วิธีการ ให้ยาแก่เด็กที่กินยายาก

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ถ้าลูกไม่สบาย ก็อาจต้องการกินยาตามใบสั่งแพทย์หรือยาที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ ไม่ว่าจะอยู่ในกรณีไหน ลูกก็อาจดื้อไม่ยอมกินยา ที่เป็นเช่นนี้เพราะลูกอาจไม่ชอบวิธีกิน ไม่ชอบรสชาติของยา หรือมีเหตุผลอื่นอีก ถ้ากำลังประสบปัญหาเด็กไม่ยอมกินยาแต่โดยดี ลองใช้วิธีการข้างล่างนี้ดู

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 2:

ให้ยาน้ำ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เปลี่ยนแปลงรสชาติ.
    เภสัชกรอาจเพิ่มรสชาติอย่างเช่น ช็อกโกแลต แตงโม เชอร์รี หรือรสชาติอื่นๆ ที่ลูกชื่นชอบลงในยาน้ำเชื่อมเพื่อให้น่ารับประทานมากขึ้น[1]
    • เราอาจหาซื้อยาซึ่งมีรสชาติที่ลูกชื่นชอบจากร้านขายยาก็ได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หยดใส่ปากด้วยหลอดหยดหรือกระบอกฉีดยา.
    เราหาซื้อหลอดฉีดยา (ไม่มีเข็ม) มาเองก็ได้ หรือจะใช้หลอดหยดก็ได้ จับเด็กนั่ง ฉีดหรือหยดยาในปริมาณที่ถูกต้องลงระหว่างฟันหรือเหงือก ค่อยๆ กดกระบอกฉีดยา ยาจะได้ไหลลงไปที่โคนลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม[2]
    • อย่าใช้ช้อน อย่าฉีดยาลึกลงไปในลำคอ ไม่อย่างนั้นเด็กอาจสำลัก พยายามฉีดยาเข้าบริเวณมุมปากแทน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ให้ยาในปริมาณที่น้อยลง.
    ใช้ถ้วยยาน้ำหรือช้อนยาที่มักจะให้มาพร้อมยาน้ำช่วยในการแบ่งปริมาณยา ก่อนที่จะใช้วิธีนี้ ให้ถามแพทย์และเภสัชกร เพราะเราต้องให้ปริมาณยาเท่าเดิมเพื่อจะได้รักษาอาการป่วยของเด็กอย่างได้ผล เราอาจให้ยาในปริมาณที่น้อยลง แต่ให้ในจำนวนครั้งที่เพิ่มขึ้นเพื่อเด็กจะได้ไม่ต้องฝืนกินหมดในครั้งเดียว[3][4]
    • ตัวอย่างเช่น แทนที่จะให้เด็กกินยา 1 ช้อนโต๊ะ (15 มิลลิลิตร) ทุก 12 ชั่วโมง ก็ให้กินยาครึ่งช้อนโต๊ะสองครั้ง (ครั้งละ 7.5 มิลลิลิตร) ต่อเนื่องกันในเวลากินยานั้น
    • เด็กอาจคิดว่าการกินยาแบบนี้ทำให้เขาต้องใช้เวลากินยานานขึ้นไปอีก เพราะฉะนั้นเด็กอาจขัดขืนไม่ยอมกินยาหนักขึ้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ให้กินยาพร้อมกับอาหาร.
    ถามแพทย์และเภสัชกรว่ายาตัวนั้นสามารถกินก่อนอาหาร หรือเครื่องดื่ม หรือแม้แต่พร้อมกับอาหารได้ไหม ถ้ายานั้นสามารถกินพร้อมกับอาหารได้ เราก็อาจนำยาไปผสมกับพุดดิ้ง โยเกิร์ต หรือน้ำส้มเพื่อให้เด็กสามารถกินเข้าไปได้ง่ายขึ้น หรือเราจะให้ของว่างหรือเครื่องดื่ม เช่น ไอศกรีมหนึ่งถ้วย เยลลี่แห้ง หรือโยเกิร์ตรสชาติที่เด็กชื่นชอบหลังกินยาเลยก็ได้ บอกให้เขารู้ล่วงหน้าว่าเขาจะได้กินของโปรด ถ้ายอมกินยาก่อน[5][6]
    • ถ้าเราผสมยาในอาหารหรือเครื่องดื่ม ต้องให้เด็กกินหรือดื่มให้หมด
    • ถ้ายาที่ให้ไม่สามารถกินพร้อมอาหารหรือเครื่องดื่มได้ ให้ถามแพทย์และเภสัชกรว่าหลังจากกินยาเข้าไปแล้วต้องรออีกสักกี่นาที ถึงจะสามารถให้เด็กกินและดื่มได้ตามปกติ
    • วิธีการนี้อาจทำให้เกิดผลตรงข้ามคือ ต้องมีของโปรดมาล่อก่อน เด็กถึงจะยอมกินยา
  5. How.com.vn ไท: Step 5 พูดคุยกับเด็ก.
    บอกว่ายาจะช่วยให้อาการดีขึ้น และถามเด็กสิว่าพอใจกับวิธีกินยาแบบไหน (ถ้วย หรือหลอดฉีดยา) และชอบยารสชาติอะไร วิธีนี้การนี้จะช่วยทำให้เด็กรู้สึกว่าตนยังมีทางเลือกบ้าง[7][8]
    • อย่าปล่อยให้การพูดคุยนี้จบลงด้วยการที่เด็กไม่ยอมกินยา ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เราอาจโต้ตอบไปว่าเช่น “หนูไม่อยากหายป่วยเพื่อจะได้ไปเล่นกับเพื่อนๆ เหรอ”
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ใช้กำลังบังคับเป็นอย่างสุดท้าย.
    ถ้าวิธีต่างๆ ที่แนะนำมาไม่ได้ผลเลย เราอาจต้องใช้กำลังบังคับกันบ้าง ต้องหาใครอีกคนมาช่วยเราด้วย เตรียมยาในปริมาณที่ถูกต้องใส่หลอดฉีดยาไว้ วางเด็กไว้บนตักของผู้ใหญ่อีกคน และบอกเขาจับศีรษะเด็กให้นิ่งและตั้งตรง (ไม่เงย) ส่วนเราควรใช้มือข้างหนึ่งบีบคางหรือขากรรไกรล่าง แล้วใช้มืออีกข้างสอดหลอดฉีดยาที่ระหว่างฟันของเด็กและฉีดยาไปที่โคนลิ้น ปิดปากเด็กไว้ก่อนจนกว่าเขาจะกลืนลงไป [9]
    • บางครั้งก็ต้องใช้การบังคับเพื่อสุขภาพของเด็กเหมือนกัน แต่ก็ขอย้ำอีกครั้งว่าควรใช้เป็นวิธีสุดท้าย เพราะการใช้กำลังบังคับอาจก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจต่อกันระหว่างเด็กและตัวเรา
    • ให้เด็กได้รับรู้ว่าถ้าเขาไม่อยากให้เราใช้กำลังบังคับคราวหน้า เขาต้องยอมกินยาเองแต่โดยดี หลังกินยาอาจให้รางวัลที่เป็นการเสริมแรงบวกเช่น กอดและให้เด็กทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ (กินโยเกิร์ต ดูวีดีโอ ติดสติกเกอร์ เป็นต้น)
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 2:

ให้ยาเม็ด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นำยาใส่ลงในปากเด็กลึกๆ.
    วางยาไว้ที่โคนลิ้นของเด็ก แล้วให้เด็กดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มที่ชื่นชอบเช่น น้ำผลไม้ ตามลงไป ให้เด็กกลืนน้ำลงคอโดยเร็วและให้คิดถึงแต่รสชาติของเครื่องดื่มเท่านั้น [10]
    • ให้ศีรษะเด็กตั้งตรงหรือก้มลงเล็กน้อย กินน้ำโดยใช้หลอดดูดก็ได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 แบ่งหรือบดยา.
    วิธีนี้จะทำให้กลืนยาง่ายขึ้น ใช้มีดหรือที่ตัดเม็ดยาตัดยาออกเป็นสองส่วนหรือสี่ส่วน อาจใช้ช้อนบดยาเม็ดให้เป็นผงและผสมลงในอาหารที่เด็กชื่นชอบและไม่จำเป็นต้องเคี้ยว (ไอศกรีม พุดดิ้ง โยเกิร์ต เป็นต้น) [11] ผสมยาลงในอาหารที่เด็กสามารถกินหมดได้ เพราะถ้าเด็กกินหมด ก็จะได้รับยาในปริมาณที่ต้องการ
    • อาจบดยาได้ง่ายขึ้น ถ้าเราหยดน้ำใส่ยาสักหนึ่งหรือสองหยด และปล่อยทิ้งไว้สักห้านาที
    • อย่าใช้วิธีนี้กับยาแคปซูลที่มีการปลดปล่อยช้าหรือเม็ดยาที่มีการเคลือบพิเศษ ถ้าทำลายคุณสมบัติปลดปล่อยช้าของเม็ดยาไป ก็อาจทำให้เด็กได้รับยาปริมาณมากในคราวเดียวและเป็นอันตรายแก่เด็กได้ ฉะนั้นถ้าไม่แน่ใจ ให้ถามแพทย์และเภสัชกร
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เทผงยาออกจากแคปซูล.
    ถามแพทย์และเภสัชกรก่อนจะทำแบบนี้ เพราะเราไม่สามารถทำแบบนี้ได้กับทุกแคปซูล อาจกลืนผงยาลงไปได้เลยโดยไม่ต้องเคี้ยว แต่โดยปกติยามักจะขม ฉะนั้นจึงต้องผสมกับของหวานที่เด็กชื่นชอบ (ซอสแอปเปิ้ล โยเกิร์ต หรือของหวานที่คล้ายกันนี้) [12]
    • อาจยุ่งยากไปสักหน่อย แต่ถ้าไม่อยากเสียองค์ประกอบของยาไปบางส่วน ให้เทผงยาออกจากแคปซูลในบริเวณพื้นที่เตรียมการซึ่งโล่งและแห้ง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สอนวิธีกินยาให้เด็กที่โตแล้ว.
    ถ้าเด็กอายุเกินแปดขวบ ไม่อยาก และไม่สามารถกินยา ให้ฝึกตอนที่เด็กไม่ป่วยหรือหงุดหงิด เตรียมลูกกวาดเม็ดเล็กๆ หรือน้ำแข็งไว้ให้เด็กอม ให้ใช้อะไรที่ละลายได้ง่ายเพื่อป้องกันไม่ให้ติดคอเด็ก [13]
    • ค่อยๆ เปลี่ยนขนาดลูกอมจนมีขนาดเท่าเม็ดเอ็มแอนด์เอ็ม เราอาจลองเคลือบเนยก็ได้ ถ้าลูกอมเหนียวมาก
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเด็กไม่ยอมกินยา หรือมีปัญหากับการกินยาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ให้ถามแพทย์ว่ามียาในรูปแบบอื่นหรือไม่ นอกจากยาเม็ดและยาน้ำแล้ว อาจมียาแบบที่ต้องเคี้ยวหรือละลายในปากให้เลือกมารับประทานได้
  • เมื่อต้องพยาบาลและรักษาเด็กป่วย ปรึกษาแพทย์เสมอ
  • ปรึกษาเภสัชกร สอบถามข้อมูลของยาเพิ่มเติม ปฏิกิริยาของยา และผลข้างเคียง
  • ขอให้เภสัชกรเปลี่ยนฝาขวดยาให้เป็นแบบที่เด็กเปิดไม่ได้
  • เก็บยาทุกอย่างให้พ้นจากมือเด็ก
โฆษณา

คำเตือน

  • ฉลากบนขวดยาทุกขวดต้องตรงกับตัวยาที่อยู่ข้างในและตรงกับใบสั่งของแพทย์
  • อย่าเปลี่ยนยา ปริมาณยา หรือวิธีให้ยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อน การให้ยาเด็กเกินขนาดอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของเด็ก ข้อห้ามนี้ใช้กับยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ด้วย
  • ยาจำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์หลายตัวแรงเกินไปสำหรับเด็ก ให้ตรวจสอบปริมาณที่เด็กกินได้


โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Laura Marusinec, MD
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Laura Marusinec, MD. ดร.มารูซิเน็กเป็นกุมารแพทย์ที่มีใบรับรองในวิสคอนซิน เธอสำเร็จปริญญาโทจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซินในปี 1995 บทความนี้ถูกเข้าชม 11,311 ครั้ง
หมวดหมู่: เด็ก
มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,311 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา