาตัวคนผิด เป็นต้น
    • ไม่ว่าเขาจะพูดอะไร ให้ประกาศไปเลยว่าคุณจะทำอะไรถ้าเขายังไม่เลิกทำแบบนี้ ที่สำคัญคือให้บอกผลของการกระทำที่ร้ายแรงมา 1 หรือ 2 อย่างเพื่อให้คนดื้อเงียบกลับไปทบทวนพฤติกรรมของตัวเองอีกครั้ง
    • ความสามารถในการระบุและแสดงผลที่ตามมาได้เป็นหนึ่งในทักษะที่ทรงพลังมากที่สุดที่เราสามารถใช้เพื่อ "สยบ" คนดื้อเงียบได้ การพูดถึงผลที่ตามมาได้อย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจนจะทำให้คนที่รับมือด้วยได้ยากชะงัก และบังคับให้เขาหรือเธอต้องเปลี่ยนจากขัดขวางมาเป็นให้ความร่วมมือแทน
  8. How.com.vn ไท: Step 8 เสริมแรงพฤติกรรมที่เหมาะสม/ดี.
    [7]ในแง่ของจิตวิทยาด้านพฤติกรรม การเสริมแรงคือสิ่งที่คุณทำหรือให้อีกฝ่ายหลังจากที่เขามีพฤติกรรมแบบใดแบบหนึ่ง เป้าหมายของการเสริมแรงคือการเพิ่มอัตราพฤติกรรมนั้น
    • การเสริมแรงอาจจะหมายถึงการให้รางวัลพฤติกรรมดีที่คุณอยากให้เกิดขึ้นต่อไป หรือลงโทษพฤติกรรมที่คุณอยากกำจัด การเสริมแรงเชิงบวกเป็นสิ่งที่พูดง่ายแต่ทำยาก เพราะพฤติกรรมที่ไม่ดีมักสังเกตเห็นได้ง่ายกว่าพฤติกรรมที่ดี คอยสังเกตพฤติกรรมที่ดีเพื่อที่คุณจะได้หาโอกาสเสริมแรงในทุกๆ ครั้ง
    • เช่น ถ้าคนดื้อเงียบเปิดใจและพูดถึงความรู้สึกของเขาอย่างตรงไปตรงมาว่า “ฉันรู้สึกว่าเธอจงใจแกล้งฉัน!” นั่นเป็นเรื่องที่ดี! เสริมแรงพฤติกรรมนี้ด้วยการพูดว่า “ขอบคุณมากนะที่บอกฉันว่าเธอรู้สึกยังไง ฉันขอบคุณเธอมากจริงๆ ที่เธอยอมบอกฉันว่าเธอรู้สึกยังไง”
    • วิธีนี้จะดึงความสนใจเชิงบวกไปที่พฤติกรรมที่ดี ซึ่งก็คือการสื่อสารความรู้สึกของเขาออกมา โดยจุดนี้จะเป็นจุดที่คุณใช้ในการเปิดการสนทนาได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การที่คุณบ่น ตำหนิ หรือโกรธจะยิ่งทำให้ความขัดแย้งรุนแรงขึ้น และทำให้อีกฝ่ายมีข้ออ้างและข้อแก้ตัวที่จะปฏิเสธไม่รับผิดชอบการกระทำของตัวเอง
  • การเล่นตามเกมของเขาหรือรับผิดชอบต่อการกระทำของเขาจะยิ่งกระตุ้นให้เขาแสดงพฤติกรรมดื้อเงียบมากกว่าเดิม
  • คนที่มีพฤติกรรมเช่นนั้นมักจะภูมิใจว่าเขาสามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Stefanie Barthmare, M.Ed., LPC
ร่วมเขียน โดย:
นักจิตบำบัด
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Stefanie Barthmare, M.Ed., LPC. สเตฟานี บาร์ธมาเร่เป็นที่ปรึกษามืออาชีพที่ได้มีใบอนุญาต (LPC) โดยมีสถานประกอบการส่วนตัวในฮุสตัน รัฐเท็กซัส ด้วยประสบการณ์กว่า 2 ทศวรรษ สเตฟานีเชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการบาดเจ็บตามร่างกาย และการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาด้านความสัมพันธ์ ปัญหาด้านการเลี้ยงดูบุตรและครอบครัว ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเศร้าโศก เธอสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาภาษาอังกฤษจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสที่ออสติน และปริญญาโทด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษาจากมหาวิทยาลัยฮุสตัน สเตฟานียังเป็นรองหัวหน้างานของ LPC และให้คำปรึกษาในฐานะผู้อำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มต่างๆ ในชุมชนการศึกษา จิตวิญญาณ และธุรกิจ บทความนี้ถูกเข้าชม 13,834 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,834 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา