เห็ดระโงกหิน

(เปลี่ยนทางจาก Amanita phalloides)
เห็ดระโงกหิน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Fungi
หมวด:Basidiomycota
ชั้น:Agaricomycetes
ชั้นย่อย:Agaricomycetidae
อันดับ:Agaricales
วงศ์:Amanitaceae
สกุล:Amanita
สปีชีส์:A.  phalloides
ชื่อทวินาม
Amanita phalloides
(Vaill. ex Fr.) Link

เห็ดระโงกหิน (อังกฤษ: death cap; ชื่อวิทยาศาสตร์: Amanita phalloides) เป็นเห็ดราที่มีพิษถึงตาย อยู่ในไฟลัมเบสิดิโอไมโคตา เห็ดระโงกหินกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปยุโรป มีความสัมพันธ์แบบสมชีพกับพืชใบกว้างหลายชนิด ในบางกรณี เห็ดระโงกหินถูกนำไปยังบริเวณใหม่โดยการปลูกต้นโอ๊ก เกาลัดและสนเขาที่ไม่ใช่ชนิดในท้องถิ่น ดอกเห็ดขนาดใหญ่ปรากฏในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง หมวกมักมีสีออกเขียว โดยมีลายและครีบเห็ดสีขาว

เห็ดระโงกหินเป็นเห็ดพิษที่คล้ายเห็ดชนิดที่กินได้หลายชนิด (ที่โดดเด่นที่สุดคือ เห็ดซีซาร์และเห็ดฟาง) ที่มนุษย์บริโภคทั่วไป จึงเพิ่มความเสี่ยงการได้รับสารพิษโดยบังเอิญ เห็ดระโงกหินเป็นหนึ่งในเห็ดที่มีพิษร้ายแรงที่สุดเท่าที่ทราบ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่จากการได้รับพิษเห็ด[1] เห็ดระโงกหินเป็นหัวข้อการวิจัยอย่างมาก และมีการแยกสารที่ออกฤทธิ์ทางชีววิทยาหลายชนิด สารพิษหลัก คือ แอลฟาอะแมนิติน (α-amanitin) ซึ่งไปทำลายตับและไต โดยมักถึงตาย

อ้างอิง แก้

  1. Benjamin, p.200.

บรรณานุกรม แก้

  • Benjamin, Denis R. (1995). Mushrooms: Poisons and Panaceas—A Handbook for Naturalists, Mycologists and Physicians. New York: WH Freeman and Company. ISBN 0-7167-2600-9.
🔥 Top keywords: วันวิสาขบูชาหน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย4 KINGS 2พิเศษ:ค้นหาพิชิต ชื่นบานอสมทสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีวิทยาศาสตร์วอลเลย์บอลดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)4 KINGS อาชีวะ ยุค 90ประวัติศาสตร์รายชื่อเครื่องดนตรีวัดไชยธารารามศาสนาพุทธอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ศาสนาพุทธในประเทศพม่าไอแซก นิวตันพระโคตมพุทธเจ้าพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัววอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024ตารางธาตุณัฐพนธ์ ศรีสมุทรนาคนาฏศิลป์ไทยพระสุนทรโวหาร (ภู่)วิชชุดา สวนสุวรรณฟุตซอลชาร์เลท วาศิตา แฮเมเนาอริยสัจ 4รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยประวัติศาสตร์ไทยจังหวัดชัยนาทพระอุปคุตคู ฮเย-ซ็อนวอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024หมวดหมู่:จังหวัดของประเทศไทยราชวงศ์จักรีกาลิเลโอ กาลิเลอี