วิธีการ รับมือกับคนในครอบครัวที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิง

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ที่มักเกิดขึ้นในหลายครอบครัว และเนื่องจากว่ามันเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ มันจึงมักถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น โดยหลักแล้วภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงคือสภาวะพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความสามารถของบุคคลในการที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีและได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ถ้าคุณมีคนในครอบครัวที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิง คุณอาจจะรู้สึกอึดอัดหรือเหมือนถูกบงการ และคุณอาจรู้สึกว่าการทำลายวงจรนี้เป็นเรื่องยาก แต่ไม่ว่าอย่างไรคุณก็จะสามารถก้าวผ่านมันไปได้ตราบใดที่คุณตระหนักและออกห่างจากพฤติกรรมที่ส่งเสริมการพึ่งพิงได้

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

พูดคุยกับคนในครอบครัวที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สังเกตพฤติกรรมที่ส่งเสริมการพึ่งพิง.
    ในการที่จะสังเกตภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงนั้น คุณจะต้องรู้ก่อนว่ามันมีลักษณะอย่างไร การค่อยๆ ศึกษาเรื่องนี้ไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณรู้ว่าสมาชิกในครอบครัวมีพฤติกรรมตรงตามลักษณะหรือไม่เท่านั้น แต่ยังช่วยให้คุณเข้าใจสภาวะจิตใจของเขาด้วย มีแต่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตเท่านั้นที่จะสามารถวินิจฉัยภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงได้ แต่อาการที่บ่งบอกว่ามีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงเกิดขึ้นได้แก่[1]
    • มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ
    • เป็นคนที่ชอบเอาใจคนอื่นตลอดเวลา
    • แทบจะไม่มีหรือไม่มีขอบเขตของตัวเองเลย
    • ใช้การดูแลเป็นวิธีในการควบคุม
    • มีอารมณ์ที่เจ็บปวด
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เข้าใจว่าคุณไม่สามารถรักษาคนในครอบครัวที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงได้....
    เข้าใจว่าคุณไม่สามารถรักษาคนในครอบครัวที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงได้. ภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงเป็นภาวะด้านสุขภาพจิต มันจึงไม่ใช่สิ่งที่คุณสามารถรักษาหรือกำจัดไปจากคนในครอบครัวได้เช่นเดียวกับปัญหาด้านสุขภาพจิตอื่นๆ เพราะพวกเขาอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเป็นปัญหา แต่เขาอาจจะเข้าใจว่าเขาเข้ากับคุณและสมาชิกในครอบครัวคนอื่นๆ ได้ดี[2]
    • อย่าคาดหวังว่าเขาจะมองว่าพฤติกรรมของเขาเป็นการแสดงถึงภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงถ้าเขาไม่ได้สรุปกับตัวเองได้แบบนั้นอยู่แล้ว การพยายามบังคับให้เขาเห็นมุมมองของคุณมีแต่จะทำให้เรื่องยิ่งแย่เข้าไปใหญ่
    • ภาวะนี้สามารถรักษาได้ด้วยการทำจิตบำบัด ซึ่งเขาน่าจะไม่ไปเข้ารับการรักษาจนกว่าเขาจะสรุปกับตัวเองได้ว่ามันไม่มีทางเลือกอื่น
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดูว่าคนที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงเขามาจากไหน....
    ดูว่าคนที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงเขามาจากไหน. คุณไม่ควรรู้สึกว่าตัวเองจะต้องต่อต้านการบงการด้านอารมณ์ในทุกรูปแบบ แต่คุณต้องเข้าใจว่าคนที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเขาบงการคุณอยู่ เพราะในความคิดของเขา เขาคอยสนับสนุนและทำในสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้ให้กับคุณ การเข้าใจว่าคนๆ นี้อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจบงการคุณอาจช่วยให้คุณรู้ว่าคุณควรปฏิบัติตัวกับสมาชิกในครอบครัวคนนี้อย่างไร [3]
    • อย่าใช้สิ่งนี้เป็นวิธีในการพยายามหรือหาเหตุผลมาตัดสินพฤติกรรมของเขาในหัวของคุณเอง แต่แค่จำไว้ว่าพฤติกรรมของคนที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงไม่ได้ทำงานในรูปแบบเดียวกับคุณ เพราะว่าการกระทำของเขามาจากปัญหาด้านสุขภาพจิต
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พิจารณาว่าคุณมีส่วนเกี่ยวข้องในพฤติกรรมส่งเสริมการพึ่งพิงหรือไม่....
    พิจารณาว่าคุณมีส่วนเกี่ยวข้องในพฤติกรรมส่งเสริมการพึ่งพิงหรือไม่. ในบางกรณีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงก็เกิดจากปฏิกิริยาที่คุณต้องการแก้ไขพฤติกรรมของเขาจนทำให้เกิดปัญหาใหม่ตามมา ลองตอบตัวเองอย่างซื่อสัตย์ว่าคุณเองมีส่วนเกี่ยวข้องในกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่อาจตอบสนองต่อภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงให้เกิดขึ้นกับคนๆ นี้หรือเปล่า[4]
    • เช่น ภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงมักพบได้บ่อยในพ่อแม่และคู่สมรสของคนที่ติดยาเสพติด คนที่พึ่งคนอื่นด้านความสัมพันธ์อาจรู้สึกว่าตัวเองมีหน้าที่ที่ต้องคอยดูแลคนที่ติดยาเสพติดอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเพราะกลัวว่าจะมีอะไรไม่ดีเกิดขึ้นหากเขาไม่ทำอย่างนั้น
    • ลองพิจารณาอย่างซื่อสัตย์ว่าคุณมีพฤติกรรมและแนวโน้มที่อาจจะส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ส่งเสริมการพึ่งพิงหรือไม่ ถ้าเป็นอย่างนั้นคุณเองก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ที่พึ่งพากันแบบผิดๆ ก็ได้
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ออกห่างจากสมาชิกในครอบครัวคนนั้น.
    การออกห่างในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องไม่ไปเจอหรือพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัวคนนั้นเลย แต่การออกห่างในที่นี้คือการแยกสมาชิกคนนั้นออกจากพฤติกรรมเชิงบงการ เลือกตอบสนองเฉพาะสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตหรือบุคลิกของเขา แต่ไม่ตอบสนองส่วนที่เป็นภาวะส่งเสริมการพึ่งพิง[5]
    • เช่น ถ้าแม่มาขอคำปรึกษาด้านแฟชั่นเรื่องรองเท้า อันนั้นคือการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีตามปกติ แต่ถ้าแม่มาที่บ้านของคุณแล้วเปลี่ยนรองเท้าคุณใหม่หมดทุกคู่เพราะแม่คิดว่ารองเท้าพวกนั้นมันรับอุ้งเท้าคุณได้ไม่ดี อันนี้ถือเป็นพฤติกรรมที่ส่งเสริมการพึ่งพิง
  6. How.com.vn ไท: Step 6 กำหนดขอบเขตส่วนตัว.
    คุณอาจจะพูดคุยเรื่องขอบเขตของคุณกับเขาหรือไม่ก็ได้ แต่คุณควรค่อยๆ ใช้เวลากำหนดขอบเขตของตัวเองที่คุณสบายใจขึ้นมา พิจารณาสุขภาวะของตัวเองและถามตัวเองว่าคุณต้องทำอย่างไรถึงจะมีสุขภาพที่ดีทั้งกายและใจในทุกๆ วันได้ และกำหนดขอบเขตจากสิ่งนั้น[6]
    • เช่น ถ้าคุณต้องการเวลาในช่วงค่ำของทุกวันเพื่อผ่อนคลายและตัดขาดตัวเองจากวันนั้น ให้กำหนดขอบเขตไว้ว่าคุณจะไม่รับโทรศัพท์ ข้อความ หรือโซเชียลมีเดียหลังจากเวลาที่กำหนด
    • ถ้าคุณเลือกที่จะบอกให้เขารู้ถึงขอบเขตของคุณ ให้พูดออกไปเหมือนเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่ง คุณไม่จำเป็นต้องให้เหตุผล และอาจจะแค่บอกเขาไปว่า “ฉันตัดสินใจแล้วว่าจากนี้ไปฉันจะไม่เล่นโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์หลัง 1 ทุ่ม” แล้วก็ให้ทำตามนโยบายใหม่ของคุณอย่างสม่ำเสมอแม้ว่าเขาจะแย้งหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เอาตัวเองออกจากสถานการณ์ที่มีการส่งเสริมการพึ่งพิง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาวิธีปฏิเสธที่ถูกต้อง.
    ส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการพึ่งพิงก็คือความคุ้นเคยและ "สิ่งกระตุ้นอารมณ์" นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมในบางสถานการณ์ การปฏิเสธและตีตัวออกห่างจากสมาชิกในครอบครัวที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงอย่างน้อยชั่วคราวจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ การหาวิธีปฏิเสธที่ถูกต้องจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่มันจะช่วยให้คุณสามารถเดินออกมาได้หากสถานการณ์ดูท่าจะไม่ค่อยดี[7]
    • ในบางกรณีที่พฤติกรรมที่ส่งเสริมการพึ่งพิงไม่ได้หนักหนาหรือคุกคามความเป็นตัวเองของคุณ คุณก็อาจจะตอบโต้แบบนิ่งๆ ได้ เช่น "ขอโทษนะคะ แต่ว่าหนูไม่ค่อยสบายใจที่จะทำอย่างนั้นน่ะค่ะ" หรือ "โอเค หนูเข้าใจแล้วว่าแม่ไม่ได้มองมุมเดียวกันกับหนู เราไม่ได้กำลังพยายามสื่อสารกันจริงๆ เลยนะคะ”
    • ในสถานการณ์ที่คุณรู้สึกว่าคุณจะต้องออกจากการสนทนาโดยเร็ว แค่คำว่า “ไม่” หรือ “หนูทำไม่ได้หรอกค่ะ” ก็พอแล้ว คุณไม่ได้มีหน้าที่ที่จะต้องอธิบายให้เขาฟัง และเขาก็อาจจะตอบโต้ด้วยอารมณ์ที่คุกรุ่น แต่คุณไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตอบสนองอารมณ์ของเขา
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ฝึกการสื่อสารที่ไม่ใช้ความรุนแรง.
    การสื่อสารที่รุนแรงเป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทำให้เกิดอันตราย โดยมากมักจะผ่านทางภาษาที่ข่มขู่หรือบังคับ คุณสามารถเริ่มเอาตัวเองออกจากวัฏจักรที่ส่งเสริมการพึ่งพิงได้ด้วยการฝึกการสื่อสารที่ไม่ใช้ความรุนแรง ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถกำจัดอำนาจของการสื่อสารที่รุนแรงและช่วยให้คุณออกจากการควบคุมของความสัมพันธ์แบบส่งเสริมการพึ่งพิงได้ [8]
    • การสื่อสารที่ไม่ใช้ความรุนแรงคือการอธิบายว่าคุณรู้สึกอย่างไรโดยไม่กล่าวโทษหรือวิพากษ์วิจารณ์ และแสดงความต้องการของคุณด้วยความเข้าอกเข้าใจ
    • เช่น แทนที่จะพูดว่า “แม่พยายามควบคุมหนูตลอดเลย! พอสักที!” คุณอาจจะพูดว่า “เวลาที่หนูได้ยินแม่บอกหนูแบบนี้ หนูรู้สึกว่าตัวเองไม่มีอำนาจในการตัดสินใจเลย ซึ่งหนูให้ความสำคัญกับความสามารถในการตัดสินใจเรื่องนั้นด้วยตัวเองมากเลยนะคะ หนูขอให้แม่ให้หนูตัดสินใจเองได้ไหมคะ” การใช้ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย "สรรพนามบุรุษที่ 1" จะช่วยให้คุณสามารถพูดประเด็นที่ต้องการจะสื่อได้โดยไม่กล่าวโทษหรือทำให้สมาชิกในครอบครัวต้องไม่พอใจ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ตีตัวออกห่างนานกว่านั้น.
    ถ้าภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงของคนในครอบครัวมีอำนาจเหนือหรือบงการชีวิตของคุณ คุณอาจจะไม่ต้องเลือกตีตัวออกห่างเป็นเรื่องๆ ก็ได้ แต่การตีตัวออกห่างออกไปเลยนานๆ อาจได้ผลดีกว่า ซึ่งอาจจะนาน 1 วันหรือหลายปีก็ได้แล้วแต่พฤติกรรมของเขาและความต้องการของคุณ[9]
    • ในสถานการณ์แบบนี้ คุณอาจจะเลือกว่าจะตีตัวออกห่างแค่ไหน เช่น คุณอาจจะเลือกว่าฉันจะไม่อยู่กับสมาชิกในครอบครัวคนนี้ถ้าไม่มีคนอื่นอยู่ด้วย หรือคุณอาจจะตัดสินใจว่าคุณจะไม่ขออยู่ใกล้คนๆ นี้เลย
    • ถ้าคุณรู้สึกว่าอาจมีอันตรายเกิดขึ้น ให้ออกจากสถานการณ์นั้นในทุกกรณี
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

รักษาความสัมพันธ์อันดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เตรียมใจว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ....
    เตรียมใจว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ. การเปลี่ยนแปลงด้านพฤติกรรมที่ส่งเสริมการพึ่งพิงจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ แต่เชื่อเถอะว่าทัศนคติของคุณมีส่วนช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ จำไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงมักต้องมีเรื่องของการรับมือกับอารมณ์หนักๆ และการก้าวข้ามความกลัวส่วนตัวที่ยิ่งใหญ่ไปให้ได้เข้ามาเกี่ยวด้วย ซึ่งมันก็ไม่ง่ายและต้องใช้เวลา[10]
    • ในตอนแรกๆ คนที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงจะโต้ตอบด้วยความเกรี้ยวกราดหรือก้าวร้าว พยายามอย่าไปตอบโต้อารมณ์ที่รุนแรงเหล่านั้นให้ได้มากที่สุด เพราะมันเป็นปฏิกิริยาจากความกลัวที่คุณไม่ควรเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในนั้นหรือให้มันมามีผลกระทบกับคุณ
    • ถ้ามีช่วงเวลาที่คุณรู้สึกหงุดหงิด พยายามถอยห่างจากความโกรธนั้น หายใจเข้าลึกๆ แล้วคิดว่าคุณจะพูดอะไรก่อนที่จะพูดออกไปจริงๆ ถ้าจำเป็นคุณอาจจะขอตัวสักครู่จนกว่าคุณจะใจเย็นลงแล้วค่อยกลับมาเจอสถานการณ์เดิมอีกครั้ง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใส่ใจสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของตัวเอง.
    ช่วงที่คุณกำลังรับมือกับคนในครอบครัวที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิง บางครั้งคุณก็อาจจะลืมความเป็นอยู่ที่ดีของตัวเองไปได้ง่ายๆ พยายามอย่าให้การกระทำของคนในครอบครัวมาเบี่ยงเบนความสนใจของคุณออกจากหน้าที่ในแต่ละวัน เช่น การทำงานหรือการเรียน และนอกจากหน้าที่ในแต่ละวันแล้วก็ให้คุณเลือกทำอะไรเพื่อตัวเองวันละ 2-3 อย่างและทำสม่ำเสมอ[11]
    • เช่น คุณอาจกำหนดให้การออกไปวิ่งเป็นกิจวัตรช่วงเย็นของคุณ จากนั้นก็มาแช่อ่างน้ำอุ่นๆ หาสิ่งที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพส่วนบุคคล ช่วยคุณผ่อนคลายความเครียดและออกห่างจากความเครียดที่เกิดขึ้นจากสมาชิกในครอบครัวที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงได้
    • สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นการดูแลตัวเองรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสำคัญต่อการรับมือและการก้าวข้ามภาวะส่งเสริมการพึ่งพิง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ปฏิบัติต่อสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวในฐานะผู้ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์....
    ปฏิบัติต่อสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัวในฐานะผู้ที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์. แค่เพราะว่าคนในบ้านคนหนึ่งมีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนในครอบครัวจะต้องเป็นไปด้วย พยายามอย่าให้พฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัวที่มีภาวะส่งเสริมการพึ่งพิงมากำหนดวิธีปฏิบัติตัวของคุณต่อสมาชิกในครอบครัวที่เหลือ ปฏิบัติต่อพวกเขาในฐานะคนที่มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ เว้นแต่ว่ามันจะมีเหตุผลที่ทำให้คุณปฏิบัติตนแบบนั้นกับพวกเขาไม่ได้[12]
    • เช่น เรื่องนี้อาจจะหมายถึงการที่คุณแค่บอกไปตรงๆ ว่าคุณต้องการอะไรแทนที่จะต้องผ่านกระบวนการตีตัวออกห่างก่อนเพื่อไม่ให้ตัวเองถูกบงการ
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Lauren Urban, LCSW
ร่วมเขียน โดย:
นักบำบัดทางจิตวิทยา
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Lauren Urban, LCSW. ลอเรน เออร์บันเป็นนักบำบัดทางจิตวิทยาในบรู๊คลีน นิวยอร์ก ที่มีประสบการณ์บำบัดทั้งเด็ก ครอบครัว คู่สมรส ไปจนถึงบุคคลแต่ละคนมากว่า 13 ปี เธอจบปริญญาโทด้านสังคมสงเคราะห์จากมหาวิทยาลัยฮันเตอร์ในปี 2006 และทำงานกระตุ้นลูกค้าให้สามารถเปลี่ยนแปลงสถานการณ์รอบข้างและชีวิตของพวกเขา บทความนี้ถูกเข้าชม 2,541 ครั้ง
หมวดหมู่: ครอบครัว
มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,541 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา