วิธีการ บรรเทาอาการปวดฟัน

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ปวดฟันอยู่ใช่ไหม? เมื่อคุณกำลังเผชิญกับอาการปวดฟันตั้งแต่ระดับปานกลางไปถึงปวดรุนแรง แน่นอนว่าคุณจะต้องมองหาวิธีการบรรเทาอาการปวดที่ได้ผลและรวดเร็วที่สุด คุณอาจจะต้องปรึกษาทันตแพทย์ หากคุณยังปวดฟันไม่หายหรืออาการปวดแย่ลงกว่าเดิม แต่ในระหว่างนี้ คุณสามารถลดอาการปวดด้วยการปฐมพยาบาลและการรักษาง่ายๆ ด้วยตนเองได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ปฐมพยาบาล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ทำความสะอาดเศษอาหารที่ติดฟัน.
    นี่เป็นวิธีรักษาแรกๆ ที่คุณสามารถทำได้ ทำความสะอาดฟันก่อนจะใช้วิธีรักษาอื่นๆ ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟันอย่างระมัดระวังในบริเวณที่มีอาการปวดฟัน [1]
    • ใช้ไหมขัดซอกฟันทั้งสองด้านอย่างระมัดระวังเพื่อเอาเศษอาหารออก[2]
    • หลังจากทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันแล้วให้บ้วนปากจนสะอาด กลั้วปากด้วยน้ำอุ่นเพื่อให้เศษอาหารหลุดออก เสร็จแล้วจึงบ้วนน้ำทิ้ง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หลีกเลี่ยงการเคี้ยวบริเวณที่ปวด.
    จนกว่าจะระวังอาการปวดได้ คุณก็ควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้รู้สึกปวดมากขึ้น ควรเคี้ยวอาหารอีกด้านหนึ่งของช่องปากจนกว่าอาการปวดจะหาย
    • คุณอาจจะลองอุดโพรงหรือช่องในฟันที่ทำให้เกิดอาการปวด ถ้าฟันของคุณแตกหรือถูกทำลาย คุณอาจอุดด้วยหมากฝรั่งหรือขี้ผึ้งสำหรับฟันจนกว่าคุณจะพบทันตแพทย์[3]
    • ร้านขายยาหลายแห่งมีชุดอุดฟันชั่วคราวขาย มันทำจากซิงค์ออกไซด์หรือส่วนประกอบที่คล้ายกัน มันจะช่วยลดแรงกดที่กระทบฟันและอยู่ได้นานถึงสองสัปดาห์ โดยมีราคาอยู่ที่ประมาณ 400 บาท
    • คุณสามารถใช้ขี้ผึ้งอุดป้องกันไว้ก่อนได้
    • เพื่อป้องกันอาการเสียวฟัน ใช้สำลีมากดที่ฟันในระหว่างทานอาหารได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รับประทานยาแก้ปวด.
    รับประทานยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อได้ด้วยตนเองตามร้านขายยา เช่น อะเซตามิโนเฟน/พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟ่น เพื่อลดอาการปวดจนกว่าคุณจะไปพบทันตแพทย์ได้ อ่านวิธีใช้ยาจากฉลากเพื่อรับประทานยาในปริมาณที่เหมาะสม[4]
    • โดยปกติ จะรับประทานยาแก้ปวด 1-2 เม็ดทุกๆ 4-6 ชั่วโมง ปริมาณยาที่แน่นอนนั้นขึ้นอยู่กับตัวยาและยี่ห้อ
    • ยาเหล่านี้มีขายตามร้านขายยาทั่วไป โดยแผงหนึ่งจะมีราคาไม่กี่สิบบาท
    • อย่าใช้ยาแอสไพรินแบบทาหรือยาแก้ปวดอื่นๆ กับเหงือก เพราะจะทำให้เหงือกเสียหายได้[5]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้ยาบรรเทาอาการปวดเฉพาะที่.
    ทายาที่ใช้เฉพาะที่บนฟันหรือเหงือกที่ทำให้เกิดอาการปวด ตัวยาจะทำให้เกิดอาการชาและบรรเทาอาการปวดลงได้ ตัวยาสำคัญคือเบนโซเคน ให้อ่านฉลากเพื่อเรียนรู้ปริมาณยาที่ต้องใช้และวิธีใช้ยา[6]
    • ยาทาเฉพาะที่อย่าง Orajel มีขายตามร้านขายยาทั่วไป โดยมีราคาประมาณ 200 บาท
    • ใช้ยาแก้ปวดที่ใช้สำหรับช่องปากเท่านั้น ยาทาแก้ปวดประเภทอื่นอาจเป็นอันตรายได้เมื่อรับประทานเข้าไป
    • การใช้ยาเบนโซเคนอาจทำให้เกิดภาวะอันตรายที่หาได้ยากเรียกว่า Methemoglobinemia ได้ ซึ่งภาวะนี้จะทำให้ปริมาณออกซิเจนในเลือดลดลง เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรใช้ยาที่มีส่วนผสมของเบนโซเคน และไม่ควรใช้ยาเกินขนาดที่แนะนำบนฉลาก[7]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ประคบเย็น.
    อีกวิธีที่ช่วยบรรเทาอาการปวดก็คือการทำให้ชาด้วยความเย็น อุณหภูมิที่ลดต่ำลงจะลดปริมาณเลือดที่ไหลออกมา เมื่อเลือดไหลน้อยลงก็จะปวดน้อยลงเช่นกัน[8]
    • นำก้อนน้ำแข็งห่อด้วยถุงพลาสติกหรือผ้าบางๆ มาประคบกรามบริเวณที่มีอาการปวดฟันประมาณ 10-15นาที
    • หยุดพักหลังประคบได้ 10-15 นาที จากนั้นประคบบริเวณที่ปวดต่อตามความจำเป็น
    • ตรวจดูว่าบริเวณที่ปวดกลับไปเป็น “ปกติ” หรือยัง ก่อนจะประคบอีกครั้ง ไม่เช่นนั้นอาจจะเป็นการทำให้บาดเจ็บเพิ่มได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ใช้ของในบ้านบรรเทาอาการปวดชั่วคราว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ทำให้บริเวณที่ปวดชาด้วยกานพลู.
    กานพลูเป็นสิ่งที่คนนำมาใช้บรรเทาอาการปวดฟันตั้งแต่ในอดีต เพราะมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการชาและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สามารถใช้กานพลูที่เป็นดอก ผง หรือน้ำมันเพื่อบรรเทาอาการปวด[9]
    • ถ้าใช้ผงกานพลู ให้ใช้มือสะอาดหยิบผงขึ้นมาหนึ่งหยิบมือมาทาบริเวณเหงือกที่ปวดและแก้ม เพราะกานพลูจะผสมกับน้ำลายและออกฤทธิ์ชา
    • ถ้าใช้กานพลูทั้งดอก ใช้มือสะอาดวางกานพลูสักสองหรือสามดอกในช่องปากใกล้บริเวณที่ปวด เมื่อน้ำลายทำให้กานพลูนิ่มแล้วให้เคี้ยวเบาๆ เพื่อให้น้ำมันกานพลูออกมากขึ้น
    • อีกทางเลือกหนึ่งคือ ผสมน้ำมันกานพลูสองถึงสามหยดกับน้ำมันมะกอกครึ่งช้อนชา (2.5 มิลลิลิตร) นำก้อนสำลีสะอาดจุ่มน้ำมันที่ผสม แล้วนำไปคลึงบริเวณฟันหรือเหงือกที่ปวด
  2. How.com.vn ไท: Step 2 บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ.
    กำจัดแบคทีเรียและบรรเทาอาการปวดด้วยน้ำเกลือ เกลือไม่ได้ออกฤทธิ์ในการรักษา แต่จะช่วยกำจัดแบคทีเรียและทำให้เหงือกที่บวมรอบๆ ฟันซี่ที่ปวดชุ่มชื้นขึ้น ซึ่งช่วยลดอาการปวด[10]
    • ผสมเกลือ 1 ช้อนชา (5 มิลลิลิตร) กับน้ำอุ่น 250 มิลลิลิตร ละลายเกลือในน้ำให้หมดก่อนนำไปใช้
    • อมน้ำเกลือประมาณ 30 วินาทีแล้วบ้วนปาก สามารถทำซ้ำได้เมื่อต้องการ
    • คุณอาจจะอยากบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดหลังจากบ้วนด้วยน้ำเกลือแล้ว ให้อมน้ำก๊อกอีก 30 วินาที
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้กระเทียมหรือหัวหอม.
    ผักทั้งสองอย่างเป็นยาสมุนไพรพื้นบ้านสำหรับบรรเทาอาการปวดฟัน และเชื่อว่ามีฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียในช่องปาก มันอาจจะทำให้มีกลิ่นปากบ้าง แต่มันจะช่วยฆ่าเชื้อโรคและบรรเทาอาการปวดได้ชั่วคราว[11]
    • ยัดกานพลูหรือหัวหอมชิ้นเล็กๆ บริเวณระหว่างฟันหรือเหงือกกับกระพุงแก้มไว้จนกว่าอาการปวดจะหายไป
    • อีกทางเลือกคือ หั่นหัวหอมเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วแปะที่ฟันซี่ที่ปวด
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ทำยาทาหยางเหมย (Bayberry).
    เปลือกรากหยางเมยเชื่อกันว่าเป็นยาปฏิชีวนะจากธรรมชาติและมีสารแทนนินกับฟลาโวนอยด์ ทำให้มันออกฤทธิ์เหมือนยาห้ามเลือด เมื่อนำหยางเหมยมาผสมกับน้ำส้มสายชูให้เป็นเนื้อครีมแล้วนำมาทา จะช่วยบรรเทาอาการปวดฟันและสร้างความแข็งแรงให้แก่เหงือก[12]
    • บดเปลือกหยางเหมยให้ได้ปริมาณที่หนาจากก้นภาชนะประมาณ 1 นิ้ว (2.5 เซนติเมตร) แล้วผสมกับน้ำส้มสายชู 1/4 ช้อนชา (1.25 มิลลิลิตร) เติมเปลือกหยางเหมยหรือน้ำส้มสายชูเท่าที่จำเป็น เพื่อให้เป็นเนื้อเหนียว
    • ทาบริเวณที่ปวดในช่องปากโดยตรงและทิ้งไว้จนกว่าอาการปวดจะลดลง แล้วบ้วนปากด้วยน้ำอุ่น
    • คุณยังสามารถใช้ยาสีฟันชนิดป้องกันอาการเสียวฟันตรงนี้ก็ได้ คุณควรทิ้งมันบนฟันนานเท่าที่จะทำได้
  5. How.com.vn ไท: Step 5 นำขิงและพริกป่นมาทำยาทา.
    ถ้าคุณมีอาการเสียวฟัน ผสมขิงบด พริกชี้ฟ้าและน้ำเข้าด้วยกัน ใช้เป็นยาทาฟันซี่ที่เสียว เพื่อลดอาการปวด[13] ส่วนผสมเหล่านี้จะออกฤทธิ์ได้ดีเมื่อนำมาใช้ด้วยกัน
    • ผสมขิงบดหนึ่งหยิบมือกับพริกชี้ฟ้าหนึ่งหยิบมือแล้วเติมน้ำจนกว่าจะผสมกันเป็นเนื้อเหนียวได้ [14]
    • จุ่มก้อนสำลีสะอาดลงในส่วนผสม แล้วทาบนฟันโดยตรงและค้างมือไว้จนกว่าอาการปวดจะหายหรือนานเท่าที่คุณทนได้ คุณอาจจะไม่ชอบรสและกลิ่นของส่วนผสมนัก
    • ทาแต่บริเวณฟันที่ปวดเท่านั้น ห้ามสัมผัสเหงือก เพราะจะทำให้เกิดการระคายเคือง
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ใช้ทิงเจอร์มดยอบ (Myrrh).
    มดยอบเป็นยางไม้ที่ออกมาจากต้นไม้มีหนามบางชนิด และใช้เป็นส่วนผสมในการทำของบางอย่าง เช่น น้ำหอม กำยาน และยา มดยอบมีฤทธิ์สมานแผลซึ่งช่วยลดอาการบวมและยังสามารถฆ่าแบคทีเรียได้ จึงมีการใช้ทิงเจอร์มดยอบบรรเทาอาการปวดฟันมาเป็นเวลานานแล้ว[15]
    • ต้มผงมดยอบหนึ่งช้อนชา (5 มิลลิลิตร) กับน้ำ 2 ถ้วย (500 มิลลิลิตร) ในหม้อใบเล็กประมาณ 30 นาที กรองของเหลวแล้วปล่อยให้เย็น
    • ผสมน้ำที่ได้หนึ่งช้อนชา (5 มิลลิลิตร) กับน้ำครึ่งถ้วย (125 มิลลิลิตร) แล้วนำมาบ้วนปากวันละ 5-6 ครั้ง
  7. How.com.vn ไท: Step 7 นำถุงชาไปประคบบริเวณที่ปวด.
    เช่นเดียวกับเปลือกรากหยางเหมย ชาดำมีสารแทนนินที่ช่วยลดอาการบวมได้ ชาสมุนไพรเปปเปอร์มินต์ก็มีฤทธิ์อ่อนๆ ที่ทำให้รู้สึกชาและบรรเทาอาการปวดได้เช่นกัน[16] ชาเหล่านี้มักจะใช้เป็นส่วนผสมในยาสามัญประจำบ้านสำหรับบรรเทาอาการปวดฟัน
    • นำถุงชาไปอุ่นในไมโครเวฟโดยใส่ในถ้วยที่มีน้ำประมาณ 30 วินาทีเพื่ออุ่นถุงชา บีบน้ำที่ชุ่มออก
    • วางถุงชาบนบริเวณที่มีอาการปวดฟันหรือเหงือกและกัดเบาๆ จนกว่าอาการปวดจะหายไป
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์.
    วิธีนี้ ไม่ใช่ การดื่มเพื่อบรรเทาอาการปวด เครื่องดื่มที่มีฤทธิ์แรงอย่าง วอดก้า บรั่นดี วิสกี้ และเหล้ายิน จะทำให้บริเวณที่ถูกสัมผัสชาและลดอาการปวดได้[17]
    • จุ่มสำลีสะอาดในเครื่องดื่มอย่างบรั่นดีหรือวอดก้า แล้วนำไปประคบกับฟันบริเวณที่ปวด หรือจิบวิสกี้เล็กน้อยและอมเครื่องดื่มในแก้มข้างที่ปวด
    • วิธีนี้ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดชั่วคราว และห้ามใช้รับบิ้งแอลกอฮอล์แทน เพราะจะเป็นอันตรายได้หากเผลอกลืนลงไป
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

รักษาทางทันตกรรมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นัดพบทันตแพทย์.
    การปฐมพยาบาลไม่ใช่การรักษาอย่างถาวร แต่เป็นเพียงการบรรเทาอาการเท่านั้น ถ้าอาการปวดฟันไม่หายไป แสดงว่าอาจมีสาเหตุที่ต้องรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ[18]
    • อาการปวดฟันของคุณอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาที่ร้ายแรงได้ เช่น เคลือบฟันแตก ฟันผุ หรือติดเชื้อ
    • พบทันตแพทย์หากการปฐมพยาบาลไม่ได้ผล มีอาการบวม เป็นหนอง มีไข้ เป็นอาการที่เกิดจากการบาดเจ็บ หรือมีอาการกลืนอาหารได้ยาก และควรได้รับการรักษาหากมีอาการปวดกรามร่วมกับเจ็บหน้าอก เพราะอาจจะเป็นสัญญาณของหัวใจล้มเหลวได้[19]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อุดฟัน.
    แพทย์อาจรักษาด้วยการอุดฟันหากอาการปวดฟันของคุณเกิดจากฟันผุซึ่งเกิดจากกรดของแบคทีเรียกินเคลือบฟันจนเห็นรากฟัน หรือเกิดจากวัสดุอุดฟันหลุด[20]
    • หลังจากฉีดยาจนฟันและเหงือกชาแล้ว แพทย์จะขูดฟันส่วนที่ผุออกและอุดด้วยวัสดุโลหะอมัลกัมหรือวัสดุสีเหมือนฟัน
    • คุณสามารถเลือกวัสดุอุดฟันได้ วัสดุสีเหมือนฟันมักจะทำด้วยเรซินจากพลาสติก แก้ว หรือวัสดุเดียวกับที่ใช้ทำถ้วยชาม มันจะมีสีที่ใกล้เคียงกับฟันมาก ส่วนอมัลกัมจะทำจากเงินซึ่งแข็งแรงกว่า แต่สีจะไม่กลืนไปกับฟัน[21]
    • เมื่อเวลาผ่านไปวัสดุอุดฟันอาจแตกหรือหลุด แพทย์จะนำวัสดุอุดฟันออก ขูดส่วนที่เกิดการผุใหม่ออก และอุดฟันใหม่
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ครอบฟัน.
    การครอบฟันจะใช้กับฟันที่เสียหายแต่ยังไม่หลุด ฟันครอบที่สร้างขึ้นจะคืนรูปร่างเดิมให้กับฟันเสียและทำให้ใช้งานได้ดังเดิม นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอีกได้ด้วย แพทย์อาจต้องใช้วิธีครอบฟันหากเกิดฟันผุที่รุนแรง เนื้อเยื่อฟันอักเสบ ฟันสึกจากการเสียดสี ฟันร้าว หรือการติดเชื้อที่รุนแรง[22]
    • ถ้าเกิดฟันผุรุนแรงหรือเสียหายไปถึงรากฟัน การรักษาด้วยการอุดฟันอาจไม่เพียงพอ จึงอาจใช้วิธีครอบฟันแทน
    • ปกติแล้วแพทย์จะให้ยาชากับคุณ แล้วจะนำเอาฟันส่วนที่ผุออก และแทนที่ด้วยฟันครอบที่พิมพ์มาจากฟันของคุณ ตัวครอบทำมาจากวัสดุเดียวกับที่ใช้ในการอุดฟัน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปลูกถ่ายเนื้อเยื่อเหงือกที่หายไป.
    อาการปวดอาจไม่ได้เกิดจากฟัน แต่เกิดจากเหงือกของคุณแทน ถ้าอาการปวดเกิดจากเหงือกร่น เคลือบฟันและเส้นประสาทก็จะเผยออกมาและทำให้รู้สึกเสียวฟัน[23]
    • ถ้าอาการปวดเกิดจากเหงือกร่น แพทย์จะแนะนำการดูแลรักษาเหงือกให้ บางครั้งเหงือกร่นเกิดจากการดูแลฟันไม่ถูกสุขลักษณะหรือดูแลไม่เพียงพอ แพทย์อาจจะแนะนำให้คุณขัดฟัน ใช้ขนแปรงนุ่ม หรือใช้ยาสีฟันอย่างเซ็นโซดายน์
    • ในกรณีรุนแรง แพทย์อาจส่งคุณไปรับการรักษาจากศัลยแพทย์ช่องปากหรือปริทันตทันตแพทย์ เพื่อปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ โดยการนำเนื้อเยื่อจากเพดานปากไปปลูกถ่ายตรงเหงือกที่เสียหาย เนื้อเยื่อจะช่วยปกป้องฟัน[24]
    • กระบวนการนี้จะป้องกันคุณจากปัญหารากฟันในอนาคต และก็ยังเป็นกระบวนการเสริมความมั่นใจให้คุณเวลายิ้มอีกด้วย
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เริ่มรับยาที่ช่วยระงับอาการเสียวฟัน.
    หากอาการปวดฟันไม่ได้เกิดจากฟันผุหรืออาการบาดเจ็บ ก็อาจจะเกิดจากอาการเสียวฟันจากการที่เคลือบฟันหลุด การรักษาบางอย่างจะช่วยให้เกิดอาการเสียวฟันน้อยลงได้[25]
    • ยาระงับอาการเสียวฟันเป็นยาใช้เฉพาะที่ที่สั่งโดยแพทย์หรือเภสัชกร ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดอาการเสียวที่เกิดจากเส้นประสาทในฟัน เมื่ออาการเสียวจากเส้นประสาทลดลง อาการปวดก็จะลดลงเช่นกัน
  6. How.com.vn ไท: Step 6 รักษาฟันที่ติดเชื้อ.
    อาการปวดอาจจะมาจากการติดเชื้อในเนื้อฟันหรือรากฟัน คุณจะต้องรักษาก่อนที่การติดเชื้อจะทำให้ฟันเสียหรือลามไปจุดอื่น[26]
    • ใช้ยาปฏิชีวนะที่สั่งโดยแพทย์หรือเภสัชกรก็ต่อเมื่อมีการติดเชื้อในช่องปาก
    • การติดเชื้อมักมีสาเหตุจากการอักเสบเนื่องจากมีการผุหรือการบาดเจ็บ
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ถอนฟัน.
    ถ้าอาการปวดเกิดจากฟันติดเชื้อหรือถูกทำลายอย่างรุนแรงหรือฟันคุด แพทย์อาจต้องถอนฟันซี่นั้นๆ นี่เป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อถอนฟันไปแล้ว คุณก็จะเสียฟันซี่นั้นตลอดกาล
    • ฟันคุดมักจะถูกถอนออกเพราะทำให้ฟันในช่องปากเบียดกัน และเมื่อฟันเบียดกันก็จะเกิดแรงดันขึ้นซึ่งทำให้อาการปวดยิ่งรุนแรงหรือติดเชื้อได้
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

การป้องกันไม่ให้อาการปวดฟันกลับมา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 แปรงฟันและขัดฟันเป็นประจำ.
    เพื่อป้องกันปัญหาช่องปาก คุณควรฝึกแปรงฟันหรือทำความสะอาดอย่างถูกสุขลักษณะ แล้วฟันของคุณจะสุขภาพดี แข็งแรง และไร้อาการปวด[27]
    • แปรงฟันวันละสองครั้งและขัดฟันวันละครั้ง พบทันตแพทย์เป็นประจำทุกปีหรือทุกๆ 6 เดือนเพื่อตรวจสภาพฟัน แพทย์จะสามารถแนะนำการดูแลที่เหมาะสมเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกินขึ้นได้[28]
    • แม้ว่าการแปรงฟันหรือขัดไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขปัญหาฟันผุได้ แต่สามารถช่วยป้องกันปัญหาฟันผุที่อาจเกิดในอนาคต และช่วยรักษาการสูญเสียแร่ธาตุในชั้นเคลือบฟัน ซึ่งนำไปสู่การเกิดฟันผุ
    • พกแปรงสีฟันติดกระเป๋า เพื่อจะได้แปรงฟันได้ทุกที่ หากคุณไม่สามารถแปรงได้ อย่างน้อยก็ควรบ้วนปาก
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กินอาหารที่เหมาะสมเพื่อรักษาสุขภาพช่องปาก.
    สุขภาพฟันขึ้นอยู่กับว่าคุณกินอะไรเข้าไป เมื่อคุณกินน้ำตาล มันก็จะทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียและสร้างกรดทำลายเคลือบฟัน ดังนั้นเพื่อฟันที่แข็งแรง คุณควรลดปริมาณน้ำตาลเสีย[29]
    • ดื่มน้ำอัดลม น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล ชาหวาน หรือกาแฟใส่น้ำตาลให้น้อยลง ดื่มน้ำเปล่าเพิ่มขึ้นแทน
    • กินอาหารขยะให้น้อยลง รวมถึงลูกกวาดกับขนมอบ
    • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่เป็นกรดและน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้ม โคล่า และไวน์ เลือกกินอาหารที่เป็น “ด่าง” หรืออาหารที่ไม่เป็นกรดแทน เช่น โยเกิร์ต ชีส หรือนม
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้แปรงสีฟันและยาสีฟันที่ลดการเสียวฟัน.
    ถ้าสาเหตุของอาการปวดฟันเกิดจากการเสียวฟัน ให้เปลี่ยนมาใช้แปรงสีฟันและยาสีฟันสำหรับผู้ที่มีอาการเสียวฟัน คุณสามารถหาซื้อไปตามร้านขายยาทั่วไป
    • การเสียวฟันมักเกิดจากเหงือกร่น เวลาเหงือกร่นจะทำให้เนื้อฟันที่อยู่ใต้เคลือบฟันถูกเปิดออก ยาสีฟันสำหรับผู้มีอาการเสียวฟันจะทำความสะอาดฟันชั้นใน ด้วยส่วนผสมที่มีความอ่อนโยนกว่า
    • เปลี่ยนไปใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนุ่ม หากอาการเสียวฟันเกิดจากเหงือกร่น แปรงสีฟันที่มีขนแปรงนุ่มจะช่วยถนอมเหงือก
    • แปรงสีฟันที่แข็งปานกลางถึงมากมักจะช่วยกำจัดฟันผุได้ดี แต่แปรงสีฟันที่นุ่มจะเหมาะกับผู้ที่ปวดฟันเนื่องจากเหงือกมีปัญหาหรือปัญหาอื่นในทำนองเดียวกัน
    โฆษณา

สิ่งที่ต้องใช้

  • ไหมขัดฟัน
  • น้ำ
  • ยาแก้ปวด (ประเภททาเฉพาะที่และสำหรับช่องปาก)
  • ที่ประคบเย็น
  • สำลี
  • กานพลู
  • เกลือ
  • กระเทียม
  • หัวหอม
  • น้ำต้นอ่อนข้าวสาลี
  • น้ำส้มสายชู
  • หยางเหมย
  • ขิงผง
  • พริกชี้ฟ้า
  • มดยอบผง
  • ถุงชาดำหรือชาเปปเปอร์มินต์
  • บรั่นดี วอดก้า หรือวิสกี้
  • แปรงสีฟัน
  • เครื่องป้องกันฟัน


  1. http://www.arizonafamilydental.com/blog/toothache-home-remedies-really-work/
  2. https://www.humana.com/learning-center/health-and-wellbeing/healthy-living/toothaches
  3. http://www.rapidhomeremedies.com/remedies-for-toothache-relief.html
  4. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-961-ginger.aspx?activeingredientid=961&activeingredientname=ginger
  5. http://www.rd.com/health/conditions/home-remedies-for-toothache/
  6. http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-570-myrrh.aspx?activeingredientid=570&activeingredientname=myrrh
  7. http://www.arizonafamilydental.com/blog/toothache-home-remedies-really-work/
  8. http://www.arizonafamilydental.com/blog/toothache-home-remedies-really-work/
  9. http://www.nhs.uk/conditions/Toothache/Pages/Introduction.aspx
  10. http://www.mayoclinic.org/first-aid/first-aid-toothache/basics/art-20056628
  11. http://www.cosmeticdentistryguide.co.uk/toothache.html
  12. http://www.webmd.com/oral-health/guide/dental-health-fillings
  13. http://www.cda-adc.ca/en/oral_health/procedures/crowns/
  14. http://www.webmd.com/oral-health/guide/receding_gums_causes-treatments
  15. http://www.webmd.com/oral-health/guide/gum-tissue-graft-surgery
  16. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3010026/
  17. http://www.webmd.boots.com/oral-health/guide/toothaches
  18. http://www.colgate.com/en/us/oc/oral-health/life-stages/adult-oral-care/article/what-is-good-oral-hygiene
  19. http://www.bbc.com/future/story/20140926-how-often-must-we-see-a-dentist
  20. https://www.dentalhealth.org/tell-me-about/topic/sundry/diet

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 16 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 497,228 ครั้ง
หมวดหมู่: ยาทางเลือก
มีการเข้าถึงหน้านี้ 497,228 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา