วิธีการ ละลายยาทาเล็บข้นหนืด

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ยาทาเล็บก็เหมือนเครื่องสำอางชนิดอื่นๆ คือถ้าโดนอากาศบ่อยๆ ก็เสื่อมคุณภาพไปตามเวลา ถ้ายาทาเล็บเริ่มเก่า ก็จะหนืดขึ้น จับตัวเป็นก้อน ทายากสุดๆ ไปเลย โชคดีที่บทความวิกิฮาวนี้มี 2 - 3 ทริคเด็ดช่วยยืดอายุยาทาเล็บมาฝากกัน ถ้ายาทาเล็บเริ่มแยกชั้น ก็ละลายให้กลับเป็นเนื้อเดียวกันได้ง่ายๆ แค่อุ่นขวดยาทาเล็บนั้นด้วยมือเปล่าหรือน้ำร้อน หรือจะใช้น้ำยาละลายยาทาเล็บโดยเฉพาะ (น้ำยาเติมสียาทาเล็บ) เติมลงไปในขวดก็ได้ ถ้ายาทาเล็บเก่าจนอุ่นแล้วไม่ได้ผล แต่ถ้าเก็บรักษายาทาเล็บใหม่ให้ถูกวิธีแต่แรก ก็จะจับตัวกันเป็นก้อนน้อยลงหรือช้าลงเยอะเลย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

แก้ปัญหาเฉพาะหน้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คว่ำขวดยาทาเล็บ ให้เม็ดสีกลับมาผสมกัน.
    คว่ำขวดและตะแคงขวดยาทาเล็บไปมาเรื่อยๆ ทุก 2 - 3 นาที เพราะบางทียาทาเล็บอาจจะแค่ไม่ได้ใช้นาน ทำแบบนี้น่าจะช่วยให้กลับมาทาง่ายเหมือนเดิม
  2. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    ความร้อนจากมือคุณจะช่วยให้ยาทาเล็บเหลวขึ้นได้ กลับมาทาและเกลี่ยง่ายตามเดิม แต่ย้ำว่าห้ามเขย่าขวด เพราะจะเกิดฟองอากาศจิ๋วๆ ขึ้นมา[1]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 แช่ขวดในน้ำร้อน 2 นาที.
    ย้ำว่าต้องปิดฝาขวดยาทาเล็บให้สนิท แล้วถือขวดที่ฝา จะได้ไม่โดนน้ำร้อนลวก จุ่มขวดไว้ในน้ำร้อนแบบนี้ จะช่วยให้ยาทาเล็บเหลวขึ้น ทาง่ายเหมือนเดิม[2]
  4. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    รอให้ชั้นแรกแห้งก่อน แล้วค่อยทาทับชั้นที่ 2 ถ้ายาทาเล็บยังดูหนาๆ เป็นก้อนๆ ให้ทำตามวิธีการข้างล่างต่อไป
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

แก้ปัญหาระยะยาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    เปิดขวดยาทาเล็บ แล้วหยดน้ำยาละลายลงไป 2 - 3 หยด.[3] ถ้าใช้ที่หยดยาหยอดตาก็จะได้จำนวนหยดครบถ้วน ปกติน้ำยาเติมสียาทาเล็บ หรือน้ำยาละลายยาทาเล็บ มีขายตามร้านขายเครื่องสำอางและยา
    • ถ้าอยากละลายยาทาเล็บเจล ก็ต้องเลือกน้ำยาละลายยาทาเล็บเจลโดยเฉพาะ เพราะยาทาเล็บเจลมีสารพิเศษที่จะทำปฏิกิริยากับ UV ถ้าใช้น้ำยาละลายยาทาเล็บทั่วไป จะทำให้ยาทาเล็บเจลเสียได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เก็บอะซิโตนหรือน้ำยาล้างเล็บไว้เป็นตัวเลือกสุดท้าย....
    เก็บอะซิโตนหรือน้ำยาล้างเล็บไว้เป็นตัวเลือกสุดท้าย. เพราะทั้ง 2 อย่างนี้ทำยาทาเล็บเสียได้ แถมพอแห้งแล้วก็แตก[4] ถ้าต้องใช้อะซิโตนหรือน้ำยาล้างเล็บจริงๆ สุดท้ายถึงละลายได้ ก็จะใช้ยาทาเล็บนั้นต่อไปได้อีกแค่ 2 - 3 ครั้งเท่านั้น
    • ย้ำว่าห้ามใช้อะซิโตนหรือน้ำยาล้างเล็บไปละลายยาทาเล็บเจล
  3. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    ปิดขวดยาทาเล็บให้สนิท แล้วคลึงไปมาในฝ่ามือ เพื่อผสมน้ำยากับยาทาเล็บให้เข้ากัน. ห้ามเขย่าขวด เพราะจะเกิดฟองอากาศข้างใน ถ้าน้ำยาไม่ผสมกันกับยาทาเล็บ ลองคว่ำขวดไปมาสัก 2 - 3 ครั้งดู
  4. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    ถ้ายาทาเล็บยังข้นหนืด ให้เปิดฝาแล้วหยดน้ำยาเพิ่มอีก 2 - 3 หยด ปิดฝาอีกรอบ แล้วคลึงขวดในฝ่ามือตามเดิม เพื่อผสมน้ำยากับยาทาเล็บเข้าด้วยกัน
  5. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    อาจจะทิ้งน้ำยาไว้ในยาทาเล็บสักพักค่อยผสม ถ้าหนืดเป็นพิเศษ. ถ้ายาทาเล็บหนืดมาก และทำซ้ำตามขั้นตอน 2 - 3 รอบแล้วยังไม่ได้ผล ลองหยดน้ำยาแล้วทิ้งไว้สักพักดู โดยเปิดฝายาทาเล็บ หยดน้ำยาละลาย 2 - 3 หยด แล้วปิดฝา จากนั้นทิ้งไว้เฉยๆ 1 ชั่วโมง ค่อยคลึงขวดกับฝ่ามือตามเดิม
  6. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    เทอะซิโตนใส่ถ้วยแก้วหรือเซรามิก ย้ำว่าห้ามใช้พลาสติก เพราะละลายได้ ที่สำคัญคือใช้แล้วอย่าเอาไปดื่มน้ำอีก ให้จุ่มแปรงทาเล็บในอะซิโตน แล้วแกว่งไปมา ยาทาเล็บแห้งกรังจะละลายออกมา ถ้ายังเหลือคราบ ให้เช็ดออกด้วยทิชชู่ อย่าใช้สำลีก้อนหรือสำลีแผ่น เสร็จแล้วก็ปิดฝายาทาเล็บตามเดิมได้เลย คราบอะซิโตนตกค้างเล็กน้อย จะช่วยละลายยาทาเล็บในขวดได้[5]
    • ระวังยาทาเล็บเสียเพราะอะซิโตน แนะนำให้ใช้วิธีนี้เวลายาทาเล็บใกล้หมดขวดจะดีกว่า
  7. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    ถ้าเติมน้ำยาเยอะไป จนยาทาเล็บเหลวหรือจาง ก็ง่ายๆ คือปล่อยให้อากาศเข้าสักพัก โดยเอาแปรงทาเล็บออกไปก่อน ล้างแปรงด้วยน้ำยาล้างเล็บ ห่อแปรงด้วยแรปพลาสติก แล้วเปิดฝาขวดยาทาเล็บทิ้งไว้แบบนั้น อย่าให้ใครไปยุ่ง ผ่านไปเป็นวันค่อยกลับมาเช็ค พออากาศเข้าไป ยาทาเล็บจะข้นขึ้น พร้อมทา[6]
    • บางทีก็ต้องเปิดขวดยาทาเล็บผึ่งลมไว้เป็น 2 - 3 วัน อันนี้ก็แล้วแต่สภาพอากาศ ณ ขณะนั้นด้วย ว่าร้อน เย็น แห้ง หรือชื้นแค่ไหน
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เก็บรักษายาทาเล็บให้ถูกวิธี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    ทำยังไงไม่ให้ยาทาเล็บแห้งกรังหรือจับเป็นก้อน. อย่างที่บอกว่ายาทาเล็บมีวันหมดอายุ แต่มี 2 - 3 วิธีช่วยถนอมยาทาเล็บให้ใช้ได้นานขึ้น ส่วนนี้ของบทความจะแนะนำขั้นตอนการเก็บรักษายาทาเล็บให้คุณเอง รับรองไม่แห้งเร็วเหมือนเคย
  2. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    เช็ดปากขวดยาทาเล็บด้วยสำลีก้อนชุบอะซิโตนก่อนปิดฝา. เพื่อขจัดคราบยาทาเล็บเก่า ถ้าไม่ทำแบบนี้ ยาทาเล็บจะแห้งกรังที่ปากขวดคอขวด ทำให้ฝาปิดไม่สนิท อากาศก็รั่วเข้าไปขังในขวด จนทำให้ยาทาเล็บแห้งเร็วกว่าที่ควร[7]
  3. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    อย่าเก็บยาทาเล็บไว้ในห้องน้ำ เพราะอุณหภูมิเปลี่ยนบ่อย เดี๋ยวร้อนเดี๋ยวเย็น เดี๋ยวแห้งเดี๋ยวชื้น ให้เปลี่ยนไปเก็บในตู้หรือลิ้นชักแทน[8]
    • ถ้าเก็บยาทาเล็บไว้ที่ประตูตู้เย็นต้องระวัง ความเย็นข้างในช่วยถนอมยาทาเล็บได้ก็จริง แต่ก็เป็นที่ปิดและแคบ อากาศไม่ระบายถ่ายเท ถ้าขวดยาทาเล็บเกิดรั่วหรือแตกในตู้เย็น ก็เสี่ยงเกิดไฟไหม้เพราะสารเคมีได้[9]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 วางขวดยาทาเล็บตั้งตรงเสมอ อย่าตะแคงไว้.
    เวลาเก็บยาทาเล็บ สำคัญว่าต้องวางให้ขวดตั้งตรงอยู่เสมอ ถ้าตะแคงไว้ ยาทาเล็บจะไหลไปกองกันที่ปาก/คอขวด ทำให้ยาทาเล็บแห้ง แถมเปิดขวดยากชะมัด[10]
  5. How.com.vn ไท: Watermark How.com.vn to ละลายยาทาเล็บข้นหนืด
    อย่าเปิดขวดยาทาเล็บทิ้งไว้ตอนรอให้เล็บแห้ง เพราะยาทาเล็บโดนอากาศแล้วแห้งได้ ถ้าอยากถนอมยาทาเล็บไว้ใช้นานๆ ไม่ให้แห้งกรัง ก็ต้องโดนอากาศน้อยสุดเท่าที่ทำได้[11]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ให้แช่ยาทาเล็บในตู้เย็นก่อนใช้งาน เพราะความเย็นในตู้เย็นจะช่วยลดการระเหยของสารทำละลาย เม็ดสีจะได้ที่ ไม่จับตัวเป็นก้อน
  • ยาทาเล็บสีเข้มจะหนืดเป็นก้อนได้ง่ายกว่ายาทาเล็บสีอ่อนหรือสีใส เพราะมีพิกเมนต์หรือเม็ดสีเยอะกว่า
  • เวลาทาเล็บ ก็ต้องทำใจว่ายาทาเล็บจะลอกค่อนข้างไว แต่ถ้าทาหนาๆ ยิ่งลอกไวเข้าไปใหญ่
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าละลายยาทาเล็บด้วยอะซิโตนหรือน้ำยาล้างเล็บ
  • อย่าเขย่าขวดยาทาเล็บ เพราะจะทำให้เกิดฟองอากาศ
  • บางกรณียาทาเล็บก็เสื่อมสภาพไปแล้ว ทิ้งไปแล้วซื้อใหม่จะปลอดภัยกว่า ไม่เสียเวลาด้วย
  • ย้ำว่ายาทาเล็บหมดอายุได้ อย่าใช้ต่อ ถ้ายาทาเล็บแยกชั้น ข้นเหนียว หรือส่งกลิ่นแปลกๆ[12]
  • น้ำยาละลายยาทาเล็บจะใช้กับยาทาเล็บแบบกลิตเตอร์ไม่ค่อยได้ ส่วนใหญ่ถ้าเปลี่ยนสภาพแล้ว ต้องทิ้งยาทาเล็บแบบกลิตเตอร์ไปเลย ซื้อใหม่ดีกว่า[13]
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • น้ำยาละลายยาทาเล็บ
  • สำลีก้อน
  • ทิชชู่

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Kristin Pulaski
ร่วมเขียน โดย:
ช่างทำเล็บ
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Kristin Pulaski. คริสติน พูลาสกี้เป็นช่างทำเล็บและผู้ก่อตั้ง Paintbucket ร้านทำเล็บในวิลเลี่ยมเบิร์ก บรู๊คลีน เธอมีประสบการณ์เปิดร้านนี้มาสามปีและได้ใบรับรอง Paintbucket ให้บริการตัดแต่งเล็บและการต่อเล็บรวมถึงการระบายเล็บเพื่องานแต่งงานหรืออื่นๆ เธอจบปริญญาตรีด้านวิทยาการจัดการจากแมนฮัตตันคอลเลจ บทความนี้ถูกเข้าชม 39,293 ครั้ง
หมวดหมู่: ทรงผมและเล็บ
มีการเข้าถึงหน้านี้ 39,293 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา