ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ถ้าเราสับสน คิดไม่ออกว่าจะดำเนินชีวิตไปทางไหนดี นี้เป็นอาการที่แสดงให้เห็นว่าถึงเวลาที่เราต้องหยุดลังเลและเริ่มทำอะไรสักอย่างเสียที เราอาจเริ่มรู้สึกแล้วว่าการเดินไปข้างหน้านั้นง่ายกว่าที่คิด แต่เราต้องเริ่มจากเปลี่ยนแปลงชีวิตด้วยการเลิกยึดติดความสมบูรณ์แบบและตั้งเป้าหมายให้ตนเองก่อน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

ตั้งเป้าหมายที่ทำได้จริง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เริ่มก้าวเล็กๆ.
    ทำสิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้ ถ้ารู้ตัวว่าวิ่งเกิน 1.6 กิโลเมตรไม่ไหว ก็ให้เริ่มวิ่งในระยะทางที่เราวิ่งได้ก่อน ฉะนั้นแทนที่จะพูดว่า “ฉันจะเริ่มวิ่ง 6.4 กิโลเมตรวันพรุ่งนี้” ให้พูดว่า “ฉันจะวิ่ง 1.6 กิโลเมตรวันพรุ่งนี้ และฉันจะพยายามวิ่งเพิ่มขึ้นทีละนิดทุกวัน” [1]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กำหนดเป้าหมาย.
    ถ้าเป้าหมายเราคลุมเครือ เราก็ไม่อาจทำตามเป้าหมายได้สำเร็จมากนัก แต่ถ้าเรากำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนมากขึ้น ด้วยการทำให้เป้าหมายนั้นเป็นอะไรที่วัดได้ เราก็อาจมีโอกาสทำเป้าหมายนั้นให้สำเร็จมากขึ้น วิธีตั้งเป้าหมายแบบสมาร์ต (SMART) นั้นมีประโยชน์ในการกำหนดเป้าหมาย เพราะจะทำให้เราตั้งเป้าหมายได้ชัดเจน วัดได้ สำเร็จได้ เน้นผล และมีกำหนดเวลา ขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นการตั้งเป้าหมายให้ “ชัดเจน”[2]
    • ตัวอย่างเช่น เป้าหมายของเราอาจเป็น “เริ่มวิ่ง 20 นาทีทุกวันเพื่อสุขภาพจะได้ดีขึ้น และก้าวไปสู่การวิ่ง 5 กิโลเมตรให้ได้ในระยะเวลาหนึ่งปี ”
    • แบ่งเป้าหมายให้เป็นขั้นตอนย่อยๆ ถ้าเราตัดสินใจจะวิ่งฮาล์ฟมาราธอนวันพรุ่งนี้ ทั้งๆ ที่เราไม่เคยวิ่งสักครั้งในชีวิต เราก็จะทำไม่สำเร็จ เราต้องเริ่มวิ่งในระยะเวลาที่เราพอจะทำสำเร็จได้จริงๆ ตัวอย่างเช่น บอกตนเองว่าจะวิ่งเป็นเวลา 5 นาที[3]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ตั้งเป้าหมายที่วัดได้และทำสำเร็จได้.
    ตามหลักการตั้งเป้าหมายแบบสมาร์ต เป้าหมายนั้นต้อง “วัดได้”และ “ทำสำเร็จได้” การวัดได้หมายถึงเราเลือกเป้าหมายที่เราสามารถสังเกตเห็นความสำเร็จได้จริงๆ ในตัวอย่างข้างต้น เราตั้งเป้าหมายว่าจะวิ่งให้ได้ 5 กิโลภายในวันที่กำหนด นี้เป็นเป้าหมายที่วัดได้ อีกทั้งยังเล็กพอที่จะทำสำเร็จได้ ถ้าไม่ตั้งเป้าหมายให้เล็กไว้ก่อน เราก็จะทำไม่สำเร็จ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราบอกว่าอยากวิ่งมาราธอนภายในสัปดาห์หน้า เราก็จะทำเป้าหมายนั้นไม่สำเร็จ[4]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เป้าหมายของเรานั้นเน้นดูที่ผล.
    นั้นคือ สิ่งที่สำคัญที่สุดของเป้าหมายควรเป็นสิ่งที่เราจะทำสำเร็จในท้ายที่สุด ไม่ใช่วิธีการที่เราจะทำเป้าหมายให้สำเร็จ ในกรณีนี้ เป้าหมายหลักคือการวิ่ง 5 กิโล ไม่ใช่การวิ่งทุกวัน [5]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 มีกำหนดเวลาตามการตั้งเป้าหมายแบบสมาร์ต.
    ถ้าเราไม่กำหนดเวลาในการบรรลุเป้าหมาย เราก็อาจไม่ทำตาม เพราะไม่รู้ว่าจะทำตามเป้าหมายได้สำเร็จเมื่อไร เราต้องกำหนดเวลาในการทำตามเป้าหมายให้สำเร็จด้วยเพื่อจะได้วัดได้ [6]
    • ในกรณีนี้คือ เราให้เวลาตัวเองหนึ่งปีเพื่อทำตามเป้าหมายในการวิ่ง 5 กิโลเมตรให้สำเร็จ
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ทำตามเป้าหมาย.
    พอเรากำหนดเป้าหมายเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ก็ได้เวลาลงมือทำเสียที เริ่มทำตามเป้าหมายย่อยที่เราได้กำหนดไว้เพื่อตัวเอง พยายามทำตามเป้าหมายทุกวัน ถ้าทำได้[7]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ชมเชยตนเองเมื่อทำสำเร็จ.
    พอเราทำอะไรสำเร็จสักอย่าง ชมเชยตนเองสักหน่อย การบอกตนเองว่าทำได้ดีนั้นเป็นสิ่งที่ดี ถึงแม้เราแค่ทำตามเป้าหมายสำเร็จไปบางส่วนเท่านั้น[8]
  8. How.com.vn ไท: Step 8 อย่ากลัวความท้าทาย.
    เราจะค่อยๆ ไปถึงเป้าหมาย ขณะที่เราทำตามเป้าหมาย เราสามารถเพิ่มเป้าหมายหรือตั้งเป้าหมายใหม่ขึ้นมา ตัวอย่างเช่น ถ้าเราบอกว่าเราวิ่ง 20 นาทีทุกวัน และเราก็วิ่งแบบนี้มาได้สักพักแล้ว ตอนนี้เราอาจเพิ่มเวลาวิ่งเป็น 25 นาทีต่อวันก็ได้ [9]
  9. How.com.vn ไท: Step 9 ให้รางวัลตนเอง.
    เมื่อเราทำตามเป้าหมายได้สำเร็จ การให้รางวัลตนเองเป็นสิ่งที่ดี ทำอะไรก็ได้ที่เรามีความสุขที่จะทำ ตั้งแต่อ่านหนังสือไปจนถึงดื่มกาแฟดีๆ สักถ้วย ตัวอย่างเช่น เมื่อเราบอกว่าต้องการวิ่ง 20 นาทีทุกวันเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ พอทำสำเร็จแล้ว ก็ให้รางวัลตนเองเสีย [10]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

เพิ่มความตื่นเต้นให้ตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ท้าทายตนเองให้ทำสิ่งที่ไม่เคยทำ.
    การลงมือทำนั้นเป็นอะไรที่น่าหวาดกลัว เพราะกิจกรรมนั้นอาจเป็นอะไรที่เราไม่เคยทำมาก่อนและผิดจากที่เราเคยทำมา ฉะนั้นการอยู่ในที่ที่เราอยู่นั้นจึงง่ายกว่าและทำให้รู้สึกดีกว่า แต่เราก็ต้องคิดเหมือนกันว่าถ้าเราไม่ลงมือทำแล้ว อะไรจะเกิดขึ้น นั้นคือถ้าเรายังคงทำอะไรที่เราทำอยู่เสมอต่อไป จะเกิดผลเสียอะไรบ้าง ตัวอย่างเช่น เราจะต้องติดอยู่ในชีวิตแบบเดิมที่เราไม่มีความสุขเลยก็ได้ [11]
    • เอากระดาษขึ้นมาวางไว้บนโต๊ะ เขียนถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นหากเราไม่ลงมือทำ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ดูผลระยะยาว.
    ตอนนี้เรากำลังคิดถึงสิ่งที่ทำให้เรามีความสุขในช่วงนี้ นี้ไม่ใช่การลงมือทำ เพราะฉะนั้นสบายใจได้ ลองมาดูประโยชน์ระยะยาวกัน จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราลงมือทำ [12]
    • เขียนหัวข้อ “ประโยชน์” ในกระดาษแผ่นเดียวกันนี้ เขียนลงไปว่าเราจะได้รับประโยชน์อะไรบ้างเมื่อลงมือทำ ตัวอย่างเช่น เราอาจเขียนว่า “เริ่มงานใหม่”
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สำรวจเพื่อประกอบการตัดสินใจ.
    ถ้าพบว่าตนเองไม่สามารถตัดสินใจได้เลยว่าจะเดินหน้าต่อไปอย่างไร เราอาจต้องออกไปลองทำอะไรใหม่ๆ ไปลงเรียน อ่านหนังสือ ลองหางานอดิเรกใหม่ๆ การออกจากความเคยชินและลองทำอะไรใหม่ๆ สามารถช่วยเราให้ลุกขึ้นมาเริ่มชีวิตใหม่ได้[13]
    • สำหรับแรงขับเคลื่อนในระยะสั้น ให้มองหาพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของผู้คนที่คุณชื่นชม แล้วใช้ข้อมูลนี้เป็นเคล็ดลับว่าจะช่วยผลักดันคุณสู่เป้าหมายได้อย่างไร
    • คิดถึงสิ่งที่คุณชอบในวัยเด็ก นั่นอาจทำให้คุณได้ตระหนักถึงบางสิ่งที่คุณเคยรู้สึกหลงใหลแต่หลงลืมไป คุณจะมีแรงขับเคลื่อนมากขึ้นเมื่อรู้สึกตื่นเต้นในสิ่งที่ตนกำลังทำ
    • คุณยังอาจลองโฟกัสว่าตัวคุณเองจะตอบแทนอะไรคืนแก่โลกได้บ้างเวลาที่คุณกำลังพยายามวางแผนชีวิตในระยะยาว
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เรียนรู้ที่จะอดทนกับความไม่แน่นอน.
    ถ้าเราไม่สามารถอดทนต่อความไม่แน่นอนใดๆ ในชีวิตได้ เราก็จะเอาแต่ลังเลและพยายามหนีจากความไม่แน่นอนที่เราเผชิญอยู่ ทั้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การเรียนรู้ที่จะอดทนต่อความไม่แน่นอนนั้นดีกว่า เราจะได้สามารถใช้พลังงานที่มีเดินหน้าสู่เป้าหมายได้[14]
    • เริ่มสังเกตเห็นว่าพฤติกรรมใดที่เราทำเป็นประจำเพื่อจะลดความไม่แน่นอน ตัวอย่างเช่น เราอาจตรวจถ้อยคำในอีเมลสองครั้งก่อนส่งให้เพื่อนเพื่อจะได้มั่นใจว่าไม่มีถ้อยคำไหนเขียนผิด ตกหล่น หรือบางทีเราเพียงแค่ไปร้านอาหารที่เราชอบไปเพราะเกิดไม่อยากลองกินอาหารร้านใหม่ และเราอาจไม่ชอบด้วย พอรู้ว่าเรามีพฤติกรรมแบบนี้ ถ้าต้องเลิกทำพฤติกรรมบางอย่าง ลองเขียนลงไปว่าพฤติกรรมไหนทำให้เรากังวลใจมากที่สุด
    • เริ่มจากพฤติกรรมที่เรากังวลน้อยสุด เริ่มเลิกทำพฤติกรรมหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างตามที่เราได้เขียนเอาไว้ ลองให้ใครสักคนวางแผนตอนเย็นให้เรา หรือส่งข้อความถึงเพื่อนเรา เราจะได้ไม่ตรวจหาคำผิดถึงสองครั้ง
    • จดบันทึกทุกครั้งที่เราสามารถเลิกพฤติกรรมเหล่านี้ได้สำเร็จ และเขียนความรู้สึกเมื่อเลิกได้สำเร็จ เราอาจเห็นว่าการเลิกพฤติกรรมบางอย่างทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นหรือยังคงรู้สึกกังวลอยู่ แต่เราก็น่าจะเห็นว่าผลนั้นยังคงออกมาดี ถึงแม้ทุกอย่างจะไม่ดำเนินไปราบรื่นอย่างที่เราอยากให้เป็นก็ตาม
    • เลิกและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างไปเรื่อยๆ เพื่อให้ยังคงอดทนต่อความไม่แน่นอนได้เสมอ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

เลิกผัดวันประกันพรุ่ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เริ่มด้วยขั้นตอนที่ง่ายที่สุด.
    เมื่อเราเห็นว่าต้องทำงานซึ่งเราไม่อยากทำ การลงมือทำก็อาจดูเหมือนเป็นอะไรที่หนักหนาได้ แต่ให้เลือกทำงานส่วนที่เกลียดน้อยที่สุดก่อน หรือส่วนที่ง่ายที่สุดสำหรับเราก่อน เราอาจพบอุปสรรคอันใหญ่หลวงเมื่อเริ่มลงมือทำ แต่ในสุดก็จะรู้สึกประสบความสำเร็จ[15]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อย่าคิดว่าตนเองเป็นพวกชอบผัดวันประกันพรุ่ง....
    อย่าคิดว่าตนเองเป็นพวกชอบผัดวันประกันพรุ่ง. ถ้าเราเอาแต่เรียกตนเองว่าเป็นพวกชอบผัดวันประกันพรุ่ง เราก็จะเป็นอย่างนั้นจริงๆ พูดอีกอย่างก็คือถ้าเราคิดว่าตนเองเป็นแบบนั้นอยู่ตลอด เราก็กำลังทำตัวเองให้เป็นแบบนั้นอยู่ ให้พูดแทนว่า “ฉันอยากทำงานให้เสร็จทันเวลาโดยไม่ผัดวันประกันพรุ่ง”[16]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ให้ตนเองเห็นผลลัพธ์.
    การผัดวันประกันพรุ่งนี้ทำให้เรารู้สึกดีระยะสั้นๆ ถ้าเราได้เห็นผลลัพธ์ของเป้าหมายในระยะสั้น เราก็น่าจะมีแรงบันดาลใจทำตามเป้าหมายต่อไป ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่าทุกครั้งที่เราไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการวิ่งได้ เราจะอดดูทีวีทั้งที่ปกติเรามักจะได้ดู[17]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ตั้งใจหาคำพูดกระตุ้นตนเอง.
    การผัดวันประกันพรุ่งมักจะมาพร้อมข้ออ้างมากมาย บางครั้งเราอาจหาข้ออ้างต่างๆ เข้าข้างตนเอง แต่เราต้องกระตุ้นตนเองเมื่อพบว่ากำลังพยายามหลีกเลี่ยงไม่ทำในสิ่งที่ต้องทำ ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า “ฉันไม่ได้วิ่งวันนี้ก็จริง แต่ฉันเดินรอบตึกแล้ว แค่นั้นก็น่าจะพอ” จงกระตุ้นเตือนตนเองว่าการเดินรอบตึกไม่ช่วยให้เราบรรลุเป้าหมาย[18]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ใช้วิธีบอกตนเองด้วยคำพูดที่ต่างออกไปในใจ.
    บ่อยครั้งเมื่อเรากำลังหาเรื่องผัดวันประกันพรุ่ง เราก็มักจะบอกกับตนเองในใจว่าสิ่งที่ต้องทำนี้มันแย่แค่ไหน แต่ถ้าเราบอกตนเองต่างออกไปจากสิ่งที่คิด เราก็อาจรู้สึกว่าพร้อมจะทำงานนั้นมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า “งานนี้ก็ไม่แย่ขนาดนั้นหรอก” หรือ “ฉันอาจสนุกกับงานนี้ก็ได้”[19]
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

เลิกแสวงหาความสมบูรณ์แบบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เปลี่ยนความคิดใหม่.
    ความสมบูรณ์แบบแค่หมายถึงเราต้องการให้ทุกๆ สิ่งสมบูรณ์แบบเท่าที่เราจะทำได้เท่านั้น ปัญหาของการคิดแบบนี้คือบางครั้งก็ทำให้เราไม่ได้ลงมือทำ ขั้นแรกคือเราต้องรู้ตัวว่ากำลังพยายามเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ พยายามจัดการพฤติกรรมนั้นเสีย และเปลี่ยนความคิดตนเอง[20]
    • เริ่มเขียนลงไปว่าที่ผ่านมาการแสวงหาความสมบูรณ์แบบช่วยเราอย่างไรบ้าง ตัวอย่างเช่น อาจช่วยเราเรียนได้เกรดดีๆ[21]
    • ต่อมาให้เขียนว่ามีอะไรบ้างที่ไม่สมบูรณ์แบบและทำให้เราเจ็บปวด ลองคิดถึงเรื่องที่เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น เราอาจกลัวว่าเราจะตกงาน เมื่อเขียนความกลัวแต่ละเรื่องลงไป ให้เขียนความจริงที่เราได้ตรวจสอบแล้วลงไปด้วยว่า “ฉันทำผิดพลาดเรื่องเล็กๆ เรื่องเดียวก็ไม่ตกงานนี่”[22]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หยุดคิดว่าถ้าไม่สมบูรณ์แบบแล้วมันแย่ที่สุด....
    หยุดคิดว่าถ้าไม่สมบูรณ์แบบแล้วมันแย่ที่สุด. การแสวงหาความสมบูรณ์แบบทำให้เราคิดว่าถ้าเราไม่สามารถทำอะไรให้ออกมาสมบูรณ์แบบได้ เราก็ไม่ควรทำเลย เมื่อเราเกิดคิดว่าบางเรื่องถ้าไม่สมบูรณ์แบบแล้ว เรื่องนั้นแย่ที่สุด ให้ถามตนเองว่าเรากำลังทำให้ตนเองเจ็บหรือช่วยตนเองอยู่กันแน่[23]
    • ตัวอย่างเช่น เรากำลังทำคุกกี้ไปแจกเด็กในชั้นเรียน ถ้าเราพยายามทำคุกกี้แต่ละชิ้นให้ออกมาสมบูรณ์แบบ แต่ก็ทำไม่ได้จนอยากทิ้งคุกกี้ทุกชิ้นลงถังขยะ จงหยุดและคิดว่าเด็กๆ อยากกินคุกกี้ที่ไม่สมบูรณ์ทุกชิ้น หรือไม่ได้กินคุกกี้เลย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เห็นคุณค่าของความสำเร็จให้น้อยลง.
    นั้นคือถ้าเราวางคุณค่าของตนเองไว้ในความสำเร็จภายนอกและคำยกย่องสรรเสริญ เราก็อาจจะผิดหวัง ให้ลองมารู้สึกถึงคุณค่าภายในตนเองแทน[24]
    • เขียนลงในกระดาษอีกแผ่น คราวนี้เขียนสิ่งที่เราชอบเกี่ยวกับตนเองอย่างเช่น “เมตตาต่อสัตว์” หรือ “ทุกคนสนุกเมื่อได้อยู่ใกล้”
    • ส่วนหนึ่งของการเห็นคุณค่าความสำเร็จให้น้อยลงคือการเรียนรู้ที่จะรักตนเอง เราต้องฝึกดูแลตนเองเพื่อรักตนเอง การรักตนเองหมายถึงว่าเราเห็นคุณค่าตนเองมากเท่ากับที่เราเห็นคุณค่าคนอื่น และยังหมายถึงว่าเราคุยกับตนเองแบบเดียวกับที่เราคุยกับเพื่อน ใช้น้ำเสียงที่ดีคุยกับตนเอง ตัวอย่างเช่น แทนที่จะพูดว่า “ให้ตายสิ ฉันดูไม่ได้เลยวันนี้” เราอาจพูดว่า “ว้าว ทรงผมของเราดูเท่จังวันนี้” เราต้องเรียนรู้ที่จะเห็นสิ่งดีๆ ในตัวเอง [25]
    • การรักตัวเองยังหมายถึงการยอมรับตนเองอย่างที่เราเป็น เรามีทั้งด้านที่ดีและด้านที่แย่ ทุกคนก็เช่นกัน เราต้องเรียนรู้ทุกด้านเพราะมันเป็นส่วนหนึ่งของเรา เราจะต้องสามารถรักทุกด้านของเรา แม้แต่ตอนที่เราอยากปรับปรุงตนเองก็ตาม[26]
    โฆษณา


  1. https://www.psychologytoday.com/blog/happiness-purpose/201508/take-action-now
  2. https://www.psychologytoday.com/blog/now-is-everything/201010/what-are-you-waiting-4-steps-begin-taking-bold-action
  3. https://www.psychologytoday.com/blog/now-is-everything/201010/what-are-you-waiting-4-steps-begin-taking-bold-action
  4. http://psychcentral.com/lib/the-self-confidence-formula-for-women/
  5. http://www.anxietybc.com/sites/default/files/ToleratingUncertainty.pdf
  6. https://www.psychologytoday.com/blog/solving-unsolvable-problems/201408/4-steps-stop-procrastinating
  7. http://www.wgu.edu/blogpost/why-it-so-hard-stop-procrastinating-hint-it-doesnt-have-be
  8. https://www.psychologytoday.com/blog/solving-unsolvable-problems/201408/4-steps-stop-procrastinating
  9. http://writingcenter.unc.edu/handouts/procrastination/
  10. http://writingcenter.unc.edu/handouts/procrastination/
  11. http://www.sass.umn.edu/pdfs/II%20Self%20Awareness/Perfectionism/C%204.4.8%20Imperfect%20Look%20at%20Overcoming%20Perfectionism%20%20rev..pdf
  12. http://bsc.harvard.edu/files/perfectionism_strategies_for_change_revised_2014.pdf
  13. http://www.sass.umn.edu/pdfs/II%20Self%20Awareness/Perfectionism/C%204.4.8%20Imperfect%20Look%20at%20Overcoming%20Perfectionism%20%20rev..pdf
  14. http://bsc.harvard.edu/files/perfectionism_strategies_for_change_revised_2014.pdf
  15. http://www.sass.umn.edu/pdfs/II%20Self%20Awareness/Perfectionism/C%204.4.8%20Imperfect%20Look%20at%20Overcoming%20Perfectionism%20%20rev..pdf
  16. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/05/23/self-love-is-not-a-crime-learning-to-love-yourself/
  17. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/05/23/self-love-is-not-a-crime-learning-to-love-yourself/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Michelle Shahbazyan, MS, MA
ร่วมเขียน โดย:
ไลฟ์โค้ช
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Michelle Shahbazyan, MS, MA. มิเชล ชาบาซเซียนเป็นผู้ก่อตั้ง The LA Life Coach ผู้ให้บริการโค้ชชีวิต ครอบครัวและอาชีพในลอสแองเจลิส เธอมีประสบการณ์ทางด้านนี้กว่า 10 ปีคอยให้คำแนะนำ กระตุ้นและบริการจับคู่ เธอจบปริญญาตรีด้านจิตวิทยาประยุกต์และปริญญาโทด้านการบริหารงานก่อสร้างจากมหาวิทยาลัยจอร์เจียเทค และปริญญาโททางจิตวิทยาเน้นการบำบัดชีวิตคู่และครอบครัวจากมหาวิทยาลัยฟิลิปส์ บทความนี้ถูกเข้าชม 9,604 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 9,604 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา