วิธีการ เปลี่ยนจากคนเก็บตัวเป็นคนเปิดเผย

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เช่นเดียวกับหลายๆ เรื่องในชีวิต บุคลิกภาพของคุณซับซ้อนและมักจะมีระดับความเข้มข้นมากน้อยแตกต่างกันไป แม้ว่าจะมีหลักฐานที่บอกว่าสมองของคุณมีระดับของการเก็บตัวหรือการเปิดเผยที่ฝังรากลึกมาตั้งแต่เกิด[1]แต่ทุกคนก็ล้วนมีทั้งลักษณะของคนเก็บตัวและคนเปิดเผยในคนๆ เดียวกัน คนส่วนใหญ่จะอยู่ตรงกลางระหว่างสองขั้วนี้[2] คุณอาจจะรู้สึกว่าตัวเองเก็บตัวมากกว่าหรือเปิดเผยมากกว่าแล้วแต่ว่าวันนั้นหรือประสบการณ์ที่เพิ่งเจอไม่นานมานี้เป็นอย่างไร[3] ซึ่งเรียกว่าคุณเป็นคนมี “ความสนใจต่อโลกภายในและโลกภายนอกพอๆ กัน”[4] บางครั้งคนเก็บตัวก็ถูกทำให้รู้สึกว่ามีบางอย่างผิดปกติเกี่ยวกับตัวเอง[5] การเป็นคนเก็บตัวนั้นเป็นธรรมชาติของใครหลายคน และก็ไม่มีอะไรผิดปกติในเรื่องนี้ด้วย แม้ว่าคุณอาจจะไม่มีทาง 'เปลี่ยนจากคนเก็บตัวเป็นคนเปิดเผย' ได้จริงๆ คุณก็สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อยอมรับส่วนที่เปิดเผยของคุณและพัฒนาส่วนนี้ให้มากขึ้นได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เข้าใจการเป็นคนเก็บตัวกับการเป็นคนเปิดเผย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รู้จักลักษณะของ “คนเก็บตัว”.
    คนเก็บตัวมักจะเงียบขรึมกว่าคนเปิดเผย พวกเขามักจะชอบใช้เวลากับคนอื่น แต่จะชอบอยู่กับเพื่อนสนิทคนสองคนมากกว่ากลุ่มคนแปลกหน้า (ซึ่งไม่เหมือนกับการเป็นคนขี้อาย) ข้อแตกต่างบางประการระหว่างคนเปิดเผยกับคนเก็บตัวมักจะเกิดขึ้นเพราะว่าสมองของคนเก็บตัวนั้นประมวลผลข้อมูลต่างจากคนเปิดเผย[6][7] แม้ว่าจะมีความเข้าใจผิดต่างๆ มากมาย แต่คนเก็บตัวไม่ได้ “เกลียดผู้คน” และไม่ได้ขี้อายเสมอไป คุณสมบัติต่อไปนี้เป็นลักษณะทั่วไปของคนเก็บตัว :[8]
    • แสวงหาความสันโดษ[9] โดยทั่วไปคนเก็บตัวใช้ชีวิตคนเดียวได้อย่างเป็นปกติสุข ในหลายๆ สถานการณ์พวกเขาจะชอบอยู่คนเดียวมากกว่าอย่างน้อยก็เกือบตลอดเวลา ซึ่งไม่ได้เป็นเพราะว่าพวกเขากลัวคนแต่อย่างใด เพียงแต่พวกเขาไม่ได้มีความต้องการที่จะถูกรายล้อมไปด้วยผู้คนมากนัก[10]
    • ชอบการกระตุ้นน้อยกว่า ข้อนี้มักจะหมายถึงการกระตุ้นทางสังคม แต่ก็ยังรวมถึงการกระตุ้นทางกายภาพด้วย เช่น จริงๆ แล้วคนเก็บตัวจะผลิตน้ำลายเพื่อตอบสนองต่อการรับรสสิ่งที่เป็นกรดมากกว่าคนเปิดเผย! เสียงน่ารำคาญ ผู้คน และแสงจ้า (เช่น ผับทั่วๆ ไป) โดยปกติไม่ใช่สิ่งที่คนเก็บตัวจะชอบมากนัก[11]
    • ชอบอยู่กับคนไม่กี่คนหรือชอบบทสนทนาเงียบๆ มากกว่า[12] คนเก็บตัวอาจจะชอบเข้าสังคม เพียงแต่ปกติแล้วพวกเขามักจะรู้สึกเหนื่อยหลังจากมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่แม้จะสนุกก็ตาม คนเก็บตัวต้อง “ชาร์จพลัง” กับตัวเอง[13]
    • ชอบทำงานคนเดียว คนเก็บตัวมักจะไม่ชอบทำงานเป็นกลุ่ม พวกเขาจะชอบทำงานคนเดียวมากกว่าหรือร่วมงานกับคนแค่ 1 หรือ 2 คน[14]
    • ชอบกิจวัตรและวางแผน คนที่เป็นคนเก็บตัวมากๆ จะไม่ตอบสนองต่อความแปลกใหม่แบบเดียวกับคนเปิดเผย คนเก็บตัวอาจจะต้องการกิจวัตรและการคาดเดาได้ พวกเขาอาจจะใช้เวลามากมายไปกับการวางแผนหรือคิดทบทวนก่อนลงมือทำ แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ ก็ตาม[15][16]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้ลักษณะของ “คนเปิดเผย”.
    คนเปิดเผยมักจะชอบอยู่ท่ามกลางผู้คน พวกเขามักจะกระตือรือร้น และโดยทั่วไปมักจะมีเรื่องราวต่างๆ เกิดขึ้นมากมายในชีวิต[17] ความเข้าใจผิดทั่วไปคือคนเปิดเผยจะทนกับการอยู่คนเดียวไม่ได้ ซึ่งไม่จริงเลย พวกเขาแค่มีประสบการณ์การอยู่คนเดียวในแบบที่แตกต่างออกไป[18] คุณสมบัติต่อไปนี้เป็นลักษณะโดยทั่วไปของคนเปิดเผย :
    • แสวงหาการเข้าสังคม คนเปิดเผยมักจะมีความสุขที่สุดเวลาอยู่ท่ามกลางผู้คน พวกเขา “ชาร์จพลัง” ด้วยการเข้าสังคมและอาจจะรู้สึกเหนื่อยล้าหรือหดหู่เวลาที่เขาไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม[19]
    • ชอบการกระตุ้นทางประสาทสัมผัส[20] คนเปิดเผยมักจะมีวิธีการรับโดปามีนในแบบที่ต่างออกไป ทำให้พวกเขาตื่นเต้นหรือพอใจเวลาที่ได้เจอประสบการณ์ใหม่ๆ ที่เร้าใจ[21]
    • ชอบเป็นจุดสนใจ คนเปิดเผยไม่ได้ไร้สาระไปกว่าคนอื่น เพียงแต่พวกเขามักจะไม่ได้สนใจเวลาที่คนให้ความสนใจพวกเขา
    • รู้สึกสบายใจกับการทำงานเป็นกลุ่ม คนเปิดเผยอาจไม่ได้ชอบทำงานเป็นกลุ่มเสมอไป แต่โดยทั่วไปพวกเขาจะสบายใจกับการทำงานเป็นกลุ่ม และการทำงานกลุ่มก็ไม่ได้ทำให้พวกเขาอึดอัดใจ[22]
    • ชอบการผจญภัย ความเสี่ยง และความแปลกใหม่[23] คนเปิดเผยมักจะชอบและแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ พวกเขาอาจจะเบื่อง่าย และอาจจะตัดสินใจเข้าหากิจกรรมหรือประสบการณ์ต่างๆ เร็วเกินไป[24]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รู้ว่าองค์ประกอบของการเป็นคนเปิดเผยเป็นองค์ประกอบทางชีววิทยา....
    รู้ว่าองค์ประกอบของการเป็นคนเปิดเผยเป็นองค์ประกอบทางชีววิทยา. งานวิจัยพบว่า การเป็นคนเปิดเผยเชื่อมโยงกับบริเวณสองส่วนในสมอง ได้แก่ อะมิกดาลาซึ่งมีหน้าที่ประมวลผลอารมณ์ และ nucleus accumbens ที่เป็น “ศูนย์กลางรางวัล” ที่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าด้วยโดปามีน[25] วิธีที่คุณตอบสนองต่อความเสี่ยงและสิ่งเร้าซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของการเป็นคนเปิดเผยนั้นอย่างน้อยที่สุดก็ขึ้นอยู่กับสมองของคุณในบางส่วน
    • หลายงานวิจัยเชื่อมโยงการทำงานของโดปามีนกับการเป็นคนเปิดเผย ซึ่งดูเหมือนว่าสมองของคนที่เป็นคนเปิดเผยนั้นมักจะตอบสนองต่อ “รางวัล” ในสมองมากกว่าและตอบสนองอย่างรุนแรงกว่าเมื่อความเสี่ยงหรือการผจญภัยให้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ[26][27]
    • คนเปิดเผยมักจะแสวงหาความแปลกใหม่และความหลากหลายเพราะการทำงานของโดปามีน งานวิจัยชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าคนที่มียีนส์ตัวที่เพิ่มโดปามีนมีโอกาสที่จะเป็นคนเปิดเผยมากกว่าคนนี้ไม่มียีนส์นี้[28]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ทำแบบทดสอบบุคลิกภาพ.
    แบบทดสอบของ Myers-Briggs Personality Inventory ซึ่งเป็นหนึ่งในแบบทดสอบที่ใหญ่ที่สุดที่ใช้วัดระดับความเป็นคนเก็บตัว/ความเป็นคนเปิดเผยนั้นจะต้องได้รับการจัดสอบจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น [29] อย่างไรก็ตามมีแบบทดสอบหลายเวอร์ชั่นที่สามารถทำได้ฟรีทางออนไลน์ ซึ่งแม้จะไม่ครอบคลุมหรือถูกต้องตามหลักการมากเท่าของ MBTI แต่ก็บอกให้คุณรู้ได้ว่าคุณอยู่ในช่วงไหนระหว่างขั้วความเป็นคนเก็บตัวกับความเป็นคนเปิดเผย
    • 16Personalities มีแบบทดสอบแบ่งประเภทบุคคลของ MBTI ที่สั้นและมีประโยชน์ที่คุณสามารถทำได้ฟรี นอกจากจะบอกแล้วว่าคุณเป็นคน “ประเภท” ไหนแล้ว แบบทดสอบนี้ยังช่วยให้คุณเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนโดยทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับลักษณะเด่นของคุณด้วย [30]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ค้นหาว่าคุณเป็นคนเก็บตัวหรือเป็นคนขี้อาย.
    หนึ่งในความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับคนเก็บตัวคือพวกเขาเป็นคนขี้อายมากๆ และความเชื่อผิดๆ ในทางกลับกันก็คือคนเปิดเผยเป็นพวกชอบปาร์ตี้ ซึ่งทั้งสองประโยคนี้ไม่จริงเสมอไป ความขี้อายเกิดจากความกลัวหรือความกังวลต่อการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ส่วนการเป็นคนเก็บตัวเกิดจากความต้องการที่จะเข้าสังคมในระดับต่ำมาตั้งแต่เกิด คนเก็บตัวอาจจะไม่ค่อยเป็นฝ่ายเริ่มการเข้าสังคมเท่าไหร่ แต่โดยทั่วไปพวกเขาก็ไม่ค่อยเลี่ยงการเข้าสังคมด้วยเช่นกัน [31]
    • งานวิจัยพบว่าการเป็นคนเก็บตัวกับการเป็นคนขี้อายนั้นแทบไม่มีความสัมพันธ์กันเลย เช่น การเป็นคนขี้อายไม่ได้หมายความว่าคุณไม่อยากอยู่กับคนอื่นๆ และการไม่อยาก (หรือไม่ต้องการ) อยู่กับคนอื่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นคนขี้อาย แม้แต่คนเปิดเผยก็ยังขี้อายได้! [32]
    • ความขี้อายจะเป็นปัญหาก็ต่อเมื่อคุณรู้สึกว่ามันทำให้คุณวิตกกังวลหรือเป็นอุปสรรคต่อการทำในสิ่งที่คุณอยากทำ [33] กลุ่มสนับสนุนและการฝึกการยอมรับตนเองอาจช่วยให้คุณเอาชนะความขี้อายที่เป็นปัญหานี้ได้[34]
    • Wellesley College มีแบบทดสอบวัดระดับความขี้อายที่ใช้ในการทำวิจัยฟรี (เป็นภาษาอังกฤษ) ที่นี่ แบบทดสอบนี้จะคำนวณความขี้อายจากชุดคำถามเช่น :[35]
      • คุณรู้สึกเครียดเวลาอยู่ท่ามกลางคนอื่นหรือไม่ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่คุณไม่ได้รู้จักเป็นอย่างดี)
      • คุณอยากคบกับคนอื่นๆ หรือไม่
      • คุณรู้สึกกลัวการอับอายหรือไม่รู้จะพูดอะไรหรือไม่
      • คุณรู้สึกอึดอัดใจยิ่งกว่าเดิมเวลาอยู่กับกลุ่มคนที่เป็นเพศตรงข้ามหรือไม่
    • จากสเกลของ Wellesley หากคุณได้คะแนนเกิน 49 คะแนนหมายถึงคุณขี้อายมาก 34-49 คะแนนหมายความว่าคุณขี้อายประมาณนึง และต่ำว่า 34 หมายความคุณไม่ได้ขี้อายนัก[36] คุณสามารถใช้เครื่องมือนี้ประเมินได้ว่าคุณรู้สึกว่าคุณควรทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ตัวเองขี้อายน้อยกว่านี้หรือเปล่า
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ออกจากพื้นที่ปลอดภัย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาว่าอะไรคือความกังวลที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด....
    หาว่าอะไรคือความกังวลที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด. นักจิตวิทยากล่าวว่า มันมีพื้นที่แห่ง “ความกังวลที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด” (หรือที่รู้จักกันว่า “ความอึดอัดใจที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพ”) ที่อยู่ถัดจากพื้นที่ปลอดภัยแค่นิดเดียว ทฤษฎีที่อยู่เบื้องหลังเรื่องความกังวลที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดคือ จริงๆ แล้วการปรากฏของความกังวลในระดับที่จำกัดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคุณ[37]
    • เช่น หลายคนทำงานได้ดีมากในช่วงเริ่มงานใหม่ เพราะงานใหม่ทำให้พวกเขาไม่สบายใจประมาณหนึ่ง พวกเขาจึงเอาใจใส่และอุทิศตัวให้กับงานมากเป็นพิเศษเพื่อพิสูจน์ตัวเองและพิสูจน์ให้เจ้านายเห็นว่าพวกเขาทำงานได้
    • การหาความกังวลที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดอาจเป็นเรื่องยากสักหน่อย เพราะต้องอาศัยการตรวจสอบตัวเองเพื่อหาว่า จุดไหนที่ความวิตกกังวลมีมากกว่าประสิทธิภาพในการทำงาน
    • ตัวอย่างการก้าวเกินเขตความกังวลที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดก็เช่น การเริ่มงานใหม่โดยไม่ได้รับการฝึกอบรมหรือไม่มีคุณสมบัติที่จะทำงานนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีนี้ความกังวลว่าจะทำงานได้ไม่ดีมีมากกว่าโอกาสที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ[38]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ผลักดันตัวเองเล็กน้อย.
    การผลักดันตัวเองให้เดินเลยเขตพื้นที่ปลอดภัยออกมาเล็กน้อยช่วยให้ได้คุณเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และประสบคววามสำเร็จในสิ่งที่คุณไม่คิดว่าจะทำได้ การสบายใจกับการออกจากเขตพื้นที่ปลอดภัยจะช่วยให้คุณน้อมรับลักษณะของความเป็นคนเปิดเผยมากขึ้น เช่น การสนุกไปกับสิ่งแปลกใหม่[39][40]
    • อย่าผลักดันตัวเองจนไกลเกินไป ค่อยๆ ให้เวลากับมัน เพราะการก้าวข้ามพื้นที่ปลอดภัยไกลเกินไปจะสร้างความวิตกกังวลมากขึ้นในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ แล้วสมรรถภาพของคุณก็จะลดลง
    • พยายามเริ่มจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก่อน เช่น ถ้าปกติอาหารมื้อเย็นของคุณเป็นการกินแกงจืดไข่เจียวคนเดียวเงียบๆ การกระโดดไปกินหัวใจงูเห่าที่ยังเต้นตุ๊บๆ ต่อหน้าคนอื่นก็คงไม่ใช่ความคิดที่ดีสักเท่าไหร่ ลองเขยิบจากพื้นที่ปลอดภัยไปอีกแค่นิดเดียว เช่น ไปกินซูชิกับเพื่อนแล้วลองหน้าใหม่ๆ ที่คุณไม่เคยกินมาก่อน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สบายใจกับการท้าทายตัวเอง.
    กำหนดเรื่องท้าทายใหม่ๆ ที่คุณจะต้องลองในแต่ละสัปดาห์ (หรือระดับไหนก็ได้ที่ได้ผลกับคุณ) เพื่อที่คุณจะได้ผูกติดอยู่กับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หนึ่งในประโยชน์ของการผลักดันตัวเองให้ออกจากพื้นที่ปลอดภัยก็คือ คุณจะเคยชินกับความกังวลที่ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดที่เกิดจากการออกจากพื้นที่ปลอดภัยเล็กน้อย การลองสิ่งใหม่ๆ จะสร้างความไม่สบายใจให้คุณน้อยลงเพราะคุณสอนให้สมองยอมรับสิ่งแปลกใหม่มากขึ้น[41]
    • รู้ว่าคุณอาจจะไม่สบายใจกับความท้าทายเหล่านี้โดยเฉพาะในช่วงแรกๆ ประเด็นของการท้าทายตัวเองไม่ใช่เพื่อให้รู้สึกดีกับการลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำโดยทันที แต่ประเด็นอยู่ที่การรับรู้กับตัวเองว่าคุณพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ทำอะไรแบบอัตโนมัติ.
    ลักษณะหนึ่งของคนเปิดเผยคือพวกเขาชอบประสบการณ์ใหม่ๆ และการผจญภัย ในขณะที่คนเก็บตัวชอบวางแผนและคิดทุกรายละเอียดก่อนลงมือทำ ผลักดันตัวเองให้ปล่อยวางเวลาและแผนการที่วางไว้อย่างรัดกุมทิ้งไป[42]
    • นี่ไม่ได้หมายความว่าคุณควรจะทิ้งทุกอย่างแล้วไปเที่ยวรัสเซียทันทีแบบไม่ต้องวางแผน (ยกเว้นว่าคุณอยากทำ) เช่นเดียวกับเรื่องอื่นๆ คุณต้องเริ่มจากเรื่องเล็กๆ น้อยๆ และทำให้ตัวเองชินกับการทำเรื่องเล็กๆ แบบอัตโนมัติก่อน
    • เช่น โผล่หน้าไปที่คอกทำงานของเพื่อนร่วมงานแล้วถามเขา/เธอว่าวันนี้ไปกินข้าวกลางวันด้วยกันไหม พาคนรักไปกินมื้อเย็นและดูหนังโดยที่ไม่ต้องวางแผนก่อนว่าจะไปไหนหรือดูเรื่องอะไร การทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ แบบนี้จะช่วยให้คุณสบายใจกับการทำอะไรแบบอัตโนมัติในสถานการณ์ที่ปลอดภัยและให้ความสุขกับคุณ
  5. How.com.vn ไท: Step 5 วางแผนการมีปฏิสัมพันธ์แบบกลุ่มไว้ล่วงหน้า.
    เวลาที่คุณรู้ว่าคุณจะต้องไปอยู่ในที่สาธารณะ นำกิจกรรม นำการประชุม หรือรู้ว่าจะต้องไปอยู่ในกลุ่มคนกลุ่มใหญ่ ให้เตรียมและจัดระเบียบความคิดของตัวเอง วิธีนี้จะช่วยลดความวิตกกังวลและความเครียดลงได้
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เพิ่มทักษะทางสังคม.
    ความเข้าใจผิดโดยทั่วไปคือคนเปิดเผยเข้าสังคมกับคนอื่นได้ “ดีกว่า” คนเก็บตัว ซึ่งจริงๆ แล้วไม่จริงเลย [43] แต่ในตอนแรกคนอื่นอาจจะเข้าใจว่าการเป็นคนเปิดเผยนั้นดีกว่าเพราะคนเปิดเผยมักจะแสวงหาโอกาสที่จะได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น[44] ท้าทายตัวเองให้หาโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นอย่างน้อยหนึ่งครั้งในงานสังคมครั้งถัดไป[45]
    • คุยกับใครสักคนที่งานปาร์ตี้ มันอาจจะยากเกินไปหากต้องพยายาม “เข้าไปเจ๊าะแจ๊ะกับคนอื่นๆ” แบบที่คนเปิดเผยมากๆ เขาทำกัน แต่ให้คุณวางแผนที่จะคุยกับใครสักคนหนึ่ง แนะนำตัวเองโดยการพูดว่า “ฉันว่าเราอาจจะไม่เคยเจอกันมาก่อนนะคะ ดิฉัน…ค่ะ”[46]
    • มองหา “พวกไม้ประดับ” คนอื่นๆ พวกเขาอาจจะเป็นคนเก็บตัวเหมือนกัน หรืออาจจะแค่ขี้อายก็ได้ การเข้าไปสวัสดีพวกเขาอาจเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพที่ดีก็ได้ แต่คุณไม่มีวันรู้จนกว่าคุณจะได้ลอง [47]
    • ยอมรับความเปราะบางของตัวเอง ถ้าคุณไม่สบายใจที่จะเข้าหาคนแปลกหน้า ก็ให้เริ่มจากจุดนั้น! การแซ็วเรื่องความประหม่าของตัวเอง เช่น “ฉันไม่เคยรู้เลยว่าจะต้องเริ่มทำอะไรแบบนี้ยังไง” ช่วยลดความตึงเครียดและทำให้คนอื่นเข้าหาคุณ[48]
    • เตรียม “เรื่องคุย” ไว้ 2-3 เรื่อง โดยทั่วไปคนเก็บตัวชอบวางแผนล่วงหน้า เพราะฉะนั้นให้เตรียมเรื่องชวนคุยไว้ 2-3 เรื่องสำหรับการไปเจอผู้คนครั้งถัดไป คุณไม่จำเป็นต้องเปิดด้วยมุกเชยเฉิ่มหรือประหลาด ลองถามคำถามปลายเปิดที่ต้องการคำตอบมากกว่าใช่หรือไม่ใช่ เช่น “เล่าให้ดิฉันฟังหน่อยสิค่ะว่าคุณทำอะไร” หรือ “คุณชอบทำอะไรแถวนี้ค่ะ” คนเราชอบพูดเรื่องตัวเองอยู่แล้ว และคำถามปลายเปิดก็เป็นการชักชวนให้เขาเข้าหาคุณด้วย[49]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 เลือกงานสังคมที่เหมาะกับคุณ.
    ถ้าหนึ่งในเป้าหมายของคุณคือการรู้จักเพื่อนใหม่ คุณก็ต้องหาวิธีที่จะทำแบบนั้น ไม่มีกฎตายตัวว่าคุณจะต้องไปผับบาร์หรือที่อื่นๆ ที่คุณไม่อยากไป ไม่ใช่ว่าคนเปิดเผยทุกคนจะมีสโมสรพิเศษไว้สำหรับสังสรรค์ (ที่จริงแล้ว คนเปิดเผยบางคนเป็นคนขี้อายด้วยซ้ำ!) ค่อยๆ พิจารณาอย่างมีเหตุผลว่าคนประเภทไหนที่คุณอยากเป็นเพื่อนด้วย จากนั้นมองหางานสังคมที่คุณอาจจะได้เจอพวกเขา หรือไม่ก็สร้างการพบปะทางสังคมขึ้นมาเองเลย[50]
    • ชวนเพื่อน 2-3 คนมางานพบปะเล็กๆ ที่บ้านของคุณ แล้วให้เพื่อนแต่ละคนพาเพื่อนมาอีกคนด้วย ซึ่งถ้าจะให้ดีต้องเป็นเพื่อนที่คุณไม่เคยเจอมาก่อน วิธีนี้จะทำให้คุณได้พบปะผู้คนใหม่ๆ ในบรรยากาศที่สบายใจกับคนที่คุณรู้จักอยู่แล้ว
    • เพิ่มระดับความสัมพันธ์ออนไลน์ไปเป็นการพบปะแบบเจอหน้ากันจริงๆ เช่น ถ้าคุณใช้เพจแสดงความคิดเห็น คุณก็อาจจะเน้นคุยกับคนในละแวกเดียวกันแล้วหาโอกาสเจอกันจริงๆ บ้าง แต่คุณต้องไม่ไปพบปะกับคนที่คุณไม่รู้จักโดยสิ้นเชิงด้วยวิธีนี้
    • จำไว้ว่าคนเก็บตัวมักจะลนลานได้ง่าย[51] คุณไม่สามารถเข้าไปทำความรู้จักกับคนอื่นได้หากคุณยังต้องต่อสู้กับสิ่งเร้าต่างๆ ที่กวนใจอยู่มากมาย เลือกสถานที่และสถานการณ์ที่คุณสบายใจ (หรืออึดอัดแค่นิดหน่อย) เพราะโอกาสที่คุณจะเข้าสังคมนั้นมีมากกว่าหากคุณรู้สึกสบายใจ
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ไปเข้าคลาสออกกำลังกาย.
    แน่นอนว่าคุณยังคงยอมรับแนวโน้มของการเป็นคนเก็บตัวไว้อยู่ได้ เช่น คลาสโยคะอาจเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณ เพราะโยคะอาศัยการจดจ่อไปที่การทำสมาธิจากข้างในและความเงียบ ทำความรู้จักกับคนที่อยู่ข้างคุณ หรือถามคำถามผู้สอน 2-3 คำถาม
    • จำไว้ว่าคุณไม่จำเป็นต้องคุยกับทุกคนในห้องถึงจะเรียกได้ว่าเป็นการน้อมรับลักษณะของการเป็นคนเปิดเผยขึ้น
  9. How.com.vn ไท: Step 9 เข้าร่วมหรือตั้งกลุ่มอ่านหนังสือ.
    วิธีนี้เป็นวิธีการเปลี่ยนกิจกรรมสันโดษมาเป็นกิจกรรมทางสังคมที่ดี กลุ่มอ่านหนังสือทำให้คุณได้แบ่งปันความคิดเห็นและความคิดของคุณกับกลุ่มคนที่มีความสนใจแบบเดียวกัน คนเก็บตัวมักจะชอบบทสนทนาที่ลึกซึ้งกับกลุ่มคนเล็กๆ และกลุ่มอ่านหนังสือก็ตรงกับความต้องการนี้พอดี[52]
    • กลุ่มอ่านหนังสือมักจะพบปะกันไม่ค่อยบ่อยนัก เช่น สัปดาห์ละครั้งหรือเดือนละครั้ง ด้วยเหตุนี้กลุ่มอ่านหนังสือจึงเหมาะกับคนเก็บตัว เพราะโดยทั่วไปคนเก็บตัวจะไม่อยากเข้าสังคมบ่อยนัก
    • ถ้าคุณไม่รู้จะไปหากลุ่มอ่านหนังสือที่ไหน ให้เข้าไปที่ Goodreads.com ที่ทำหน้าที่เป็นเหมือนกลุ่มอ่านหนังสือออนไลน์ เป็นที่ที่ผู้คนจะมาพูดคุยและแสดงความคิดเห็นกันเรื่องหนังสือ นอกจากนี้คุณยังสามารถค้นหากลุ่มหนอนหนังสือใน Meetups ใน Bangkok แล้วหากลุ่มอ่านหนังสือที่เข้ากับความสนใจของคุณ
  10. How.com.vn ไท: Step 10 เรียนการแสดง.
    คุณอาจจะประหลาดใจที่รู้ว่านักแสดงชื่อดังหลายคนเป็นคนเก็บตัว Robert De Niro เป็นคนเก็บตัวมากๆ แต่เขาก็เป็นนักแสดงที่โด่งดังที่สุดคนหนึ่งของอเมริกา[53] Emma Watson ที่โด่งดังมากจาก “Harry Potter” ก็อธิบายว่าตัวเองเป็นคนเงียบๆ และเก็บตัวเช่นกัน[54] การแสดงจะทำให้คุณได้สวมบท “ตัวตนฉากหน้า” ที่ต่างออกไปและได้สำรวจพฤติกรรมที่คุณอาจรู้สึกไม่ค่อยสบายใจกับตัวเองนักในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย[55]
    • คลาสการแสดงแบบ Improv ยังมีประโยชน์กับคนเก็บตัวอีกด้วย คลาสการแสดงแบบ Improv จะสอนให้คุณคิดแบบไม่คิด พัฒนาความยืดหยุ่น และตอบ “ตกลง” กับข้อมูลและประสบการณ์ใหม่ๆ หนึ่งในแนวคิดหลักของคลาสการแสดงแบบ Improv ก็คือ การยอมรับอะไรก็แล้วแต่ที่โยนมาใส่คุณและพยายามทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่จะช่วยให้คุณผลักดันตัวเองออกจากพื้นที่ปลอดภัยของการเป็นคนเก็บตัวได้อย่างแน่นอน[56]
  11. How.com.vn ไท: Step 11 เข้าร่วมกลุ่มดนตรี.
    เข้าร่วมกลุ่มดนตรีอย่างวงประสานเสียง วงดนตรี หรือแม้กระทั่งกลุ่มนักร้องแนว Barbershop อาจช่วยให้คุณได้ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ กิจกรรมเหล่านี้อาจดีกับคนเก็บตัว เพราะการเน้นไปที่ดนตรีอาจช่วยลดความกดดันในการเข้าสังคมออกไปได้
    • นักดนตรีที่มีชื่อเสียงหลายคนเป็นคนเก็บตัว Will Rogers ตำนานเพลงคันทรีและ Christina Aguilera นักร้องเพลงป๊อปที่มีชื่อเสียงเป็นแค่ตัวอย่างจากไม่กี่คนเท่านั้น[57]
  12. How.com.vn ไท: Step 12 ให้เวลาตัวเองได้พัก.
    หลังจากที่คุณผลักดันตัวเองให้น้อมรับสถานการณ์ทางสังคมแล้ว คุณต้องให้เวลาตัวเองได้อยู่เงียบๆ เพื่อฟื้นฟูตัวเองทางจิตใจและทางอารมณ์มาก ในฐานะที่คุณเป็นคนเก็บตัว คุณต้องการ “เวลาพัก” เพื่อให้คุณรู้สึกสดชื่นและพร้อมที่จะเข้าสังคมอีกครั้ง
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รับมือกับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เข้าหาคนอื่น.
    คนเก็บตัวบางครั้งก็ลืมไปว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้สึกเหมือนได้ “ชาร์จพลัง” จากการอยู่คนเดียว อย่าลืมเข้าหาเพื่อนๆ และคนที่คุณรัก แม้ว่าจะแค่เข้าไปพูดว่า “หวัดดี” ก็ตาม การเป็นคนเริ่มเข้าหาคนอื่นก่อนเป็นลักษณะของคนเปิดเผยมากกว่า แต่ถ้าฝึกฝนสักหน่อยก็ไม่ยากจนเกินไป
    • การใช้โซเชียลมีเดียเป็นวิธีที่ดีในการฝึกการเป็นฝ่ายเข้าหาความสัมพันธ์ต่างๆ ก่อน ส่ง Tweet ที่แสดงถึงความสนิทสนมให้เพื่อน โพสต์รูปแมวตลกๆ ในหน้า Facebook ของพี่/น้อง การเข้าหาคนอื่นก่อนแม้จะเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ช่วยให้คุณน้อมรับด้านของความเป็นคนเปิดเผยได้มากขึ้น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ตั้งกฎเกณฑ์สำหรับการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม.
    ถ้าคุณเป็นแฟนกับคนที่เป็นคนเปิดเผยมากกว่าคุณ คุณสามารถขอให้เขาช่วยให้คุณยอมรับลักษณะที่เป็นคนเปิดเผยของตัวเองมากขึ้นได้ แต่คุณก็จะได้ประโยชน์จากการพูดคุยกับเขาว่าคุณชอบและไม่ชอบอะไรในการเข้าสังคมด้วย ตั้งกฎเกณฑ์ขึ้นมาว่าคุณจะจัดการกับความต้องการที่แตกต่างกันนี้ได้อย่างไร[58]
    • เช่น คนเปิดเผยอาจจะต้องเข้าสังคมกับคนอื่นบ่อยๆ จริงๆ ถึงจะรู้สึกเติมเต็ม แม้ว่าคุณจะพยายามเปิดใจและเข้าหาคนอื่นมากขึ้น คุณก็อาจจะไม่ได้อยากเข้าสังคมมากเท่าแฟนของคุณ การให้คนรักของคุณออกไปข้างนอกโดยไม่มีคุณบ้างจะช่วยให้คุณได้อยู่บ้านและได้ชาร์จพลัง เพื่อที่คุณจะได้มีความสุขทั้งสองฝ่าย
    • คุณอาจจะขอให้คนรักพาคุณไปงานสังคมต่างๆ ด้วย ถึงคุณจะไม่ได้ตื่นเต้นที่จะไปขนาดนั้น ก็ให้พยายามออกไปบ้าง การมีคนที่คุณรู้จักและไว้ใจไปด้วยจะช่วยให้คุณสบายใจมากขึ้น
  3. How.com.vn ไท: Step 3 บอกอีกฝ่ายว่าคุณรู้สึกอย่างไร.
    เนื่องจากคนเก็บตัวมักจะอยู่แต่ในโลกของตัวเอง พวกเขาจึงอาจลืมที่จะแสดงความรู้สึกของเขาให้คนอื่นได้รับรู้ ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากสำหรับคนอื่นโดยเฉพาะคนเปิดเผยในการที่จะบอกว่าคุณกำลังมีความสุขหรืออยากจะซ่อนตัวเอาเสียมากๆ[59] บอกคนอื่นว่าคุณรู้สึกอย่างไรก่อนที่เขาจะต้องเอ่ยปากถาม
    • เช่น ถ้าคุณอยู่ที่งานปาร์ตี้กับเพื่อน ให้บอกเขาหรือเธอว่า “ฉันสนุกมากเลย!” คุณอาจจะไว้ตัวหรือเงียบขรึมมากกว่าเป็นปกติ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องทำตัวลึกลับตลอดเวลา
    • เช่นเดียวกัน ถ้าคุณหมดพลังที่งานสังคมก่อนคนอื่น ซึ่งเป็นไปได้ว่าคุณจะเป็นแบบนั้น ก็ให้บอกไปเลยตรงๆ คุณอาจจะพูดประมาณว่า “ฉันสนุกมากจริงๆ แต่ตอนนี้เริ่มเหนื่อยล่ะ ขอตัวกลับบ้านก่อน ขอบคุณนะ วันนี้สนุกมากเลย!” วิธีนี้จะทำให้คนอื่นรู้ว่าคุณมีช่วงเวลาดีๆ แต่คุณก็สามารถยืนยันความต้องการที่จะกลับบ้านไปชาร์จพลังได้ด้วยเช่นกัน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เคารพความแตกต่างของตัวเอง.
    การเป็นคนเก็บตัวและการเป็นคนเปิดเผยเป็นเพียงแค่ตัวตนที่แสดงออกแตกต่างกัน ไม่มีฝ่ายไหนเหนือกว่าอีกฝ่าย อย่าดูถูกตัวเองที่ตอบสนองต่อสถานการณ์ในแบบที่ต่างไปจากเพื่อนๆ หรือคนที่คุณรัก แต่ก็อย่าตัดสินคนอื่นจากเรื่องการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่างๆ ด้วยเช่นกัน[60]
    • แย่หน่อยที่พวกคนเปิดเผยมักจะเหมารวมคนเก็บตัวว่าเป็น “พวกเกลียดคน” หรือ “น่าเบื่อ” และคนเก็บตัวก็มักจะเหมารวมว่าคนเปิดเผยเป็นพวก “ตื้นเขิน” หรือ “เอะอะมะเทิ่ง” พอๆ กัน อย่ารู้สึกว่าตัวเองต้องดูถูก “อีกฝ่าย” เพื่อที่จะได้ซาบซึ้งกับสิ่งที่ตัวเองเป็น เพราะคนแต่ละประเภทก็มีจุดแข็งและความท้าทายแตกต่างกันไป[61]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การเป็นคนเก็บตัวไม่เหมือนกับการเป็นคนขี้อาย คนเก็บตัวคือคนที่ชอบทำกิจกรรมสันโดษมากกว่ากิจกรรมทางสังคมจริงๆ ในขณะที่คนขี้อายจะออกห่างจากสถานการณ์ทางสังคมเพราะความกลัวและความวิตกกังวล ถ้าคุณเป็นคนที่อยากคุยและเข้าสังคมกับคนอื่นแต่รู้สึกไม่กล้าทำหรือรู้สึกไม่มั่นใจในตัวเอง ปัญหาที่คุณต้องพยายามแก้อาจจะเป็นเรื่องความขี้อายมากกว่า อ่านบทความวิธีการเลิกเป็นคนขี้อายเพื่อช่วยคุณแก้ไขปัญหานี้
  • คนเก็บตัวรู้สึกว่าการเข้าสังคมเป็นเรื่องน่าเหนื่อยหน่าย ถ้าคุณเป็นคนเก็บตัว ไม่ต้องกังวลเรื่องการเข้าสังคมหากคุณแค่อยากอยู่คนเดียวบ้าง
  • แม้ว่าความขี้อายและความวิตกกังวลเรื่องการเข้าสังคมจะเป็นอาการที่ต้องแก้ไขและเอาชนะ การเป็นคนเก็บตัวเป็นลักษณะบุคลิกภาพพื้นฐานที่มักจะคงที่ตลอดชีวิต การเป็นตัวของตัวเอง รับรู้ถึงคุณค่าและคุณความดีในฐานะปัจเจกบุคคลและในฐานะคนเก็บตัวนั้นดีกว่าเสมอ
โฆษณา

คำเตือน

  • น้อมรับลักษณะของการเป็นคนเปิดเผยเพราะว่าคุณอยากทำ ไม่ใช่เพราะคนอื่นบอกว่าคุณ “ควร” เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จงรักในสิ่งที่คุณเป็น!
โฆษณา
  1. https://www.psychologytoday.com/articles/200703/field-guide-the-loner-the-real-insiders?collection=101164
  2. http://www.scientificamerican.com/article/the-power-of-introverts/
  3. http://www.theatlantic.com/magazine/archive/2003/03/caring-for-your-introvert/302696/
  4. https://www.psychologytoday.com/articles/200703/field-guide-the-loner-the-real-insiders?collection=101164
  5. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/mbti-basics/extraversion-or-introversion.htm
  6. https://www.psychologytoday.com/articles/199907/the-difference-between-introverts-and-extroverts?collection=101164
  7. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/mbti-basics/extraversion-or-introversion.htm
  8. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/mbti-basics/extraversion-or-introversion.htm
  9. http://psychcentral.com/blog/archives/2013/09/11/7-persistent-myths-about-introverts-extroverts/
  10. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/mbti-basics/extraversion-or-introversion.htm
  11. https://www.psychologytoday.com/articles/199907/the-difference-between-introverts-and-extroverts?collection=101164
  12. http://www.bbc.com/future/story/20130717-what-makes-someone-an-extrovert
  13. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/mbti-basics/extraversion-or-introversion.htm
  14. http://journal.frontiersin.org/article/10.3389/fnhum.2013.00288/abstract
  15. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/mbti-basics/extraversion-or-introversion.htm
  16. http://www.bbc.com/future/story/20130717-what-makes-someone-an-extrovert
  17. http://www.bbc.com/future/story/20130717-what-makes-someone-an-extrovert
  18. http://journal.frontiersin.org/article/10.3389/fnhum.2013.00288/abstract
  19. http://link.springer.com/article/10.1007/s11055-007-0058-8#page-1
  20. http://www.myersbriggs.org/my-mbti-personality-type/take-the-mbti-instrument/
  21. http://www.16personalities.com/free-personality-test
  22. https://www.psychologytoday.com/blog/the-introverts-corner/200910/introversion-vs-shyness-the-discussion-continues?collection=101164
  23. Cheek, J. M., & Melchior, L.A. (1990). Shyness, self-esteem, and self-consciousness. In H. Leitenberg (Ed.), Handbook of Social and Evaluation Anxiety (pp. 47-82). New York: Plenum Publishing.
  24. https://www.psychologytoday.com/blog/singletons/200811/shyness-biologically-based-mental-disorder-or-personality-quirk
  25. https://www.psychologytoday.com/blog/shyness-is-nice/201401/how-overcome-anxiety-shyness-real-life-success-stories
  26. http://academics.wellesley.edu/Psychology/Cheek/research.html
  27. http://academics.wellesley.edu/Psychology/Cheek/howshy.html
  28. https://www.psychologytoday.com/blog/hide-and-seek/201207/can-anxiety-be-good-us
  29. https://www.psychologytoday.com/blog/hide-and-seek/201207/can-anxiety-be-good-us
  30. http://www.wsj.com/articles/SB10001424052702303836404577474451463041994
  31. http://psychclassics.yorku.ca/Yerkes/Law/
  32. http://www.nytimes.com/2011/02/12/your-money/12shortcuts.html?pagewanted=all&_r=0
  33. https://www.psychologytoday.com/blog/the-introverts-corner/201411/how-introverts-can-be-more-spontaneous
  34. https://www.psychologytoday.com/blog/cutting-edge-leadership/201110/why-extraversion-may-not-matter?collection=101164
  35. https://www.psychologytoday.com/blog/the-introverts-corner/201109/extrovert-envy?collection=101164
  36. http://www.anxietybc.com/self-help/effective-communication-improving-your-social-skills
  37. http://www.anxietybc.com/self-help/effective-communication-improving-your-social-skills
  38. http://blogs.wsj.com/atwork/2015/04/03/an-introverts-advice-for-getting-ahead-2/
  39. http://www.anxietybc.com/self-help/effective-communication-improving-your-social-skills
  40. http://www.anxietybc.com/self-help/effective-communication-improving-your-social-skills
  41. https://www.psychologytoday.com/blog/changepower/201103/introverts-extroverts-and-habit-change?collection=101164
  42. https://www.psychologytoday.com/articles/200703/field-guide-the-loner-the-real-insiders?collection=101164
  43. http://www.theatlantic.com/magazine/archive/2003/03/caring-for-your-introvert/302696/
  44. http://www.forbes.com/sites/deborahljacobs/2012/07/24/how-to-turn-an-introvert-into-an-extrovert-or-vice-versa/
  45. http://www.eonline.com/news/507948/emma-watson-in-wonderland-i-m-genuinely-a-shy-socially-awkward-introverted-person
  46. http://theinneractor.com/42/being-shy-and-an-actor/
  47. https://www.psychologytoday.com/blog/self-promotion-introverts/201310/improv-introverts
  48. http://www.huffingtonpost.com/2013/08/13/famous-introverts_n_3733400.html
  49. https://www.psychologytoday.com/blog/the-introverts-corner/201003/introverts-and-extroverts-in-love?collection=101164
  50. https://www.psychologytoday.com/blog/the-introverts-corner/201109/extrovert-envy?collection=101164
  51. https://www.psychologytoday.com/blog/the-introverts-corner/201102/mistakes-introverts-make
  52. http://www.forbes.com/sites/deborahljacobs/2012/07/24/how-to-turn-an-introvert-into-an-extrovert-or-vice-versa/

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Trudi Griffin, LPC, MS
ร่วมเขียน โดย:
ผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาต
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Trudi Griffin, LPC, MS. ทรูดี้ กริฟฟินเป็นผู้ให้คำปรึกษามืออาชีพที่มีใบอนุญาตในวิสคอนซิน เธอได้รับปริญญาโทด้านการให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพจิตจากมหาวิทยาลัยมาร์เกว็ตต์ในปี 2011 บทความนี้ถูกเข้าชม 10,704 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,704 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา