วิธีการ บรรเทาอาการปวดจากเล็บขบ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เล็บขบที่เท้า (ingrown toe nail) เกิดได้เมื่อเล็บเท้ายาวแล้วจิกลงไปในเนื้อรอบๆ เล็บ เล็บขบแล้วนิ้วเท้าจะปวด บวม เดินไม่สะดวก โดยเฉพาะตอนใส่รองเท้า โชคดีที่บทความวิกิฮาวนี้มีวิธีบรรเทาอาการปวดจากเล็บขบมาฝากกัน รับรองจะรู้สึกสบายขึ้นระหว่างรอให้นิ้วเท้าหายดี

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 5:

สังเกตอาการเล็บขบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สังเกตว่านิ้วเท้าบวมหรือเปล่า.
    เล็บขบมักทำให้เนื้อข้างๆ เล็บบวมตุ่ยขึ้นมา ลองสังเกตแล้วเปรียบเทียบลักษณะของนิ้วที่น่าจะเป็นเล็บขบกับนิ้วอื่นๆ ดู ว่าบวมผิดสังเกตหรือเปล่า?
  2. How.com.vn ไท: Step 2 จับๆ ดูว่าเจ็บหรือไวต่อความรู้สึกกว่าปกติไหม....
    จับๆ ดูว่าเจ็บหรือไวต่อความรู้สึกกว่าปกติไหม. เนื้อรอบๆ เล็บนั้นจะกดเจ็บ หรือแค่แตะก็ปวด ให้เอานิ้วกดเบาๆ แถวๆ นั้น จะได้รู้ว่าเจ็บตรงไหน ตรงไหนไม่เจ็บ หรือจะเอากรรไกรมาตัดเล็บก็ได้
    • เล็บขบบางทีก็มีหนองนิดหน่อยด้วย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดูว่าเล็บอยู่ตรงไหน.
    พอเล็บขบแล้ว เนื้อรอบๆ ขอบเล็บมักบวมจนหาขอบเล็บไม่ค่อยเจอ หรือดูเหมือนเล็บจิกเข้าไปในเนื้อข้างๆ เลยทำให้หามุมของเล็บด้านบนได้ยาก[1]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 มีโรคประจำตัวหรือเปล่า.
    ปกติคนเป็นเล็บขบก็รักษาดูแลตัวเองจนหายดีได้ แต่ถ้าคุณเป็นโรคเบาหวานหรือโรคประจำตัวอื่นๆ ที่ทำให้ปลายประสาทอักเสบ (neuropathy) หรือเส้นประสาทเสียหาย ก็ไม่ควรตัดเล็บขบด้วยตัวเอง แนะนำให้นัดคุณหมอโรคเท้าหรือคุณหมอประจำตัวโดยด่วน[2]
    • ถ้าเส้นประสาทที่เท้าเสียหายหรือเลือดไม่ค่อยไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณขาหรือเท้า คุณหมอจะเป็นห่วงเรื่องเล็บขบมาก เพราะอาจทำให้เกิดอันตราย[3]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปรึกษาคุณหมอ.
    ถ้าไม่แน่ใจว่าตัวเองเล็บขบหรือเปล่า ไปหาหมอจะดีที่สุด จะได้ตรวจหาสาเหตุแล้วรักษาได้ตรงจุด
    • ถ้าอาการค่อนข้างหนัก คุณหมอจะโอนเคสต่อไปยังคุณหมอโรคเท้า (podiatrist) โดยเฉพาะ
  6. How.com.vn ไท: Step 6 อย่าปล่อยไว้จนอาการหนัก.
    ถ้าแน่ใจว่าเล็บขบ ก็ต้องหาวิธีรักษาโดยด่วน ไม่งั้นจะเสี่ยงติดเชื้อหรือเกิดโรคอื่นๆ ที่รุนแรงกว่าตามมา
    • ถ้าเล็บขบมานานเกิน 2 - 3 วัน หาหมอจะดีกว่า[4]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 5:

รักษาด้วยวิธีธรรมชาติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 แช่เท้าในน้ำอุ่น.
    ให้ใช้กะละมังหรืออ่างอาบน้ำก็ได้ แช่เท้าแล้วช่วยบรรเทาอาการปวดบวม กดเจ็บ แนะนำให้แช่เท้าในน้ำอุ่นประมาณ 15 นาที และแช่ซ้ำวันละ 3 - 4 ครั้ง[5]
    • ผสมดีเกลือฝรั่ง (Epsom salts) ในน้ำด้วย เพราะเป็นที่รู้กันดีเรื่องสรรพคุณลดอาการปวดบวม แถมช่วยให้เล็บเท้านิ่มขึ้น ให้ผสมดีเกลือฝรั่ง 1 ถ้วยตวงในกะละมังหรืออ่างอาบน้ำที่มีน้ำอุ่นสูงประมาณ 2 - 3 นิ้ว
    • ถ้าไม่มีดีเกลือฝรั่ง จะใช้เกลือธรรมดาก็ได้ น้ำเกลือจะช่วยลดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียบริเวณที่มีอาการได้ด้วย
    • ค่อยๆ นวดบริเวณที่เล็บขบ น้ำจะได้ซึมเข้าไปบริเวณนั้น ช่วยชะเอาแบคทีเรียออกมา ลดปวดบวมได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้สำลีแผ่นหรือไหมขัดฟันสอดยกขอบเล็บขึ้น.
    พอแช่เท้าแล้ว เล็บจะนิ่มขึ้นเยอะ ให้ค่อยๆ สอดไหมขัดฟันสะอาดๆ เข้าไปใต้ขอบเล็บ แล้วรั้งขอบเล็บให้เผยอขึ้นมาเบาๆ เล็บจะได้ไม่งอกจิกเข้าไปในเนื้อมากไปกว่านี้[6]
    • ทุกครั้งที่แช่เท้าให้ทำแบบนี้ โดยเปลี่ยนไหมขัดฟันเส้นใหม่ทุกครั้ง
    • อันนี้แล้วแต่ว่าเล็บขบมากขนาดไหน บางทีทำแล้วก็เจ็บหน่อย จะกินยาแก้ปวดบรรเทาอาการด้วยก็ได้
    • อย่าจิกหรือควักเข้าไปในเล็บหรือเนื้อมากเกินไป เพราะอาจติดเชื้อได้ ทีนี้ก็ต้องไปหาหมอต่อไป
  3. How.com.vn ไท: Step 3 กินยาแก้ปวด.
    ซื้อยาแก้ปวดจากร้านขายยามากินเองได้เลย จะช่วยบรรเทาอาการปวดบวมไม่สบายเท้าได้ ให้กินยา NSAIDs (non-steroidal anti-inflammatory drugs) เช่น ไอบูโพรเฟน นาพรอกเซน หรือแอสไพริน ยากลุ่ม NSAID จะช่วยแก้ปวดแก้อักเสบได้[7]
    • ถ้าแพ้ยากลุ่ม NSAIDs ให้เปลี่ยนไปกินยา acetaminophen แทน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ลองทาครีมยาปฏิชีวนะ.
    ยาปฏิชีวนะแบบทาจะช่วยแก้อักเสบได้ เป็นครีมที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป[8]
    • ครีมยาปฏิชีวนะบางตัวก็เป็นยาชาเฉพาะที่ เช่น lidocaine ทาแล้วก็ช่วยแก้ปวดได้ชั่วคราว
    • ต้องใช้ยาตามคำแนะนำที่ฉลากอย่างเคร่งครัด
  5. How.com.vn ไท: Step 5 พันนิ้วเท้าป้องกันเชื้อโรค.
    เพื่อป้องกันไม่ให้นิ้วเท้าติดเชื้อหรือถุงเท้ามาเกี่ยวติดได้ ให้ใช้ผ้าก๊อซหรือพลาสเตอร์พันรอบนิ้วเท้าไว้
  6. How.com.vn ไท: Step 6 สวมรองเท้าหลวมๆ หรือรองเท้าแตะเปิดนิ้ว.
    ถ้าใส่รองเท้าหัวเปิด รองเท้าแตะ รองเท้าสาน หรือรองเท้าอื่นที่หลวมๆ บริเวณเท้าจะระบายอากาศได้ดี[9]
    • รองเท้าคับๆ ใส่แล้วมักทำให้เล็บขบหรือถ้าเป็นอยู่ก็อาการหนักกว่าเดิม
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ลองรักษาแบบ homeopathy.
    homeopathy เป็นการแพทย์ทางเลือก เน้นรักษาโรคต่างๆ ด้วยสมุนไพรและวัตถุดิบอื่นๆ จากธรรมชาติ[10] ถ้าอยากแก้อาการปวดจากเล็บขบแบบ homeopathy แนะนำให้ใช้
    • Silicea Terra, Teucrium, กรดไนตริก, กราไฟต์, Magnetis Polus Australis, กรดฟอสฟอริก, Thuja, Causticum, Natrum Mur, อลูมินา หรือ Kali Carb[11]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 5:

ดูแลให้เล็บหายเร็วๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 แช่เท้าประมาณ 15 นาที.
    ให้ผสมดีเกลือฝรั่งในน้ำอุ่น แล้วใช้แช่เท้าประมาณ 15 นาที จะช่วยให้เล็บนิ่มขึ้น ยกให้เผยอห่างจากเนื้อรอบเล็บได้ง่ายขึ้นเยอะ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ดึงให้เล็บเผยอขึ้นไม่จิกเนื้อ.
    ค่อยๆ อ้าเนื้อรอบเล็บเท้า เพื่อแยกเนื้อออกจากเล็บ ให้คุณเห็นขอบเล็บสะดวก จากนั้นสอดไหมขัดฟันหรือปลายแหลมของตะไบเข้าไปยกขอบเล็บให้เผยอขึ้น ไม่จิกเนื้อ อาจจะต้องเริ่มแซะจากข้างเล็บที่ไม่ได้จิกลงไปในเนื้อก่อน แล้วค่อยๆ ขยับไหมขัดฟันหรือตะไบเล็บไปถึงจุดที่เล็บขบ[12]
    • ต้องฆ่าเชื้อตะไบเล็บด้วยแอลกอฮอล์หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ก่อนเอามาใช้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ฆ่าเชื้อที่นิ้วเท้า.
    พอยกเล็บให้เผยอขึ้นจากเนื้อได้แล้ว ก็ให้หยดน้ำสะอาด แอลกอฮอล์ล้างแผล หรือยาฆ่าเชื้ออื่นๆ ลงไปใต้เล็บนิดหน่อย เพื่อป้องกันไม่ให้แบคทีเรียก่อตัวสะสม
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สอดผ้าก๊อซใต้ขอบเล็บ.
    ฉีกผ้าก๊อซมาชิ้นเล็กๆ แล้วสอดหนุนไว้ใต้เล็บที่เผยอขึ้นมา เพื่อป้องกันไม่ให้ขอบเล็บกลับลงไปจิกเนื้อ และยาวได้โดยไม่ขบซ้ำจนอาการหนักกว่าเดิม[13]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 แต้มครีมยาปฏิชีวนะรอบๆ เล็บ.
    พอสอดผ้าก๊อซแล้ว ให้แต้มครีมยาปฏิชีวนะรอบๆ เล็บนั้น ให้เลือกครีมที่ผสม lidocaine ด้วย เพราะจะทำให้ชานิดๆ แก้ปวดได้
  6. How.com.vn ไท: Step 6 พันนิ้วเท้า.
    ฉีกผ้าก๊อซมาสักแถบ แล้วพันรอบนิ้วเท้า หรือจะใช้พลาสเตอร์หรือถุงสวมนิ้วเท้าก็ได้ คือเหมือนถุงเท้าแต่ใส่เฉพาะนิ้ว แยกนิ้วที่เจ็บออกจากนิ้วอื่นๆ[14]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ทำซ้ำตามขั้นตอนทุกวัน.
    เพื่อให้เล็บขบได้ฟื้นตัวจนหายดี ระหว่างรักษาตัว เล็บขบจะค่อยๆ ปวดน้อยลง เนื้อข้างๆ ที่บวมก็จะยุบลงด้วย
    • ต้องเปลี่ยนผ้าก๊อซทุกวัน แบคทีเรียจะได้ไม่ก่อตัวสะสมบริเวณเล็บเท้า
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 5:

หาหมอ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ถ้าผ่านไป 2 - 3 วันแล้วยังไม่หาย ต้องไปหาหมอ.
    ถ้ารักษาเองผ่านไป 2 - 3 วันแล้วเล็บขบยังไม่ดีขึ้น ให้ไปหาหมอจะดีกว่า โดยเฉพาะคนเป็นเบาหวานหรือโรคอื่นๆ ที่ทำให้เส้นประสาทเสียหาย ยิ่งต้องหาหมอหรือหมอโรคเท้าโดยด่วน[15]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ปรึกษาคุณหมอเรื่องอาการ.
    คุณหมอจะสอบถามว่าเล็บขบตั้งแต่เมื่อไหร่ เริ่มบวม แดง หรือเจ็บปวดเมื่อไหร่ และจะให้คุณอธิบายอาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย เช่น มีไข้ไหม ย้ำว่าต้องบอกคุณหมอให้ละเอียด ครบถ้วน[17]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 คุณหมออาจสั่งยาปฏิชีวนะ.
    ถ้าเล็บติดเชื้อ คุณหมอจะสั่งยาปฏิชีวนะให้กินหรือทา เพื่อให้แน่ใจว่าหายติดเชื้อ และไม่มีแบคทีเรียใหม่ก่อตัวใต้เล็บ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 คุณหมออาจยกเล็บให้เผยอขึ้น.
    ปกติคุณหมอจะพยายามรักษาโดยไม่ต้องเจาะหรือผ่า แต่จะดันให้เล็บเผยอขึ้นจากเนื้อ ถ้าทำสำเร็จก็จะสอดผ้าก๊อซหรือสำลีแผ่นเข้าไปหนุนข้างใต้ ไม่ให้จิกเนื้อเหมือนเดิม[20]
    • คุณหมอจะแนะนำวิธีดูแลตัวเอง ให้เปลี่ยนผ้าก๊อซใหม่ทุกวัน ก็ต้องทำตามคุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด เล็บจะได้หายเร็วๆ
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปรึกษาคุณหมอเรื่องถอดเล็บแค่บางส่วน.
    ถ้าเล็บขบจนติดเชื้อรุนแรง หรือจิกลงไปในเนื้อลึกมาก คุณหมออาจแนะนำให้ถอดเล็บแค่บางส่วน โดยมีการฉีดยาชาเฉพาะที่ แล้วกรีดตามขอบเล็บเพื่อถอดเอาส่วนที่จิกลึกลงไปในเนื้อออกไป[21]
    • เล็บจะยาวกลับมาเหมือนเดิมใน 2 - 4 เดือน บางคนก็กังวลเรื่องเล็บไม่สวยหลังถอดเล็บออกไปบางส่วน แต่บอกเลยว่าถ้าไม่รักษา อาจจะเล็บเน่า น่าเกลียดกว่าเดิมเยอะ
    • แค่ฟังว่าต้องถอดเล็บก็เหมือนจะเป็นลม แต่จริงๆ แล้วก็เป็นการกรีดเล็บออกไปบางส่วนเพื่อระบายความดันข้างใต้ ลดการระคายเคือง บรรเทาอาการเจ็บปวดจากเล็บขบ
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ถอดเล็บบางส่วนแบบถาวร.
    ถ้าเล็บขบที่เดิมซ้ำๆ เป็นประจำ คุณหมออาจพิจารณารักษาแบบถาวร คือผ่าเอาเล็บบางส่วนออกไปจนถึงหน้าเล็บข้างใต้ เพื่อไม่ให้เล็บงอกกลับมาบริเวณนั้นได้อีก[22]
    โฆษณา
วิธีการ 5
วิธีการ 5 ของ 5:

ป้องกันเล็บขบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ตัดเล็บให้ถูกวิธี.
    ที่เล็บขบมักเป็นเพราะคุณตัดเล็บผิดวิธี แนะนำให้ตัดเล็บตรงๆ ไม่ต้องโค้งเข้ามุมตามรูปเล็บ[24]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หาหมอโรคเท้า.
    ถ้าตัดเล็บเท้าเองไม่สะดวก แนะนำให้ไปพบคุณหมอโรคเท้าเพื่อรักษาเล็บขบ ทั้งตามคลินิกและโรงพยาบาล หรือจะให้คุณหมอประจำตัวแนะนำ โอนเคสให้ก็ได้ ไม่ก็แวะร้านทำเล็บที่สะอาดๆ ให้เขาช่วยตัดเล็บให้เป็นประจำ[26]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อย่าใส่รองเท้าคับๆ.
    ถ้าหัวรองเท้าบีบนิ้ว ก็เสี่ยงเกิดเล็บขบได้ง่ายมาก ด้านข้างของรองเท้าอาจบีบรัดกดทับนิ้วเท้า จนเล็บยาวได้ไม่สะดวก เกิดเล็บขบในที่สุด[27]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปกป้องเท้า.
    ถ้าต้องทำกิจกรรมที่อาจทำเท้าหรือนิ้วเท้าบาดเจ็บได้ ก็ต้องสวมรองเท้าที่ปกป้องดูแลเป็นพิเศษ เช่น รองเท้าเซฟตี้หัวเหล็ก ในกรณีที่ทำงานตามไซต์ก่อสร้าง[28]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ถ้าเป็นเบาหวานต้องให้คุณหมอตัดเล็บให้.
    คนที่เป็นเบาหวานมักเกิดอาการชาที่เท้า ถ้าตัดเล็บเอง อาจจะเผลอตัดโดนเนื้อโดยไม่รู้ตัว แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางด้านเท้า หรือเข้าร้านทำเล็บที่ใหญ่และสะอาดหน่อยจะดีกว่า[29]
    • ถ้าเป็นเบาหวานหรือโรคอื่นๆ ที่กระทบต่อเส้นประสาท แนะนำให้ตรวจรักษากับคุณหมอโรคเท้าตามนัดอย่าได้ขาด
    โฆษณา
  1. http://www.nationalcenterforhomeopathy.org/learn-about-homeopathy
  2. http://hpathy.com/cause-symptoms-treatment/ingrown-toenail/2/
  3. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ingrown-toenails/basics/treatment/con-20019655
  4. http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00154
  5. http://www.ingrowntoenailtreatments.com/home-remedies/
  6. http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00154
  7. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ingrown-toenails/basics/symptoms/con-20019655
  8. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ingrown-toenails/basics/preparing-for-your-appointment/con-20019655
  9. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ingrown-toenails/basics/treatment/con-20019655
  10. http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00154
  11. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ingrown-toenails/basics/treatment/con-20019655
  12. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ingrown-toenails/basics/treatment/con-20019655
  13. http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00154
  14. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ingrown-toenails/basics/treatment/con-20019655
  15. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ingrown-toenails/basics/prevention/con-20019655
  16. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ingrown-toenails/basics/prevention/con-20019655
  17. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001237.htm
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/ingrown-toenails/basics/prevention/con-20019655
  19. http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00154
  20. http://orthoinfo.aaos.org/topic.cfm?topic=a00154

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Mark Co, DPM
ร่วมเขียน โดย:
หมอรักษาเท้า
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Mark Co, DPM. ดร. มาร์ค โคเป็นหมอรักษาเท้าที่เปิดคลินิกในซานฟรานซิสโก โดยเขาเชี่ยวชาญการรักษาตาปลา หูด เชื้อราตามร่องเท้า โรครองช้ำและอาการปวดที่เท้าอื่นๆ เขายังทำการบำบัดและป้องกันเท้ากับข้อเท้าด้วย ดร. โคจบปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์กและปริญญาโทด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ และจบด้านการรักษาเท้าจากโรงเรียนแพทย์รักษาเท้าแห่งแคลิฟอร์เนียและผ่านการฝึกหัดจากศูนย์แพทย์ไกเซอร์เพอร์มาเนนท์ในซานตาคลารา ดร.โคได้รับรางวัล "หมอรักษาเท้า 3 อันดับที่ดีที่สุด" ของซานฟรานซิสโกในปี 2018, 2019, และ 2020 และยังเป็นสมาชิกของสมาคมหมอรักษาเท้าแห่งอเมริกา (CPMA) บทความนี้ถูกเข้าชม 41,741 ครั้ง
หมวดหมู่: ทรงผมและเล็บ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 41,741 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา