วิธีการ ป้องกันเด็กติดเกม

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เด็กๆ ส่วนใหญ่ชอบเล่นวีดีโอเกม ถึงแม้วีดีโอเกมจะมีประโยชน์ ช่วยสอนทักษะบางอย่างหรือให้ความรู้แก่เด็ก แต่ถ้าเด็กชอบเล่นเกมหลายชั่วโมงทุกวัน สักวันก็อาจประสบปัญหาโรคอ้วนในเด็กและปัญหาการเรียนรู้ เราไม่จำเป็นต้องให้เด็กเลิกเล่นวีดีโอเกมไปเลย แต่ควรจำกัดเวลาเล่นและช่วยเด็กหากิจกรรมอื่นๆ นอกเหนือไปจากการเล่นวีดีโอเกม เด็กจะได้มีโอกาสเล่นวีดีโอเกมน้อยลง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

กำหนดขอบเขตให้ชัดเจน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ตั้งกฎพิเศษขึ้นมา.
    การกำหนดกฎให้ชัดเจนนั้นสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก บอกลูกไปตามความจริงว่าเราต้องการอะไร ให้ลูกรู้ว่าเราคาดหวังอะไรจากเขา และบอกให้ลูกเข้าใจอย่างชัดเจน เราควรกำหนดผลที่จะตามมาถ้าลูกทำผิดกฎ นั่งคุยกับลูกว่าเรามีกฎใหม่อะไรบ้าง[1]
    • อย่าพูดว่า “ลูกเล่นวีดีโอเกมได้วันละสองสามชั่วโมงเท่านั้นและห้ามเล่นวีดีโอเกมดึกเกินไป” คำพูดนี้ออกจากคลุมเครือไปสักหน่อย ให้พูดอย่างชัดเจนว่า “หลังกลับจากโรงเรียนลูกเล่นวีดีโอเกมได้หนึ่งชั่วโมง และห้ามเล่นวีดีโอเกมหลังสองทุ่ม”
    • เตรียมรับมือกับพฤติกรรมตอบโต้ที่ไม่พึงประสงค์ของลูก นี้เป็นเรื่องปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราไม่เคยใช้กฎกับเขามาก่อน ลูกก็อาจจะโมโห เกรี้ยวกราด ร้องไห้ ขอร้องวิงวอน หรือแม้แต่ข่มขู่ อย่าไปสนใจ ถ้าลูกระเบิดอารมณ์ใส่และพยายามสงบสติอารมณ์เข้าไว้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 บอกผลของการละเมิดกฎให้ชัดเจน.
    เราจะต้องบอกผลของการละเมิดกฎให้ชัดเจนและกระจ่าง เมื่อตั้งกฎขึ้นมา เราต้องให้ลูกเข้าใจถึงผลที่จะตามมาด้วย กำหนดผลของการละเมิดกฎให้ชัดเจน ไม่อย่างนั้นลูกจะสับสนได้ [2]
    • ตัวอย่างเช่น บอกลูกว่า “ถ้าลูกไม่อาละวาดหรือแสดงอาการโมโหเมื่อพ่อปิดวีดีโอเกมและถ้าลูกไม่เล่นวีดีโอเกมหลังเลยสองทุ่มไปแล้ว หลังกลับจากโรงเรียนลูกจะได้เล่นวีดีโอเกมวันละหนึ่งชั่วโมง แต่ถ้าลูกละเมิดกฎ เล่นวีดีโอเกมนานเกินหนึ่งชั่วโมงหรือเล่นวีดีโอเกมหลังสองทุ่ม ลูกจะไม่ได้เล่นวีดีโอเกมเลยในวันถัดไป”
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พูดจริงทำจริง.
