อีสเตอร์

อีสเตอร์ หรือ วันพระเยซูคริสต์ทรงคืนพระชนม์[2] (อังกฤษ: Easter; อังกฤษเก่า: Ēostre หรือ อังกฤษ: Pasch[3][4], Pascha[5]; ละติน: Pascha ปัสคา; กรีก: Πάσχα, Paskha; แอราเมอิก: פַּסחא Pasḥa; มาจาก ฮีบรู: פֶּסַח Pesaḥ) คริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกว่า วันสมโภชปัสกาพระเยซูเจ้าทรงกลับคืนพระชนมชีพ เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญมากที่สุดในศาสนาคริสต์ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการคืนพระชนม์ของพระเยซูหลังจากที่ทรงถูกตรึงกางเขนและสิ้นพระชนม์ไปแล้วสามวัน โดยวันที่จะเปลี่ยนไปในแต่ละปีแต่กำหนดให้ทุกปีต้องจัดขึ้นในวันอาทิตย์ (เพราะเป็นวันที่ทรงกลับคืนพระชนม์ตามพระคัมภีร์) เรียก วันอีสเตอร์

อีสเตอร์
ภาพพระคริสต์ได้ทำลายประตูนรกและนำอาดัมกับเอวาออกจากสุสาน พระคริสต์ถูกขนาบข้างด้วยนักบุญ และซาตาน ซึ่งถูกวาดเป็นชายแก่ กำลังถูกล่ามโซ่
ประเภทคริสต์, วัฒนธรรม
ความสำคัญฉลองวันที่พระเยซูฟื้นคืนชีพ
การเฉลิมฉลองChurch services, เลี้ยงอาหารแก่ครอบครัว, ตกแต่งไข่อีสเตอร์ และให้ของขวัญ
การถือปฏิบัติPrayer, all-night vigil, sunrise service
วันที่ใช้วิธีคำนวณแบบComputus
วันที่ในปี 2023
  • 9 เมษายน (ตะวันตก)
  • 16 เมษายน (ตะวันออก)
วันที่ในปี 2024
  • 31 มีนาคม[1] (ตะวันตก)
  • 5 พฤษภาคม (ตะวันออก)
วันที่ในปี 2025
  • 20 เมษายน (ตะวันตก)
  • 20 เมษายน (ตะวันออก)
วันที่ในปี 2026
  • 5 เมษายน (ตะวันตก)
  • 12 เมษายน (ตะวันออก)
ส่วนเกี่ยวข้องปัสคา Septuagesima, Sexagesima, Quinquagesima, วันอังคารสารภาพบาป, วันพุธรับเถ้า, Clean Monday, เทศกาลมหาพรต, Great Lent, วันอาทิตย์ใบลาน, สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์, Maundy Thursday, วันศุกร์ประเสริฐ และวันเสาร์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมาก่อนวันอีสเตอร์; และThomas Sunday, พระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์, เทศกาลเพนเทคอสต์, Trinity Sunday และCorpus Christi ก็ตามมาอีกเช่นกัน

นางมารีย์ชาวมักดาลากับพระเยซูที่ฟื้นคีนพระชนม์แล้ว

นอกจากนี้วันอีสเตอร์ถือเป็นวันสิ้นสุดเทศกาลมหาพรตซึ่งเป็นช่วงเวลา 40 วันที่คริสต์ศาสนิกชนถือศีลอดและสวดภาวนาเป็นพิเศษ สัปดาห์สุดท้ายของเทศกาลมหาพรตเรียกว่าสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ วันศุกร์ของสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์เรียกวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ (หรือที่ชาวโปรเตสแตนต์เรียกวันศุกร์ประเสริฐ) เป็นวันที่พระเยซูโดนตรึงกางเขน หลังจากวันอีสเตอร์เป็นเทศกาลปัสกา (Eastertide) 50 วัน และจบเทศกาลในวันอาทิตย์สมโภชพระจิตเจ้า

ประเพณีในการเฉลิมฉลองแตกต่างกันทั่วโลก แต่การตกแต่งไข่อีสเตอร์และกิจกรรมค้นหาไข่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดในหมู่เด็ก ๆ

วันที่ แก้

ทางตะวันตกกับตะวันออกกำหนดวันอีสเตอร์ที่ต่างกัน ซึ่งเปลี่ยนไปทุกปีด้วย ดังนี้

ตารางวันอีสเตอร์ 2001–2025 (ในปฏิทินกริกอเรียน)[6]
ปีพระจันทร์เต็มดวงปัสคา
ยูดาห์ [หมายเหตุ 1]
อีสเตอร์
ดาราศาสตร์ [หมายเหตุ 2]
อีสเตอร์
กริกอเรียน
อีสเตอร์
จูเลียน
20018 เมษายน15 เมษายน
200228 มีนาคม31 มีนาคม5 พฤษภาคม
200316 เมษายน17 เมษายน20 เมษายน27 เมษายน
20045 เมษายน6 เมษายน11 เมษายน
200525 มีนาคม24 เมษายน27 มีนาคม1 พฤษภาคม
200613 เมษายน16 เมษายน23 เมษายน
20072 เมษายน3 เมษายน8 เมษายน
200821 มีนาคม20 เมษายน23 มีนาคม27 เมษายน
20099 เมษายน12 เมษายน19 เมษายน
201030 มีนาคม4 เมษายน
201118 เมษายน19 เมษายน24 เมษายน
20126 เมษายน7 เมษายน8 เมษายน15 เมษายน
201327 มีนาคม26 มีนาคม31 มีนาคม5 พฤษภาคม
201415 เมษายน20 เมษายน
20154 เมษายน5 เมษายน12 เมษายน
201623 มีนาคม23 เมษายน27 มีนาคม1 พฤษภาคม
201711 เมษายน16 เมษายน
201831 มีนาคม1 เมษายน8 เมษายน
201920 มีนาคม20 เมษายน24 มีนาคม21 เมษายน28 เมษายน
20208 เมษายน9 เมษายน12 เมษายน19 เมษายน
202128 มีนาคม4 เมษายน2 พฤษภาคม
202216 เมษายน17 เมษายน24 เมษายน
20236 เมษายน9 เมษายน16 เมษายน
202425 มีนาคม23 เมษายน31 มีนาคม5 พฤษภาคม
202513 เมษายน20 เมษายน
  1. เทศกาลปัสคาของชาวยิวตรงกับวันที่ 15 เดือนนิสานของปฏิทิน เริ่มต้นเมื่อพระอาทิตย์ตกดินก่อนวันที่ระบุ (เช่นเดียวกับเทศกาลอีสเตอร์ในหลาย ๆ ประเพณี)
  2. วันอีสเตอร์ทางดาราศาสตร์คือวันอาทิตย์แรกหลังจากพระจันทร์เต็มดวงทางดาราศาสตร์ หลังจากวิษุวัตมีนาคมทางดาราศาสตร์ ที่วัดที่เส้นเมอริเดียนของเยรูซาเลมตามข้อเสนอของสภาคริสตจักรโลก

อ้างอิง แก้

  1. Selected Christian Observances, 2024, U.S. Naval Observatory Astronomical Applications Department
  2. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 199-200
  3. Lisa D. Maugans Driver, Christ at the Center (Westminster John Knox Press 2009 ISBN 978-0-66422897-2), p. 151
  4. Everett Ferguson, Baptism in the Early Church (Eerdmans 2009 ISBN 978-0-80282748-7), p. 351
  5. Norman Davies (20 January 1998). Europe: A History. HarperCollins. In most European languages Easter is called by some variant of the late Latin word Pascha, which in turn derives from the Hebrew pesach, passover'.
  6. "Towards a Common Date for Easter". Aleppo, Syria: World Council of Churches (WCC) / Middle East Council of Churches Consultation (MECC). 10 March 1997.
🔥 Top keywords: หน้าหลักภาคภูมิ ร่มไทรทององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีพิเศษ:ค้นหาอสมทดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 2024สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูลภาวะโลกร้อนขจร เจียรวนนท์เฟซบุ๊กสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดรายการรหัสไปรษณีย์ไทยสุรเชษฐ์ หักพาลสโมสรฟุตบอลอาร์เซนอลลมเล่นไฟประเทศไทยวัลลภ เจียรวนนท์พรนับพัน พรเพ็ญพิพัฒน์ราณี แคมเปนพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวฟุตซอลทีมชาติไทยลานีญาธนินท์ เจียรวนนท์พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)ข้ามมิติ ลิขิตสวรรค์ฟุตซอลชิงแชมป์เอเชียนริลญา กุลมงคลเพชรเผ่าภูมิ โรจนสกุลตระกูลเจียรวนนท์เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติเผ่า ศรียานนท์สุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)FBฟุตซอลโลกคินน์พอร์ช