เห็ดที่รับประทานได้

เห็ดที่รับประทานได้เป็นส่วนเนื้อที่กินได้ของเห็ดหลายสปีชีส์ ซึ่งเป็นเห็ดราชนิดหนึ่ง สามารถพบได้ทั้งใต้พื้นดิน (hypogeous) หรือเหนือพื้นดิน (epigeous) ซึ่งเป็นสถานที่มือสามารถหยิบได้ ความสามารถในการบริโภคอาจกำหนดโดยเกณฑ์อย่างการไม่เป็นพิษต่อมนุษย์และมีรสชาติและกลิ่นที่พึงประสงค์[1] เห็ดที่รับประทานได้นั้นถูกบริโภคเพื่อคุณค่าทางโภชนาการและคุณค่าทางอาหาร เห็ดอย่างเห็ดหอมแห้งเป็นแหล่งของรสอูมามิ[2]: 11, 52, 110 [3]

เห็ดแชมปิญอง หนึ่งในเห็ดหลาย ๆ ชนิดที่ปลูกและรับประทานได้
เห็ดป่าที่รับประทานได้รวมในตะกร้า

เห็ดที่รับประทานได้มีอยู่หลายชนิดซึ่งรวมทั้งที่เก็บเกี่ยวได้ในป่าและที่ปลูกได้ เห็ดป่าหาง่ายและเห็ดที่เพาะปลูกได้ง่ายพบได้ทั่วไปในท้องตลาด ในขณะที่เห็ดที่หาได้ยาก (เช่น เห็ดทรัฟเฟิล เห็ดมัตสึทาเกะ และมอเรล) อาจเก็บเกี่ยวในจำนวนน้อยกว่าโดยนักเก็บเกี่ยวเฉพาะตัว การเตรียมอาหารบางอย่างอาจสามารถเปลี่ยนจากเห็ดมีพิษบางชนิดเป็นเห็ดเหมาะสมสำหรับการบริโภคได้

ก่อนที่จะสันนิษฐานว่าเห็ดป่าชนิดใดที่กินได้ เห็ดนั้นควรมีการระบุที่แม่นยำก่อน การระบุอย่างแม่นยำและการระบุชนิดพันธุ์อย่างถูกต้องเป็นวิธีเดียวในการรับประกันความปลอดภัยในการรับประทาน และเป็นหนทางเดียวในการป้องกันอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ เห็ดบางชนิดที่กินได้สำหรับคนส่วนใหญ่สามารถทำให้เกิดอาการแพ้ในบางคน และเห็ดที่เก่าหรือเก็บไว้อย่างไม่เหมาะสมอาจทำให้เป็นพิษได้ ดังนั้นจึงควรให้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งเมื่อรับประทานเห็ดใดเป็นครั้งแรก และควรบริโภคในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้นในกรณีที่เกิดอาการแพ้ เห็ดมีพิษร้ายแรงที่มักถูกสับสนกับเห็ดที่รับประทานได้ และมีส่วนทำให้เกิดพิษร้ายแรงหลายอย่าง ได้แก่ เห็ดหลายชนิดในสกุล Amanita โดยเฉพาะ Amanita phalloides หรือเห็ดระโงกหิน แม้แต่เห็ดที่รับประทานได้ตามปกติก็อาจเป็นอันตรายได้ เนื่องจากเติบโตในบริเวณที่มีมลพิษ เช่น โลหะหนัก[4]

อ้างอิง แก้

  1. Mattila P, Suonpää K, Piironen V (2000). "Functional properties of edible mushrooms". Nutrition. 16 (7–8): 694–6. doi:10.1016/S0899-9007(00)00341-5. PMID 10906601.
  2. Ole G. Mouritsen, Klavs Styrbaek (2014). Umami: Unlocking the Secrets of the Fifth Taste. Columbia University Press. ISBN 978-0231168908.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. Paul Adams (24 November 2015). "Put the science of umami to work for you". Popular Science, Bonnier Corporation. สืบค้นเมื่อ 11 December 2015.
  4. Kalač, Pavel; Svoboda, Lubomír (15 May 2000). "A review of trace element concentrations in edible mushrooms". Food Chemistry. 69 (3): 273–281. doi:10.1016/S0308-8146(99)00264-2.
🔥 Top keywords: หน้าหลักพิเศษ:ค้นหาองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยอสมทปานปรีย์ พหิทธานุกรภาวะโลกร้อนดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดอสุภยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ซิตีเฟซบุ๊กสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลสมศักดิ์ เทพสุทินพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรายการรหัสไปรษณีย์ไทยสโมสรฟุตบอลไบเอิร์นมิวนิกสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนาราณี แคมเปนคิม ซู-ฮย็อนนริลญา กุลมงคลเพชรประเทศไทยพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วันแรงงานสโมสรฟุตบอลอิปสวิชทาวน์4 KINGS 2สุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)พฤษภาคมชลน่าน ศรีแก้วบาร์เซโลนารายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์คิม จี-ว็อน (นักแสดง)ธนินท์ เจียรวนนท์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเดชา โคนาโล