    หลังจากกำหนดกฎและผลของการละเมิดกฎแล้ว เราต้อง ทำตามที่พูด ถ้าเราปล่อยให้เด็กละเมิดกฎโดยไม่ทำอะไรเลย เด็กก็จะคิดว่าเราไม่จริงจังและเขาก็จะไม่ทำตามกฎ ฉะนั้นทำตามคำพูดของตน ถ้าลูกละเมิดกฎ[3]
    • ทุกครั้งที่ลูกไม่ทำตามกฎ เขาจะได้รับผลของการละเมิดกฎ บางครั้งพ่อแม่ก็สงสารลูกขึ้นมาถ้าเขาทำตัวน่ารักหรือพ่อแม่เผลอทำโทษอย่างรุนแรงเมื่อลูกเถียงกลับ แต่เมื่อลูกไม่ทำตามกฎที่ตกลงกันไว้ เขาก็ควรได้รับผลจากการกระทำของตนเอง การทำแบบนี้ไม่ใช่ว่าเราจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงกฎได้ แต่เราจะไม่เปลี่ยนแปลงกฎโดยไม่บอกลูกให้เข้าใจชัดเจนล่วงหน้าหรือทำเพราะความสงสารเห็นใจ
    • พึงระลึกไว้ว่าวีดีโอเกมไม่ใช่ ของที่จำเป็นต่อการมีสุขภาพดีและการอยู่ดีมีสุขของลูก ฉะนั้นจึงสามารถตัดออกไปได้ บางครั้งพ่อแม่ก็ลืมไปว่าสามารถงดการเล่นวีดีโอเกมของลูกไปตลอดเลยก็ได้ ถ้าลูกไม่สามารถเล่นวีดีโอเกมตามกำหนดเวลาของเราได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 มีการจับเวลา.
    ใช้นาฬิกาจับเวลาและเตือนลูกให้เขาเตรียมตัวหยุดเล่นวีดีโอเกมเมื่อใกล้หมดเวลา เด็กอาจอยากเล่นวีดีโอเกมต่อจนพยายามขอผัดเวลาออกไป ถึงแม้จะรู้ว่าถึงเวลาที่ควรเลิกเล่นก็ตาม การเตือนลูกว่าใกล้หมดเวลาแล้วจะช่วยให้ลูกเตรียมตัวหยุดการเล่นวีดีโอเกม[4]
    • เตือนลูกเมื่อเหลือเวลา 15 และ 10 นาที
    • ตั้งนาฬิกาให้เตือนก่อนหมดเวลาห้านาที เมื่อได้ยินเสียงนาฬิกา จึงบอกลูกว่า “ลูกเหลือเวลาอีกห้านาที เข้าไปใกล้จุดเซฟเกมได้แล้ว”
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ให้เด็กทำการบ้านและงานบ้านหรือหน้าที่ของตนเองให้เสร็จในแต่ละวัน....
    ให้เด็กทำการบ้านและงานบ้านหรือหน้าที่ของตนเองให้เสร็จในแต่ละวัน. เด็กควรจะทำหน้าที่ของตนให้เสร็จสิ้นก่อนได้รับอนุญาตให้เล่นวีดีโอเกม เด็กต้องทำการบ้านและงานบ้านที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จ หลังเด็กทำหน้าที่ของตนเองเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็อนุญาตให้เด็กเล่นวีดีโอเกมได้
    • ให้ลูกเล่นวีดีโอเกมเป็นรางวัลหลังจากทำการบ้านและงานบ้านที่ได้รับมอบหมายในแต่ละวันเสร็จแล้ว
    • เตรียมรับมือกับความดื้อของเด็กในช่วงแรกๆ ถ้าครอบครัวไม่เคยใช้กฎแบบนี้มาก่อน
  6. How.com.vn ไท: Step 6 วางเครื่องเล่นวีดีโอเกมไว้ในห้องนั่งเล่น.
    วิธีหนึ่งที่จะสามารถจำกัดเวลาเล่นเกมของเด็กได้และสามารถจับตาดูพวกเขาได้ด้วยคือการวางเครื่องเล่นเกมในห้องนั่งเล่นแทนไว้ในห้องนอนเด็ก เราจะบังคับใช้กฎได้ง่ายและลูกจะทำตามกฎที่ตั้งไว้ด้วย[5]
    • การวางเครื่องเล่นวีดีโอเกมไว้ในห้องนอนเด็กจะทำให้เด็กมีอิสระในการเล่นวีดีโอเกมมากเกินไปเมื่อไม่มีผู้ใหญ่ควบคุมดูแล นอกจากนี้การวางเครื่องเล่นวีดีโอเกมไว้ในห้องนอนเด็กก็อาจยั่วให้เด็กอยากเล่นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเล็กที่ไม่สามารถควบคุมตนเองให้ทำตามกฎได้มากนัก
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

ช่วยให้เด็กสามารถหยุดเล่นเกมได้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ช่วยกันหากลวิธีให้เด็กหยุดเล่นเกมตามกำหนดเวลา....
    ช่วยกันหากลวิธีให้เด็กหยุดเล่นเกมตามกำหนดเวลา. ให้ลูกมีส่วนในการจำกัดการเล่นวีดีโอเกมด้วย มีข้อตกลงกันว่าจะไม่เล่นวีดีโอเกมประเภทที่ตื่นเต้นเกินไปหรือใช้เวลาเล่นนานเกินไปหรือจะให้รางวัลอะไรเมื่อเด็กทำตามกฎของการเล่นวีดีโอเกมได้[6]
    • ตัวอย่างเช่น ตกลงกับลูกว่าอย่าเพิ่งพยายามเอาชนะด่านที่ต้องใช้เวลาเล่นนาน ให้เขาใช้เวลาเล่นด่านนั้นช่วงสุดสัปดาห์แทน
    • ทั้งเราและลูกสามารถช่วยกันระดมสมองคิดว่าควรได้รับรางวัลอะไรบ้างเมื่อลูกสามารถทำตามกฎที่กำหนดไว้ได้หนึ่งสัปดาห์ หนึ่งเดือน หรือนานกว่านั้น อย่าให้รางวัลเด็กเป็นการเพิ่มเวลาเล่นวีดีโอเกม พยายามหารางวัลที่ทั้งเราและเขาเห็นพ้องต้องกัน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ค่อยๆ ลดเวลาเล่นวีดีโอเกมลง.
    แทนที่จะไม่ให้เล่นวีดีโอเกมเลย ค่อยๆ จำกัดเวลาการเล่นลง ตัวอย่างเช่น ทุกครั้งที่ลูกกลับมาจากโรงเรียน เขาจะใช้เวลาเล่นเกมนานหลายชั่วโมง ให้จำกัดเวลาเล่นให้เหลือหนึ่งหรือสองชั่วโมงก่อน อธิบายเหตุผลด้วยว่าทำไมเราถึงลดเวลาเล่นวีดีโอเกมของลูกลงและให้ลูกรู้ว่าเราจะไม่ห้ามเมื่อถึงเวลาเล่นและยังอยากให้เขาสนุกกับการเล่นวีดีโอเกมอยู่[7]
    • ตัวอย่างเช่น เราอาจพูดว่า “ลูกแสดงอาการโมโหและพูดจาไม่ดีใส่แม่เมื่อแม่บอกให้ลูกหยุดเล่นวีดีโอเกม ผลการเรียนของลูกก็ตกลงตลอดสองสามเดือนที่ผ่านมานี้เพราะมัวแต่เอาเวลามาเล่นวีดีโอเกม เรื่องนี้แม่รับไม่ได้ ลูกยังสามารถเล่นวีดีโอเกมได้อยู่แต่แม่จะเป็นคนกำหนดเวลาการเล่นของลูกในแต่ละวัน”
    • การห้ามไม่ให้ลูกเล่นวีดีโอเกมอีกเลยอาจให้ผลตรงข้ามมากกว่า เราต้องการลดชั่วโมงการเล่นวีดีโอเกมของลูก ไม่ใช่ห้ามเขาไม่ให้เล่นเลย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ค่อยๆ ปรับพฤติกรรมของเด็ก.
    การให้หยุดเล่นวีดีโอเกมทันทีนั้นยากและอาจไม่สามารถหันเหให้ลูกไปทำกิจกรรมอื่นๆ ได้โดยทันที ฉะนั้นเราต้องให้สัญญาณเพื่อลูกจะได้รู้ว่าถึงเวลาหยุดเล่นวีดีโอเกมแล้ว การทำแบบนี้จนเป็นกิจวัตรจะทำให้ลูกค่อยๆ ปรับพฤติกรรมไปทำกิจกรรมอย่างอื่นที่ไม่ใช่การเล่นวีดีโอเกม[8]
    • ตัวอย่างเช่น อาจพยามพูดส่งสัญญาณให้ลูกรู้ตัวว่าได้เวลาเลิกเล่นวีดีโอเกมแล้ว อาจพูดอะไรแปลกพิสดารหน่อยเช่น “จงรีบกลับมาที่โลกของเราเถอะ! ไก่ทอดแสนอร่อยกำลังรอลูกอยู่!”
    • แสดงท่าทางเป็นสัญญาณว่าใกล้หมดเวลาเล่นแล้ว ให้ลูกดื่มน้ำสักแก้ว ให้ลูกมายืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยกัน หรือกระโดดตบสักสองสามครั้ง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 กำหนดเวลาทำกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว.
    การหาเวลาทำกิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัวจะช่วยให้เด็กอยู่ห่างจากวีดีโอเกมได้ เวลาสำหรับครอบครัวควรมีอย่างสม่ำเสมอและทุกคนในครอบครัวทั้งพ่อแม่และลูกควรเข้าร่วมทำกิจกรรมในช่วงเวลานั้นพร้อมหน้าพร้อมตากัน[9]
    • ยอมให้ลูกเป็นคนเลือกกิจกรรมสำหรับครอบครัวบ้าง ลูกจะได้รู้สึกว่าเขาสามารถทำกิจกรรมที่ตนเองอยากทำในช่วงเวลานั้นได้ การบังคับให้เด็กทำกิจกรรมที่เขาไม่อยากทำอาจทำให้เด็กรู้สึกอึดอัดได้
    • อาจขอให้ลูกเป็นลูกมือช่วยเตรียมอาหารเย็นและกำหนดให้ช่วงเวลาอาหารเย็นเป็นช่วงเวลาของครอบครัว
    • ไปเดินเล่น ขี่จักรยาน เล่นเกมกระดาน เล่นเกมไพ่ หรือดูภาพยนตร์ด้วยกันตอนดึก
    • อาจกำหนดผลของการไม่เข้าร่วมทำกิจกรรมด้วยกันเป็นครอบครัวด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าลูกไม่ยอมเข้าร่วมทำกิจกรรมของครอบครัวในวันนั้น ก็ไม่ให้เขาเล่นวีดีโอเกมเลย
  5. How.com.vn ไท: Step 5 สอนวิธีเซฟเกมให้กับเด็ก.
    เด็กเล็กส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีสำรวจข้อมูลต่างๆ ของวีดีโอเกม เราอาจต้องสอนวิธีเซฟเกมให้กับลูก ถ้าเด็กๆ เซฟเกมได้ เขาก็จะรู้ว่าความพยายามของตนเองนั้นไม่สูญเปล่า เพราะฉะนั้นเวลาที่ต้องเลิกเล่นเด็กๆ ก็จะไม่มีท่าทีอิดออดมากนัก
    • อธิบายให้เด็กรู้ว่ามีวีดีโอเกมมากมายที่ต้องใช้เวลาเล่นเป็นสิบเป็นร้อยชั่วโมง ถึงจะจบสมบูรณ์ได้ ฉะนั้นจึงไม่สามารถเล่นเกมให้จบภายในคราวเดียวได้ ช่วยให้เด็กเข้าใจว่าการเล่มวีดีโอเกมแบบนี้ต้องใช้เวลานาน
    • เราอาจเปลี่ยนให้การเล่นวีดีโอเกมเป็นกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ก็ได้ ให้เด็กอธิบายเกมให้เราฟังและอธิบายถึงความท้าทายต่างๆ และด่านที่มีอยู่ในวีดีโอเกม
    • เมื่อหมดเวลาเล่น รอจนเด็กเซฟเกมเสร็จ อาจช่วยเด็กเซฟเกมก็ได้ ถ้าเห็นว่าเขายังเด็กเกินไปที่จะเข้าใจวิธีเซฟเกม ถ้าเด็กพยายามเลื่อนเวลาออกไปด้วยการใช้เวลาเซฟเกมมากเกินไป ลดระยะเวลาเล่มวีดีโอเกมในวันถัดไป ถ้าเด็กยังทำแบบนี้อยู่เรื่อยๆ งดการเล่นวีดีโอเกมเลย[10]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

กระตุ้นให้เด็กสนใจอยากทำกิจกรรมอย่างอื่น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กระตุ้นให้เด็กหากิจกรรมอย่างอื่นทำ.
    การเล่นวีดีโอเกมเป็นเพียงแค่วิธีการให้ความบันเทิงแก่ตนเองวิธีการหนึ่งเท่านั้น ความจริงแล้วยังมีกิจกรรมที่สนุกอื่นๆ ให้เด็กได้ทำอีกมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนที่เด็กๆ ไม่ได้รับอนุญาตให้เล่นวีดีโอเกม ลองชักชวนให้เด็กๆ หันมาทำกิจกรรมอื่นๆ และถ้าเด็กๆ คิดไม่ออก ก็ลองเสนอกิจกรรมสักสองสามอย่างให้พวกเขาลองทำดู[11]
    • ตัวอย่างเช่น ให้ลูกเล่นของเล่นอย่างอื่น แสดงละคร เล่นดนตรี หรือดูภาพยนตร์ อ่านหนังสือ ออกไปเล่นข้างนอก ง่วนอยู่กับกิจกรรมที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเช่น วาดภาพ งานฝีมือ จะให้เล่นเกมกระดาน หรือเล่นเกมไพ่ก็ได้
    • เมื่อลูกอยากเล่นวีดีโอเกมเพราะ “ไม่มีอะไรทำ” ให้ปฏิเสธลูกไป
    • เราต้องไม่ใช้วีดีโอเกมในการป้องกันไม่ให้ลูกออกไปเล่นข้างนอก ถ้าใช้วิธีนี้บ่อยๆ อาจทำให้เด็กเริ่มติดเกมได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ให้เด็กทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น.
    การเล่นวีดีโอเกมเป็นกิจกรรมที่ทำคนเดียว เราสามารถกระตุ้นให้ลูกเข้าทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นได้และกิจกรรมนั้นควรเป็นกิจกรรมที่เขาสนุกด้วย ระดมสมองร่วมกันกับลูกและให้ลูกเป็นคนเลือกกิจกรรมที่ตนเองชื่นชอบแทนการให้เราเป็นฝ่ายเลือกให้เขา[12]
    • อาจให้ลูกเข้าค่ายเสริมการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ ลองค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตสิว่าช่วงนั้นมีกิจกรรมอะไรจัดขึ้นเพื่อให้เด็กเข้าร่วมบ้าง
    • ค้นหาสิว่ามีการจัดกิจกรรมการแสดง การเล่นดนตรี การวาดภาพระบายสีสำหรับเด็กแถวบ้านเราไหม เราอาจหากิจกรรมเสริมทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ความคิดสร้างสรรค์ หรือกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงก็ได้
    • การเล่นกีฬานันทนาการก็สนุกสำหรับเด็กบางคน ฉะนั้นอย่าบังคับเด็กให้เล่นกีฬาที่เขาไม่อยากเล่น
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กระตุ้นให้เด็กอยากออกกำลังกาย.
    การเล่นวีดีโอเกมมากเกินไปมีส่วนทำให้เกิดภาวะอย่างเช่นโรคอ้วนในเด็กเพราะวีดีโอเกมเป็นกิจกรรมที่ทำให้ต้องอยู่กับที่ ฉะนั้นกระตุ้นให้เด็กอยากออกกำลังกายโดยให้เขาเลือกวิธีออกกำลังกายที่ตนเองชอบเพื่อให้ได้มีโอกาสขยับตัวมากขึ้น ให้ลูกได้เลือกวิธีออกกำลงกายเอง กระตุ้นให้ลูกลองการออกกำลงกายแบบใหม่ๆ ถ้าลูกไม่ได้ชอบการออกกำลังกายแบบใดเป็นพิเศษ[13]
    • การออกกำลังกายที่เด็กอาจชื่นชอบเช่น การขี่จักรยาน การเล่นสเกตบอร์ด การเต้นรำ การฝึกศิลปะป้องกันตัว การเล่นกีฬานันทนาการ การว่ายน้ำ และการออกไปเล่นกับเพื่อนข้างนอก
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

ประเมินพฤติกรรมของเด็ก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กำหนดระยะเวลาในการเล่นวีดีโอเกมให้เหมาะสม.
    ทุกคนอาจกำหนดระยะเวลาที่เหมาะสมในการเล่นวีดีโอเกมแก่เด็กไม่เท่ากัน ให้กำหนดระยะเวลาในการเล่นวีดีโอเกมให้เหมาะสมในแต่ละวันหรือในแต่ละสัปดาห์ พ่อแม่บางคนให้ลูกเล่นวีดีโอเกมวันละหนึ่งชั่วโมง แต่บางคนไม่ให้เล่นวีดีโอเกมในวันธรรมดาเลยและให้เล่นวีดีโอเกมในวันหยุดเสาร์อาทิตย์เท่านั้น โดยให้เล่นแค่วันละสองสามชั่วโมง[14]
    • ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและพัฒนาการแนะนำว่าเด็กไม่ควรอยู่หน้าจอโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์นานเกินสองชั่วโมง ฉะนั้นให้เอาข้อมูลนี้มาใช้พิจารณาในการกำหนดเวลาเล่นวีดีโอเกมด้วย จะได้กำหนดระยะเวลาในการเล่นวีดีโอเกมได้อย่างเหมาะสม
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ตระหนักถึงอาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าเด็กกำลังติดเกม....
    ตระหนักถึงอาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าเด็กกำลังติดเกม. เด็กบางคนเริ่มติดการเล่นวีดีโอเกม เด็กเหล่านี้จะแสดงอาการทางพฤติกรรม อารมณ์และทางกาย เช่น แยกตัวออกจากครอบครัวและเพื่อน พ่อแม่จึงต้องเข้าใจว่าสัญญาณและอาการติดเกมเป็นอย่างไร จะได้รู้ว่าลูกมีอาการติดเกมหรือไม่ [15]
    • ตัวอย่างเช่น เด็กอาจไม่สามารถหยุดเล่นวีดีโอเกมได้ ก้าวร้าวหรือหงุดหงิดเมื่อไม่ได้เล่นวีดีโอเกม หรือไม่สนใจทำกิจกรรมอย่างอื่นเลย อาจฉุนเฉียวหรือห่อเหี่ยวเมื่อไม่ได้เล่นวีดีโอเกม เด็กอาจไม่สนใจสุขอนามัยของตนเอง นอนหลับไม่เป็นเวลา และมีอาการปวดหลังหรือปวดข้อมือ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เข้าพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพถ้าสังเกตเห็นว่าเด็กมีอาการติดเกม....
    เข้าพบผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพถ้าสังเกตเห็นว่าเด็กมีอาการติดเกม. ถ้าเชื่อว่าลูกติดเกมและเราได้พยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเขาแล้วแต่ไม่ได้ผล เราอาจต้องขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ แพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิตสามารถช่วยเหลือเราปรับพฤติกรรมของเด็กให้เป็นไปในทางที่ดีขึ้นและยับยั้งไม่ให้อาการหนักไปมากกว่านี้[16]
    • วิธีนี้อาจเป็นวิธีแก้ปัญหาอีกทางหนึ่งหากลูกแสดงพฤติกรรมรุนแรงเมื่อเราพยายามจำกัดการเล่นวีดีโอเกมของเขา ถ้าลูกเรามีพฤติกรรมทำลายข้าวของ ก้าวร้าว หรือข่มขู่เพราะเราพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเขา อาจต้องพาลูกมาพบผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Klare Heston, LCSW
ร่วมเขียน โดย:
นักสังคมสงเคราะห์ทางแพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Klare Heston, LCSW. แคลร์ เฮสตันเป็นนักสังคมสงเคราะห์ทางแพทย์อิสระที่มีใบอนุญาตในโอไฮโอ เธอได้รับปริญญาโทด้านสังคมสงเคราะห์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียคอมมอนเวลธ์ในปี 1983 บทความนี้ถูกเข้าชม 11,982 ครั้ง
หมวดหมู่: ครอบครัว
มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,982 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา