วิธีการ ดูว่าน้ำนมแม่ที่ปั๊มออกมาเสียแล้วหรือยัง

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

คุณแม่บางคนอาจชื่นชอบหรือจำเป็นต้องปั๊มน้ำนมเก็บสำรองไว้สำหรับป้อนให้ลูกน้อยเมื่อไม่ได้อยู่กับลูก ซึ่งคุณแม่จะต้องเก็บรักษาน้ำนมไม่ให้เสียหรือบูดจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของทารกได้ การเก็บรักษาน้ำนมแม่ให้คงคุณภาพนานที่สุดสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งโชคดีที่คุณแม่สามารถตรวจสอบความสดใหม่ของน้ำนมได้อย่างง่ายดายด้วยขั้นตอนที่หลายๆ คนต่างคุ้ยเคยกันดี

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ทดสอบการเน่าเสียของน้ำนมแม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ไม่ต้องกังวลกับสีหรือสัมผัสที่ดูเปลี่ยนไป.
    ในบางครั้งสีหรือสัมผัสของน้ำนมแม่อาจเปลี่ยนไปซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วสีหรือสัมผัสของน้ำนมจะเปลี่ยนไปตามความต้องการสารอาหารที่แตกต่างกันไปตามช่วงเวลาของทารก ดังนั้นลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิมจึงไม่สามารถใช้วัดความสดใหม่ของน้ำนมได้[1]
    • สีของน้ำนมสามารถเปลี่ยนไปในระหว่างการจัดเก็บหรือแม้กระทั่งในช่วงที่กำลังป้อนน้ำนมให้ทารกได้ ซึ่งตามธรรมชาติแล้วน้ำนมอาจมีสีออกฟ้า ออกเขียว ออกเหลือง หรือแม้แต่ออกน้ำตาล
    • นอกจากนี้น้ำนมแม่ยังอาจเกิดการแยกชั้นออกจนเห็นเป็นส่วนที่ใสๆ และส่วนที่เข้มข้นได้เช่นกัน ซึ่งแม้ว่าจะเป็นภาวะที่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติและไม่เป็นอันตรายใดๆ แต่แนะนำให้คุณแม่แกว่งน้ำนมเบาๆ เพื่อให้ส่วนที่แยกออกจากกันเข้ากันดีเสียก่อน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 พึงระวังน้ำนมที่เก็บไว้นานกว่า 3 วัน.
    โดยส่วนใหญ่แล้วน้ำนมแม่ที่ปั๊มออกมาจะสามารถเก็บรักษาได้มากกว่า 3 วัน ทั้งนี้ทั้งนั้นอายุการเก็บรักษาของน้ำนมแม่อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษา ดังนั้นหลังจากเก็บน้ำนมไว้ในตู้เย็นนานกว่า 3 วันแล้ว คุณแม่ควรลองดมกลิ่นของน้ำนมเพื่อตรวจสอบดูว่าน้ำนมยังคงสดใหม่ดีหรือไม่[2]
    • ในทำนองเดียวกัน คุณแม่ควรพึงระวังน้ำนมที่ตั้งทิ้งไว้ข้างนอกนานกว่า 3 ชั่วโมงโดยไม่ได้แช่ในตู้เย็นไว้[3]
    • คุณแม่สามารถตั้งน้ำนมทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องได้ประมาณ 3-6 ชั่วโมงโดยขึ้นอยู่กับความเย็นภายในห้อง หรือหากคุณแม่จัดเก็บน้ำนมไว้ในกระติกเก็บความเย็น น้ำนมจะสามารถเก็บรักษาได้นานถึง 24 ชั่วโมงโดยไม่บูด
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ทดสอบกลิ่นเปรี้ยว.
    น้ำนมแม่ที่มีรสเปรี้ยวจะมีกลิ่นรุนแรงที่เป็นลักษณะเฉพาะเหมือนกับนมวัวที่เปรี้ยว ซึ่งกลิ่นดังกล่าวเป็นเพียงสิ่งเดียวที่จะบอกได้ว่าน้ำนมบูดแล้วหรือไม่
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อย่ากังวลกับรสชาติคล้ายเหล็กหรือสบู่ในน้ำนม....
    อย่ากังวลกับรสชาติคล้ายเหล็กหรือสบู่ในน้ำนม. คุณแม่บางคนอาจสังเกตเห็นว่าน้ำนมแม่จะเริ่มมีรสชาติที่คล้ายกับสบู่หรือเหล็กหลังจากที่เก็บไว้สักพัก ซึ่งรสชาติดังกล่าวไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าน้ำนมเสียแล้วหรือไม่และทารกโดยส่วนใหญ่มักไม่มีปัญหากับรสชาติดังกล่าว
    • หากทารกไม่ยอมทานน้ำนมแม่ ลองนำน้ำนมไปลวกในน้ำร้อนก่อนจัดเก็บเพื่อป้องกันการเกิดกลิ่นคล้ายเหล็กหรือสบู่ในน้ำนม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ป้องกันไม่ให้น้ำนมแม่เน่าเสีย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 วางน้ำนมแม่ให้ชิดด้านในสุดของตู้เย็น.
    การวางน้ำนมแม่ไว้ในช่องเก็บของข้างประตูตู้เย็นหรือบริเวณใกล้กับประตูตู้เย็นจะทำให้น้ำนมได้รับความร้อนหรือเกิดการแปรปรวนของอุณหภูมิจากการเปิดปิดตู้เย็นอยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่พื้นที่ด้านในสุดของตู้เย็นจะมีความเย็นมากขึ้นและสามารถเก็บรักษาน้ำนมแม่ได้นานมากกว่า[4]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 บรรจุน้ำนมแม่ไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท.
    แก้ว ถุงเก็บน้ำนมพกพาแบบใช้แล้วทิ้ง หรือถุงเก็บน้ำนมแม่โดยเฉพาะเป็นภาชนะที่เหมาะสำหรับใช้บรรจุน้ำนมแม่มากที่สุด โดยมองหาถุงเก็บน้ำนมที่ทำจากพลาสติกแข็งชนิดพอลิโพรพีลีนหรือพอลิบิวทิลีนแทนแบบพลาสติกอ่อนชนิดโพลีเอทิลีน
    • รวมทั้งอย่าลืมตรวจสอบให้แน่ใจว่าภาชนะอื่นๆ ในตู้เย็นปิดสนิทดีแล้วเช่นกันเพื่อไม่ให้น้ำนมแม่ดูดซับกลิ่นเหม็นจากอาหารอื่นๆ ได้
    • คุณสามารถนำเบคกิ้งโซดาที่เปิดกล่องไว้วางไว้ในตู้เย็นเพื่อดูดซับกลิ่นภายในตู้เย็น[5]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เขียนวันที่ที่ปั๊มน้ำนมออกมา.
    อย่าลืมเขียนวันที่ที่ปั๊มน้ำนมออกมาไว้ข้างภาชนะให้ชัดเจนเพื่อให้คุณแม่เลือกหยิบใช้น้ำนมแม่ที่เก่ากว่าก่อนก่อนที่น้ำนมจะเน่าเสีย โดยคุณอาจติดฉลากไว้ข้างภาชนะแต่ละชิ้นจนครบหรือจะใช้วิธีบรรจุน้ำนมทั้งหมดของสัปดาห์หรือเดือนเดียวกันไว้ในถุงหรือกล่องเดียวกันที่มีฉลากกำกับไว้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 จัดเก็บน้ำนมแม่ไว้ในช่องแช่แข็ง.
    หากยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องหยิบใช้น้ำนมแม่ภายใน 5-8 วันนี้ คุณแม่ควรนำน้ำนมจัดเก็บไว้ในช่องแช่แข็งให้เหมาะสมโดยบรรจุไว้ในภาชนะที่ปิดแน่นและวางไว้ให้ชิดด้านในสุดของช่องแช่แข็ง น้ำนมแช่แข็งที่นำออกมาละลายแล้วควรทานให้หมดภายใน 24 ชั่วโมง[6]
    • น้ำนมแม่ที่จัดเก็บไว้ในช่องแช่แข็งสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน 3 เดือนไปจนถึง 1 ปีขึ้นอยู่กับความถี่ในการเปิดปิดช่องแช่แข็ง[7]
    • อย่าละลายน้ำนมแช่แข็งในไมโครเวฟหรือนำไปต้มให้ร้อน โดยให้คุณแม่ใช้วิธีเปิดน้ำอุ่นให้ไหลผ่านน้ำนมแทน
    • น้ำนมแม่ที่ผ่านการแช่แข็งสามารถแยกชั้นออกระหว่างนมและครีมได้ตามปกติ ดังนั้นอย่าลืมแกว่งน้ำนมเบาๆ เพื่อให้ส่วนที่แยกกันเข้ากันดีดังเดิม[8]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ลองนำน้ำนมที่มีรสชาติคล้ายสบู่ไปลวกในน้ำร้อนหากทารกไม่ยอมทาน....
    ลองนำน้ำนมที่มีรสชาติคล้ายสบู่ไปลวกในน้ำร้อนหากทารกไม่ยอมทาน. หากคุณแม่สังเกตเห็นว่าน้ำนมแม่มีรสชาติที่คล้ายกับสบู่จนส่งผลให้ทารกไม่ยอมทานน้ำนม ให้คุณแม่ลองนำน้ำนมไปลวกในน้ำร้อนให้มีอุณหภูมิประมาณ 82°C (น้ำนมจะเริ่มมีฟองขึ้นมาแต่ยังคงไม่เดือนปุดๆ) หลังจากนั้นจึงทำให้เย็นลงทันทีก่อนจัดเก็บให้เรียบร้อย
    • หากทารกไม่มีปัญหาใดๆ กับรสชาติดังกล่าว คุณแม่ก็ไม่จำเป็นต้องนำน้ำนมไปลวกในน้ำร้อนเพราะจะทำให้สูญเสียสารอาหารบางส่วนไป[9]
    โฆษณา

คำเตือน

  • หากคุณแม่มีอาการป่วยหรือกำลังทานยาในช่วงที่ต้องให้นมบุตร ลองปรึกษาแพทย์ว่าคุณแม่จะสามารถทำการปั๊มน้ำนมเพื่อเก็บสำรองไว้ได้หรือไม่
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Carrie Noriega, MD
ร่วมเขียน โดย:
สูตินรีแพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Carrie Noriega, MD. ดร.นอริเอกาเป็นสูตินรีแพทย์ที่ได้รับใบรับรองในโคโลราโด เธอผ่านการฝึกงานจากมหาวิทยาลัยมิสซูรี่ในแคนซัสซิตี้ในปี 2005 บทความนี้ถูกเข้าชม 13,095 ครั้ง
หมวดหมู่: ความเป็นแม่
มีการเข้าถึงหน้านี้ 13,095 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา