วิธีการ รักษาภาวะเสียงอื้อในหู

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ภาวะเสียงอื้อในหูคือการที่ได้คุณได้ยินเสียงวิ้งๆ หรือเสียงหึ่งๆ ในหู การได้ยินเสียงดัง ขี้หูอุดตัน ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ยาที่แพทย์สั่ง และความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ล้วนเป็นสาเหตุของภาวะเสียงอื้อในหูได้ทั้งสิ้น คุณควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง และวางแผนการรักษาร่วมกับแพทย์ ในหลายกรณีภาวะเสียงอื้อในหูไม่สามารถกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้ แต่ก็มีวิธีที่ช่วยลดความรุนแรงด้วยกันหลายวิธี เช่น เครื่องกำเนิดเสียง เครื่องช่วยฟัง และยาสามารถช่วยกลบเสียงวิ้งๆ หรือเสียงหึ่งๆ ในหูได้ งานวิจัยในสาขาภาวะเสียงอื้อในหูนั้นยังคงมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ และคุณก็สามารถรักษาด้วยการบำบัดเชิงทดลองได้เช่นกัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

บรรเทาอาการของภาวะเสียงอื้อในหู

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ใช้เครื่องกำเนิดเสียงกลบเสียงวิ้งๆ หรือเสียงหึ่งๆ ในหู....
    ใช้เครื่องกำเนิดเสียงกลบเสียงวิ้งๆ หรือเสียงหึ่งๆ ในหู. เครื่องกำเนิดเสียงช่วยกลบเสียงวิ้งๆ หรือเสียงหึ่งๆ ในหูได้ด้วยเสียงสีขาว (เสียงรบกวนที่ไพเราะและน่าฟัง) เสียงที่ช่วยผ่อนคลาย หรือเพลงสบายๆ ตัวอย่างเครื่องกำเนิดเสียงก็เช่น อุปกรณ์เล็กๆ ที่เสียบไว้ในหู หูฟังสวมศีรษะ และเครื่องกำเนิดเสียงสีขาว นอกจากนี้คุณก็สามารถลองใช้อุปกรณ์ในบ้าน เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องฟอกอากาศ พัดลม หรือโทรทัศน์ที่เปิดเสียงเบาๆ ได้เช่นกัน[1]
    • แม้ว่าการบำบัดด้วยเสียงอาจจะไม่ได้รักษาภาวะเสียงอื้อในหู แต่มันก็ช่วยให้ไม่รู้สึกถึงอาการมากนัก ทำให้คุณมีสมาธิมากขึ้น และช่วยให้คุณนอนหลับได้
    • อุปกรณ์บำบัดเสียงตามมาตรฐานทางการแพทย์อาจมีราคาแพงและประกันสุขภาพก็ไม่ได้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ถ้าคุณอยากได้วิธีแก้ปัญหาในราคาที่ยอมเยากว่า ให้หาเสียงธรรมชาติหรือเสียงเพลงสบายๆ ที่ช่วยผ่อนคลายผ่านบริการสตรีมมิงเพลงหรือวิดีโอ
    • เสียงที่มีความถี่สม่ำเสมอและโทนเสียงกลางๆ เช่น เสียงสีขาว (ที่เป็นเหมือนเสียง “ซู่” แบบสม่ำเสมอ) นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าเสียงที่มีความเข้มต่างกัน เช่น เสียงคลื่น[2]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 จัดการกับการสูญเสียการได้ยินและกลบเสียงอื้อในหูด้วยเครื่องช่วยฟัง....
    จัดการกับการสูญเสียการได้ยินและกลบเสียงอื้อในหูด้วยเครื่องช่วยฟัง. ถ้าคุณสูญเสียการได้ยิน เครื่องช่วยฟังสามารถกลบเสียงวิ้งๆ หรือเสียงหึ่งๆ ในหูได้ด้วยการเพิ่มความดังของเสียงที่อยู่ข้างนอก ให้แพทย์เจ้าของไข้ส่งตัวคุณไปที่นักโสตสัมผัสวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน พวกเขาสามารถช่วยให้คุณเลือกเครื่องช่วยฟังที่เหมาะกับคุณได้[3]
    • ถ้าคุณไม่ได้สูญเสียการได้ยิน คุณก็สามารถใช้เครื่องช่วยฟังหรืออุปกรณ์ช่วยฟังชนิดฝังที่กระตุ้นประสาทการได้ยินหรือกลบเสียงวิ้งๆ และเสียงหึ่งๆ ด้วยเสียงสีขาว
    • ในประเทศไทย หากแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าประสาทหูเสื่อมและมีความจำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยฟัง คุณสามารถเบิกเครื่องช่วยฟังได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ว่าคุณจะใช้สิทธิประกันสุขภาพของภาครัฐแบบใดก็ตาม
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ปรึกษาแพทย์เรื่องยาต้านอาการซึมเศร้าและยาคลายวิตกกังวล....
    ปรึกษาแพทย์เรื่องยาต้านอาการซึมเศร้าและยาคลายวิตกกังวล. ยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทสามารถลดความรุนแรงของอาการ ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับที่เกิดจากภาวะเสียงอื้อในหู และทำให้คุณรับมือกับภาวะเสียงอื้อในหูได้ง่ายขึ้น ยาเหล่านี้เหมาะกับภาวะเสียงอื้อในหูอย่างรุนแรงที่กระตุ้นให้เกิดความเครียด ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้ามากที่สุด[4]
    • ความเครียด ความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้าอาจทำให้ภาวะเสียงอื้อในหูแย่ลงได้ อารมณ์เหล่านี้และภาวะเสียงอื้อในหูอาจสร้างความสัมพันธ์ที่เป็นวงจร หรืออาจจะไปกระตุ้นและทำให้อาการของแต่ละฝั่งแย่ลง ถ้าคุณได้รับผลกระทบที่เป็นวงจรเช่นนี้ แพทย์ก็อาจจะแนะนำยาต้านอาการซึมเศร้าหรือยาคลายวิตกกังวลให้คุณ
    • ยาต้านอาการซึมเศร้าและยาคลายวิตกกังวลอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ตาพร่า ปากแห้ง คลื่นไส้ ท้องผูก หงุดหงิดง่าย และความต้องการทางเพศลดลง บอกให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับผลข้างเคียง อาการใหม่ๆ หรืออาการแปลกๆ ที่เกิดขึ้น เช่น อาการซึมเศร้า ความคิดเรื่องฆ่าตัวตาย หรือพฤติกรรมก้าวร้าว
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หานักบำบัดที่มีความรู้ด้านการจัดการกับภาวะเสียงอื้อในหู....
    หานักบำบัดที่มีความรู้ด้านการจัดการกับภาวะเสียงอื้อในหู. นักบำบัดสามารถช่วยให้คุณรับมือกับภาวะเสียงอื้อในหูและจัดการกับผลกระทบที่มีต่อคุณภาพชีวิตของคุณได้ โดยทั่วไปการบำบัดมักจะทำควบคู่กับการรักษาภาวะเสียงอื้อในหูในรูปแบบอื่น เช่น การใช้ยารักษาหรือการบำบัดด้วยเสียง[5]
    • ลองค้นหานักบำบัดที่มีประสบการณ์และผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ต
  5. How.com.vn ไท: Step 5 สอบถามแพทย์เรื่องการบำบัดเชิงทดลอง.
    ขณะนี้ยังไม่พบวิธีการรักษาภาวะเสียงอื้อในหู แต่ก็ยังมีการทำวิจัยอยู่เรื่อยๆ เพราะฉะนั้นคุณก็ควรเปิดรับการบำบัดเชิงทดลอง การกระตุ้นสมองและเส้นประสาทด้วยอิเล็กทรอนิกส์และแม่เหล็กอาจช่วยแก้ไขการส่งสัญญาณเส้นประสาทที่ไวเกินไปจนทำให้เป็นภาวะเสียงอื้อในหู เทคนิคเหล่านี้ยังอยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา เพราะฉะนั้นให้สอบถามแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินว่า มีการทดลองแบบไหนที่เหมาะกับคุณหรือไม่[6]
    • อาจจะมียาตัวใหม่ออกมาในอนาคตอันใกล้ เพราะฉะนั้นให้ขอให้แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยินคอยแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับการบำบัดรูปแบบใหม่ที่เกิดขึ้นให้คุณ[7]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

จัดการกับภาวะเสียงอื้อในหูด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 จำกัดการได้ยินเสียงดังๆ.
    การได้ยินเสียงดังๆ อาจไปกระตุ้นและทำให้อาการแย่ลงได้ ใส่ที่อุดหูหรือที่ปิดหูกันหนาวถ้าคุณทำงานในสภาพแวดล้อมที่เสียงดัง เวลาที่คุณใช้เครื่องมือกล ขณะตัดหญ้า เวลาดูดฝุ่น หรือเมื่อคุณทำกิจกรรมใดก็ตามที่ส่งเสียงดัง[8]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที.
    ยิ่งถ้าเป็นการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอเป็นประจำจะยิ่งช่วยได้มาก คุณควรออกไปเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน และว่ายน้ำ เพราะนอกจากจะมีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวมแล้ว การออกกำลังกายยังช่วยเสริมการไหลเวียนของเลือด ซึ่งอาจจะช่วยบรรเทาภาวะเสียงอื้อในหูที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหัวใจหรือการไหลเวียนของเลือดด้วย[9]
    • นอกจากนี้วิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉงยังดีต่อสุขภาพจิตด้วย
    • ถ้าคุณไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ ให้ปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มกิจวัตรการออกกำลังกายใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีประวัติเรื่องปัญหาสุขภาพ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ฝึกสมาธิและเทคนิคการผ่อนคลาย.
    ความเครียดจะยิ่งทำให้อาการของภาวะเสียงอื้อในหูแย่ลง เพราะฉะนั้นให้หายใจลึกๆ และผ่อนคลายถ้าคุณเริ่มรู้สึกกระวนกระวาย วิตกกังวล หรือรับไม่ไหว หายใจเข้าช้าๆ นับถึง 4 ค้างลมหายใจไว้นับถึง 4 แล้วหายใจออกนับถึง 4 ควบคุมการหายใจต่อไปสัก 1-2 นาที หรือจนกว่าคุณจะรู้สึกสบายใจ[10]
    • จินตนาการภาพทิวทัศน์ที่สงบขณะที่คุณหายใจ เช่น นึกถึงชายหาดหรือความทรงจำในวัยเด็กที่ทำให้คุณรู้สึกอุ่นใจ
    • พยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์และผู้คนที่ทำให้เกิดความเครียดให้ได้มากที่สุด ถ้าคุณมีเรื่องต่างๆ ที่ต้องรับผิดชอบมากมายอยู่แล้ว อย่าเพิ่งรับหน้าที่มาใหม่หรือแบกรับสิ่งต่างๆ มากจนเกินไป
    • การเข้าคลาสโยคะหรือศิลปะการต่อสู้ก็ช่วยให้เรามีสติและผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การเข้าคลาสยังมีเรื่องของการเข้าสังคมมาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งจะช่วยให้คุณมีทัศนคติโดยรวมที่ดีขึ้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หลีกเลี่ยงคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และนิโคติน....
    หลีกเลี่ยงคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และนิโคติน. ลองลดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และจำกัดการบริโภคชาและกาแฟที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม และช็อกโกแลต เพราะสารเหล่านี้อาจส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดและทำให้อาการของภาวะเสียงอื้อในหูแย่ลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิโคตินที่อันตรายมากเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นถ้าจำเป็นให้ขอคำแนะนำจากแพทย์เรื่องการเลิกผลิตภัณฑ์ยาสูบ[11]
    • นอกจากนี้การลดคาเฟอีนยังมีประโยชน์กับคุณด้วย หากคุณนอนไม่หลับเพราะภาวะเสียงอื้อในหู
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาอาการที่ซ่อนอยู่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง....
    ไปพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง. อาการของภาวะเสียงอื้อในหูก็คือการได้ยินเสียงวิ้งๆ หรือเสียงหึ่งๆ ในหู แต่จริงๆ แล้วมันก็คืออาการ แต่ไม่ใช่โรคโดยตัวมันเอง เพราะฉะนั้นให้นัดตรวจสุขภาพเพื่อหาสาเหตุที่ซ่อนอยู่ แพทย์สามารถตรวจร่างกายและการได้ยินให้คุณได้[12]
    • สิ่งที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะเสียงอื้อในหูได้แก่ การได้ยินเสียงดัง ขี้หูอุดตัน ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ยาที่แพทย์สั่ง และความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ให้แพทย์ส่งตัวไปหาแพทย์เฉพาะทางหากจำเป็น.
    แม้ว่าคุณอาจจะไปหาแพทย์อายุรกรรมหรือผู้ให้บริการสาธารณสุขขั้นต้นเพื่อรักษาภาวะเสียงอื้อในหู แต่พวกเขาก็อาจจะส่งตัวคุณไปหานักโสตสัมผัสวิทยา ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการได้ยิน หรือแพทย์หูคอจมูก (ENT) ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะสามารถวางแผนการจัดการกับภาวะเสียงอื้อในหูในระยะยาวได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณต้องสัมผัสกับเสียงดังบ่อยๆ....
    แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณต้องสัมผัสกับเสียงดังบ่อยๆ. การสูญเสียการได้ยินที่เกิดจากเสียงดังนั้นเป็นสาเหตุของภาวะเสียงอื้อในหูที่พบได้ทั่วไป คุณจะยิ่งมีความเสี่ยงต่อภาวะเสียงอื้อในหูมากขึ้นหากคุณทำงานในโรงงาน ทำงานในเขตก่อสร้างหรือใช้เครื่องมือกล ไปคอนเสิร์ตเป็นประจำ เป็นนักดนตรี หรือได้ยินเสียงระเบิด[13]
    • การบอกให้แพทย์ทราบเรื่องที่คุณสัมผัสกับเสียงดังมาก่อนจะช่วยให้แพทย์ตัดประเด็นเรื่องปัญสุขภาพอื่นๆ ออกไปได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปรึกษาแพทย์เรื่องยาที่คุณรับประทาน.
    มีตัวยากว่า 200 รายการที่เป็นสาเหตุหรือทำให้ภาวะเสียงอื้อในหูแย่ลง เช่น ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมะเร็ง ยารักษามาลาเรีย และยาขับปัสสาวะ ถ้าคุณรับประทานยาตัวใดตัวหนึ่งอยู่ ให้สอบถามแพทย์ว่าสามารถลดปริมาณหรือหาตัวยาอื่นที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่านี้ได้ไหม[14]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ให้แพทย์ชะล้างหูหากคุณมีขี้หูสะสมอยู่มาก.
    ขี้หูที่สะสมอยู่จะไปอุดตันช่องหูและทำให้เกิดการสูญเสียการได้ยิน ความหงุดหงิด และภาวะเสียงอื้อในหู ถ้าจำเป็น ให้แพทย์ชะล้างช่องหูโดยใช้ยาหยอดหรืออุปกรณ์ดูดชนิดพิเศษ[15]
    • อย่าพยายามชะล้างหูเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน คุณอาจจะรักษาด้วยตัวเองได้ เช่น หยดเบบี้ออยล์หรือไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ด้วยที่หยดยา แต่คุณควรรักษาด้วยวิธีการเหล่านี้ก็ต่อเมื่อแพทย์อนุญาตเท่านั้น
    • อย่าใช้สำลีพันก้านทำความสะอาดหู เพราะอาจทำให้หูระคายเคืองและยิ่งเป็นการดันขี้หูให้เข้าไปอยู่ในช่องหู
  6. How.com.vn ไท: Step 6 รักษาโรคความดันโลหิตสูงหรือปัญหาหลอดเลือดหากจำเป็น....
    รักษาโรคความดันโลหิตสูงหรือปัญหาหลอดเลือดหากจำเป็น. แพทย์จะจ่ายยารักษาภาวะเสียงอื้อในหูที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูงหรือปัญหาการไหลเวียนอื่นๆ ให้คุณ รับประทานยาตามแพทย์สั่ง และสอบถามแพทย์ว่า คุณจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารการกินหรือการดำเนินชีวิตหรือไม่[16]
    • เช่น คุณอาจจะต้องจำกัดการบริโภคเกลือ ใช้สมุนไพรแห้งหรือสดแทนเกลือเวลาทำอาหาร หลีกเลี่ยงขนมรสเค็ม และอย่าเติมเกลือในอาหาร นอกจากนี้แพทย์ก็อาจจะแนะนำให้คุณลดการบริโภคไขมันและออกกำลังกายให้มากขึ้นด้วย
  7. How.com.vn ไท: Step 7 รับประทานยาที่รักษาความผิดปกติของไทรอยด์ถ้าจำเป็น....
    รับประทานยาที่รักษาความผิดปกติของไทรอยด์ถ้าจำเป็น. ภาวะเสียงอื้อในหูเกี่ยวข้องกับทั้งภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน หรือภาวะความผิดปกติของฮอร์โมนที่มีมากเกินไป และภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน หรือภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ แพทย์จะตรวจดูอาการบวมหรือก้อนนูนที่ต่อมไทรอยด์ ซึ่งจะอยู่ในลำคอ และสั่งตรวจเลือดเพื่อตรวจการทำงานของต่อมไทรอย์ ถ้าแพทย์พบปัญหา แพทย์ก็จะจ่ายยาที่ไปควบคุมระดับฮอร์โมนไทรอยด์ให้[17]
    • ยารักษาโรคไทรอย์มักจะต้องรับประทานเวลาเดียวกันทุกวันและรับประทานตอนท้องว่าง ถ้าคุณต้องรับประทานยารักษาโรคไทรอยด์ คุณต้องปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Payam Daneshrad, MD
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์หูคอจมูกที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Payam Daneshrad, MD. นายแพทย์พยาม ดาเนศราษฎร์เป็นแพทย์หูคอจมูกที่ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการ ศัลยแพทย์ตกแต่งใบหน้าที่มีสิทธิ์เข้ารับการประเมินจากคณะกรรมการ เจ้าของและผู้อำนวยการ DaneshradClinic ในลอสแองเจลิส แคลิฟอร์เนีย นายแพทย์พยามมีประสบการณ์มากว่า 19 ปี เชี่ยวชาญด้านการผ่าตัดหูคอจมูกและใบหน้าในผู้ใหญ่และเด็ก การผ่าตัดในโพรงจมูกที่ลดการใช้อุปกรณ์ห้ามเลือด การผ่าตัดไซนัสผ่านกล้อง และการรักษาอาการนอนกรน นอกจากนี้เขายังใช้เทคนิคการผ่าตัดหูคอจมูกใหม่ล่าสุดในการผ่าตัดต่อมทอนซิล การผ่าตัดต่อมอดีนอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และการผ่าตัดต่อมพาราธัยรอยด์ นายแพทย์พยามได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิตเกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ จบการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ (MD) จากมหาวิทยาลัยทูเลนที่เขาได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกของ AOA สมาคมแพทย์อันทรงเกียรติ และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยทูเลน นายแพทย์พยามผ่านการฝึกอบรมแพทย์จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ด้านคลินิกในปัจจุบัน นอกจากนี้เขายังเป็นแพทย์หูคอจมูกและศัลยแพทย์ตกแต่งใบหน้าให้กับ Los Angeles Sparks และทีมนักกีฬาของมหาวิทยาลัยโลโยลาแมรีเมาต์ด้วย บทความนี้ถูกเข้าชม 1,389 ครั้ง
หมวดหมู่: ยาทางเลือก
มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,389 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา