ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

แมวก็เหมือนคน มีไข้ได้ ไม่ได้แปลว่าอาการหนัก เป็นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ เพื่อให้ร่างกายต้านความเจ็บป่วยต่างๆ โดยกำจัดแบคทีเรียที่ไวต่อความร้อน นอกจากนี้อุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้นจากการเป็นไข้ ยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ไปซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่บาดเจ็บเสียหายอีกด้วย แต่ก็มีบางกรณีเหมือนกัน ที่แมวไข้ขึ้นแล้วอันตราย ถ้าแมวป่วย เป็นไข้ ต้องลดไข้เพื่อให้แมวฟื้นตัวเร็วยิ่งขึ้น มียาหลายตัวที่ให้แมวกินเพื่อลดไข้ได้ ที่สำคัญคือต้องดูแลให้แมวผ่อนคลายสบายตัวที่สุด เท่านี้ก็หายไข้กลับมาเป็นปกติโดยเร็ว

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ลดไข้เองที่บ้าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สังเกตอาการเวลาแมวเป็นไข้.
    ปกติเวลาวัดไข้ทางรูก้นของแมว จะได้อุณหภูมิประมาณ 38°C - 39°C (100 - 102°F)[1] ถ้าน้องเหมียวค่อนข้างดื้อ วัดไข้เองได้ยาก ให้ลองสังเกตอาการภายนอกต่อไปนี้ดู เพราะแปลว่าอาจมีไข้[2]
    • ไม่ค่อยอยากอาหาร
    • เซื่องซึม
    • นิ่งขึ้น ไม่ร่าเริง
    • อ่อนเพลีย
    • ขนร่วงเยอะเป็นพิเศษ
    • เก็บตัว ไม่สุงสิงกับแมวตัวอื่น
    • หายใจหอบถี่ หายใจตื้น
    • ตัวสั่น
    • ไม่ค่อยเลียแต่งขนตัวเองอย่างเคย
    • ส่วนใหญ่ที่แมวมีไข้ เป็นเพราะเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น ให้สังเกตว่าแมวมีอาการอื่นๆ เช่น อาเจียน ท้องเสีย ไอ จาม หรือผิวบวมพอง ร่วมด้วยหรือเปล่า เพราะแปลว่าแมวไม่ได้มีไข้อย่างเดียว
    • บางทีแมวก็เป็นไข้โดยที่ไม่แสดงอาการอะไร ถ้ามีอะไรผิดสงสัย ให้พาไปตรวจร่างกายกับคุณหมอจะดีกว่า
  2. How.com.vn ไท: Step 2 วัดไข้น้องแมว.
    อาการภายนอกพอบอกได้ว่าแมวมีไข้ก็จริง แต่จะชี้ชัดลงไปได้ ต้องใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้แมวจริงๆ ซะก่อน คุณวัดไข้น้องเหมียวได้ทั้งทางก้นและทางหูเลย[3]
    • รวบรวมอุปกรณ์ ที่ต้องใช้คือเทอร์โมมิเตอร์ เจลหล่อลื่น (เช่น ปิโตรเลียมเจลลี่ หรือ K-Y) แอลกอฮอล์ และทิชชู่ อย่าลืมขนมแมวไว้ปลอบใจด้วย
    • ถ้าใช้ปรอทวัดไข้แท่งแก้ว ให้เขย่าจนปรอทลงมาต่ำกว่าเส้น 35°C (96°F) แต่จริงๆ ถ้าเป็นเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอลได้จะดีที่สุด หรือจะเลือกใช้ที่วัดไข้ทางหู สำหรับน้องหมาน้องแมวโดยเฉพาะก็ได้
    • ถ้าจะวัดไข้ทางก้น ให้หล่อลื่นเทอร์โมมิเตอร์ก่อน
    • ใช้แขนข้างหนึ่งอุ้มประคองน้องแมว หรือจะหาคนมาช่วยอุ้มก็ได้ จากนั้นยกหางเปิดขึ้น
    • เสียบที่วัดไข้เข้าไปในรูก้นของน้องแมว ให้ลึกประมาณ 1 นิ้ว ถ้าเป็นปรอทวัดไข้ ให้เสียบคาไว้ 2 นาที แต่ถ้าเป็นแบบดิจิตอล ได้ยินเสียงติ๊ดเมื่อไหร่ ก็เอาออกได้เลย
    • ทำความสะอาดที่วัดไข้ด้วยแอลกอฮอล์ล้างแผลและทิชชู่
    • อย่าลืมให้ขนมน้องแมวเป็นการปลอบใจด้วย
    • ถ้าแมวมีไข้สูงเกิน 39°C (102°F) ให้รีบพาไปหาสัตวแพทย์โดยด่วน เพราะไข้สูงมากๆ จะเป็นอันตรายต่ออวัยวะภายในได้[4]
    • ถ้าวัดไข้แมวเองไม่ได้ พาไปหาหมอจะดีที่สุด
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สำรวจร่างกายน้องแมว.
    ลองใช้นิ้วกดเบาๆ ตามจุดต่างๆ ของร่างกายแมวดู[5] ว่ามีอาการบาดเจ็บต่างๆ หรือไม่ เช่น กระดูกแตกหรือหัก ต่อมน้ำเหลืองโต มีฝี แผลติดเชื้อ หรือเนื้องอก เพราะทั้งหมดจะมีไข้ร่วมด้วย[6]
    • บางทีก็คลำหากระดูกหักไม่เจอ เพราะเวลาแมวกระดูกแตกหรือหัก จะเกิดอาการบวมช้ำจนปิดมิดได้ ถ้ากระดูกแตกหรือหักจริง เวลากดโดน แมวจะแสดงอาการเจ็บปวดออกมา ขอให้กดหรือคลำหาอาการบาดเจ็บตามตัวแมวอย่างเบามือ[7]
    • ถ้าต่อมน้ำเหลืองบวม จะคลำเจอแถวๆ ใต้ขากรรไกร และแถวๆ ไหล่ของแมว บางทีที่ด้านหลังของขา หรือแถวขาหนีบ ก็บวมขึ้นมาได้[8]
    • ถ้ามีอาการไหนก็ตามที่ว่ามา ให้รีบพาแมวไปหาหมอ เพราะเป็นอาการที่ต้องได้รับการรักษาโดยด่วน
    • ถ้าไม่มีอาการตามที่ว่า เป็นไปได้ว่าแมวไข้ขึ้นเพราะการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ ถ้าเป็นไปได้ให้พาแมวไปตรวจร่างกายกับสัตวแพทย์ จะได้รู้ว่ามีการติดเชื้อที่ไหนหรือเปล่า ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ เว้นแต่แมวจะมีไข้ติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง
    • ถ้าแมวมีไข้นานเกิน 24 ชั่วโมง ให้รีบพาไปตรวจรักษากับสัตวแพทย์ด่วน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ทำให้แมวตัวเย็นลง.
    ร่างกายแมวระบายความร้อนทางต่อมเหงื่อที่อยู่ตามอุ้งตีน และด้วยการอ้าปากหายใจ คุณช่วยลดไข้ให้น้องแมวได้ ถ้าทำให้อุณหภูมิร่างกายของแมวเย็นลง หาห้องมืดๆ เย็นๆ ถ้าพื้นปูกระเบื้องหรือเป็นพื้นหินได้จะดีมาก แบบนี้แมวจะได้ยืดเส้นยืดสาย ถ่ายเทความร้อนในตัวไปที่กระเบื้องเย็นๆ แทน วิธีอื่นๆ ที่ช่วยลดไข้แมวได้ก็เช่น[9]
    • ตั้งพัดลมที่พื้น ให้ลมเย็นๆ พัดไปทางแมว
    • ถ้าแมวไม่ค่อยดุ ไม่ค่อยดื้อ อาจจะลองเช็ดตัวเบาๆ โดยใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด หรือใช้ขวดสเปรย์พ่นน้ำพอให้ขนชื้นๆ พอน้ำระเหยไป จะช่วยลดไข้ให้แมวได้
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เตรียมน้ำดื่มไว้ให้แมวมากพอ.
    แมวเป็นไข้ได้ทั้งเพราะขาดน้ำ และเป็นไข้แล้ว ทำให้ ขาดน้ำ เพราะงั้นต้องเตรียมน้ำสะอาดสดใหม่ไว้ให้แมวพร้อมดื่มเสมอ ถ้าแมวมีปัญหาไม่ยอมดื่มน้ำ หรือดื่มน้ำเองไม่ได้ ต้องให้น้ำแมวโดยใช้กระบอกฉีด (เหมือนเข็มฉีดยาที่ ไม่มีเข็ม)[10] ถ้าแมวได้ดื่มน้ำเพียงพอ จะช่วยลดไข้ได้ (สังเกตว่าเวลาพาแมวไปหาหมอแล้ว มักจะมีการให้น้ำเกลือทางสาย)[11]
    • ส่วนใหญ่แมวที่มีไข้ จะไม่ค่อยอยากลุกเดินหรือขยับตัว เราเลยต้องเตรียมน้ำดื่มไว้ใกล้ตัวแมว หรือใช้ฟองน้ำชุบน้ำอุ่นนิดๆ มาบีบใส่ปากใส่เหงือกแมวให้พอได้ดื่มน้ำ
    • นอกจากน้ำเปล่าแล้ว คุณสามารถให้แมวที่มีไข้ ดื่ม Gatorade หรือเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับเด็กได้ด้วย น่าจะช่วยปรับสมดุลเกลือแร่ในร่างกายแมว โดยเฉพาะกรณีที่แมวอาเจียนหรือท้องเสียมาก่อน[12][13] จะดูด Gatorade ใส่กระบอกฉีด แล้วเอาไปป้อนให้แมวก็ได้
    • ถ้าแมวไม่ยอมให้คุณป้อนน้ำด้วยกระบอกฉีด ลองทำน้ำเปล่าหรือ Gatorade ให้เป็นน้ำแข็งดู แมวบางตัวก็ชอบเลียน้ำแข็งเย็นๆ แทนการดื่มน้ำ (ความเย็นจะช่วยลดไข้ให้แมวได้)
    • ห้าม ให้แมวดื่มนมเด็ดขาด! เพราะแมวแพ้แลคโตสรุนแรง ถ้าไปดื่มนม แมวจะป่วย เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียได้ อันตรายมาก[14]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 แมวต้องได้กินอาหาร.
    เวลาเป็นไข้ ร่างกายจะใช้พลังงานมหาศาล เลยทำให้แมวอ่อนแอลงได้ ระหว่างนี้แมวมักจะไม่อยากอาหารปกติ ต้องเสริมด้วยอาหารอ่อนหรืออะไรนิ่มๆ แทน เช่น ไข่คน[15] หรือเอาทูน่ากระป๋องไปปั่นในเครื่องผสมอาหาร[16] can be good options.
    • ถ้าแมวไม่ยอมกินทั้งอาหารปกติและอาหารอ่อน ให้ป้อนอาหารแทนนม (milk replacer) ด้วยกระบอกฉีด (มีขายตามร้านอาหารและของใช้สัตว์เลี้ยง) เป็นอาหารสำหรับแมวป่วยหรือลูกแมวที่ยังต้องให้นมแต่ไม่มีแม่โดยเฉพาะ เลือกกระบอกฉีด (กระบอกฉีดยาแบบไม่มีเข็ม) ที่จุได้ 5 cc - 10 cc
    • เวลาป้อนให้สอดปลายกระบอกฉีดเข้าไปที่มุมปากของแมว ตรงส่วนที่ติดกับแก้ม ปฏิกิริยาตามธรรมชาติของหมาและแมว จะกลืนอะไรที่ผ่านเข้าไปในปากตรงส่วนนี้โดยอัตโนมัติ
    • ถ้าแมวกินอาหารตามปกติไม่ได้ คุณหมอมักจะแนะนำให้กินอาหารเสริมเหลวแบบแคลอรี่สูงไปสักพัก จนกว่าจะอาการดีขึ้น และเริ่มกลับมากินอาหารตามปกติได้[17]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ให้แมวกินวิตามินบีและอาหารเสริมเพิ่มพลังงาน....
    ให้แมวกินวิตามินบีและอาหารเสริมเพิ่มพลังงาน. แมวจะได้รับสารอาหารที่จำเป็น ก็ต่อเมื่อมีความอยากอาหาร แนะนำให้เสริมวิตามินบีรวม และอาหารเสริมเพิ่มพลังงาน ลงในอาหารมื้อหลัก จะช่วยได้มาก[18]
    • วิตามินเอ และอาหารเสริมเพิ่มพลังงาน อย่าง Nutri-Plus Gel (วันละ 5 มล. นาน 5 วัน) จะช่วยแก้อ่อนเพลีย ช่วยเพิ่มสารอาหารที่จำเป็น
    • ตัวอย่างวิตามินบีรวมที่ดีมาก ก็คือ Coforta เพราะมี cyanocoblamin (3) เข้มข้นในปริมาณมาก ซึ่งจำเป็นต่อการเผาผลาญพลังงาน ให้ฉีดให้แมววันละ 0.5 - 2.5 มล. ติดต่อกัน 5 วัน จะฉีดใต้ผิวหนัง (Subcutaneously (SQ)) หรือฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscularly (IM)) ก็ได้
      • ถ้าเป็นแมวตัวเล็ก หนัก 1 กก. หรือน้อยกว่า (ประมาณ 2 ปอนด์) ให้ฉีด 0.5 มล.
      • ถ้าแมวหนัก 2 - 6 กก. (4 - 13 ปอนด์) ให้ฉีด 1 มล.
      • ถ้าเป็นแมวตัวใหญ่ หนัก 7 - 9 กก. (15 - 20 ปอนด์) ให้ฉีด 2.5 มล.
      • สำหรับแมวน้ำหนักตัวอื่น ให้กะปริมาณวิตามินให้ใกล้เคียง หรือปรึกษาสัตวแพทย์เรื่องปริมาณวิตามินที่เหมาะสม เลือกปริมาณน้อยหน่อย จะปลอดภัยกว่า
    • อาหารเสริมที่มีส่วนประกอบต่อไปนี้ เป็นอันตรายต่อแมว ห้ามให้เด็ดขาด[19]
      • กระเทียม หรือหัวหอม
      • แคลเซียม
      • วิตามินดี
      • วิตามินซี
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ให้แมวกินยาและหาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พาแมวไปหาหมอ.
    ถ้าแมวดูปกติดี แต่มีไข้ ผ่านไป 24 ชั่วโมงแล้วยังไม่ลด ให้พาไปหาหมอ แต่ถ้าแมวตัวซีดแถมมีไข้ ให้รีบพาไปหาหมอทันที การที่แมวมีไข้สูงนานๆ เป็นสัญญาณบอกว่ามีโรคอื่นที่ร้ายแรงกว่า พาไปหาหมอแล้วคุณหมอจะได้ตรวจร่างกาย หาสาเหตุที่ทำให้แมวไข้ขึ้น[20]
    • แจ้งประวัติน้องแมวโดยละเอียดด้วย ข้อมูลที่มีผลต่อการรักษาก็เช่น ไปที่ไหนมา สัมผัสกับสัตว์อื่นหรือเปล่า ฉีดวัคซีนหรือเจ็บป่วยแล้วมีการรักษาล่าสุดเมื่อไหร่ แมวแพ้อะไรไหม และอื่นๆ ที่คุณคาดเดาว่าน่าจะทำให้แมวไข้ขึ้น[21]
    • แมวไข้ขึ้นได้ด้วยหลายสาเหตุ เช่น[22]
      • ติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อรา
      • ร่างกายบาดเจ็บ กระทบกระเทือน
      • แพ้ภูมิตัวเอง
      • เนื้อเยื่อตายบางส่วน (Necrotic tissue)
      • เนื้องอก หรือมะเร็ง
    • จะเลือกวิธีรักษาได้ก็ต่อเมื่อรู้สาเหตุของอาการไข้ คุณหมอต้องตรวจเช็คหลายอย่าง จนรู้ว่าแมวไข้ขึ้นเพราะอะไร ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจเลือดและตรวจฉี่[23]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ให้ยาปฏิชีวนะ ถ้าคุณหมอแนะนำ.
    ถ้าแมวเป็นไข้เพราะติดเชื้อแบคทีเรีย ก็ต้องรักษาอาการติดเชื้อนั้นก่อน ปกติแค่ให้ยาปฏิชีวนะ ไข้ก็น่าจะลดแล้ว แต่ถึงยาปฏิชีวนะจะใช้ลดไข้แมวได้ แต่ก็ห้ามให้ยาแมวเองเด็ดขาด ให้พาแมวไปหาหมอ แล้วคุณหมอจะตรวจวินิจฉัย จ่ายยาปฏิชีวนะมาให้แมว ปกติยาปฏิชีวนะของแบคทีเรียแต่ละสายพันธุ์จะแตกต่างกันออกไป ถ้าไม่ตรงกัน จะรักษาไม่หาย ต้องให้คุณหมอเป็นผู้ตรวจวินิฉัยและจ่ายยาที่ถูกต้อง[24] ยาปฏิชีวนะที่ปลอดภัยต่อแมว และคุณหมอมักจ่ายให้ก็คือ[25]
    • Ampicillin และ Amoxicillin (20 มก. ต่อน้ำหนักตัวแมว 1 กก.) ยา 2 ตัวนี้จะเป็นยาน้ำแขวนตะกอน หาซื้อได้ตามร้านขายยา "ของคน"
    • Marbofloxacin (2 มก. ต่อน้ำหนักตัวแมว 1 กก.) เป็นยาเม็ด แต่ปรับปริมาณยายาก เพราะเม็ดยาเล็กมาก
    • Doxycycline (5 mg/kg) ถ้ายาสำหรับแมว จะเป็นยาเหลวข้น ปกติคุณหมอจะเป็นคนจ่ายยาตัวนี้ให้ในรูปของยาก้างปลา (Vibravet) มาในกระบอกฉีดพลาสติกตามปริมาณยาที่ต้องใช้
    • เวลาให้แมวกินยาปฏิชีวนะ ต้องให้ติดต่อกันจนครบ 1 อาทิตย์ (7 วัน) ย้ำว่าต้องให้กินจนครบ ถึงแมวจะอาการดีขึ้นแล้วก็ห้ามหยุดยาเอง เพราะจะทำให้กลับมาติดเชื้อ หรือเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะได้[26]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ปรึกษาคุณหมอเรื่องใช้ยา Meloxicam.
    อีกชื่อคือ Metacam เป็นยาแก้ไขที่ปลอดภัยสำหรับแมว และถูกกฎหมายในหลายๆ ประเทศ แต่ต้องให้คุณหมอเป็นผู้แนะนำหรือจ่ายยาตัวนี้ให้เท่านั้น ปริมาณยาน้ำแขวนตะกอน meloxicam สำหรับแมว ที่แนะนำต่อวัน คือ 0.05 มก. ต่อน้ำหนักตัวแมว 1 กก. ให้กินยาพร้อมหรือหลังอาหาร ถ้าเป็นแมวหนัก 5 กก. (11 ปอนด์) จะต้องกินยา Metacam สำหรับแมว 0.25 มล. ด้วยกัน[27]
    • ปกติยา meloxicam จะมี 2 สูตร คือสำหรับน้องหมา (1.5 มก./มล.) และสำหรับน้องแมว (0.5 มก./มล.) สำคัญมากว่าคุณต้องให้ยาแมวถูกขนาน เพื่อไม่ให้แมวได้รับยาเกินขนาด
    • แมวที่จะกินยา Meloxicam ได้ ต้องเป็นแมวที่กินน้ำเยอะตามปกติ เพราะถ้าแมวขาดน้ำแล้วไปกินยาตัวนี้ จะมีผลต่อการทำงานของไต ยิ่งถ้าเลือดไปเลี้ยงไตน้อยลง อาจถึงขั้นไตวายได้เลย
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ให้แมวกินยาแอสไพริน เฉพาะ กรณีที่คุณหมอสั่งเท่านั้น....
    ให้แมวกินยาแอสไพริน เฉพาะ กรณีที่คุณหมอสั่งเท่านั้น. ยาแอสไพรินไม่เหมาะจะใช้ลดไข้แมวเท่าไหร่ เพราะทำให้เกิดอาการขาดน้ำ อาเจียน และอาการร้ายแรงอื่นๆ ได้ ต้อง ระวังมาก เวลาให้แมวกินยาแอสไพริน ต้องให้ในปริมาณที่คุณหมอสั่งเท่านั้น ห้ามให้ยาเกินขนาดเด็ดขาด[28]
    • ปริมาณที่แนะนำสำหรับแมว ก็คือ 2.5 มก. ต่อน้ำหนักตัวแมว 1 กก. (5 มก. ต่อน้ำหนักตัวแมว 1 ปอนด์) โดยให้ยาทุก 48 - 72 ชั่วโมง ให้ใช้ยาแอสไพรินสำหรับเด็ก ที่ปกติเม็ดละ 50 มก. หรือ 75 มก. เพราะปริมาณน้อยกว่าแบบผู้ใหญ่
    • ให้แมวกินยาแอสไพรินพร้อมอาหารและน้ำ ถ้าแมวกินยาแอสไพรินตอนท้องว่าง จะทำให้คลื่นไส้ได้
    • ปกติพอดูดซึมผ่านผนังกระเพาะอาหารเข้าไปแล้ว แอสไพรินจะแตกตัวเป็นกรดซาลิไซลิก (salicylic acid) แต่แมวจะขาดเอนไซม์ที่จำเป็นต่อการย่อยกรดซาลิไซลิก กรดซาลิไซลิกปริมาณมากเลยค้างอยู่ในร่างกายแมวเป็นเวลานาน ถ้าให้ยาเกินขนาดและ/หรือให้ยาเพิ่ม จะเป็นพิษต่อแมวได้ เพราะฉะนั้น สำคัญมากๆ ว่าต้องระวังปริมาณยาที่ป้อนแมวให้ดี
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ยาบางตัวของคน แมวก็กินไม่ได้เลย.
    สรีระของแมวเป็นเหตุให้ลดไข้ได้ยากกว่าสัตว์ชนิดอื่นๆ หนึ่งในปัญหาก็คือแมวขาดเอนไซม์ในตับชื่อ glucuronyl transferase แปลว่าแมวจะย่อยยาหลายตัวที่ปกติคนกินแล้วปลอดภัยไม่ได้ หลายกรณี กระทั่งยาที่หมากินได้ ก็ยังไม่ปลอดภัยสำหรับแมว[29] ย้ำกันอีกทีว่าห้ามเอายาของคนให้แมวกินเองโดยเด็ดขาด ต้องเป็นไปตามคำแนะนำและการดูแลของคุณหมอ โดยเฉพาะต้องให้ในปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่อย่างนั้นแมวจะอาการหนักขึ้นหรือถึงแก่ชีวิตได้เลย[30][31]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าแมวไม่ยอมดื่มน้ำกินอาหาร ให้รีบพาไปหาหมอ เพราะเป็นสัญญาณว่าน้องแมวกำลังป่วยหนัก ต้องรีบเข้ารับการรักษา
  • ห้ามให้แมวกินยาแอสไพรินเองเด็ดขาด เว้นแต่คุณหมอแนะนำ และบอกปริมาณที่เหมาะสมมา เพราะร่างกายของแมวไวต่อยาแอสไพรินมาก ถ้าคุณให้ยาเองในปริมาณที่ผิด แมวจะอาการทรุดหนักหรือถึงแก่ชีวิตได้เลย[32]
โฆษณา

คำเตือน

  • เรื่องเกี่ยวกับยา ต้องระวังไว้ดีกว่าแก้ โดยเฉพาะการเอายาคนให้แมวกิน เพราะส่วนใหญ่ยาของคนจะเป็นอันตรายต่อแมวมาก ถ้ากินยาที่คุณหมอให้ ตามปริมาณที่แนะนำ จะปลอดภัยที่สุด
  • ถ้าแมวไข้ขึ้นสูงเกิน 39ºC (102ºF) หรือไข้ขึ้นนานเกิน 24 ชั่วโมงไม่ยอมลด ต้องรีบไปหาหมอ
  • ถ้าไม่แน่ใจว่ายาตัวไหนให้แมวกินเพื่อลดไข้ได้บ้าง ก็อย่าเพิ่งให้กิน! โทรปรึกษาหรือพาไปหาหมอ ให้คุณหมอจ่ายยาให้ จะปลอดภัยที่สุด
  • ถ้าแมวไข้ขึ้นสูงเป็นพิเศษ ให้รีบพาไปหาหมอ
โฆษณา
  1. http://www.vcahospitals.com/main/pet-health-information/article/animal-health/managing-the-sick-cat/303
  2. http://pets.webmd.com/cats/guide/dehydration-cats
  3. http://pets.webmd.com/cats/guide/dehydration-cats
  4. http://www.vetinfo.com/cat-dehydration-treatment-with-pedialyte.html#b
  5. http://pets.webmd.com/cats/guide/cats-and-dairy-get-the-facts
  6. http://www.animalplanet.com/pets/2-eggs/
  7. http://www.animalplanet.com/pets/1-meat/
  8. http://www.petmd.com/cat/conditions/immune/c_ct_fever?page=2
  9. http://pets.webmd.com/cats/guide/cat-vitamins-and-supplements-do-they-work
  10. http://pets.webmd.com/cats/guide/cat-vitamins-and-supplements-do-they-work?page=3
  11. http://www.vcahospitals.com/main/pet-health-information/article/animal-health/fever-of-unknown-origin-for-cats/110
  12. http://www.petmd.com/cat/conditions/immune/c_ct_fever
  13. http://pets.webmd.com/cats/fevers-in-cats
  14. http://www.vcahospitals.com/main/pet-health-information/article/animal-health/fever-of-unknown-origin-for-cats/110
  15. http://pets.webmd.com/cats/antibiotics-for-cats
  16. http://www.petcarerx.com/article/antibiotics-for-cats/741
  17. http://pets.webmd.com/cats/antibiotics-for-cats
  18. http://www.catvets.com/public/PDFs/PracticeGuidelines/NSAIDsGLS.pdf
  19. http://pets.webmd.com/cats/guide/safe-cat-pain-medications
  20. http://pets.webmd.com/cats/guide/safe-cat-pain-medications
  21. https://www.avma.org/public/PetCare/Pages/Poison-pills-for-pets.aspx
  22. http://pets.webmd.com/cats/guide/safe-cat-pain-medications
  23. http://pets.webmd.com/cats/guide/safe-cat-pain-medications

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Brian Bourquin, DVM
ร่วมเขียน โดย:
สัตวแพทย์และเจ้าของ Boston Veterinary Clinic
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Brian Bourquin, DVM. ไบรอัน บูร์ควิน หรือที่ลูกค้ารู้จักในชื่อ “Dr. B” เป็นสัตวแพทย์และเจ้าของ Boston Veterinary Clinic คลินิกรักษาและดูแลสัตว์เลี้ยงในเซาธ์เอนด์/เบย์วิลเลจ กับบรู๊คไลน์ในบอสตัน คลินิกแห่งนี้ขึ้นชื่อด้านการปฐมพยาบาลสัตว์เลี้ยงรวมถึงการดูแลป้องกัน การผ่าตัดเนื้อเยื่ออ่อนและสุขภาพฟัน นอกจากนี้ยังมีบริการฝึกนิสัย โภชนาการและการฝังเข็มหรือเลเซอร์ด้วย คลินิกแห่งนี้เป็นโรงพยาบาลสัตว์ที่ได้รับมาตรฐาน AAHA (American Animal Hospital Association) และเป็นที่แรกและที่เดียวในบอสตันที่เป็นคลินิกแบบไร้ความกลัว ไบรอันมีประสบการณ์ 19 ปีและจบปริญญาเอกด้านสัตวแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล บทความนี้ถูกเข้าชม 279,414 ครั้ง
หมวดหมู่: บทความเด่น | แมว
มีการเข้าถึงหน้านี้ 279,414 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา