ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การสนทนากับคนแปลกหน้า คู่เดต และผู้คนซึ่งเราพบในงานเลี้ยงอาจเป็นเรื่องยากลำบาก เราจะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองจะพูดเรื่องอะไรได้บ้าง บทความนี้จะแนะนำวิธีการหาเรื่องสนทนาที่สนุกและน่าสนใจ รวมทั้งได้ฟังเรื่องราวจากผู้อื่นเพื่อลดความประหม่าของตนเอง (และผู้อื่น) ลง

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

หาทางเริ่มการสนทนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เริ่มบทสนทนาสั้นๆ.
    บางครั้งผู้คนก็มองข้ามความสำคัญหรือไม่รู้จักการเริ่มบทสนทนาสั้นๆ มากนัก แต่การเริ่มบทสนทนาสั้นๆ นั้นสำคัญต่อการเข้าสังคม เพราะช่วยให้คนแปลกหน้าที่มาอยู่ด้วยกันเริ่มคุ้นเคยกันโดยไม่ก่อให้เกิดความเครียดหรือความไม่สบายใจแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง [1] ฉะนั้นจงทำความรู้จักและเข้าใจการเริ่มบทสนทนาสั้นๆ เถอะ เพราะนี้ก็เป็นรูปแบบการสนทนาที่สำคัญเช่นกัน!
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เลือกเรื่องพูดให้เหมาะสมกับกาลเทศะ.
    เราสามารถเลือกเรื่องสนทนาที่เหมาะสมได้โดยดูจากช่วงเวลาและสถานที่ซึ่งเราอยู่ตอนนั้น[2] ตัวอย่างเช่น เราไม่สามารถพูดเรื่องการเมืองได้ เมื่ออยู่ในที่ทำงาน แต่สามารถสนทนาเรื่องการเมืองได้เมื่ออยู่ในการหาเสียงของผู้สมัครเลือกตั้ง เช่นเดียวกับที่เราจะไม่คุยเรื่องงานในงานเลี้ยงของเพื่อน แต่สามารถคุยเรื่องนี้ได้ ถ้าเราอยู่ในที่ทำงาน ในการสนทนาโดยส่วนใหญ่แล้วเราควรปฏิบัติดังนี้
    • ลองคิดสิว่าเราและคู่สนทนามีอะไรที่เหมือนกันบ้างตอนนั้น (ทำงานเหมือนกัน มีเพื่อนคนเดียวกัน มีความสนใจเรื่องเดียวกัน)
    • หลีกเลี่ยงการพูดเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่เข้าร่วมนั้น
    • พูดคุยอย่างสุภาพและเป็นกันเอง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ถามคำถามง่ายๆ และเป็นแบบปลายเปิด.
    คำถามแบบปลายเปิดเป็นคำถามที่ไม่สามารถตอบแค่ "ใช่" หรือ "ไม่" ได้ และต้องการคำตอบส่วนตัวและเจาะลึกมากขึ้น ถามคู่สนทนาด้วยคำถามทั่วไปเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ จะทำให้เรารู้จักเขามากขึ้นโดยไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว โดยหลักการทั่วไปแล้ว เราสามารถถามทุกเรื่องที่อยู่ในประวัติส่วนตัวได้
    • "บ้านเกิดคุณอยู่ที่ไหน เป็นอย่างไร"
    • "ทำงานที่ไหน งานของคุณมีหน้าที่ความรับผิดชอบอะไรบ้าง"
    • "คิดว่าหนังเรื่องนี้เป็นอย่างไรบ้าง"
    • "ชอบฟังเพลงแนวไหน วงดนตรีโปรดห้าวงของคุณมีอะไรบ้าง"
    • "ชอบอ่านหนังสือหรือเปล่า ถ้าชอบและสามารถพกได้สามเล่ม คุณจะพกหนังสือเล่มไหนไปอ่านในยามพักผ่อนบ้าง"
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เริ่มถามคำถามเพื่อทำความรู้จักคู่สนทนาตามปกติ....
    เริ่มถามคำถามเพื่อทำความรู้จักคู่สนทนาตามปกติ. มีคำถามเริ่มต้นบทสนทนาสั้นๆ อันเป็นแบบฉบับอยู่มากมายซึ่งเกี่ยวกับงานอดิเรก งาน และครอบครัว ลองนำไปปรับใช้เพื่อให้บทสนทนาสั้นๆ ของเราเจาะลึกอีกสักนิดโดยไม่ละเมิดความเป็นส่วนตัว ตัวอย่างคำถามได้แก่
    • "อะไรคือสิ่งสำคัญมากที่สุดที่ทำให้ชีวิตของคุณมาได้ไกลขนาดนี้"
    • "เพื่อนที่คบกันมานานของคุณเป็นคนอย่างไร"
    • "งานในฝันของคุณคืออะไร"
    • "สิ่งหนึ่งที่คุณคิดว่าจะทำได้อย่างดีเยี่ยม ถ้าได้รับการฝึกเสียหน่อยคืออะไร"
    • "สิ่งที่คุณชอบมากที่สุดในงานของคุณคืออะไร"
  5. How.com.vn ไท: Step 5 รู้ว่าผู้อื่นมีความสนใจเรื่องอะไร.
    ผู้คนมักหาโอกาสบอกเล่าถึงสิ่งที่ตนเองชื่นชอบให้ผู้อื่นฟัง ถ้าเราคิดเรื่องที่จะพูดคุยไม่ออก ก็ให้ผู้อื่นเป็นคนพูดแทนก็ได้ ลองถามเรื่องงานอดิเรก สิ่งที่พวกเขาชื่นชอบ หรือแผนการต่างๆ ที่คู่สนทนาต้องการทำให้สำเร็จดูสิ [3] การให้ผู้ฟังตอบเรื่องที่ตนเองสนใจจะทำให้พวกเขาผ่อนคลาย อาจแม้แต่ถามถึงสิ่งที่เราชื่นชอบและสนใจกลับมาด้วย
    • "คุณชอบนักเขียน/นักแสดง/นักดนตรี/นักกีฬาคนไหน"
    • "กิจกรรมอะไรที่ทำให้คุณรู้สึกสนุก"
    • "คุณร้องเพลงหรือเล่นดนตรีไหม"
    • "คุณเล่นกีฬาหรือเต้นรำไหม"
    • "ความสามารถพิเศษของคุณคืออะไร"
  6. How.com.vn ไท: Step 6 พูดแต่เรื่องดีๆ.
    ผู้คนมักจะชอบฟังเรื่องดีๆ มากกว่าเรื่องในแง่ลบ คำวิพากษ์วิจารณ์ หรือการพร่ำบ่น [4] พยายามหาเรื่องที่เราและคู่สนทนาสนใจและชื่นชอบร่วมกัน แทนที่จะนำเรื่องที่น่าตำหนิและน่าวิจารณ์มาเป็นหัวข้อสนทนา ตัวอย่างเช่น อย่าเริ่มการสนทนาสั้นๆ ด้วยการบอกว่าไม่ชอบอาหารของงานเลี้ยงที่เข้าร่วม แต่ให้เริ่มการสนทนาด้วยการบอกว่าของหวานอร่อยจะดีกว่า
    • การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคู่สนทนาเป็นสิ่งที่ดี เคารพความคิดเห็นของกันและกันโดยไม่พูดจาค่อนขอดและว่าร้ายกัน[5]
  7. How.com.vn ไท: Step 7 เลือกหัวข้อที่สนทนากันได้ยาวโดยไม่ต้องเปลี่ยนหัวข้อใหม่บ่อยๆ....
    เลือกหัวข้อที่สนทนากันได้ยาวโดยไม่ต้องเปลี่ยนหัวข้อใหม่บ่อยๆ. ไม่จำเป็นต้องคิดหาหัวข้อมาพูดคุยให้มากมาย ถ้าเราเลือกหัวข้อในการสนทนาดีก็สามารถพูดคุยกับผู้อื่นได้นานหลายชั่วโมง เราจะเปลี่ยนหัวข้ออื่นก็ต่อเมื่อเราหมดเรื่องจะพูดคุยในหัวข้อนั้น อย่างไรก็ตามการสนทนาที่ดีมักมีการเปลี่ยนหัวข้อพูดไปเรื่อยๆ อย่างไหลลื่น ถ้าเกิดคิดว่า เราทั้งคู่พูดคุยกันมาจนถึง “เรื่องนี้” ได้อย่างไร แสดงว่าเราดำเนินการสนทนาไปได้ด้วยดีแล้ว
  8. How.com.vn ไท: Step 8 มีความเป็นมิตร .
    ถึงแม้การเลือกหัวข้อสนทนานั้นสำคัญต่อการเริ่มบทสนทนา แต่ท่าทีที่เป็นมิตรอาจสำคัญยิ่งกว่า [6] ท่าทีที่ผ่อนคลายจะช่วยให้ผู้อื่นสบายใจ และคู่สนทนาจะยอมเปิดใจรับเราได้มากขึ้น จงยิ้ม เอาใจใส่ และแสดงความเป็นห่วงเป็นใยสารทุกข์สุกดิบของผู้อื่น
  9. How.com.vn ไท: Step 9 ถามเพิ่มเติม.
    วิธีที่จะหาเรื่องพูดคุยได้ดีที่สุดวิธีการหนึ่งคือทำให้คู่สนทนาอยากแบ่งบันความคิด ความรูสึก และแนวคิดกับเรา ถ้าคู่สนทนาบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ หรือแม้แต่เรื่องราวชีวิตของตนออกมาบ้างแล้ว จงแสดงความสนใจเรื่องราวเหล่านั้นด้วยการถามเพิ่มเติม [7] เราต้องถามให้ตรงประเด็น อย่าเปลี่ยนทิศทางการสนทนาให้มาเข้าเรื่องของตนเอง [8] ขอยกตัวอย่างคำถามเช่น
    • "ทำไมถึงชอบกีฬา/รายการ/ภาพยนตร์/วงดนตรี นี้"
    • "ผมก็ชอบวงนี้เหมือนกัน คุณชอบอัลบั้มชุดไหนของวงนี้"
    • "อะไรเป็นแรงบันดาลใจแรกที่ทำให้คุณสนใจเรื่องนี้"
    • "ผมไม่เคยไปท่องเที่ยวที่ไอซ์แลนด์มาก่อน คุณพอจะแนะนำได้ไหมว่าสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของที่นั่นมีอะไรบ้าง"
  10. How.com.vn ไท: Step 10 พยายามยุติการทุ่มเถียงกัน.
    ถึงแม้จะพยายามหลีกเลี่ยงการพูดในเรื่องที่มีการถกเถียงกันอยู่ แต่บางครั้งก็อาจเผลอหยิบหยกเรื่องดังกล่าวมาพูดเข้าอยู่ดี ไม่ว่าเราหรือคู่สนทนาของเราจะเป็นฝ่ายนำเรื่องที่มีการถกเถียงกันมาพูด ก็ให้เราพยายามยุติการพูดในหัวข้อดังกล่าวลงอย่างสุภาพและระมัดระวัง[9] เราอาจพูดเช่นว่า
    • "ให้นักการเมืองถกเถียงเรื่องนี้กันต่อไปเถอะ เรามาคุยเรื่องอื่นกันดีกว่า"
    • "เรื่องนี้มันยากเกินไป เปลี่ยนไปคุยเรื่องอื่นก่อนดีกว่า แล้วเราค่อยมาคุยเรื่องนี้กันต่อคราวหน้าดีไหม"
    • "พอพูดถึงเรื่องนี้ ทำให้ฉันนึกถึง (หัวข้ออื่น)"
  11. How.com.vn ไท: Step 11 ชมเชยคู่สนทนา.
    ถ้าเห็นว่าคู่สนทนาควรได้รับคำชม เมื่อโอกาสมาถึง ให้ชมคู่สนทนา การได้รับคำชมเชยอาจก่อให้เกิดการสนทนากันขึ้นและช่วยให้คู่สนทนาของเรารู้สึกว่าเราเห็นความสำคัญของเขาและสบายใจ [10] ตัวอย่างคำชม เช่น
    • "ตุ้มหูคุณสวยดี บอกได้ไหมว่าซื้อมาจากที่ไหน"
    • "ขนมที่เธอเอามาให้กินเมื่อวานอร่อยดี เป็นขนมของร้านไหนเหรอ"
    • "ฟุตบอลเป็นกีฬาที่ใช้กำลังมาก คุณต้องแข็งแรงมากแน่ๆ ถึงเล่นได้นานขนาดนี้!"
    • เราอาจพูดถึงเจ้าภาพงานที่เราเข้าร่วม โดยเฉพาะถ้าเราและคู่สนทนารู้จักกับเจ้าภาพงาน[11]
  12. How.com.vn ไท: Step 12 ค้นหาความเหมือนและเรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากความแตกต่าง....
    ค้นหาความเหมือนและเรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากความแตกต่าง. ถ้าเราและคู่สนทนาของเรามีความสนใจและหลงใหลในเรื่องเดียวกัน ก็ถือว่าเป็นอะไรที่โชคดี แต่อย่าลืมหาโอกาสเรียนรู้และทำความคุ้นเคยกับความแตกต่างของเขาด้วย [12] จงรู้จักความเหมือนและเรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากความแตกต่าง
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเราและคู่สนทนาของเราเล่นเทนนิสด้วยกันทั้งคู่ เราอาจถามเขาว่าชอบแร็กเก็ตแบบไหน แต่ถ้าเราเล่นเทนนิสและคู่สนทนาเล่นหมากรุก เราก็อาจลองถามวิธีจัดการแข่งขันหมากรุกและความแตกต่างระหว่างการแข่งขันหมากรุกและการแข่งขันเทนนิส
  13. How.com.vn ไท: Step 13 สลับกันพูด.
    การหาหัวข้อสนทนาอย่างเหมาะสมนั้นสำคัญต่อการพูดคุย แต่การรู้ว่าจังหวะไหนควรฟังก็สำคัญ เพราะจะทำให้คู่สนทนาสนุกกับการพูดคุยกับเราด้วยเช่นกัน [13] การสลับกันพูดคุยจะช่วยทำให้ต่างฝ่ายต่างรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมและส่วนสำคัญในการสนทนา
  14. How.com.vn ไท: Step 14 สนใจเหตุการณ์ปัจจุบัน.
    ถ้าเราหมั่นติดตามเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก เราก็จะมีเรื่องราวที่น่าสนใจมากมายไว้พูดคุยกับผู้อื่น[14] ฉะนั้นหมั่นติดตามข่าวสาร วัฒนธรรมที่กำลังได้รับความนิยม ศิลปะ และกีฬา การติดตามข่าวสารและทันต่อเหตุการณ์จะทำให้เราได้หัวข้อการสนทนาที่น่าสนใจและหลากหลาย การเริ่มบทสนทนาที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันอาจเริ่มต้นด้วยหัวข้อเช่น
    • กิจกรรมที่สำคัญของชุมชนในเดือนนี้
    • งานสำคัญที่จะจัดขึ้นในจังหวัดของเรา (เช่น คอนเสิร์ต การเดินพาเหรด หรือการละเล่น)
    • หนังใหม่ หนังสือใหม่ เพลงใหม่ และรายการใหม่
    • ข่าวสำคัญ
  15. How.com.vn ไท: Step 15 แสดงความมีอารมณ์ขัน.
    ถ้าเราถนัดใส่มุขตลกและเล่าเรื่องขำขัน ให้ใช้ความสามารถนั้นมาช่วยในการหาหัวข้อในการสนทนา [15] ไม่จำเป็นต้องแสดงตลกให้ผู้อื่นขำ แต่ให้แทรกเรื่องตลกขบขันลงในการสนทนาพอสมควร
    • เรื่องตลกหรือมุขตลกที่ใช้ต้องไม่มีลักษณะไปในทางดูหมิ่นดูแคลน เสียดสี และหยาบโลน ไม่อย่างนั้นจะสร้างความไม่พอใจแก่ผู้อื่นได้
  16. How.com.vn ไท: Step 16 เป็นตัวของตัวเอง.
    อย่าแสร้งทำเป็นผู้เชี่ยวชาญในหัวข้อที่เราไม่รู้ จงซื่อสัตย์และแบ่งบันเรื่องที่เรารู้ให้ผู้อื่นฟัง อย่าบังคับให้ตนเองพูดอะไรที่เราไม่รู้จริง! [16]
    • การเป็นตัวของตัวเองทำให้เราคุยเรื่องต่างๆ ได้สนุก น่าสนใจ และน่าติดตาม ไม่ต้องพะวงว่าผู้อื่นจะคิดอย่างไรที่เราไม่รู้เรื่องที่เขาถาม จงแสดงตัวตนที่แท้จริงออกมา มีความเป็นมิตรและน่าคบหา
    • ตัวอย่างเช่น แทนที่จะทำเป็นรู้จักประเทศสเปนเป็นอย่างดี ก็อาจบอกผู้อื่นไปตรงๆ ว่า "ฉันไม่เคยเที่ยวสเปนมาก่อน เธอชอบไปเที่ยวเมืองไหนของสเปนเหรอ"
  17. How.com.vn ไท: Step 17 ไม่กลัวที่จะเสนอความคิดเห็นที่ธรรมดาและเรียบง่าย....
    ไม่กลัวที่จะเสนอความคิดเห็นที่ธรรมดาและเรียบง่าย. บางครั้งผู้คนกลัวที่จะเข้าร่วมการสนทนาเพราะกลัวว่าความคิดที่ตนเสนอไปนั้นไม่มีอะไรพิเศษ แปลกแหวกแนว หรือสร้างสรรค์พอ แต่การมีความคิดเหมือนผู้อื่นในบางครั้งไม่ใช่เรื่องน่าอาย [17]ถ้าหากเราได้ลืมเลือนความรู้บางอย่างที่เคยได้เรียนรู้ตอนเรียนหนังสือไป เช่น ประวัติบุคคลสำคัญต่างๆ ก็อย่าเคอะเขินที่จะแบ่งปันความรู้ที่มีอยู่กับผู้อื่นและเรียนรู้จากผู้ที่มีประสบการณ์มากกว่า
  18. How.com.vn ไท: Step 18 คิดถึงการสนทนากันก่อนหน้านั้น.
    ถ้าเคยพบคู่สนทนามาก่อน อาจถามคำถามที่เกี่ยวกับการสนทนาก่อนหน้านี้ได้ [18] คู่สนทนากำลังเตรียมทำงานโครงการสำคัญหรือเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาหรือเปล่า คู่สนทนาเคยพูดถึงลูกหรือคู่ชีวิตบางไหม ถ้าเราแสดงให้เห็นว่าเราตั้งใจฟังสิ่งที่เขาพูดก่อนหน้านี้ เขาก็จะเห็นว่าเราเอาใจใส่เขาและอาจเปิดใจพูดคุยกับเรามากขึ้น
  19. How.com.vn ไท: Step 19 คิดว่าพบเหตุการณ์อะไรที่สนใจบ้างไหม.
    ลองคิดถึงเหตุการณ์ที่แปลกประหลาด น่าสนใจ น่างุนงง หรือเรื่องตลกที่เกิดขึ้นกับเราไม่นานมานี้ เราเกิดไปพบเหตุการณ์ตลกๆ หรือบังเอิญไปพบอะไรแปลกๆ หรือเปล่า [19] ให้เล่าเรื่องเหล่านี้ให้คู่สนทนาฟังเพื่อเปิดการสนทนา
  20. How.com.vn ไท: Step 20 จบการสนทนาลงอย่างสุภาพ.
    ถ้าสังเกตเห็นว่าคู่สนทนาของเราเริ่มวอกแวกหรือเบื่อ ให้ออกจากการสนทนาอย่างสุภาพ อาจขอตัวไปทำธุระและบอกลาเพื่อยุติการสนทนา [20] จงระลึกไว้ว่าการสนทนาที่ดีไม่จำเป็นต้องยาว การสนทนาช่วงสั้นๆ อย่างเป็นมิตรก็เป็นการสนทนาที่ดีเช่นกัน มีตัวอย่างการจบบทสนทนาเมื่อถึงคราวต้องยุติลงดังนี้
    • "คุยกันซะเพลินเลย! ได้ยินว่าเธอต้องรีบไปทำธุระที่ธนาคารใช่ไหม ถ้าอย่างนั้นก็รีบไปเถอะ เดี๋ยวธนาคารจะปิดซะก่อน"
    • "ดีใจที่ได้คุยกับเธอเรื่อง... ไว้คราวหน้าเรามาคุยกันต่อ"
    • "ฉันเกรงว่าได้เวลาต้องไปพบ (เพื่อน/เจ้าภาพ/หัวหน้า)แล้ว ดีใจที่ได้เจอ แล้วพบกันใหม่"
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

หาทางพูดคุยในหัวข้อที่ลึกซึ้งมากขึ้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เมื่อสบายใจที่จะพูดคุยกันแล้ว ลองถามคำถามให้เจาะลึกขึ้น....
    เมื่อสบายใจที่จะพูดคุยกันแล้ว ลองถามคำถามให้เจาะลึกขึ้น. การเริ่มพูดคุยกันสั้นๆ ก่อนนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเราสามารถพูดคุยกับผู้อื่นในหัวข้อที่ลึกซึ้งกว่านี้ ก็จะยิ่งดีเข้าไปใหญ่ เมื่อคู่สนทนาสบายใจที่จะพูดคุยกับเราแล้ว ให้ลองเริ่มถามคำถามที่เจาะลึกมากขึ้นเพื่อจะได้เห็นว่าคู่สนทนาเต็มใจที่จะพูดคุยกันอย่างเปิดเผยมากขึ้นกว่านี้ไหม[21] ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังพูดคุยกันถึงเรื่องอาชีพ เราอาจถามคำถามที่เจาะลึกกว่านี้ว่า
    • "ตั้งแต่ทำงานมาอะไรคือรางวัลที่ภาคภูมิใจที่สุด"
    • "พบอุปสรรคในการทำงานบ้างไหม"
    • "คุณหวังว่าหน้าที่การทำงานของคุณจะเป็นอย่างไรในอีกสองสามปีข้างหน้า"
    • "อาชีพนี้เป็นอาชีพที่คุณใฝ่ฝันใช่ไหม หรือเคยทำอาชีพที่แปลกใหม่บ้างไหม"
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รู้ประโยชน์ของการคุยกันอย่างเปิดเผย.
    แม้แต่คนที่ชอบเก็บตัวก็ยังมีความสุขที่ได้พูดคุยกับผู้อื่น[22] โดยทั่วไปแล้วการเริ่มพูดคุยกันสั้นๆ จะทำให้ผู้คนมีความสุขและการพูดคุยกันอย่างเปิดเผยก็ยิ่งทำให้ผู้คนมีความสุขมากขึ้นไปอีก [23]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ค่อยๆ ทดสอบว่าสามารถพูดคุยในหัวข้อที่ลึกซึ้งกว่านี้ได้ไหม....
    ค่อยๆ ทดสอบว่าสามารถพูดคุยในหัวข้อที่ลึกซึ้งกว่านี้ได้ไหม. อย่าเข้าเรื่องที่เจาะลึกโดยทันที ให้ค่อยๆ เกริ่นออกมาเพื่อดูปฏิกิริยาของคู่สนทนา ถ้าคู่สนทนายินดีที่จะพูดคุยด้วย ก็ให้เราดำเนินการสนทนาต่อไป แต่ถ้าเขาแสดงท่าที่อึดอัด ก็ให้เปลี่ยนเรื่องคุยก่อนที่จะสร้างความไม่สบายใจและไม่พอใจให้เขาไปมากกว่านี้[24]ตัวอย่างคำพูดที่ทดสอบเรื่องที่ไม่ควรสนทนามีดังนี้
    • "เมื่อคืนฉันเห็นนักการเมืองโต้เถียงกันไปมา คุณคิดว่าไงบ้าง"
    • "ฉันชอบไปทำบุญที่วัดทุกอาทิตย์ แล้วคุณล่ะชอบไปวัดไหม"
    • "ฉันสนใจการเรียนการสอนแบบสองภาษามากทีเดียว ถึงแม้จะรู้ว่ายังมีประเด็นซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ก็ตาม..."
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใจกว้างรับฟังผู้อื่น.
    การพยายามบังคับผู้ฟังให้เห็นด้วยกับความคิดของเราจะทำให้เขารู้สึกไม่ดี แต่การแสดงความสนใจใคร่รู้และเคารพผู้ฟังจะก่อให้เกิดความรู้สึกที่ดี[25] ฉะนั้นอย่าสนทนาเรื่องต่างๆ เพื่อแค่ต้องการแสดงความคิดเห็นของตนเองให้ผู้อื่นรับรู้เท่านั้น แต่ให้สนทนาเพื่อจะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น จงรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ถึงแม้เราจะไม่เห็นด้วยก็ตาม
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ลองเกริ่นรายละเอียดขึ้นมาเล็กน้อย.
    การบอกเล่าชีวิตและประสบการณ์ของเราให้ละเอียดขึ้นมาเล็กน้อยก็เป็นวิธีการทดสอบว่าคู่สนทนาอยากคุยหัวข้อนั้นกับเราไหม ถ้าเขามีการตอบรับที่ดี เราก็สามารถเริ่มพูดหัวข้อนั้นต่อไปได้ แต่ถ้าไม่ ให้เปลี่ยนไปพูดหัวข้ออื่น [26]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ตอบคำถามทั่วไปด้วยคำตอบที่เจาะจง.
    ถ้าคู่สนทนาถามด้วยคำถามทั่วไป ให้ตอบเป็นเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ จากประสบการณ์ของเรา[27] การตอบแบบนี้จะช่วยให้การสนทนาดำเนินต่อไปและจูงใจให้ผู้อื่นอยากแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวกับเราบ้าง
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าคู่สนทนาถามว่าเราทำงานอะไร หลังจากตอบเขาแล้ว เราก็อาจบอกเล่าเรื่องราวแปลกๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตการทำงานของเราก็ได้
    • ถ้าคู่สนทนาถามว่างานอดิเรกของเราคืออะไร แทนที่จะบอกว่าทำงานอดิเรกอะไรบ้าง เราอาจเลือกงานอดิเรกที่น่าสนใจของเรามาเล่าให้ฟัง เช่น ถ้างานอดิเรกของเราคือการเล่นแบดมินตัน ก็อาจเล่าถึงการแข่งขันที่เราเข้าร่วมเมื่อไม่นานมานี้ก็ได้
    • ถ้าคู่สนทนาถามเราว่าหนังเรื่องล่าสุดที่ได้ดูคือเรื่องอะไร นอกจากบอกชื่อหนังไปแล้ว เราอาจบอกเล่าเหตุการณ์ตลกๆ ที่พบเจอในโรงหนังด้วยก็ได้
  7. How.com.vn ไท: Step 7 บอกเล่าเรื่องของตนเองตามความเป็นจริง.
    ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเปิดเผยเรื่องราวของตนเองอาจทำให้ผู้ชื่นชอบเรามากขึ้น[28] แต่อยากเปิดเผยมากจนเกินไป การบอกเล่าชีวิต ความคิด และความเห็นของตนเองตามความจริงจะทำให้คู่สนทนาสบายใจขึ้นที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของเขาเอง อย่าสงวนท่าทีมากเกินไปหรือไม่ยอมเปิดเผยอะไรสักอย่างเลย
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ถามเจาะลึกมากยิ่งขึ้น ถ้าคู่สนทนายินดีตอบ.
    การถามเกี่ยวกับทางเลือกทางศีลธรรม ประสบการณ์ส่วนตัว และจุดอ่อนสามารถก่อให้เกิดความใกล้ชิดสนิทสนม โดยเฉพาะระหว่างคนที่เริ่มรู้จักกันบ้างแล้ว หลังจากเกริ่นรายละเอียดขึ้นมาเล็กน้อย ถ้าคู่สนทนาดูเหมือนยอมให้พูดคุยกันแบบเจาะลึกมากกว่านี้ได้ ลองถามคำถามเรื่องส่วนตัวมากขึ้น แต่ระหว่างพูดคุยก็ต้องสังเกตความสบายใจของคู่สนทนาตลอดเวลาและถ้าเห็นว่าอีกฝ่ายมีท่าทีอึดอัด ให้เปลี่ยนไปคุยเรื่องทั่วไป ตัวอย่างคำถามที่เจาะลึกได้แก่
    • "ตอนเด็กคุณเป็นคนอย่างไร"
    • "เมื่อโตขึ้น คุณเอาใครเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต"
    • "จำวันแรกที่ไปโรงเรียนได้ไหม เป็นอย่างไร"
    • "เคยพยายามกลั้นหัวเราะเรื่องอะไรมากที่สุด"
    • "เรื่องที่น่าอับอายขายหน้าที่สุดที่คุณเคยประสบคืออะไร"
    • "ถ้าเรือกำลังจม และคุณสามารถช่วยชีวิตได้เพียงชีวิตเดียว จะเลือกช่วยชีวิตใครระหว่างชายชรา สุนัข และคนที่เพิ่งออกมาจากคุก"
    • "คุณอยากตายแบบคนที่ไม่มีใครรู้จักแต่ทำประโยชน์ให้โลกใบนี้มากมาย หรือตายอย่างวีรบุรุษชื่อก้องโลกแต่ไม่ได้ทำอะไรอย่างที่ทุกคนเชื่อว่าทำเลย"
    • "คุณกลัวอะไรมากที่สุด"
    • "คุณรู้สึกอับอายเรื่องไหนมากที่สุด"
    • "ถ้าเปลี่ยนแปลงตนเองได้สักอย่าง อยากเปลี่ยนแปลงอะไร"
    • "ชีวิตตอนนี้ของคุณแตกต่างจากที่เคยจินตนาการไว้สมัยเป็นเด็กอย่างไร"
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

แสดงทักษะการสนทนาที่ดี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สบตาคู่สนทนา.
    คนที่สบตาคู่สนทนามักจะเป็นคนหนึ่งที่ต้องการเข้าร่วมการสนทนา[29] การสบตายังช่วยให้รู้ว่าหัวข้อสนทนาที่เลือกเป็นเรื่องที่คู่สนทนาสนใจอยากพูดคุยด้วยไหม ถ้าเขาเริ่มวอกแวกหรือมองไปทางอื่น ก็ควรเปลี่ยนหัวข้อสนทนา ถามคำถามคู่สนทนา หรือขอจบการสนทนาอย่างสุภาพ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เงียบบ้างเป็นครั้งคราว.
    บางครั้งการเงียบไปบ้างก็เป็นเรื่องที่ดี ปล่อยให้ตนเองเป็นฝ่ายเงียบบ้าง โดยเฉพาะถ้าเราสนิทสนมกับคู่สนทนาแล้ว[30] ไม่จำเป็นต้องคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น บอกเล่าเรื่องราว และไต่ถามตลอดเวลา การเงียบบ้างนั้นก่อให้เกิดผลดีเช่นกัน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เว้นระยะการพูดเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่น.
    มีการเว้นระยะการพูดเพื่อให้คู่สนทนาเปลี่ยนเรื่องคุย ถามคำถาม หรือจบการสนทนาถ้าจำเป็น[31]อย่าปล่อยให้เราเป็นฝ่ายพูดอยู่คนเดียว
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อย่าเปิดเผยเรื่องส่วนตัวมากเกินไป.
    ถ้าเพิ่งรู้จักกันเป็นครั้งแรก พยายามอย่าเปิดเผยเรื่องส่วนตัวมากเกินไปจนกว่าจะรู้จักกันดีกว่านี้ การเปิดเผยเรื่องส่วนตัวมากเกินไปจะทำให้เราดูเป็นคนชอบซุบซิบนินทา ไม่รู้จักกาลเทศะ หรือน่ากลัว บอกเล่าเรื่องของตนตามความเป็นจริงและตามความเหมาะสมจนกว่าเราจะเริ่มรู้จักกันดีมากขึ้นกว่านี้ [32] เรื่องที่ไม่ควรเปิดเผยมากเกินไปได้แก่
    • สุขภาพร่างกายหรือสุขภาพทางเพศ
    • การเลิกราหรือปัญหาความสัมพันธ์
    • ความคิดเห็นทางการเมืองและศาสนา
    • เรื่องซุบซิบนินทาและเรื่องหยาบโลน
  5. How.com.vn ไท: Step 5 หลีกเลี่ยงหัวข้อที่อ่อนไหว.
    หัวข้อที่ผู้คนไม่อยากพูดกันในที่ทำงานได้แก่เรื่องรูปร่างหน้าตา สถานะความสัมพันธ์ และสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ[33] หัวข้อทางการเมืองและศาสนาก็ยังเป็นเรื่องต้องห้ามโดยขึ้นอยู่กับกาลเทศะ จงรู้ว่าหัวข้อไหนไม่ควรนำมาพูดคุยกับคู่สนทนาและพยายามพูดเรื่องสัพเพเหระและเบาสมองจนกว่าเราจะรู้ว่าคู่สนทนามีความสนใจข้อไหนเป็นพิเศษ
  6. How.com.vn ไท: Step 6 หลีกเลี่ยงการเล่าเรื่องยาวหรือการพูดคนเดียว....
    หลีกเลี่ยงการเล่าเรื่องยาวหรือการพูดคนเดียว. ถ้ามีเรื่องตลกอยากเล่าให้คู่สนทนาฟัง ให้เล่าโดยย่อหรืออาจเลือกเฉพาะเรื่องที่คิดว่าคู่สนทนาน่าจะสนใจฟัง เพราะเรื่องบางเรื่องอาจน่าสนใจสำหรับเราแต่ไม่น่าสนใจสำหรับเขา [34] แบ่งปันเรื่องราวน่าสนใจใคร่รู้นี้ (โดยย่อ) และประเมินการตอบสนองของคู่สนทนา ตอบคำถามของคู่สนทนา (ถ้าฝ่ายนั้นสนใจอยากรู้มากกว่านี้) หรือเปลี่ยนเรื่อง (ถ้าคู่สนทนาอยากพูดเรื่องอื่นมากกว่า)
  7. How.com.vn ไท: Step 7 อย่ากดดันตนเอง.
    ไม่ใช่แค่ "เรา" ฝ่ายเดียวเท่านั้นที่ทำให้บทสนทนาดำเนินไปได้ การสนทนาที่ประสบความสำเร็จต้องใช้ความร่วมมือกันทั้งสองฝ่าย ถ้าคู่สนทนาไม่สนใจที่จะพูดคุยกับเราเลย ก็ให้ไปพูดคุยกับคนอื่น อย่าดันทุรังดำเนินการสนทนาต่อไปอีก
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ตั้งใจฟังเรื่องที่คู่สนทนากำลังพูด.
    สบตาและตั้งใจฟังเรื่องที่คู่สนทนากำลังพูด อย่าวอกแวกหรือแสดงอาการเบื่อหน่าย แสดงให้เห็นว่าเราสนใจและอยากพูดคุยด้วย[35]
  9. How.com.vn ไท: Step 9 แสดงภาษากาย.
    การสนทนาจะเป็นไปอย่างราบรื่น ถ้าเรายิ้ม พยักหน้า และแสดงความสนใจด้วยภาษากาย[36] แต่อย่าเปลี่ยนท่าทางบ่อยเกินไป อย่ากอดอก มองพื้น หรือจ้องมือถือ จงสบตาและมองหน้าคู่สนทนาตรงๆ ตามสมควร
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าเห็นว่าพยายามคิดหาเรื่องพูดคุยแล้ว แต่คิดไม่ออก ให้ลองผ่อนคลายสักครู่ ยิ่งเราผ่อนคลาย สมองของเราก็จะคิดอะไรที่สร้างสรรค์ออกมาได้มากขึ้น
  • ชื่นชมผู้อื่นเพื่อทำให้บุคคลนั้นรู้สึกสบายใจมากขึ้น เช่น ชมผู้อื่นเรื่องที่เขามีรสนิยมในการเลือกดนตรีหรือเลือกหนัง ชมที่เขาแต่งกายเท่ หรือชมว่าเขายิ้มสวย
  • การมีเรื่องมาเล่าให้ผู้อื่นฟังได้นั้นแสดงว่าเราต้องเคยประสบ พบเจอ และทำเรื่องเหล่านั้นมาก่อน จงหมั่นหาประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อที่เราจะได้มีเรื่องที่น่าสนใจมาพูดคุยกับผู้อื่น
โฆษณา

คำเตือน

  • บางครั้งผู้คนก็ต้องการเวลาคิด ฉะนั้นเราไม่จำเป็นต้องพูดคุยเพื่อทำลายความเงียบทุกครั้ง
  • อย่าพูดคุยเรื่องตนเองมากเกินไปนัก เพราะเราอาจเผลอเปิดเผยเรื่อส่วนตัวที่ไม่เหมาะสมและไม่ควรให้ผู้อื่นรู้ อีกทั้งการฟังเราพูดเรื่องตนเองไปเรื่อยๆ อาจทำให้คู่สนทนาเบื่อด้วย
  • อย่าหยาบคาย
  • อย่าพูดคุยเรื่องที่หนักเกินไป! การเปลี่ยนมาคุย "เรื่องใหญ่"เร็วเกินไปจะทำให้คู่สนทนาอยากยุติการพูดคุยโดยเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราไม่รู้ว่าคู่สนทนามีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาในเรื่องนั้นหรือเปล่า การพูดคุยเรื่องสภาพอากาศ การเล่าประสบการณ์ในวันหยุดของเรา หรือเรื่องในข่าวก็สามารถทำให้เรารู้จักกันและกันมากขึ้นแล้ว ไม่จำเป็นต้องพูดเรื่องใหญ่เช่น "ฉันรู้สึกอย่างไรกับความยากจน" หรือ “การผ่าตัดรักษาไส้เลื่อนของฉัน” อย่าพูดเรื่องการเมือง (ทั้งในและต่างประเทศ) จนกว่าเราจะรู้จักคู่สนทนาดีกว่านี้
โฆษณา
  1. http://www.lifehack.org/articles/communication/hate-awkward-silences-10-essential-tips-great-conversationalist.html
  2. http://www.splendidtable.org/story/how-to-be-interesting-at-a-dinner-party
  3. http://www.lifehack.org/articles/communication/hate-awkward-silences-10-essential-tips-great-conversationalist.html
  4. http://www.lifehack.org/articles/communication/hate-awkward-silences-10-essential-tips-great-conversationalist.html
  5. http://www.lifehack.org/articles/communication/how-to-be-a-brilliant-conversationalist.html
  6. http://www.lifehack.org/articles/communication/how-to-be-a-brilliant-conversationalist.html
  7. http://www.lifehack.org/articles/communication/how-to-be-a-brilliant-conversationalist.html
  8. https://www.psychologytoday.com/blog/open-gently/201302/you-can-be-better-conversationalist
  9. https://www.psychologytoday.com/blog/open-gently/201302/you-can-be-better-conversationalist
  10. https://www.psychologytoday.com/blog/open-gently/201302/you-can-be-better-conversationalist
  11. http://www.fastcompany.com/1843752/hate-small-talk-these-5-questions-will-help-you-work-any-room
  12. http://www.lifehack.org/articles/communication/hate-awkward-silences-10-essential-tips-great-conversationalist.html
  13. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201409/7-ways-make-small-talk-work-you
  14. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201409/7-ways-make-small-talk-work-you
  15. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201409/7-ways-make-small-talk-work-you
  16. https://hbr.org/2014/06/the-neurochemistry-of-positive-conversations/
  17. http://lifehacker.com/5913355/how-can-i-turn-small-talk-into-a-conversation
  18. http://lifehacker.com/5913355/how-can-i-turn-small-talk-into-a-conversation
  19. https://labs.psych.ucsb.edu/collins/nancy/UCSB_Close_Relationships_Lab/Publications_files/Collins%20and%20Miller,%201994.pdf
  20. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201409/7-ways-make-small-talk-work-you
  21. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201409/7-ways-make-small-talk-work-you
  22. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201409/7-ways-make-small-talk-work-you
  23. https://www.psychologytoday.com/blog/fulfillment-any-age/201409/7-ways-make-small-talk-work-you
  24. http://www.metro.us/lifestyle/3-taboo-topics-to-avoid-in-the-workplace/tmWkjD---cdKGGKhIllQE/
  25. http://www.wsj.com/articles/SB10001424052702303722604579111220890756120
  26. http://www.lifehack.org/articles/communication/how-to-be-a-brilliant-conversationalist.html
  27. https://www.psychologytoday.com/blog/open-gently/201302/you-can-be-better-conversationalist

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: ทีมงานวิกิฮาว
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียนในทีมวิกิฮาว
บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา

ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 21,242 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 21,242 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา