ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

คุณมีเรื่องได้ไม่เว้นวันทั้งกับเพื่อนร่วมงาน ญาติพี่น้อง กระทั่งคนรู้ใจ เพราะเขาหาว่าคุณนี่มันช่างหลงตัวเองใช่ไหม? ทำงานกลุ่มทีไรแล้วเป็นเรื่องทุกทีหรือเปล่า? คิดว่าการขอความช่วยเหลือจากคนอื่นนี่มันไร้สาระสิ้นดีใช่ไหม? ข่าวร้าย คุณอาจเป็นคนอีโก้สูง (big ego) ไม่รู้ตัว จริงอยู่ว่าคนอีโก้สูงมักเก่งและมั่นใจจนก้าวหน้าในหน้าที่การงานกว่าใครเขา แต่คนอีโก้สูงก็เด่นเรื่องเข้ากับใครไม่ค่อยได้เหมือนกันนี่สิ ถ้าคุณรู้จักควบคุมอีโก้ของตัวเองให้อยู่เป็นที่เป็นทางได้ละก็ รับรองว่าใครๆ ก็นิยมชมชอบแน่นอน

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

มองต่างมุม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เลิกเปรียบเทียบ.
    ไม่ว่าจะเปรียบเพื่อพัฒนาหรือเพื่อต่อว่า การเปรียบเทียบมักนำมาซึ่งอาการวิตกจริต หดหู่ซึมเศร้า และทำอะไรไม่คิดเสมอ[1] เหรียญที่ไหนก็มี 2 ด้านทั้งนั้น คุณอาจมองดูคนอื่นแล้วคิดว่า “โอ๊ย เรื่องนี้ฉันเก่งกว่าเยอะ” แต่จริงๆ แล้วไม่คิดล่ะ ว่าคนอื่นก็คงเก่งกว่าคุณในด้านอื่นเหมือนกัน
    • ถ้าคุณให้ความสำคัญ หัดเห็นค่าคนอื่นบ้าง คุณก็จะเลิกนิสัยชอบเปรียบเทียบไปเอง แทนที่จะคอยคิดประชันความสามารถอยู่ตลอด ทำไมไม่ลองเปลี่ยนมาให้เกียรติและสังเกตข้อดีในตัวคนอื่นบ้าง[2]
    • ท่องไว้เสมอ ไม่มีใครเพอร์เฟ็คต์ รวมถึงตัวคุณเองด้วย ถ้าอดรนทนไม่ไหวอยากเปรียบเทียบใจจะขาด ก็ไปเปรียบเทียบตัวเองวันนี้กับเมื่อวานแทนแล้วกัน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 มองความล้มเหลวในมุมใหม่.
    คนอีโก้สูงถ้าผิดพลาดขึ้นมาทีเหมือนมีใครจะเอาไปฆ่าให้ตาย เย็นไว้ก่อน ทัศนคติกลัวความล้มเหลวขึ้นสมองแบบนี้นี่แหละจะทำให้คุณไม่กล้าลงมือทำอะไรอีก หรือถึงขั้นเบรคตัวเองไม่ให้หวังสูง ทำไมไม่ลองมองว่าความผิดพลาดเป็นครู เปิดโอกาสให้คุณได้กลับมาทบทวนความรู้ความสามารถของตัวเอง ทุกครั้งที่ผิดหวังขอให้ดีใจ ว่านี่แหละโอกาสฝึกฝีมือให้ได้เข้าใกล้เป้าหมายง่ายกว่าเดิม[3]
    • ลองสังเกตตัวเองว่าตัวเองรับมือยังไงกับความล้มเหลว ตีอกชกหัวหรือเปล่า? หรือทิ้งมันหมด ไม่กล้าหวังสูงอีกแล้ว?
    • จินตนาการซะใหม่ว่าคุณอยากเป็นคนที่รับมือกับความล้มเหลวยังไง แล้วก็ทำไปตามนั้นเลย คุณอาจจะเก็บความล้มเหลวนั้นมาพิจารณาโดยละเอียด ว่าอะไรที่มันผิดพลาดไป แล้วเปลี่ยนแผนซะใหม่โดยอ้างอิงข้อมูลใหม่ที่คุณได้รู้มา
    • ปลุกใจตัวเองหน่อย ลองอ่านคำคมสร้างแรงบันดาลใจ จะเอามาแปะไว้ดูเล่นตามห้องต่างๆ ของบ้าน หรือที่โต๊ะทำงานด้วยก็ได้ คอยให้กำลังใจตัวเองซ้ำๆ ทุกครั้งที่ผิดพลาดล้มเหลว
  3. How.com.vn ไท: Step 3 มองความสำเร็จให้ต่างออกไป.
    [4] สังคมสมัยนี้การแข่งขันมันสูงลิ่ว ความสำเร็จเลยต้องเป็นอะไรที่จับต้องได้ อย่างโล่รางวัล คำชม หรือการเลื่อนขั้น ถ้าคุณเผลอหลงใหลได้ปลื้มไปกับของพวกนี้ละก็ ระวังจะเป็นคนอีโก้สูงไม่รู้ตัว บอกเลยว่านอกจากเงินทองของรางวัล ยังมีวิธีที่ใช้วัดความสำเร็จของคนได้อีกมากมาย
    • หรือคุณอาจมองความสำเร็จเป็นเหมือนการเดินทาง อย่างที่เขาว่ากันว่า "แค่ได้รับรู้ว่าเราเข้าใกล้เป้าหมายอันล้ำค่าของเราอีกนิดก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว" หรือก็คือตราบใดที่คุณก้าวต่อไปเรื่อยๆ (ก้าวนิดก้าวหน่อยก็ไม่เป็นไร) สู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ ก็ถือว่าคุณประสบความสำเร็จแล้ว ถึงหัวหน้าหรืออาจารย์จะไม่สังเกตเห็น ไม่ได้ตบรางวัลอะไรให้คุณก็ไม่สำคัญ
    • ระหว่างนั้นก็อย่าคุยโวโอ้อวดเรื่องความสำเร็จของตัวเองนักล่ะ ตบมือให้ตัวเองในใจก็พอเวลาทำอะไรเสร็จไปอีกขั้น แล้วอย่าลืมตบมือดังๆ ให้คนอื่นด้วยเวลาเขาประสบความสำเร็จ คนไม่มีอีโก้ ก็คือคนที่รู้จักแบ่งปันความสำเร็จและชัยชนะของตัวเองกับผู้อื่นยังไงล่ะ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 คาดหวังได้แต่อย่ายึดติด.
    หวังสูงเกินไป (แบบไม่มีเหตุผล) ทั้งเรื่องของตัวเองและเจ้ากี้เจ้าการลามไปถึงคนอื่น อาจส่งผลต่ออีโก้ของคุณได้ ความคาดหวังนี่แหละที่กำหนดมุมมองที่เรามีต่อตัวเองและโลกรอบตัว เราจะทำตัวยังไงกับคนอื่นก็ขึ้นอยู่กับว่าเราหวังสูงแค่ไหน ถ้าคุณรู้จักคาดหวังแต่พอดี (แบบมีเหตุผล) คุณก็จะมองเห็นตัวเองกับโลกรอบตัวด้วยสายตาคู่ใหม่ใสปิ๊ง[5]
    • จับให้ได้ไล่ให้ทันว่าคุณแอบฝันเฟื่องเกินจริงหรือเปล่า อย่างตอนเด็กคุณอาจถูกสอนมาว่าถ้าทำตัวเป็นนายคนเข้าไว้ คนอื่นเขาจะเคารพนับถือเอง มันก็อาจได้ผลบ้างในบางกรณี แต่ส่วนใหญ่คนเขาจะพาลตีตัวออกห่างนี่สิ ลืมไปก่อนเลย พวก “ถ้า...แล้วจะ...” ลองหันมาสร้างความสำเร็จด้วยวิธีเฉพาะตัวของคุณดีกว่า
    • มีสติหน่อย ฝึกฝนเข้าไว้ให้รู้ตัวตื่นทุกขณะจิต จะได้ไม่ใจลอยคิดถึงแต่อดีตหรืออนาคต แต่ใส่ใจทำปัจจุบันให้ดีที่สุด
    • ทำตัวเป็นแก้วว่าง ถ้าเวลาทำอะไรแล้วคุณคิดว่าตัวเองรู้ดีทุกอย่างแล้ว จะทำให้คุณไม่ใส่ใจจนเผลอมองข้ามอะไรบางอย่างไป วิธีแก้ "โรคน้ำเต็มแก้ว" แบบนี้ก็คือให้เริ่มต้นทำอะไรเหมือนกับเพิ่งเคยทำเป็นครั้งแรก จะได้เปิดใจรับไอเดียใหม่ๆ เป็นโอกาสให้คุณได้มองต่างมุม
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เปลี่ยนวิธีโต้ตอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รู้จักประนีประนอม.
    อยากเป็นคนไม่มีอีโก้ ต้องรู้จักพบกันครึ่งทางกับคนอื่น ไม่ว่าจะเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัวก็ตาม ถ้าคุณรู้จักประนีประนอมเข้าไว้ก็ทำให้สื่อสารกับใครๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คุณฝึกประนีประนอมยอมความได้ง่ายๆ แค่[6]
    • คิดให้ดี อะไรคือสาเหตุ - ถ้าคุณตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ตกลงกันไม่ได้ ให้ลองถามใจตัวเองดู ว่าที่คุณไม่ยอมเพราะรู้สึกเหนือกว่าหรือด้อยกว่าอีกฝ่าย ถ้าเป็นกรณีนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นฝ่ายไหนก็ขอให้ผ่อนปรนหน่อย ลองหาจุดที่พบกันครึ่งทาง ที่ทำให้ได้ประโยชน์น่าพอใจกันทั้ง 2 ฝ่าย
    • อะไรสำคัญที่สุด - อาจฟังดูเกร่อ แต่ก็เป็นเรื่องจริงที่ไม่มี “I (ฉัน)” ในคำว่า team (พวกเรา) หาให้เจอ อะไรคือเป้าหมายร่วมกันของทุกคน? เป็นไปได้ไหมที่คุณจะยอมเสียนิดเสียหน่อย ปรับตัวเองบ้าง ถ้าสุดท้ายมันทำให้ทุกคนได้สิ่งที่ต้องการ?
    • ยอมให้คนอื่นไม่ได้แปลว่าคุณแพ้ - รู้และเข้าใจว่าการยอมผ่อนปรนไม่ได้แปลว่าคุณแพ้คนอื่น บอกเลยว่ามันคุ้มที่จะก้าวไปข้างหน้าด้วยกันโดยที่คุณยอมสละบางอย่างบ้างเล็กๆ น้อยๆ (อย่างการไม่ต้องเป็นคนถูกหรือเหนือกว่าเสมอไป) เราไม่ได้บอกให้คุณต้องยอมทิ้งกระทั่งสิ่งสำคัญอย่างความเชื่อส่วนตัวซะหน่อย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เปิดใจรับความเห็นที่แตกต่าง.
    [7] มานั่งโมโหเวลาคนอื่นเห็นไม่ตรงกับเรามันเสียเวลาเปล่า ดีซะอีกที่ได้พบเจอคนที่เห็นต่างบ้างเวลาคุณทำงานหรือกระทั่งใช้ชีวิตส่วนตัวก็ตาม อย่างที่เขาว่ากันว่า “ถ้าทุกคนคิดเหมือนกันหมด แสดงว่ามีบางคนไม่ใส่ใจกระทั่งจะคิดต่าง” ความสัมพันธ์ระหว่างคนเราก็เป็นแบบนี้ ถ้าทุกคนเอาแต่เออออไปกับคุณ คุณก็จะคิดเห็นไปในทางเดียวตลอด ฟังดูสบายดีเนอะ แต่บอกเลยว่าโลกแคบแน่ ทั้งในการทำงานและ/หรือการใช้ชีวิตส่วนตัวเลย
    • แต่เราไม่ได้กำลังยุให้คุณออกไปท้าตีท้าต่อยกับแฟนหรือเพื่อนร่วมงานนะ แค่แนะนำว่าให้เปิดใจฟังความเห็นของคนอื่นบ้าง ถึงมันจะต่างกับสิ่งที่คุณคิด ไม่ใช่เอาแต่คัดค้านเดินหนีท่าเดียว บอกเลยว่าความเห็นต่างทำให้คุณได้มองโลกต่างมุม อาจได้ไอเดียอะไรใหม่ๆ ก็ได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สนใจคนอื่นหน่อย.
    เวลาคุยไม่ใช่เอาแต่พูดถึงตัวเอง หัดพูดเรื่องคนอื่นบ้าง ถ้าคุณใส่ใจ ตั้งใจฟังเรื่องที่คู่สนทนาเขาพูดจริงๆ เดี๋ยวเขาก็สนใจเรื่องที่คุณพูดเองโดยไม่ต้องไปบีบบังคับแต่อย่างใด มีหลายวิธีด้วยกันที่บอกให้เขารู้ว่าคุณฟังอยู่[8][9]
    • สบตาเวลาคุย - โน้มตัวเข้าหาเขา (แต่พองาม) ด้วยความสนใจ อย่าไขว้ขา/กอดอก ฝึกการฟังแบบ active listening หรือก็คือฟังเพื่อเก็บข้อมูล ไม่ใช่รอจังหวะเออออให้ดูว่าฟังอยู่ ก่อนจะเข้าเรื่องตัวเองอย่าลืมทวนคำของเขาในรูปของคำถาม เช่น “โห คุณ…จริงเหรอคะ?”
    • เรียกชื่อเขา - ชวนคุยเรื่องที่เขาสนใจหรือสำคัญกับเขา เช่น เรื่องลูก หรืองานอดิเรกที่เขาชอบ ประมาณว่า “เป็นไงบ้าง ดาว! ตอนนี้ยังไปวิ่งที่สวนลุมอยู่หรือเปล่า?”
    • เอ่ยคำชมบ้าง - หรับบางคนอาจคะเขินหรือฝืนความรู้สึก แต่ลองทำดูเถอะ แทนที่จะคิดถึงแต่ตัวเอง ให้พุ่งความสนใจไปที่คู่สนทนา มองหาอะไรสักอย่างที่คุณรู้สึกทึ่งหรือชื่นชมเขาจากใจจริง ไม่ว่าจะรูปร่างหน้าตา ความขยัน หรือบุคลิกลักษณะก็ได้ ค่อยๆ บอกให้เขารู้ว่าคุณชื่นชมเรื่องที่ว่าของเขา ประมาณว่า “โห เพราะนายทยอยทำรายงานทุกวันเราถึงได้พลอยขยันไปด้วย เสร็จก่อนเดดไลน์ตั้ง 3 วัน แต๊งกิ้วมากเพื่อน!”
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

รู้เท่าทันอีโก้

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ถามใจตัวเอง.
    ถึงจะเถียงกันทุกวันกับคนที่ทำงานหรือที่บ้าน แต่บางทีคุณอาจสงสัยว่าเราอีโก้สูงจริงหรือเปล่า ถ้าให้อธิบายจริงๆ คงต้องชักแม่น้ำทั้งห้า แต่ง่ายสุดคือลองถามใจตัวเองดู ถ้าเจอสถานการณ์บางอย่างแล้วอยากรู้ว่าเราเอาอีโก้เข้าข่มหรือเปล่า ก็ต้องถามตัวเองด้วย 2 คำถามนี้
    • “เรารู้สึกว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่นหรือเปล่า?”
    • “เรารู้สึกว่าตัวเองด้อยกว่าคนอื่นหรือเปล่า?”
    • ถ้าตอบว่า “รู้สึก” ไม่ว่าจะข้อไหน แสดงว่าคุณน่ะอีโก้ไม่เบา คุณน่าจะพอรู้แหละ ว่าเวลาเรารู้สึกเหนือกว่าคนอื่นแสดงว่าเราค่อนข้างอีโก้สูง แต่คงผิดคาดน่าดู ถ้าคุณรู้ว่าเวลาคุณรู้สึกด้อยกว่าคนรอบตัว ก็แปลว่าคุณมีปัญหาเรื่องอีโก้เช่นกัน[10]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 คนอื่นแตะเรื่องที่คุณรู้สึกว่าเก่งไม่ได้ใช่ไหม....
    คนอื่นแตะเรื่องที่คุณรู้สึกว่าเก่งไม่ได้ใช่ไหม. คนที่อีโก้สูงมักปรี๊ดแตกเวลามีคนมาล้ำเส้นเรื่องที่เราคิดว่าตัวเองเก่ง[11] อย่างเพื่อนทำสอนว่าต้องตีกอล์ฟยังไงถึงไกลขึ้น หรือหัวหน้าที่เอาแต่นั่งจุ้มปุ๊กทั้งวันดันมาแนะนำว่าเราควรทำงานยังไง
    • ถ้าคุณของขึ้นเวลาอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว ยินดีด้วย คุณเป็นคนอีโก้สูง คุณจะรู้สึกโกรธทุกครั้งที่มีคนมาแนะนำสั่งสอนเรื่องที่คุณคิดว่ารู้ลึกรู้ดีอยู่แล้ว คุณอาจจะขอบคุณเพื่อตัดจบแต่ไม่มีทางทำตามที่คนบอก เวลามีคนเสนอไอเดียเด็ดๆ หรือก็คือเด็ดกว่าไอเดียคุณ คุณจะคิดหาข้ออ้างมาโต้แย้งเป็นพัลวันเพื่อแสดงจุดยืนของตัวเอง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใครพูดอะไรก็ไม่ค่อยเข้าหูหรือเปล่า.
    บางทีอีโก้สูงก็เป็นแบบไม่แสดงออก แต่อาจสังเกตได้โดยดูว่าคุณทนคนเห็นต่างได้นานแค่ไหน คนอีโก้สูงจะคิดว่าตัวเองรู้ดีและถูกเสมอ พอมีคนไม่เห็นด้วยกับมุมมองของตัวเองหรือถูกวิจารณ์ จะรู้สึกเสียเซลฟ์เหมือนมีคนมาดูถูก ข้องใจในความสามารถของตัวเองเลยทีเดียว[12]
    • คุณอาจไม่ค่อยรู้ตัวว่าตัวเองของขึ้นได้ง่ายๆ หรือเปล่าเวลาถูกวิจารณ์ ให้คอยสังเกตเวลาตัวเองคุยกับคนอื่นดูประมาณ 2 - 3 วัน มีคนขอโทษที่พูดไม่เข้าหูคุณบ่อยๆ หรือเปล่า? คุณต้องคอยข่มใจตัวเองเวลามีคนทำให้โมโหเรื่อยๆ ไหม? ถ้าใช่ ก็เป็นไปได้มากว่าคุณมีปัญหาเรื่องอีโก้สูงเข้าให้แล้ว
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Paul Chernyak, LPC
ร่วมเขียน โดย:
ผู้ให้คำปรึกษาเรื่องงานที่มีใบอนุญาต
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Paul Chernyak, LPC. พอล เชอร์เนียคเป็นผู้ให้คำปรึกษาเรื่องงานที่มีใบอนุญาตในชิคาโก เขาสำเร็จการศึกษาจากอเมริกันสคูลออฟโพรเฟสชันนอลไซโคโลจีในปี 2011 บทความนี้ถูกเข้าชม 25,642 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 25,642 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา