ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การปั๊มน้ำนมแม่เก็บไว้ จะช่วยให้ชีวิตประจำวันคุณง่ายขึ้น ในช่วงของการให้นมบุตร และมันเป็นวิธีที่จะช่วยให้คุณแม่ เก็บน้ำนมสำรองเอาไว้ได้มากน้อยเท่าที่ตนเองต้องการ เพื่อนำมาให้คุณลูกตัวน้อยได้บริโภคตามเวลาอาหาร ในช่วงที่คุณไม่อยู่บ้านหรือต้องการพักบ้าง ทั้งนี้ หลังจากที่คุณปั๊มน้ำนมจนชำนาญแล้ว มันก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป บทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจเกี่ยวกับวิธีการปั๊มน้ำนมแม่ที่ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และวิธีการเก็บรักษาเพื่อถนอมคุณค่าไว้ให้ได้มากที่สุด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

การเลือกซื้อปั๊มและปรับให้เหมาะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ลองคิดดูก่อนว่า แบบไหนเหมาะกับคุณ.
    เครื่องปั๊มน้ำนมแม่แต่ละแบบ มีข้อดีข้อเสียต่างกันไป คุณควรดูจากไลฟ์สไตล์ของตัวเอง ความต้องการของเด็ก และความพอใจของตัวเองในการพิจารณาว่า การปั๊มน้ำนมแม่แบบไหนเหมาะกับตัวเองที่สุด เครื่องปั๊มอาจมีราคาตั้งแต่ไม่ถึงพันบาท ไปจนถึงสามสี่หมื่นบาท และมีตั้งแต่แบบปั๊มมือธรรมดา ไปจนถึงแบบไฟฟ้าที่ไฮเทคขึ้นมาหน่อย ต่อไปนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นของแต่ละทางเลือก:
    • ปั๊มมือ เครื่องปั๊มน้ำนมแม่แบบนี้ มีราคาถูกที่สุด โดยจะมีแผงที่จับเข้ารูปกับหัวนมของคุณ และที่บีบ ซึ่งเอาไว้บีบเพื่อดูดปั๊มน้ำนมแม่ลงสู่ขวดรองรับ หลายคนชอบเครื่องปั๊มแบบนี้ เพราะสามารถพกพาได้สะดวก และยังเหมาะสมในกรณีที่ต้องการปั๊มน้ำนมแม่เพียงเล็กๆ น้อยๆ ในทางกลับกัน หากคุณเป็นคุณแม่ที่วางแผนว่าต้องการให้นมบุตรด้วยขวดนมเป็นหลัก เครื่องปั๊มน้ำนมแม่แบบนี้อาจจะไม่เหมาะ เพราะมันต้องใช้เวลาในการปั๊มน้ำนมแต่ละครั้งนาน อย่างน้อย 45 นาทีต่อครั้ง และยังต้องใช้สองมือร่วมกันจับ
    • ปั๊มแบบไฟฟ้า เครื่องปั๊มประเภทนี้ใช้ง่ายกว่าและสามารถปั๊มน้ำนมแม่ได้เร็วกว่า คุณแค่เปิดสวิทช์และปล่อยให้มันทำงานของมันไป ภายใน 15-20 นาทีที่มันกำลังปั๊มน้ำนมแม่อยู่ คุณย่อมสามารถทำอะไรได้ตั้งหลายอย่าง เช่น พิมพ์งาน อ่านหนังสือ หรือคุยโทรศัพท์ เพราะเครื่องประเภทนี้แทบไม่ต้องใช้มือช่วยขยับเลย อย่างไรก็ดี เครื่องปั๊มน้ำนมแม่แบบนี้ จะมีราคาแพงที่สุด ดังนั้น ควรเตรียมงบไว้สักประมาณสี่ห้าพันบาท ไล่ไปจนถึงสามสี่หมื่นบาท ขึ้นอยู่กับยี่ห้อที่คุณต้องการด้วย
    • ปั๊มแบบใส่ถ่าน คุณอาจเลือกเครื่องปั๊มแบบนี้เป็นทางสายกลาง ทั้งในแง่ของราคา ความพยายามที่ต้องใช้ และประสิทธิภาพในการปั๊ม เครื่องปั๊มน้ำนมแม่แบบใส่ถ่านหรือแบตเตอรีนั้น ไม่สามารถปั๊มน้ำนมแม่ได้เร็วเหมือนเครื่องปั๊มไฟฟ้า แต่ก็ไม่ได้จำเป็นต้องใช้มือจับสองมือ เหมือนกับเครื่องปั๊มมือ ข้อเสียก็คือ มันอาจจะถ่านหมดในระหว่างที่คุณกำลังปั๊มน้ำนมแม่อยู่ก็ได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปั๊มน้ำนมแม่ให้ถูกช่วงเวลา.
    คุณแม่แต่ละท่าน มีความต้องการและความชอบต่างกัน ทั้งในเรื่องของช่วงเวลาการปั๊มน้ำนมแม่ และแนวคิดในการให้ลูกดูดขวดนม ทั้งนี้ ในบางกรณี ทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจต้องทานนมจากขวดนมตั้งแต่คลอดวันแรก ซึ่งหมายความว่า คุณอาจจะต้องปั๊มน้ำนมแม่ในช่วงดังกล่าวทันที อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่แล้วคุณหมอจะแนะนำให้ผ่านไปประมาณ อย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อน แล้วจึงค่อยฝึกให้เด็กดูดขวดนม เพื่อป้องกันการติดจุก หรือภาวะสับสนระหว่างจุกนมกับหัวนมแม่ แต่สุดท้ายแล้ว ผู้เป็นแม่ก็ย่อมมีสิทธิที่จะเลือกวิธีการได้เอง[1]
    • หากคุณกำลังวางแผนปั๊มน้ำนมแม่ เพื่อที่จะกลับไปทำงานตามปกติอีกครั้งหลังลาคลอด ลองฝึกใช้เครื่องล่วงหน้าสักสองสามสัปดาห์ เพื่อให้ชำนาญก่อน
    • หากคุณเริ่มปั๊มน้ำนมแม่ก่อนที่จะฝึกให้ลูกให้ดูดขวดนม คุณสามารถเก็บแช่ช่องแข็งเอาไว้ก่อนได้เป็นเวลานาน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เอาตารางเวลาในการให้นมลูกเป็นเกณฑ์.
    วันไหนที่คุณต้องการปั๊มน้ำนมแม่เก็บไว้ คุณจะสามารถปั๊มน้ำนมให้ได้ปริมาณมากที่สุด หากเลือกปั๊มในเวลาเดียวกับที่เคยให้นมลูกจากหน้าอก ซึ่งจะเป็นไปตามวัฎจักรของร่างกายตามธรรมชาติ ดีกว่าพยายามที่จะปั๊มน้ำนมแม่ด้วยการฝืนบังคับร่างกายแบบสุ่มเวลาเอา
    • จำไว้ว่า ยิ่งปั๊มน้ำนมแม่บ่อยเท่าไร ก็ยิ่งมีปริมาณน้ำนมมากขึ้นเท่านั้น[2]
    • คุณสามารถปั๊มน้ำนมแม่จากเต้าหนึ่ง ในขณะที่ให้นมลูกอีกข้างไปพลางๆ ซึ่งจะยิ่งช่วยให้ปั๊มน้ำนมแม่ออกได้มากขึ้นด้วย
    • คุณจะปั๊มน้ำนมแม่จากทั้งสองเต้า หลังจากให้นมลูกผ่านไปหนึ่งชั่วโมงแล้วก็ได้
    • หากคุณต้องไปทำงานหรือออกไปนอกบ้าน ก็ควรปั๊มน้ำนมแม่ตามเวลาเดียวกับที่เคยให้นมลูกตอนอยู่บ้าน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ผ่อนคลายเข้าไว้.
    การปั๊มน้ำนมแม่จะเป็นกระบวนการที่ง่ายและสบายที่สุด ก็ต่อเมื่อคุณรู้จักผ่อนคลายและทำใจให้สงบ ไม่ว่าคุณจะปั๊มน้ำนมแม่ระหว่างที่กำลังให้ลูกดูดจากอีกเต้าหนึ่ง หรือปั๊มระหว่างวันที่ไปทำงานก็ตาม ก็จำเป็นที่จะต้องหามุมสงบๆ และเผื่อเวลาให้ตัวเองในการปั๊มน้ำนมแม่มากหน่อย ยิ่งเร่งในการปั๊มน้ำนมแม่มากเท่าไร น้ำนมก็จะออกยากขึ้นเท่านั้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ช่วยกระตุ้นน้ำนมให้ไหลออกง่ายๆ.
    การกระตุ้นหมายถึงการใช้เทคนิคช่วยให้น้ำนมไหลออกมาจากเต้านม เข้าสู่เครื่องปั๊มได้สะดวกขึ้น ด้วยการนวดเต้านม ประคบน้ำอุ่นเอาไว้บริเวณเนินอก และปรับองศาให้น้ำนมไหลลงสะดวกมากขึ้น[3]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ล้างอุปกรณ์และมือของคุณให้สะอาดก่อนปั๊ม.
    เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำนมมีการติดเชื้อใดๆ ในระหว่างกระบวนการปั๊มน้ำนมแม่ โดยคุณควรล้างหรือเช็ดตัวปั๊ม ขวดรองรับ และอุปกรณ์ส่วนอื่นๆ หลังจากการปั๊มน้ำนมแม่เสร็จในแต่ละครั้งด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

การใช้ปั๊มมือ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 วางกรวยปั๊มให้แนบพอดีกับหัวนม.
    พยายามเลือกซื้อปั๊มให้กรวยปั๊มมีขนาดพอดี หรือเหมาะสมกับขนาดหน้าอกคุณ การเลือกขนาดไม่เหมาะสม จะทำให้คุณหงุดหงิด รู้สึกเจ็บ แถมยังต้องเหนื่อยออกแรงมากขึ้นในการปั๊มน้ำนมแม่แต่ละครั้ง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้ด้ามบีบหรือมือจับ เพื่อเริ่มปั๊มน้ำนมแม่....
    ใช้ด้ามบีบหรือมือจับ เพื่อเริ่มปั๊มน้ำนมแม่. ใช้มือหนึ่งช่วยจับกรวยปั๊มไว้ให้นิ่ง ส่วนมืออีกข้างก็บีบเพื่อปั๊มน้ำนมแม่ น้ำนมแม่ก็จะไหลลงขวดรองรับที่ติดอยู่ด้านล่าง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ปรับระดับด้ามจับตามความเหมาะสม.
    การปรับตำแหน่งหรือระดับของด้ามจับ จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดูดน้ำนม ดังนั้น คุณควรพยายามปรับให้เหมาะ จนกระทั่งรู้สึกว่าน้ำนมไหลออกได้ง่ายที่สุด
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อยเพื่อเพิ่มแรงส่ง.
    การอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ก็สามารถช่วยให้น้ำนมไหลลงขวดรองรับได้ง่ายขึ้นอีกแรงหนึ่ง
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปั๊มไปเรื่อยๆ จนกว่าน้ำนมจะเริ่มแห้ง.
    จำไว้ว่า การใช้ปั๊มมือในการปั๊มน้ำนมแม่ โดยเฉลี่ยแล้วจะกินเวลาประมาณ 45 นาทีต่อครั้ง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

การใช้ปั๊มแบบไฟฟ้าและแบตเตอรี่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ปรับเครื่องปั๊มให้เข้ากับหัวนมอย่างถูกวิธี....
    ปรับเครื่องปั๊มให้เข้ากับหัวนมอย่างถูกวิธี. หากคุณใช้เครื่องปั๊มแบบสองเต้าในคราวเดียว คุณจะต้องคอยปรับกรวยปั๊มทั้งสองข้างให้เข้าที่กับหัวนมทั้งสองข้าง เครื่องปั๊มแบบนี้จะช่วยให้ปั๊มน้ำนมแม่ได้มากและเร็วที่สุด เหมาะสำหรับเด็กที่มีความต้องการน้ำนมมากเป็นพิเศษ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เปิดเครื่องทิ้งไว้และปล่อยให้มันทำหน้าที่ไป....
    เปิดเครื่องทิ้งไว้และปล่อยให้มันทำหน้าที่ไป. น้ำนมแม่จะถูกปั๊มลงไปยังขวดที่รองรับอยู่โดยอัตโนมัติ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ปรับระดับการดูดปั๊มตามความเหมาะสม.
    ไม่ว่าคุณจะเริ่มรู้สึกเจ็บหัวนม หรือเห็นว่าเครื่องดังกล่าวปั๊มช้าเกินไปก็ตาม เครื่องประเภทนี้ย่อมสามารถปรับระดับความแรงของแรงดูดได้ นอกจากนี้ คุณยังอาจปรับท่าทางการนั่ง และองศาของเต้านมตามความจำเป็น อย่าปล่อยให้การปั๊มน้ำนมแม่เป็นประสบการณ์ที่เจ็บปวด แม้ว่าในช่วงแรกๆ มันอาจจะรู้สึกแปลกๆ บ้าง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สงบใจไว้ในช่วงของการปั๊ม.
    การทำเช่นนี้จะช่วยให้การปั๊มน้ำนมแม่ราบรื่นขึ้น คุณแม่บางท่านอาจรู้สึกรำคาญเสียงของเครื่องปั๊มบ้าง อย่างไรก็ตาม หากคุณรู้สึกผ่อนคลายเมื่อไร คุณก็จะปั๊มน้ำนมแม่ออกมาได้มากขึ้น และเร็วกว่าในเวลาที่มีความกังวล
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปั๊มไปเรื่อยๆ จนกว่าน้ำนมจะเริ่มแห้ง.
    การใช้เครื่องปั๊มแบบไฟฟ้าหรือใส่ถ่านแบตเตอรี่ มักจะใช้เวลาในแต่ละครั้งประมาณ 15 – 20 นาที
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

การเก็บน้ำนมแม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เก็บไว้ในตู้เย็นได้นานถึงสามวัน.
    คุณจะเก็บลงขวดที่แถมมากับเครื่องปั๊ม หรือเก็บไว้ในภาชนะที่ออกแบบมาสำหรับการเก็บน้ำนมแม่แบบใดก็ได้ แต่อย่าลืมเขียนกำกับไว้ด้วยว่า อันไหนปั๊มก่อน (ก็ควรนำออกมาใช้ก่อน) และอันไหนปั๊มทีหลัง[4]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เก็บในช่องแข็งไว้ได้ถึงสามสี่เดือน.
    คุณสามารถบรรจุน้ำนมแม่ไว้ในภาชนะที่ใส่โดยเฉพาะ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นแบบถุงซิปหรือแบบขวด คุณก็ควรเว้นเนื้อที่ของภาชนะไว้สัก 1 ใน 4 เผื่อเอาไว้เวลาที่น้ำนมแข็งและขยายตัวด้วย อย่าลืมเขียนระบุวันที่และช่วงเวลาที่ปั๊มน้ำนมออกมา ติดเอาไว้ด้วย เพราะหากแช่ชองแข็ง จะสามารถเก็บไว้ได้นานถึงสามสี่เดือนเลยทีเดียว
    • อย่าแช่ช่องแข็ง ในกรณีที่ใส่ถุงหรือขวดที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว ถุงพลาสติกทั่วไปสามารถปล่อยสารเคมีเข้าสู่น้ำนมได้ ส่วนขวดที่ไม่มีคุณภาพ ก็จะบอบบางเกินไป
    • เมื่อต้องการจะนำออกมาใช้ ให้นำลงมาไว้ในตู้เย็น (ช่องธรรมดา) ก่อน อย่าเพิ่งเอาออกมาวางไว้ข้างนอกหรือในที่ๆ มีอุณหภูมิห้องทันที
    • อย่าใส่นมที่เพิ่งปั๊มออกมา ลงในถุงหรือขวดที่เพิ่งนำออกมาจากช่องแช่แข็ง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เก็บน้ำนมแม่ตามขนาดที่เหมาะสม.
    แทนที่จะเก็บรวมลงในโถใบใหญ่ๆ คุณควรแบ่งเก็บลงเป็นไซส์เล็กๆ สัก 2-4 ออนซ์ (มีขีดตัวเลขและหน่วยระบุข้างภาชนะอยู่แล้ว) หรือตามขนาดที่ลูกคุณรับประทานพอดีๆ ในแต่ละครั้ง เพื่อให้ง่ายต่อการหยิบมาใช้[5]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เครื่องปั๊มยังสามารถนำมาใช้กรณีคุณแม่เจ็บหรือคัดหน้าอก จากภาวะน้ำนมคั่ง ได้อีกด้วย
  • คุณอาจพบว่าในการปั๊มน้ำนมแม่สองสามครั้งแรก น้ำนมอาจจะยังไหลออกมาไม่มากนัก ซึ่งมักเกิดจากการที่ยังนวดหน้าอกไม่สม่ำเสมอ หรือชำนาญเพียงพอ และอาจต้องใช้เวลาสักสองสามสัปดาห์ก่อนที่ทุกอย่างจะลงตัว นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากภาวะน้ำนมของคุณแม่ท่านนั้น มีปริมาณน้อยอยู่แล้วก็ได้ อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องปั๊มน้ำนมแม่ จะสามารถช่วยกระตุ้นให้มากขึ้นได้ ยิ่งปั๊มน้ำนมแม่มากเท่าไร น้ำนมแม่ก็จะยิ่งไหลออกมากเท่านั้น
  • มียกทรงบางรุ่นที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการปั๊มน้ำนมแม่โดยเฉพาะ ซึ่งบางรุ่นช่วยให้คุณแม่ไม่ต้องใช้มือร่วมด้วย
  • ประกันสุขภาพบางประเภทอาจครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับเครื่องปั๊มให้ด้วย ในกรณีที่เด็กคลอดก่อนกำหนดหรือไม่ได้รับการเลี้ยงดูที่โรงพยาบาล
  • เครื่องปั๊มน้ำนมแม่แบบไฟฟ้า จะช่วยให้ประหยัดเวลาได้มากกว่าแบบปั๊มมือมากมายทีเดียว และด้วยความที่มันทำงานแทนคุณ คุณก็จะรู้สึกเหนื่อยน้อยลงหลังจากปั๊มน้ำนมแม่เสร็จแล้วด้วย
  • เนื่องจากเครื่องปั๊มที่ขายตามสถานพยาบาล มักจะได้ส่วนลดจากผู้ผลิต คุณสามารถเช่ามาใช้เป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือนก็ได้ นอกจากนี้ยังอาจมีคุณแม่ท่านอื่นที่ไม่ได้ใช้แล้ว และต้องการส่งต่อ หรือต้องการให้เช่าในราคาประหยัดด้วย
โฆษณา

คำเตือน

  • ต้องล้างหรือเช็ดทำความสะอาดเครื่องปั๊มน้ำนมแม่ทุกครั้ง หลังการปั๊มแต่ละครั้ง เพื่อป้องกันเชื้อโรค
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Sarah Siebold, IBCLC, MA
ร่วมเขียน โดย:
ผู้ให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมบุตรที่มีใบรับรอง
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Sarah Siebold, IBCLC, MA. ซาราห์ ซีโบลด์เป็นผู้ให้คำปรึกษาเรื่องการให้นมบุตรที่มีใบรับรอง IBCLC และ CLEC ในลอสแองเจลิส เธอจัดทำการฝึกที่เรียกว่า IMMA ที่จะคอยดูแลทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมถึงการฝึกให้นม เธอมีบทความลงตีพิมพ์ใน VoyageLA, The Tot, และ Hello My Tribe เธอสำเร็จการศึกษาและฝึกงานกับทางมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานดิเอโก และยังได้รับปริญญาโทด้านวรรณคดีอังกฤษกับอเมริกาจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก บทความนี้ถูกเข้าชม 2,582 ครั้ง
หมวดหมู่: ความเป็นแม่
มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,582 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา