วิธีการ เดินทางพร้อมน้องแมว

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

คนส่วนใหญ่แค่คิดก็ขยาด เวลาต้องหอบน้องเหมียวประจำบ้านไปเที่ยวหรือติดรถไปด้วย แมวใครใจกล้าว่าง่าย ก็หอบไปเที่ยวด้วยสบายหน่อย แต่แมวส่วนใหญ่มักสยองพองขนเวลาต้องจากถิ่นที่อยู่ที่คุ้นเคยไปไหนไกลๆ นี่สิ แต่อย่าเพิ่งเครียดไป บอกเลยว่าเรามีวิธีพาน้องเหมียวไปเที่ยวแบบไม่ต้องเสียเลือดเสียเนื้อมาฝากกัน จุดสำคัญก็คือต้องวางแผนล่วงหน้ามาอย่างดี โดยค่อยๆ ปรับให้แมวคุ้นเคยกับการเดินทาง และจัดเตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนวันเดินทาง

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 2:

เตรียมตัวล่วงหน้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ปรับตัวน้องเหมียวก่อนเดินทาง.
    ถ้าน้องเหมียวไม่เคยนั่งรถไปไหนหรือเคยนั่งแต่นานมาแล้ว ต้องใช้เวลาหลายอาทิตย์ก่อนหน้าวันเดินทาง พาน้องเหมียวไปนั่งรถใกล้ๆ หลายๆ ครั้ง (ครั้งละไม่เกิน 30 นาที) ที่สำคัญคือต้องให้น้องเหมียวอยู่ในกรงสำหรับเดินทางด้วย ต้องเป็นกรงที่คุณจะใช้จริงเลย แมวจะได้ทำความคุ้นเคยกับเสียงๆ และการเคลื่อนไหวของรถ รวมถึงกลิ่นในกรงด้วย
    • นั่งรถเล่นไปพลาง ให้ขนมไปพลาง แมวจะได้รู้สึกดีกับการนั่งรถ
    • คิดซะว่าเป็นการซ้อมนั่งรถแบบเบาะๆ ก่อนจะขยับขยายไปเป็นการนั่งรถทางไกลต่อไป
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เตรียมยาป้องกันการเมารถถ้าจำเป็น.
    ถ้าลองซ้อมนั่งรถแล้วพบว่าแมวคุณเมารถง่าย ให้สอบถามคุณหมอเรื่องยาอย่าง chlorpromazine ที่เป็นยาสำหรับป้องกันการเมารถของน้องเหมียว[1]
    • อาการที่บอกว่าแมวกำลังเมารถ (แน่นอนว่าต้องแสดงอาการตอนอยู่ในรถ) ก็เช่น หลังจากนั่งรถมาได้ 2 - 3 นาทีแล้วก็ยังร้องหรือครางไม่ยอมเลิก น้ำลายไหลเยอะผิดปกติ ตัวแข็งทื่อ กลัวจนไม่กล้าขยับตัวหรืออีกแบบคือเดินวนหรือขยับตัวมากเกินไป อ้วก ฉี่ หรืออึราด[2]
    • ขิงที่ใช้แก้อาการคลื่นไส้อาเจียนของคน ก็เอามาใช้กับแมวได้ อาจจะเป็นแบบน้ำหรือแบบเคี้ยวหนึบ ตามเน็ตก็มีขายทั่วไป หรือจะลองสอบถามตามร้านขายของเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง แต่ดีที่สุดก็คือถามคุณหมอที่คลินิกหรือโรงพยาบาลสัตว์นั่นแหละ
  3. Step 3 ใช้ "วิธีบำบัด" ด้วย...
    ใช้ "วิธีบำบัด" ด้วย Bach Flower Essence หรือสูตรเยียวยาจิตใจด้วยดอกไม้ของบาค น้องเหมียวจะได้คลายเครียดคลายความหวาดกลัวเวลาต้องเดินทางหรือพบเจอสถานที่ใหม่ๆ. ให้หยดน้ำมันนี้ลงในน้ำของแมว 2 - 3 หยดต่อวัน และหยดใส่ปากอีกหยดก่อนเดินทางแต่ละวันถ้าแมวยังดูเครียดแบบเห็นได้ชัด วิธีทดสอบว่าได้ผลหรือไม่ก็คือหยดใส่ปากแล้วพาแมวไปนั่งรถเล่นใกล้ๆ ในอีก 30 นาทีต่อมา ถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยกว่าการวางยาแมวเป็นไหนๆ เพราะนั่นจะทำให้แมวมึน ในขณะที่น้ำมันสูตรนี้จะทำให้แมวสงบและมั่นใจ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เก็บยาคลายเครียดไว้ใช้สุดท้าย.
    ลองฝึกแมวให้ชินกับการนั่งรถบวกกับทางเลือกอื่นๆ ที่ไม่ใช้ยาก่อน ถ้าไม่ได้ผลจริงๆ ค่อยคิดวางยาแมว คุณหมอจะบอกเองว่าควรใช้ยาคลายเครียดหรือยากล่อมประสาทตัวไหนถึงจะปลอดภัยที่สุด แต่บางทีก็เป็นยาแก้แพ้ตามร้านขายยานี่แหละ (อย่าง Benadryl) หรือไม่ก็ยาสั่งจ่ายอื่นๆ อย่าง alprazolam (Xanax) น้องเหมียวจะได้หายวิตกจริต[3]
    • แล้วแต่คุณหมอแนะนำ ว่าควรใช้ยาปริมาณเท่าไหน จากนั้นคุณก็ทำตามอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลและปลอดภัยที่สุด
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ลองใช้ยาที่บ้านประมาณ 2 - 3 วันก่อนเดินทาง.
    จากนั้นคอยสังเกตพฤติกรรมของแมว ถ้ามีอาการข้างเคียงน่าเป็นห่วง จะได้มีเวลาปรึกษาคุณหมอและปรับเปลี่ยนปริมาณยา หรือลองใช้ยาตัวอื่นแทน แมวก็เหมือนคน ยาต่างชนิดก็ออกฤทธิ์และมีผลข้างเคียงต่างกัน ถ้าแมวแสดงอาการหงุดหงิดงุ่นง่านหรืออาการผิดปกติอื่นๆ คุณหมอจะบอกเองว่าให้เปลี่ยนไปใช้วิธีไหน
    • ยาคลายเครียดส่วนใหญ่ไม่ทำให้แมวถึงขั้นนอนสลบ แค่ทำให้ซึมๆ มึนๆ เท่านั้น ถ้าใช้แล้วแมวนิ่งเกินไปหรือยังนิ่งไม่พอ ต้องรีบบอกคุณหมอก่อนวันเดินทาง ยังไงก็ต้องให้แมวตื่นตัวรับรู้สภาพแวดล้อมไว้ ถึงจะถูกวางยาอยู่ก็เถอะ
    • ตอนที่ซ้อมวางยาแมว ต้องเอาแมวใส่กรงเดินทางแล้วไปลองนั่งรถดู จะได้รู้พฤติกรรมแมวล่วงหน้า ว่าเวลาเดินทางจริงแมวจะเป็นยังไง ที่สำคัญปริมาณยาที่คุณหมอจ่ายให้ต้องเพียงพอตลอดการเดินทางด้วย (ทั้งไป และ กลับ) ทางที่ดีขอเกินมาสัก 1 - 2 เม็ด เพื่อใช้ทดสอบก่อนเดินทางด้วยจะดีกว่า
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ปูผ้าเช็ดตัวหรือผ้าห่มบนเบาะหรือที่นอนประจำของแมว 2 -...
    ปูผ้าเช็ดตัวหรือผ้าห่มบนเบาะหรือที่นอนประจำของแมว 2 - 3 วันก่อนเดินทาง. เพื่อให้กลิ่นน้องเหมียวติดมากับผ้า รวมถึงกลิ่นบรรยากาศในบ้านของคุณด้วย ที่สำคัญคือแมวจะได้นอนสบายคลายความกังวลเพราะมีผ้านิ่มๆ ปู
  7. How.com.vn ไท: Step 7 เตรียมกรงเดินทางให้พร้อมตอนเช้าของวันเดินทาง หรือจะคืนก่อนเดินทางก็ได้....
    เตรียมกรงเดินทางให้พร้อมตอนเช้าของวันเดินทาง หรือจะคืนก่อนเดินทางก็ได้. เอาผ้าที่ปูให้แมวนอนมารองในกรงเดินทาง และจะเพิ่มผ้าเข้าไปอีกก็ได้ถ้าพื้นกรงไม่นิ่มพอ อย่าลืมของเล่นชิ้นโปรดของน้องเหมียวด้วย จะได้มีอะไรเบี่ยงเบนความสนใจ
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ฉีดสเปรย์ฟีโรโมนอย่าง Feliway ในกรงแล้วก็ในรถ...
    ฉีดสเปรย์ฟีโรโมนอย่าง Feliway ในกรงแล้วก็ในรถ 20 นาทีก่อนออกเดินทาง. เป็นสเปรย์ที่เลียนแบบกลิ่นฟีโรโมนที่แมวปล่อยออกมาตอนผ่อนคลายสบายใจอยู่ในอาณาเขตของตัวเอง เลยช่วยปลอบแมวให้สงบเวลาอยู่บนรถได้[4]
    • แต่ก็อย่าลืมทดสอบปฏิกิริยาของแมวที่มีต่อสเปรย์ก่อนเอาไปฉีดจริงในกรง เพราะแมวบางตัว (ส่วนน้อย) ดันเข้าใจผิดคิดว่าเป็นกลิ่นพ่นอาณาเขตของแมวตัวอื่นนี่สิ ทีนี้อาจแสดงอาการก้าวร้าวหรือพฤติกรรมน่าเป็นห่วงอื่นๆ ได้
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 2:

ถึงเวลาเดินทาง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ให้แมวกินอาหาร 2 -...
    ให้แมวกินอาหาร 2 - 3 ชั่วโมงก่อนออกเดินทาง แล้วปล่อยให้ใช้กระบะทรายตามใจชอบ. ถ้ากรงเดินทางคุณกว้างพอ จะเอากระบะทรายจิ๋วใส่ไปเผื่อก็ได้ แต่จริงๆ ก็ไม่จำเป็นหรอก อาหารหรือน้ำก็เหมือนกัน
    • ห้ามใส่แมวไว้ในกรงเดินทางนานเกิน 8 ชั่วโมงโดยไม่ให้น้ำและอาหารเด็ดขาด รวมถึงการปล่อยให้ฉี่และอึด้วย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เปิดประตูกรงไว้ แมวจะได้สำรวจกรงเดินทางซะให้พอ....
    เปิดประตูกรงไว้ แมวจะได้สำรวจกรงเดินทางซะให้พอ. อย่าลืมว่าแมวต้องรู้สึกคุ้นเคยและสบายใจจนเป็นฝ่ายอยากเข้าไปในกรงซะเอง ระหว่างที่กำลังทำความคุ้นเคย ห้ามบังคับแมวเข้าไปในกรงเด็ดขาดถ้าแมวไม่อยากเข้าไป
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เอาแมวใส่กรงแล้วยกไปที่รถ.
    ระหว่างยกกรงไปที่รถ ให้เอาผ้าเช็ดตัวหรือผ้าห่มคลุมกรงไว้หน่อยก็ดี แมวจะได้ไม่เห็นนู่นนี่เยอะไปหมดจน “ตื่น”[5] พอเอากรงใส่รถเรียบร้อยก็เอาผ้าที่คลุมไว้ออกได้
    • ต้องวางกรงเดินทางในรถตรงจุดที่มั่นคงปลอดภัย ทางที่ดีให้เอาเข็มขัดนิรภัยคาดไว้ด้วย แต่ถ้าคาดไม่ได้ ให้เอาสายสำหรับโดดบันจี้จัมพ์ หรือเชือกไม่ต้องยาวมากมารัดกรงไว้ให้อยู่กับที่ เผื่อกรณีที่รถเบรคกะทันหันหรือเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา[6]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใส่เสื้อรัดอกให้แมวตอนอยู่ในกรง.
    ถึงจะชอบหรือไม่ชอบ เวลานั่งรถนานๆ แมวก็เครียดได้อยู่ดี ถ้าเอาแมวใส่เสื้อรัดอกหรือสายจูงไว้ พอแมวออกจากกรงเมื่อไหร่ (ถึงจะอยู่บนรถก็เถอะ) คุณจะได้มีอะไรไว้จับทันเผื่อแมวเกิดพุ่งตัวหนีออกมาจากหน้าต่างหรือประตูรถที่เปิดไว้
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ให้แมวยืดเส้นยืดสายหน่อย.
    ไม่มีแมวตัวไหนทนได้หรอกถ้าต้องอุดอู้อยู่ในรถนานเป็นวันๆ เราถึงบอกว่าจำเป็นต้องใส่เสื้อรัดอกหรือสายจูงไง พอใส่สายจูงพร้อมเมื่อไหร่ก็พาแมวไปเดินเล่นนอกรถหน่อย สัก 20 นาทีหรือนานกว่านั้น หรือปล่อยให้แมวได้ใช้กระบะทรายก็ดี แต่ก็อย่าแปลกใจไป ถ้าน้องเหมียวเกิดเล่นตัวขึ้นมา
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ฉีดสเปรย์ Feliway ตามจุดต่างๆ...
    ฉีดสเปรย์ Feliway ตามจุดต่างๆ (หรือจะใช้ Feliway แบบปรับอากาศก็ได้) ก่อนเอาแมวเข้าที่พัก. เวลาจะออกไปข้างนอก ก็ให้เอาแมวใส่กรงแล้วติดป้าย 'Do Not Disturb' หรือห้ามรบกวน ไว้ที่ประตู คนทำความสะอาดเขาจะได้ไม่เปิดเข้าไป แต่ถ้าคุณต้องออกไปข้างนอกทั้งวัน ให้เอาแมวใส่ไว้ในห้องน้ำพร้อมของใช้ส่วนตัวต่างๆ จากนั้นก็ปิดประตูไว้ (ถ้าเป็นไปได้) แล้วอย่าลืมทิ้งโน้ตไว้ที่ประตู ว่าตอนนี้มีแมวอยู่ในห้องน้ำ กรุณาอย่าเปิดประตู
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • สายการบินต่างๆ จะไม่ให้คุณเอาแมวที่ถูกวางยาขึ้นเครื่องหรอก เพราะบอกยากว่าตอนนั้นแมวเกิดเป็นอะไรขึ้นมาหรือเปล่า รวมถึงอาการ heat stroke หรือโรคลมแดดด้วย ถ้าคุณต้องขับรถนานกว่าจะถึงสนามบิน ก็อย่าวางยาแมว เพราะไม่งั้นเดี๋ยวจะเอาขึ้นเครื่องไม่ได้ ให้เลี่ยงไปใช้น้ำมันสูตรบำบัดแทน ถือเป็นวิธีทำให้แมวสงบได้เป็นอย่างดีแถมยังรู้ตัวเต็มที่
  • อย่าลืมเอาที่ลับเล็บไปด้วย จะเป็นเสาหรือแผ่นกระดาษลังก็ได้! บอกเลยว่าคนชอบลืมนึกถึง แล้วจะมานั่งปวดหัวทีหลังเวลาแมวเที่ยวข่วนตามที่ที่ไม่ควรข่วน อย่างตามม่านหรือผ้าคลุมเตียงในห้องพัก ยังไงคุณก็ห้ามแมวข่วนไม่ได้ นอกจากจะเป็นไปตามสัญชาตญาณแล้ว การลับเล็บยังทำให้แมวได้ยืดเส้นยืดสาย ได้ใช้กล้ามเนื้อส่วนที่ปกติไม่ค่อยได้ใช้ด้วย
  • ถ้าต้องหอบน้องแมวมากกว่า 1 ตัวไปเที่ยวที่ไหนไกลๆ ก็ให้ใช้กรงเดินทางสำหรับหมาที่เป็นกระเป๋าแบบพับเก็บได้แทน เลือกแบบที่ใหญ่หน่อยแต่ยังวางที่เบาะหลังได้ และนอกจากเบาะนอน ชามน้ำอาหาร และของเล่นแล้ว คุณจะเพิ่มกระบะทรายเล็กๆ แบบมีหลังคาเข้าไปด้วยก็ได้ จะได้เป็นที่นั่งเสริมให้แมวชมวิวนอกหน้าต่าง กระเป๋าสำหรับน้องหมาจะมีตาข่ายรูดซิปปิดที่ด้านข้าง เวลาเอาแมวใส่ก็เลยง่าย แถมแมวยังเห็นทั้งวิวนอกหน้าต่าง ทั้งเจ้าของอย่างคุณด้วย ยิ่งกรงหรือกระเป๋าใหญ่ ก็ยิ่งสะดวกและปลอดภัยเวลาต้องไปเจอกับคนอื่นที่เขามีสัตว์เลี้ยงเหมือนกัน เพราะแมวจะได้ใช้กระบะทรายและเคลื่อนไหวไปมาอยู่ในนั้นได้
โฆษณา

คำเตือน

  • ต้องให้แมวใส่ปลอกคอที่มีป้ายประจำตัวไว้ตลอดเวลา! คุณไม่มีทางรู้หรอกว่าแมวจะหลุดหายไปได้ตอนไหน ยิ่งถ้าเคยฝังไมโครชิพที่มีข้อมูลติดต่อล่าสุดไว้ได้ยิ่งดี คนที่เขาเก็บแมวคุณได้จะได้เอาไปสแกนหาเจ้าของที่โรงพยาบาลสัตว์หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
  • ตอนรถวิ่ง ต้องปิดกรงไว้ให้แน่นหนา เพราะแค่เรื่องกระจิบยิบย่อยก็ทำเอาแมวตื่นได้ ระวังแมวจะเข้าไปซ่อนที่หลังรถหรือใต้เบาะที่เอื้อมหยิบยาก หรือน่ากลัวกว่านั้นคือกระโดดมาขัดใต้คันเร่งหรือเบรครถ ถ้าข้างหลังมีคนนั่งมาด้วยแล้วแมวอยากจะดูวิวนอกหน้าต่าง ก็ให้ใส่เสื้อรัดอกกับสายจูงก่อน แล้วค่อยปล่อยให้นั่งตักคน แต่ต้องคอยสังเกตดูแลไม่ให้แมวตื่นล่ะ
  • ห้าม ทิ้งแมวไว้ในรถตัวเดียวเด็ดขาด ถึงจะแง้มหน้าต่างไว้แล้วก็เถอะ แค่ 20 นาทีหรือน้อยกว่านั้นก็ทำให้แมวร้อนจนเป็นอันตรายถึงตายได้
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • กระบะทราย
  • ชามอาหารและน้ำ
  • กรงเดินทาง
  • ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าห่มผืนไม่ต้องใหญ่มาก
  • เสาหรือแผ่นลับเล็บ
  • อาหารแมว
  • น้ำสะอาด
  • ของเล่นหรือไม้ล่อแมว
  • เสื้อรัดอกพร้อมสายจูง
  • ปลอกคอแมวที่มีป้ายชื่อพร้อมข้อมูลติดต่อ
  • สเปรย์ฟีโรโมน Feliway
  • น้ำยาทำความสะอาด Enzyme cleaner เผื่อแมวทำเลอะเทอะในรถหรือในห้องพัก
  • สเปรย์น้ำมันบำบัด
  • ยาที่จำเป็น

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Pippa Elliott, MRCVS
ร่วมเขียน โดย:
สัตวแพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Pippa Elliott, MRCVS. ดร.เอลเลียต, BVMS, MRCVS เป็นสัตวแพทย์ที่มีประสบการณ์การผ่าตัดและช่วยเหลือสัตว์มากว่า 30 ปี เธอจบปริญญาด้านการผ่าตัดและให้ยาสัตว์จากมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ในปี 1987 และทำงานในคลินิกสัตวแพทย์ที่บ้านเกิดมากว่า 20 ปี บทความนี้ถูกเข้าชม 88,649 ครั้ง
หมวดหมู่: แมว
มีการเข้าถึงหน้านี้ 88,649 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา