เบนจามิน เนทันยาฮู

เบนจามิน "บีบี" เนทันยาฮู (อังกฤษ: Benjamin "Bibi" Netanyahu; ฮีบรู: בִּנְיָמִין "בִּיבִּי" נְתָנְיָהוּ; อาหรับ: بنيامين نتانياهو; เกิด 21 ตุลาคม 2492) เป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอล สมาชิกรัฐสภา (Knesset) และหัวหน้าพรรคลิคุด (Likud)

เบนจามิน เนทันยาฮู
בנימין נתניהו
بنيامين نتانياهو
ภาพถ่ายประจำตำแหน่งอย่างเป็นทางการในปี 2566
นายกรัฐมนตรีอิสราเอล คนที่ 9
เริ่มดำรงตำแหน่ง
29 ธันวาคม 2565
ประธานาธิบดีไอซาก เฮร์ซอก
ก่อนหน้ายาอีร์ ลาปิด
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม 2552 – 13 มิถุนายน 2564
ประธานาธิบดีชิมอน เปเรส
ริวเวน ริฟลิน
ก่อนหน้าเอฮุด โอลเมิร์ต
ถัดไปนัฟตาลี เบนเนตต์
ดำรงตำแหน่ง
18 มิถุนายน 2539 – 6 กรกฎาคม 2542
ประธานาธิบดีEzer Weizman
ก่อนหน้าชิมอน เปเรส
ถัดไปอีฮัด บารัก
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
18 ธันวาคม 2555 – 11 พฤศจิกายน 2556
รักษาการ
ก่อนหน้าAvigdor Lieberman
ถัดไปAvigdor Lieberman
ดำรงตำแหน่ง
6 พฤศจิกายน 2545 – 28 กุมภาพันธ์ 2546
นายกรัฐมนตรีอาเรียล ชารอน
ก่อนหน้าชิมอน เปเรส
ถัดไปSilvan Shalom
ผู้นำฝ่ายค้าน
ดำรงตำแหน่ง
28 มีนาคม 2549 – 31 มีนาคม 2552
นายกรัฐมนตรีเอฮุด โอลเมิร์ต
ก่อนหน้าAmir Peretz
ถัดไปTzipi Livni
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
28 กุมภาพันธ์ 2546 – 9 สิงหาคม 2548
นายกรัฐมนตรีอาเรียล ชารอน
ก่อนหน้าSilvan Shalom
ถัดไปเอฮุด โอลเมิร์ต
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เบนจามิน เนทันยาฮู

21 ตุลาคม พ.ศ. 2492 (74 ปี)
เทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล
เชื้อชาติอิสราเอล
ศาสนายูดาย
พรรคการเมืองLikud
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
Likud Beiteinu (2555–2557)
คู่สมรสMiriam Weizmann (2515–2521)
Fleur Cates 2524–2527)
Sara Ben-Artzi (2534–ปัจจุบัน)
บุตรโนอา
Avner
Yair
บุพการีเบนไซออน เนทันยาฮู
ซีลา ซีกัล
ศิษย์เก่าสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (วท.บ., วท.ม.)
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
วิชาชีพนักเขียน
ที่ปรึกษาการจัดการ
ผู้บริหารการตลาด
นักการเมือง
ลายมือชื่อ
เว็บไซต์netanyahu.org.il/en/
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ กองทัพอิสราเอล
สังกัด กองทัพบกอิสราเอล
ประจำการ2510–2516
ยศ Seren (ร้อยเอก)
หน่วยหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ
ผ่านศึกสงครามการบั่นทอนกำลัง
สงครามยมคิปปูร์

เขาเกิดในกรุงเทลอาวีฟ มีบิดามารดาเป็นชาวยิวโลกิยะ เนทันยาฮูเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนแรกที่เกิดในประเทศอิสราเอลหลังการสถาปนารัฐ เนทันยาฮูเข้าร่วมกองกำลังป้องกันอิสราเอลไม่นานหลังสงครามหกวันในปี 2510 และเป็นหัวหน้าทีมคอมมานโดในหน่วยลาดตระเวนกองเสนาธิการ เขาเข้าร่วมหลายภารกิจ ซึ่งประกอบด้วยปฏิบัติการอินเฟอร์โน (ปี 2511), ปฏิบัติการกิฟต์ (ปี 2511) และปฏิบัติการไอโซโทป (ปี 2525) ซึ่งระหว่างนั้นเขาถูกยิงที่ไหล่ เขาต่อสู้ในแนวหน้าในสงครามการบั่นทอนกำลัง และสงครามยมคิปปูร์ในปี 2516 โดยร่วมกับกำลังพิเศษตีโฉบฉวยตามคลองสุเอซ แล้วนำการโจมตีของคอมมานโดลึกเข้าดินแดนซีเรีย เขาได้ยศร้อยเอกก่อนได้รับการปลด หลังสำเร็จการศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ ด้วยปริญญาวิทยาศาสตร์บัณฑิตและวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต เขาได้รับสรรหาเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางเศรษฐกิจแก่บอสตันคอนซัลทิงกรุป เขากลับประเทศอิสราเอลในปี 2521 เพื่อก่อตั้งสถาบันต่อต้านการก่อการร้ายโยนาทัน เนทันยาฮู (Yonatan Netanyahu Anti-Terror Institute) ซึ่งได้ชื่อตามโยนาทัน เนทันยาฮู ผู้เสียชีวิตขณะเป็นผู้นำปฏิบัติการเอนเทบเบ เนทันยาฮูรับราชการเป็นเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2527 ถึง 2531

เนทันยาฮูเป็นหัวหน้าพรรคลิคุดในปี 2536 เนทันยาฮูชนะการเลือกตั้งปี 2539 ทำให้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลที่หนุ่มที่สุด ดำรงวาระแรกระหว่างเดือนมิถุนายน 2539 ถึงกรกฎาคม 2541 เขาย้ายจากเวทีการเมืองไปภาคเอกชนหลังพ่ายการเลือกตั้งชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปี 2542 แก่เอฮุด บารัค (Ehud Barak) เนทันยาฮูหวนคืนการเมืองในปี 2545 โดยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ปี 2545–2546) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ปี 2546–2548) ในรัฐบาลแอเรียล ชารอน แต่เขาออกจากรัฐบาลเพราะความไม่ลงรอยต่อแผนการปลดปล่อยกาซา ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนทันยาฮูปฏิรูปเศรษฐกิจอิสราเอลขนานใหญ่ ซึ่งผู้วิจารณ์ยกย่องว่าพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในเวลาต่อมาอย่างสำคัญ เขาทวงตำแหน่งหัวหน้าพรรคลิคุดในเดือนธันวาคม 2548 หลังชารอนออกไปตั้งพรรคการเมืองต่างหาก ในเดือนธันวาคม 2549 เนทันยาฮูเป็นผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภาและหัวหน้าพรรคลิคุดอย่างเป็นทางการ หลังการเลือกตั้งรัฐสภาปี 2552 ซึ่งลิคุดได้อันดับสองและพรรคฝ่ายขวาได้เสียงข้างมาก เนทันยาฮูตั้งรัฐบาลผสม หลังชัยชนะในการเลือกตั้งปี 2556 เขากลายเป็นบุคคลที่สองที่ได้รับเลือกตั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่สาม ถัดจากเดวิด เบนกูเรียน ในเดือนมีนาคม 2558 เนทันยาฮูได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ห้า

เนทันยาฮูได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีอิสราเอลสี่สมัย เท่ากับสถิติของเดวิด เบนกูเรียน เขาเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวในประวัติศาสตร์อิสราเลที่ได้รับเลือกตั้งสามครั้งติดต่อกัน ปัจจุบันเขาเป็นนายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งยาวที่สุดเป็นอันดับที่สอง[1][2][3]

อ้างอิง แก้

  1. Heller, Aron (17 July 2019). "Netanyahu makes history as Israel's longest-serving leader". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 17 July 2019.
  2. Williams, Dan (18 July 2019). "Bruised but driven, Netanyahu becomes Israel's longest-serving PM". Reuters. สืบค้นเมื่อ 18 July 2019.
  3. Schwartz, Felicia (20 July 2019). "Benjamin Netanyahu Becomes Israel's Longest-Serving Premier Amid Political Storm". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 20 July 2019.
🔥 Top keywords: หน้าหลักภาคภูมิ ร่มไทรทององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาอสมทดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลภาวะโลกร้อนขจร เจียรวนนท์เฟซบุ๊กสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดรายการรหัสไปรษณีย์ไทยสุรเชษฐ์ หักพาลสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลลมเล่นไฟประเทศไทยวัลลภ เจียรวนนท์พรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์ราณี แคมเปนพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฟุตซอลทีมชาติไทยลานีญาธนินท์ เจียรวนนท์พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)ข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียนริลญา กุลมงคลเพชรเผ่าภูมิ โรจนสกุลตระกูลเจียรวนนท์เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติเผ่า ศรียานนท์สุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)FBฟุตซอลโลกคินน์พอร์ช