วิธีการ ช่วยแม่แมวคลอดลูก

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าคุณจะเพาะพันธุ์แมวเป็นอาชีพหรือแมวที่คุณเลี้ยงกำลังตั้งท้อง สิ่งสำคัญคือคุณควรรู้ว่าต้องทำอย่างไรเมื่อแมวของคุณพร้อมสำหรับกระบวนการคลอดและเริ่มต้นให้กำเนิดลูกแมวน้อย โดยปกติแล้วช่วงเวลาตั้งท้องของแม่แมวจะอยู่ที่ประมาณ 65-67 วัน ดังนั้นเมื่อคุณยืนยันได้ว่าแมวของคุณกำลังตั้งท้อง คุณจะต้องเริ่มเตรียมความพร้อมสำหรับกระบวนการคลอดของแม่แมวตามขั้นตอนต่างๆ ด้านล่างนี้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมพร้อมสำหรับการคลอด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สังเกตดูสัญญาณของการตั้งท้อง.
    มีหลากหลายสัญญาณที่บ่งบอกว่าแมวของคุณอาจจะหรือกำลังตั้งท้อง[1]
    • สัญญาณของการตั้งท้องในแมวที่พบได้บ่อยคือ หัวนมเป็นสีชมพูและขยายใหญ่ขึ้น ท้องบวมโต และไม่ติดสัด
  2. How.com.vn ไท: Step 2 พาแม่แมวไปตรวจสุขภาพ.
    เมื่อแมวของคุณกำลังตั้งท้อง (หรือหากคุณสงสัยว่าอาจจะตั้งท้อง) ให้คุณพาแม่แมวไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ
    • สัตวแพทย์จะตรวจเพื่อดูว่าการตั้งท้องของแม่แมวไม่มีผลข้างเคียงใดๆ และแนะนำวิธีการเตรียมตัวสำหรับกระบวนการคลอด
    • คุณอาจจำเป็นต้องพาแม่แมวที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือเคยมีปัญหาสุขภาพมาก่อนไปพบสัตวแพทย์โดยทันทีหลังจากที่ทราบหรือสงสัยว่ามันกำลังตั้งท้อง เนื่องจากแม่แมวอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนมากกว่าปกติ[2]
    • ในบางกรณี สัตวแพทย์อาจพิจารณาว่าการตั้งท้องต่อไปอาจเป็นอันตรายต่อแม่แมวและตัดสินใจทำหมันให้แม่แมวซึ่งเป็นวิธีที่ดีและมีมนุษยธรรมที่สุด
    • สัตวแพทย์ยังสามารถคาดคะเนจำนวนของลูกแมวที่จะคลอดออกมา ซึ่งเมื่อถึงเวลาคลอดจะทำให้คุณรู้ว่าลูกแมวคลอดออกมาครบทุกตัวและกระบวนการคลอดเสร็จสิ้นลงแล้วหรือยัง[3]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ปรับเปลี่ยนอาหารในช่วง 3 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งท้อง....
    ปรับเปลี่ยนอาหารในช่วง 3 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งท้อง. เมื่อระยะเวลาการตั้งท้องมาถึงช่วง 3 สัปดาห์สุดท้าย (ประมาณวันที่ 42 ของการตั้งท้องหรือเมื่อท้องของแม่แมวโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด) แม่แมวจะมีความต้องการทางโภชนาการที่เปลี่ยนไปจากเดิม คุณจึงควรมั่นใจว่าแม่แมวได้รับปริมาณและสารอาหารที่เพียงพอต่อความต้องการ[4]
    • ให้อาหารแม่แมวตามปกติในช่วง 6 สัปดาห์แรกของการตั้งท้อง
    • ในช่วง 3 สัปดาห์สุดท้ายของการตั้งท้อง ให้เปลี่ยนเป็นอาหารสำหรับลูกแมวแทนซึ่งมีแคลอรี่ที่สูงกว่าในปริมาณที่น้อยลง เนื่องจากในช่วงนี้น้ำหนักครรภ์จะกดทับที่หน้าท้องของแม่แมวและทำให้ทานอาหารได้ไม่สะดวกอย่างเช่นปกติ การให้ทานอาหารสำหรับลูกแมวแทนจึงช่วยให้แม่แมวได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนดังเดิม
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เตรียมรังคลอด.
    แม่แมวต้องการสถานที่ที่อบอุ่น เงียบสงบ และปลอดภัยสำหรับคลอดลูกน้อย ซึ่งมันจะมองหาสถานที่ดังกล่าวล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดคลอด โดยปกติแล้วแม่แมวจะส่งสัญญาณว่ากำลังมองหารังคลอดอยู่ล่วงหน้าหลายวันก่อนที่กำหนดคลอดใกล้เข้ามาถึง ช่วงเวลานี้จึงเป็นโอกาสที่เหมาะสมที่คุณจะพาแม่แมวไปยังรังคลอดที่คุณจัดเตรียมไว้สำหรับมัน
    • ห้องซักรีดและห้องอาบน้ำเป็นสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับจัดเตรียมรังคลอดสำหรับแม่แมว เพียงต้องแน่ใจว่าจะไม่มีเด็กหรือสุนัขผ่านเข้ามาจุดนี้ได้เพื่อให้แม่แมวรู้สึกปลอดภัยและผ่อนคลายในรังคลอดของมัน
    • เตรียมน้ำสะอาด อาหารเล็กน้อย และกระบะทรายให้พร้อมเสมอ (ซึ่งควรตั้งให้อยู่ห่างออกไปประมาณ 2 ฟุต เพราะการวางไว้ใกล้เกินไปสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคได้)
    • มองหาลังกระดาษที่มีขนาดใหญ่และสูงและปูพื้นด้วยวัสดุที่นิ่มและเก่าที่คุณไม่ต้องกังวลว่าจะเปื้อนอย่างเช่นผ้าขนหนู ผ้าห่ม หนังสือพิมพ์ เป็นต้น
    • อุปกรณ์ทุกชิ้นที่คุณเตรียมไว้จะต้องไม่มีกลิ่นที่แรง เนื่องจากแม่แมวและลูกแมวจะจำกลิ่นของกันและกัน
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เตรียมความพร้อมของแม่แมว.
    ให้แม่แมวทานอาหารคุณภาพดีอย่างต่อเนื่องและคอยสังเกตดูว่ามันมีความอยากอาหารลดลงอย่างเห็นได้ชัดหรือไม่ ซึ่งนี่เป็นสัญญาณว่ากำหนดคลอดกำลังใกล้เข้ามาถึง
    • หากแม่แมวมีขนที่ยาว คุณอาจจำเป็นต้องตัดขนตรงบริเวณรอบๆ ปากช่องคลอดออกให้เรียบร้อยก่อนล่วงหน้า (ประมาณ 2-3 วันหรือ 1 สัปดาห์ก่อนกำหนดคลอด) หลายคนอาจตัดขนตรงบริเวณหัวนมด้วยเช่นกันเพื่อให้ลูกแมวสามารถดูดนมได้ง่ายยิ่งขึ้น[5]
    • อย่างไรก็ตาม หากคุณไม่ได้เล็มขนแม่แมวก่อนล่วงหน้า ห้ามทำในภายหลังโดยเด็ดขาด เพราะอาจเป็นปัญหาต่อลูกแมวในการทำความคุ้นเคยกับกลิ่นตามธรรมชาติของแม่แมวหลังจากที่คลอดออกมา
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เตรียมความพร้อมของตัวเอง.
    นอกจากการจัดเตรียมกล่องลังสำหรับเป็นรังคลอด อาหาร น้ำเปล่า และกระบะทรายให้พร้อมสำหรับแม่แมวแล้ว ให้คุณควรเตรียมอุปกรณ์อื่นๆ ให้พร้อมสำหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินดังนี้
    • เตรียมยานพาหนะให้พร้อมเผื่อในกรณีที่กระบวนการคลอดเกิดภาวะแทรกซ้อนและคุณจำเป็นต้องพาแม่แมวไปพบสัตวแพทย์
    • ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือให้เต็มและจดเบอร์โทรศัพท์ของสัตวแพทย์และโรงพยาบาลสัตว์ไว้ใกล้ๆ หรือบันทึกไว้ในโทรศัพท์ให้เรียบร้อยเผื่อในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นในระหว่างการคลอด
    • เตรียมผ้าขนหนูที่แห้งและสะอาดไว้เยอะๆ เผื่อในกรณีที่จำเป็นต้องเช็ดทำความสะอาดตัวลูกแมว
    • หาซื้อนมผงสำหรับลูกแมวและขวดนมจากร้านขายอุปกรณ์สัตว์เลี้ยงใกล้บ้านเผื่อในกรณีที่แม่แมวมีปัญหาในการให้นมลูกแมว โดยพยายามมองหา KMR หรืออาหารทดแทนนมสำหรับลูกแมว[6]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 นับอายุครรภ์.
    ในบางครั้งการนับอายุครรภ์อาจคลาดเคลื่อนไปบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณไม่ทราบวันปฏิสนธิที่แน่นอน เมื่อนับอายุครรภ์ผ่านไปแล้ว 67 วัน ให้คุณเริ่มพาแม่แมวไปตรวจร่างกายกับสัตวแพทย์[7]
    • สัตวแพทย์จะสแกนหน้าท้องของแม่แมวเพื่อเช็คดูว่าลูกแมวทั้งหมดมีสุขภาพดีหรือไม่และจะแนะนำให้คุณเผื่อเวลาเพิ่มอีก 4-5 วัน ซึ่งถ้าหากลูกแมวยังคงไม่คลอดออกมาตามกำหนดก็อาจจำเป็นต้องมีการผ่าคลอดแทน[8]
  8. How.com.vn ไท: Step 8 สังเกตดูสัญญาณเตือนของภาวะแทรกซ้อน.
    คอยสังเกตดูสัญญาณเตือนต่างๆ อย่างสารคัดหลั่งผิดปกติและอาการป่วย[9]
    • สารคัดหลั่งผิดปกติ: การมีสารคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอดของแม่แมวในระหว่างการตั้งท้องเป็นอาการที่ผิดปกติ หากมีสารคัดหลั่งสีเหลืองออกเขียวแสดงว่าแม่แมวมีอาการติดเชื้อในครรภ์ หรือหากมีสารคัดหลั่งสีเขียวสว่างแสดงว่าเกิดภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด และหากมีสารคัดหลั่งปนเลือดแสดงว่าเกิดภาวะมดลูกแตก หากสังเกตเห็นสัญญาณต่อไปนี้ ให้คุณรีบติดต่อสัตวแพทย์โดยทันที
    • อาการป่วย: การตั้งท้องสามารถก่อให้เกิดความเมื่อยล้าตามส่วนต่างๆ ของร่างกายรวมถึงทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง หากแม่แมวดูมีอาการไม่สบาย (เช่น อาเจียน ท้องเสีย ไอ จาม หรือสูญเสียความอยากอาหาร) ให้คุณรีบพามันไปพบสัตวแพทย์โดยทันที
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ให้ความช่วยเหลือในระหว่างการคลอด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เว้นระยะห่างเล็กน้อย.
    แม้ว่าแม่แมวนั้นแทบไม่ต้องการความช่วยเหลือจากคุณเลยในกระบวนการคลอด แต่การอยู่ใกล้ๆ ในบริเวณเดียวกันอาจทำให้มันรู้สึกอุ่นใจมากขึ้น
    • เว้นระยะห่างให้ไกลพอสมควรเพื่อไม่ให้เป็นการบุกรุกเข้าไปยังพื้นที่ของแม่แมวหรือกีดขวางกระบวนการคลอด แต่ต้องอยู่ให้ใกล้พอสำหรับพร้อมให้ความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น
    • เตรียมพร้อมสำหรับภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและรู้ว่าสัญญาณเตือนต่างๆ มีอะไรบ้าง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 สังเกตดูสัญญาณเตือนใกล้คลอด.
    ทำความคุ้นเคยกับสัญญาณที่บ่งบอกว่าแม่แมวเริ่มมีอาการเจ็บครรภ์ อาการเจ็บครรภ์หรือที่เรียกกันว่าระยะที่หนึ่งของการคลอดจะกินเวลานานประมาณ 12-24 ชั่วโมง สัญญาณเตือนที่คุณสามารถสังเกตเห็นได้มีดังนี้[10]
    • มีอาการกระสับกระส่ายและพยายามมองหาสถานที่สำหรับซ่อนตัว
    • เลียทำความสะอาดร่างกายอยู่บ่อยครั้ง เช่น ตรงบริเวณปากช่องคลอด
    • หัวใจเต้นเร็วและมีอาการเหนื่อยหอบ
    • ร้องครางเสียงดัง
    • อุณหภูมิร่างกายตกลงไป 1-2 จุดจากอุณหภูมิปกติคือ 38 องศา
    • หยุดทานอาหาร
    • อาเจียน
    • หากสังเกตเห็นว่ามีสารคัดหลั่งปนเลือดออกมาจากช่องคลอดของแม่แมว ให้คุณรีบพามันไปพบสัตวแพทย์โดยทันที การมีเลือดออกก่อนคลอดเป็นสัญญาณเตือนว่ากำลังมีบางอย่างผิดปกติเกิดขึ้นและจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากสัตวแพทย์โดยเร็วที่สุด
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อมือของคุณเผื่อในกรณีที่จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือ....
    ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อมือของคุณเผื่อในกรณีที่จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือ. ถอดนาฬิกาข้อมือและแหวนออกและล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ล้างมือสูตรฆ่าเชื้อ โดยพยายามถูสบู่ให้ทั่วรวมทั้งบริเวณหลังมือและข้อมือและถูติดต่อกันนานอย่างน้อย 5 นาที รวมถึงใช้แปรงขัดเล็บหรือแปรงสีฟันเก่าขัดใต้เล็บให้สะอาด
    • ห้ามใช้เจลทำความสะอาดมือโดยเด็ดขาด เนื่องจากเจลทำความสะอาดมือมีคุณสมบัติไม่เพียงพอในการฆ่าเชื้อโรคบนมือได้ทั้งหมด และคุณคงไม่ต้องการให้แม่แมวคอยเลียส่วนประกอบในเจลทำความสะอาดมือออกจากตัวลูกแมวจนเกิดป่วยขึ้นมาอย่างแน่นอน
    • การล้างมือเป็นการเตรียมเผื่อไว้ในกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ปล่อยให้แม่แมวจัดการกระบวนการคลอดและดูแลลูกแมวด้วยตัวมันเองและให้ความช่วยเหลือในกรณีที่กระบวนการคลอดเกิดปัญหาขึ้นแล้วรีบนำลูกแมวคืนกลับไปหาแม่แมวโดยเร็วที่สุด
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เฝ้าระวังการคลอดลูกแมวแต่ละตัว.
    เมื่อแม่แมวเข้าไปในรังคลอดและกระบวนการคลอดใกล้เริ่มขึ้น สิ่งที่คุณควรทำคือการตั้งสติ เตรียมพร้อม และจับตาดูอย่างใกล้ชิด รวมถึงควรแน่ใจว่าทั้งตัวคุณเองและบรรยากาศรอบๆ ตัวแม่แมวนั้นเงียบสงบและปราศจากสิ่งรบกวน หากมีสิ่งรบกวนหรือสัตว์อื่นๆ วนเวียนอยู่ใกล้ๆ หรือแม่แมวถูกย้ายไปยังสถานที่ที่ไม่คุ้นชิน กระบวนการคลอดก็อาจถูกชะลอให้ช้าลงได้ เมื่อระยะที่สองของการคลอดกำลังจะเกิดขึ้น คุณจะสังเกตเห็นสัญญาณต่างๆ ดังนี้[11]
    • ปากมดลูกขยายออกและเกิดการหดรัดตัวของมดลูก
    • มดลูกเริ่มเกิดการหดรัดตัวเมื่อลูกแมวตัวแรกเคลื่อนตัวเข้าสู่ช่องคลอด โดยมดลูกจะมีการหดรัดตัวทุกๆ 2-3 นาที แม่แมวอาจอยู่ในท่าหมอบตัวและร้องเสียงดังหรือหายใจหอบ
    • จะมีน้ำคร่ำไหลออกมาจากช่องคลอดก่อนแล้วจากนั้นลูกแมวจึงจะคลอดตามออกมา (อาจเอาหัวหรือขาหลังออกมาก่อนก็ได้)
    • เมื่อระยะที่สองของการคลอดเริ่มต้นขึ้น จะใช้เวลา 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงจนกระทั่งลูกแมวตัวแรกคลอดออกมา โดยลูกแมวแต่ละตัวจะคลอดออกมาโดยทิ้งช่วงเวลาห่างกันประมาณครึ่งชั่วโมงหรืออาจถึง 1 ชั่วโมงในบางครั้ง
    • หากแม่แมวเตรียมตัวและพยายามเบ่งคลอดลูกแมวโดยที่ไม่มีลูกแมวคลอดออกมาเป็นเวลานานเกินกว่าชั่วโมง แสดงว่าอาจกำลังมีปัญหาเกิดขึ้นในกระบวนการคลอดของมัน ลองเช็คดูว่ามีอะไรติดอยู่ที่ปากช่องคลอดหรือไม่ และหากไม่พบอะไรให้คุณติดต่อสัตวแพทย์โดยทันที หรือหากลูกแมวออกมาจากช่องคลอดเพียงบางส่วน ลองปล่อยให้แม่แมวเบ่งคลอดเพิ่มอีก 5 นาที และหากยังคงไม่มีความคืบหน้าใดๆ ให้คุณล้างมือให้สะอาดแล้วจับส่วนของลูกแมวที่โผล่พ้นออกมาจากช่องคลอดเบาๆ และค่อยๆ ดึงออกมา โดยพยายามทำในช่วงที่มดลูกเกิดการหดรัดตัว และติดต่อสัตวแพทย์โดยทันทีหากมีทีท่าว่าลูกแมวไม่สามารถคลอดออกมาได้ง่ายๆ[12]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ควรแน่ใจว่าแม่แมวกำจัดถุงน้ำคร่ำออกและทำความสะอาดลูกแมวแต่ละตัว....
    ควรแน่ใจว่าแม่แมวกำจัดถุงน้ำคร่ำออกและทำความสะอาดลูกแมวแต่ละตัว. แม่แมวจะกำจัดเยื่อของถุงน้ำคร่ำออกโดยการเลียทำความสะอาดร่างกายของลูกแมว ซึ่งหลังจากนั้นลูกแมวจะสามารถหายใจและเคลื่อนไหวร่างกายได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที[13]
    • หากแม่แมวไม่รีบกำจัดถุงน้ำคร่ำออกอย่างรวดเร็ว ให้คุณสวมถุงมือปราศจากเชื้อและดึงถุงน้ำคร่ำรอบๆใบหน้าของลูกแมวออกเพื่อให้ลูกแมวสามารถหายใจได้ จากนั้นจึงใช้ผ้าขนหนูเช็ดจนทั่วใบหน้าให้สะอาด
    • หากเป็นไปได้ ให้รีบนำลูกแมวคืนกลับไปหาแม่แมวโดยเร็วที่สุดและพยายามวางลูกแมวให้อยู่ใต้จมูกของมัน โดยหลังจากนั้นแม่แมวมักจะเริ่มเลียทำความสะอาดตัวลูกแมว อย่างไรก็ตาม หากแม่แมวไม่สนใจและลูกแมวยังคงตัวเปียกและเริ่มตัวสั่น ให้คุณเช็ดตัวลูกแมวให้แห้งด้วยผ้าขนหนูสะอาด การทำเช่นนี้จะทำให้ลูกแมวเริ่มร้องไห้ ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจของแม่แมวมายังลูกแมว และเมื่อถึงจุดนี้จึงนำลูกแมวคืนกลับไปหาแม่แมวดังเดิม
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ตรวจสอบรก.
    ลูกแมวแต่ละตัวจะมีรกติดอยู่กับร่างกาย 1 เส้น ซึ่งรกเหล่านี้จะต้องกำจัดออกภายหลังลูกแมวแต่ละตัวคลอดออกมา เนื่องจากรกที่ตกค้างอยู่ในร่างกายของแม่แมวอาจก่อให้เกิดการติดเชื้อและส่งผลให้เกิดอันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาจากสัตวแพทย์
    • ห้ามดึงรกให้ขาดออกมาโดยเด็ดขาด เพราะหากคุณพยายามดึงสายสะดือให้ขาดออกและทำให้มดลูกเกิดการฉีกขาด อาจทำให้แม่แมวเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ หากคุณสงสัยว่ารกยังไม่ถูกกำจัดออกมา ให้คุณรีบพาแม่แมวไปพบสัตวแพทย์โดยทันที
    • จำไว้ว่าตามปกติแล้วแม่แมวจะกินรกของตัวเองตามสัญชาตญาณ เนื่องจากรกอุดมไปด้วยฮอร์โมนและสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายของมัน คุณจึงไม่จำเป็นต้องเข้าไปยุ่งกับกระบวนการนี้ เพียงให้มั่นใจว่ามันจะไม่เผลอกินลูกแมวเข้าไปด้วยความไม่รู้
    • คุณอาจต้องปล่อยให้แม่แมวกินรก 2-3 ชิ้นแรกไปก่อนแล้วจึงนำรกที่เหลือทิ้งไป เนื่องจากการได้รับสารอาหารในปริมาณมากจนเกินไปจะทำให้เกิดอาการท้องเสียและอาเจียนได้
  7. How.com.vn ไท: Step 7 อย่าตัดสายสะดือ.
    ตามหลักการแล้วไม่แนะนำให้ตัดสายสะดือออก เพราะโดยธรรมชาติแล้วแม่แมวจะเป็นผู้ที่กัดสายสะดือให้ขาดเอง แต่หากมันไม่ยอมตัดสายสะดือของตัวเอง ให้คุณปรึกษาสัตวแพทย์[14]
    • ห้ามตัดสายสะดือโดยเด็ดขาดหากสายสะดือบางส่วนยังคงติดค้างอยู่ข้างใน เนื่องจากสายสะดือนั้นเชื่อมติดกันกับรก จึงอาจทำให้รกติดค้างอยู่ข้างในและไม่ถูกกำจัดออกมา และเป็นเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อและส่งผลให้เกิดอันตรายถึงชีวิตต่อแม่แมวได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรทำขั้นตอนนี้ด้วยตัวเอง แต่ควรปรึกษาสัตวแพทย์และทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
    • แนะนำให้ทำความสะอาดสะดือของลูกแมวด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อผสมน้ำเปล่า เช่น คลอร์เฮกซิดีน เนื่องจากสัตวแพทย์มักตรวจพบการเกิดภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบที่เกิดจากการที่เชื้อแบคทีเรียบางตัวเข้าสู่สายสะดือในช่วงกระบวนการคลอด ซึ่งปัญหานี้สามารถป้องกันได้ง่ายๆ โดยการฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาที่เหมาะสม ใช้ก้านสำลีจุ่มน้ำยาฆ่าเชื้อและเช็ดเบาๆ ตรงบริเวณสะดือในขณะที่ลูกแมวอยู่ในสายตาของแม่แมว อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือห้ามทำให้แม่แมวเกิดความกังวลโดยเด็ดขาด หากมันขัดขวางความช่วยเหลือของคุณอย่างเห็นได้ชัด ให้คุณหยุดทำทุกอย่างโดยทันที
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ให้ความช่วยเหลือภายหลังการคลอด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ควรแน่ใจว่าลูกแมวดูดนมแม่โดยทันที.
    น้ำนมที่หลั่งช่วงระยะแรกหลังคลอดประกอบด้วยน้ำนมเหลืองซึ่งมีสารภูมิคุ้มกันในปริมาณสูงที่จำเป็นสำหรับลูกแมว
    • จำไว้ว่าลูกแมวแรกเกิดจะมองไม่เห็นและไม่ได้ยินสิ่งใดๆ ดังนั้นพวกมันจึงหาหัวนมของแม่แมวจากการดมกลิ่นและการสัมผัสแทน ในบางครั้งลูกแมวจะเข้าไปดูดนมแม่ทันทีหลังจากที่เพิ่งคลอดออกมา หรือในบางครั้งอาจต้องใช้สักพักให้พวกมันรู้สึกตัวหลังการคลอดเสียก่อน
    • แม่แมวอาจรอจนกระทั่งลูกแมวคลอดออกมาครบทุกตัวก่อนแล้วจึงเริ่มปล่อยให้พวกมันดูดนม อย่างไรก็ตาม หากดูเหมือนว่าแม่แมวไม่สนใจลูกแมวและไม่ยอมให้พวกมันดูดนม ให้คุณนำนมผงที่ซื้อเตรียมไว้ชงใส่ขวดนมและป้อนลูกแมวแทน[15]
    • หากแม่แมวปล่อยให้ลูกแมวดูดนมแต่กลับมีปัญหาเรื่องการไหลของน้ำนม คุณอาจสังเกตเห็นว่าลูกแมวพยายามดูดนมอย่างแรงพร้อมกับส่งเสียงร้องไปด้วย และหากแม่แมวไม่มีน้ำนมไหลออกมา ให้คุณพามันไปพบสัตวแพทย์เพื่อหาวิธีกระตุ้นให้น้ำนมของแม่แมวไหลตามปกติ โดยในขณะเดียวกันให้คุณชงนมผงใส่ขวดนมแล้วป้อนลูกแมวไปก่อน[16]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ดูแลสุขภาพของลูกแมว.
    จับตาดูลูกแมวอย่างใกล้ชิดภายหลังการคลอดเพื่อให้แน่ใจว่าพวกมันสามารถปรับตัวและทำความคุ้นเคยกับสิ่งต่างๆ ได้ตามปกติ
    • หากลูกแมวทำเสียงสำลักหรือกลั้วคอ แสดงว่ามีของเหลวค้างอยู่ในทางเดินหายใจ ให้คุณใช้มือทั้งสองข้างอุ้มลูกแมวขึ้นมาโดยใช้ปลายนิ้วพยุงหัวมันไว้แล้วจึงจับลูกแมวเขย่าตัวลงเบาๆ เพื่อให้น้ำที่ค้างในปอดทะลักออกมา จากนั้นจึงใช้ผ้าก็อซเช็ดทำความสะอาดใบหน้าของลูกแมวให้เรียบร้อย อย่าลืมสวมถุงมือในระหว่างขั้นตอนนี้และจับลูกแมวอย่างระมัดระวัง เนื่องจากลูกแมวแรกเกิดจะตัวลื่นเป็นอย่างมาก
    • หากแม่แมวดูไม่สนใจลูกแมวที่เพิ่งคลอดออกมา ให้คุณลองถูให้กลิ่นของมันติดที่ตัวของลูกแมว และหากมันยังคงไม่สนใจลูกแมวไม่ว่าจะทำอย่างไรก็ตาม คุณอาจจำเป็นต้องดูแลลูกแมวด้วยตัวเอง ซึ่งหมายความว่าคุณจะต้องใช้ตู้อบรวมถึงให้อาหารลูกแมวอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการดูแลลูกแมวแรกเกิดนั้นค่อนข้างซับซ้อนเกินไปที่จะอธิบายในบทความนี้ ดังนั้นให้ลองขอคำแนะนำจากสัตวแพทย์
    • อย่าตกใจกลัวไปหากลูกแมวตัวหนึ่งไม่รอดชีวิต อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกแมวตัวนั้นตายแล้วจริงๆ แล้วจึงจัดการกับร่างของมันอย่างเหมาะสม พยายามกระตุ้นให้ลูกแมวที่ใกล้ตายให้กลับมาหายใจอีกครั้งโดยการใช้ผ้าที่อุ่นและชื้นถูที่ตัวของมันอย่างแข็งขัน หรือลองใช้วิธียกขาของลูกแมวขึ้นลงและเป่าลมลงไปบนใบหน้าและปากของมัน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดูแลสุขภาพของแม่แมว.
    จัดเตรียมอาหารคุณภาพดีและน้ำดื่มสะอาดในปริมาณที่เพียงพอให้พร้อมโดยทันทีหลังกระบวนการคลอดสิ้นสุดลง จำไว้ว่าแม่แมวไม่ต้องการออกห่างจากลูกๆ ของมันแม้ในช่วงที่ต้องการกินอาหารหรือขับถ่าย ดังนั้นคุณจึงควรเตรียมอาหาร น้ำดื่ม และกระบะทรายไว้ใกล้รังคลอดมากที่สุดเพื่อให้แม่แมวสามารถทำตามความต้องการของร่างกายตัวเองในขณะที่ยังคงอยู่ใกล้ๆ กับลูกแมว สิ่งสำคัญคือแม่แมวควรกินอาหารในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ร่างกายมีพลังงานที่เพียงพอและสามารถส่งผ่านสารอาหารที่จำเป็นไปยังลูกแมวผ่านการให้นมได้
    • พยายามจัดวางอาหารแยกห่างออกจากกระบะทราย เนื่องจากแมวมีนิสัยไม่ชอบขับถ่ายใกล้ๆ กับบริเวณที่มันกินอาหาร ดังนั้นในช่วงนี้ที่แม่แมวไม่ต้องการออกห่างจากลูกๆ ของมัน การจัดวางอาหารและกระบะทรายไว้ใกล้ๆ กันอาจทำให้มันพยายามหลีกเลี่ยงการกินอาหารได้
    • แม่แมวอาจนอนหลับยาวในวันแรกหลังการคลอด ให้คุณจัดเตรียมอาหารไว้ใกล้ๆ เตียงของมันให้พร้อม
    • เช็คให้แน่ใจว่าร่างกายของแม่แมวฟื้นตัวได้ดีจากกระบวนการคลอดและมันดูแลลูกแมวเป็นอย่างดี
  4. How.com.vn ไท: Step 4 บันทึกข้อมูลลูกแมวแต่ละตัว.
    จดบันทึกเวลาที่คลอด เพศ น้ำหนัก (ใช้ตาชั่งสำหรับลูกแมว) และเวลาที่รกลอกตัว
    • ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นประโยชน์ในภายหลังสำหรับการทำเวชระเบียนหรือเอกสารต่างๆ หากคุณเพาะพันธุ์แมวเป็นอาชีพ

เคล็ดลับ

  • เมื่อกำหนดคลอดใกล้เข้ามาถึง ให้คุณจัดเตียงโดยใช้ผ้าปูที่นอนและผ้าห่มสีเข้ม เพราะแม้ว่าคุณจะเตรียมรังคลอดไว้เรียบร้อยแล้ว แต่แม่แมวอาจตัดสินใจว่าสถานที่ที่เหมาะสำหรับการคลอดที่สุดคือบนเตียงของคุณซึ่งเป็นบริเวณที่มันรู้สึกคุ้นเคยและปลอดภัย[17]
  • อย่าเข้าใกล้แม่แมวในระหว่างการคลอดหากไม่จำเป็น เพราะคุณอาจลงท้ายด้วยการถูกมันกัดหรือข่วนเอาได้ พยายามเข้าใกล้แม่แมวเฉพาะตอนที่มันต้องการความช่วยเหลือในกระบวนการคลอดเท่านั้น
  • หากคุณไม่ได้ตั้งใจที่จะเพาะพันธุ์แมว ลองพิจารณาการทำหมันแม่แมวของคุณเพื่อเห็นแก่ลูกแมวที่เกิดมาในอนาคต (ลูกแมวที่คลอดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจมักจบด้วยการเป็นจรจัด อดอยาก และถูกทำการุณยฆาต) รวมถึงตัวแม่แมวเอง การทำหมันยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมดลูกเป็นหนองหรือภาวะที่มีหนองในมดลูกภายหลังช่วงเวลาติดสัด ทำให้เกิดการติดเชื้อและนำไปสู่อันตรายถึงชีวิตหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันเวลา
  • ห้ามเข้าไปยุ่งเกี่ยวในกระบวนการคลอดโดยเด็ดขาดหากแม่แมวไม่มีปัญหาใดๆ ในการคลอด

คำเตือน

  • หากแม่แมวเจ็บท้องใกล้คลอดแต่กลับไม่มีลูกแมวคลอดออกมาภายใน 2 ชั่วโมงกลังกระบวนการคลอดเริ่มต้นขึ้น ให้คุณรีบพาแม่แมวไปพบสัตวแพทย์โดยทันที เนื่องจากอาจมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น รวมถึงในกรณีที่ลูกแมวแต่ละตัวคลอดออกมาห่างกันเกินกว่าชั่วโมง อย่าตกใจกลัวหากเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น สิ่งที่คุณควรทำคือการตั้งสติเพื่อแม่แมวและลูกแมวที่กำลังจะคลอดออกมาและติดต่อสัตวแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ
  • พาแม่แมวไปพบสัตวแพทย์โดยทันทีหากคุณสังเกตเห็นสัญญาณดังต่อไปนี้
    • ลูกแมวตัวแรกยังคงไม่คลอดออกมาหลังเข้าสู่กระบวนการคลอดแล้วกว่าชั่วโมง
    • ลูกแมวโผล่พ้นช่องคลอดเพียงบางส่วนแล้วหยุดไป
    • แม่แมวเริ่มมีเลือดสีแดงสดไหลออกจากช่องคลอด

สิ่งของที่ใช้

  • น้ำยาฆ่าเชื้อ (เช่น เบตาดีน) สำหรับใช้ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทุกชิ้นที่ใช้ใกล้ๆ หรือใช้โดยตรงกับแม่แมว เช่น กรรไกรหรือคีม รวมถึงใช้เช็ดทำความสะอาดหลังจากตัดสายสะดือออก
  • คีมขนาดเล็ก (ปรึกษาแพทย์หรือร้านสัตว์เลี้ยงที่น่าเชื่อถือ)
  • กรรไกร (ไม่คม)
  • ผ้าก็อซ
  • ถุงมือยางแบบบาง
  • ผ้าขนหนู ผ้าปูที่นอน หรือผ้าห่มใช้แล้วที่สะอาดสำหรับวางรองพื้นรังคลอด
  • ลังกระดาษที่มีขนาดเท่าๆ กับเตียงสำหรับแมวและมีด้านข้างที่สูง
  • นมผงสำหรับลูกแมวและขวดนม

ข้อมูลอ้างอิง

  1. Feline Reproduction. Burke. Feline Practice 5 (6) 16-19
  2. Feline Reproduction. Burke. Feline Practice 5 (6) 16-19
  3. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindal.
  4. Feline Reproduction. Burke. Feline Practice 5 (6) 16-19
  5. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindal.
  6. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindal.
  7. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindal.
  8. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindal.
  9. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindal.
  1. Feline Reproduction. Burke. Feline Practice 5 (6) 16-19
  2. Feline Reproduction. Burke. Feline Practice 5 (6) 16-19
  3. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindal.
  4. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindal.
  5. Feline Reproduction. Burke. Feline Practice 5 (6) 16-19
  6. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindal.
  7. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindal.
  8. Reproduction in the Dog and Cat. Christiansen. Publisher: Bailliere Tindal.

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Natalie Punt, DVM
ร่วมเขียน โดย:
สัตวแพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Natalie Punt, DVM. ดร. นาตาลี พันท์ เป็นสัตวแพทย์ และผู้ก่อตั้งและ CEO ของ mPet เธอเชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินและเวชศาสตร์ทั่วไปสำหรับสัตว์ขนาดเล็กและเศรษฐศาสตร์การปฏิบัติทางสัตวแพทย์ ดร. พันท์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาชีวเคมีและอณูชีววิทยา จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส ปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาชีวเคมี จากมหาวิทยาลัยบัฟฟาโล และสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต จาก Western University of Health Sciences บทความนี้ถูกเข้าชม 135,782 ครั้ง
หมวดหมู่: แมว
มีการเข้าถึงหน้านี้ 135,782 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม