วิธีการ รู้จักภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ถ้าสนใจอยากลองเขียนโค้ด สร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์, แอพมือถือ, เว็บไซต์, เกม หรือระบบต่างๆ ใช้เอง ขั้นแรกก็คือต้องรู้จักการเขียนโปรแกรมซะก่อน หรือก็คือรู้จักภาษาที่จะใช้เขียนโค้ดของโปรแกรม ภาษาที่ว่าจะเป็นตัวกำหนดฟังก์ชั่นต่างๆ ของโปรแกรม เวลาคุณใช้งานในคอม มือถือ หรืออุปกรณ์อื่นๆ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 6:

เลือกภาษา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 คุณสนใจด้านไหน.
    จะเริ่มเรียนรู้จากภาษาไหนก็ได้ (แต่บอกเลยว่าบางภาษาก็ "ง่าย" กว่าภาษาอื่นๆ เยอะ) เพราะงั้นให้ลองถามตัวเองดู ว่าคุณจะเรียนภาษาเขียนโปรแกรมไปเพื่ออะไร จะทำให้เลือกภาษาได้ถูกต้องและเหมาะสม เริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
    • อย่างถ้าอยากพัฒนาเว็บ ภาษาที่ใช้ก็จะต่างจากภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมโดยสิ้นเชิง หรืออย่างการเขียนแอพมือถือ ก็ต้องมีทักษะและความรู้ที่ไม่เหมือนกับการเขียนโปรแกรมคอม ถ้ารู้จุดมุ่งหมายของตัวเอง ก็จะรู้ว่าควรเริ่มต้นเรียนภาษาไหน
  2. Step 2 เริ่มจากภาษา "ง่ายๆ" ก่อน.
    ไม่ว่าสุดท้ายแล้วอยากใช้ภาษาเขียนโปรแกรมทำอะไร ก็ควรเริ่มเรียนรู้จากภาษาระดับสูงที่ง่ายๆ หน่อย จะเป็นประโยชน์มากกับมือใหม่หัดเขียนโค้ดอย่างคุณ เพราะจะได้รู้หลักการพื้นฐานและเห็นภาพกระบวนการคิด ที่เอาไปต่อยอดได้อีกในภาษาอื่นๆ [1]
    • 2 ภาษาประเภทนี้ที่ฮิตติดลมบน ก็คือภาษา Python กับ Ruby ทั้ง 2 ภาษาเป็นภาษาแบบ object-oriented web application หรือภาษาเชิงวัตถุสำหรับสร้างเว็บ โดยจะใช้ syntax ที่อ่านง่ายมาก
    • "Object-oriented" แปลว่าภาษาที่ให้ความสำคัญกับ "objects" (วัตถุ) หรือชุดข้อมูลและการปรับแต่งใช้งาน หลายภาษาเขียนโปรแกรมขั้นสูงก็ใช้หลักการนี้ เช่น C++, Java, Objective-C และ PHP
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ศึกษา tutorial หรือบทความสอนภาษาต่างๆ...
    ศึกษา tutorial หรือบทความสอนภาษาต่างๆ ที่ใช้เขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน. ถ้ายังไม่แน่ใจว่าควรเริ่มเรียนภาษาไหนก่อน ให้ศึกษาดูหลายๆ tutorial หลายๆ ภาษา ถ้ามีภาษาไหนดูจะเข้าใจง่ายหน่อย ก็ลองเรียนดูจริงๆ ถ้ามันคลิกก็ไปต่อเลย ในเน็ตมีทั้งบทความและคลิปสอนเขียนโปรแกรมเต็มไปหมด บทความวิกิฮาวของเราก็มี
    • Python - ภาษาพื้นฐานที่น่าเรียน แถมถ้าเชี่ยวชาญแล้วยังใช้ทำอะไรได้อีกเยอะ คนนิยมใช้สร้างเว็บและเกมต่างๆ
    • Java - ใช้เขียนโปรแกรมมากมายหลายแบบ ตั้งแต่เกมไปจนถึงเว็บ กระทั่งระบบ ATM
    • HTML - ถ้าอยากพัฒนาเว็บ นี่คือภาษาที่ควรเริ่มต้นและขาดไม่ได้ คุณควรศึกษาและใช้งาน HTML จนเชี่ยวชาญ แล้วค่อยขยับขยายไปเรียนรู้การสร้างเว็บด้วยภาษาอื่น
    • C - หนึ่งในภาษารุ่นเก๋า เดี๋ยวนี้ภาษา C ก็ยังทำอะไรได้เยอะอยู่ ถือเป็นรากฐานของภาษารุ่นใหม่ๆ อย่าง C++, C# และ Objective-C
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 6:

เริ่มจากโปรแกรมง่ายๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รู้จักหัวใจของภาษาเขียนโปรแกรม.
    ข้อมูลในขั้นตอนนี้บางส่วน อาจแตกต่างไปตามภาษาที่เลือกใช้ แต่โดยรวม ทุกภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมก็จะมีพื้นฐานที่ควรรู้ก่อนจะสร้างโปรแกรมดีๆ มีประโยชน์ได้ ถ้าคุณเข้าใจคำศัพท์และหลักการทำงานของภาษาจนทะลุปรุโปร่งแต่เนิ่นๆ เวลาเกิดปัญหาอะไรก็แก้ง่าย และสามารถเขียนโค้ดได้ดีมีประสิทธิภาพ ต่อไปนี้คือพื้นฐานที่สำคัญบางส่วนของภาษาเขียนโปรแกรมต่างๆ
    • Variables - ตัวแปร เป็นวิธีเก็บและอ้างถึงข้อมูลที่เปลี่ยนแปลงได้ คุณปรับแต่งตัวแปรได้ โดยแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น "integers" (จำนวนเต็ม), "characters" (ตัวอักษร) และอื่นๆ ใช้กำหนดชนิดข้อมูลที่จัดเก็บได้ เวลาเขียนโค้ด ตัวแปรจะมีชื่อให้อ่านง่ายเข้าใจง่าย ทำให้เห็นภาพว่าตัวแปรนั้นทำหน้าที่อะไรในโค้ด
    • Conditional Statements - คำสั่งกำหนดเงื่อนไข เป็นการกระทำที่จะเกิดขึ้นตามเงื่อไขถูกหรือผิด ที่พบบ่อยคือ "If-Then" statement คือ ถ้า statement นั้นเป็นจริงหรือ true (เช่น x = 5) ก็จะมีบางอย่างเกิดขึ้น หรือถ้า statement นั้นผิดหรือ false (เช่น x != 5) ที่เกิดขึ้นก็จะเป็นอย่างอื่นแทน
    • Functions หรือ Subroutines - ชื่อตรงนี้จะเปลี่ยนไปตามภาษาที่เลือกใช้ บางทีก็เป็น "Procedure", "Method" หรือ "Callable Unit" พูดง่ายๆ คือเป็นโปรแกรมเล็กๆ ในโปรแกรมที่ใหญ่กว่า ฟังก์ชั่นนี้จะถูกโปรแกรม "called" หรือเรียกหลายๆ ครั้ง โปรแกรมเมอร์เลยสร้างโปรแกรมที่ซับซ้อนได้สบายๆ
    • Data input - เป็นการทำงานที่ใช้ในแทบทุกภาษา เป็นวิธีจัดการกับ input หรือข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อนเข้ามา รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลด้วย จะรวบรวมข้อมูลนั้นยังไงขึ้นอยู่กับชนิดโปรแกรมและวิธีป้อนข้อมูลของผู้ใช้ (เช่น คีย์บอร์ด ไฟล์ และอื่นๆ) ซึ่งจะไปผูกกันกับ Output หรือวิธีแสดงผลกลับไปให้ผู้ใช้ เช่น ขึ้นในหน้าจอ หรือส่งเป็นไฟล์
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ติดตั้งโปรแกรมที่จำเป็น.
    หลายภาษาที่ใช้เขียนโค้ดคอม ต้องมี compiler ด้วย เป็นโปรแกรมสำหรับแปลโค้ดเป็นภาษาที่เครื่องอ่านเข้าใจ แต่บางภาษา เช่น Python จะมีตัวแปลภาษา (interpreter) ใช้ execute หรือเปิดโปรแกรมได้เลย ไม่ต้อง compile ก่อน
    • บางภาษาก็มี IDE (Integrated Development Environment) ซึ่งมาพร้อมกับ code editor, compiler และ/หรือ interpreter และ debugger ในตัว โปรแกรมเมอร์เลยใช้งานทุกฟังก์ชั่นที่จำเป็นได้แบบที่เดียวจบ IDE บางทีก็แสดงวัตถุแบบลำดับชั้นกับโฟลเดอร์ต่างๆ ให้เห็นเป็นภาพชัดเจนเลย
    • ในเน็ตมี code editor ให้เลือกใช้เยอะแยะไปหมด แต่ละโปรแกรมก็มีวิธีเน้น syntax และมีเครื่องมือที่เป็น developer-friendly หรือง่ายต่อการใช้งานแตกต่างกันออกไป
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 6:

สร้างโปรแกรมแรกของคุณ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หัดสร้างไปทีละฟังก์ชั่น.
    หนึ่งในโปรแกรมยอดนิยมเวลาหัดใช้ภาษาเขียนโปรแกรม ก็คือ "Hello World" เป็นโปรแกรมสุดง่าย คือแค่ใช้แสดงข้อความ "Hello, World" (หรืออื่นๆ) บนหน้าจอเท่านั้น โปรแกรมนี้ใช้สอนมือใหม่หัดเขียนโปรแกรมเรื่อง syntax สำหรับสร้างโปรแกรมง่ายๆ ที่ใช้งานได้จริง รวมถึงวิธีแสดงผลข้อมูล ถ้าเปลี่ยนข้อความดู จะรู้ว่าโปรแกรมจัดการกับข้อมูลพื้นฐานยังไง ถ้าอยากลองสร้าง "Hello World" ในภาษาไหน ก็ copy ประโยคข้างล่างไป search แล้วอ่านเพิ่มเติมในเน็ตได้เลย (ถ้าอยากได้บทความภาษาไทย ก็เปลี่ยน "in" เป็น "ในภาษา/ภาษา")
    • Hello World in Python
    • Hello World in Ruby
    • Hello World in C
    • Hello World in PHP
    • Hello World in C#
    • Hello World in Java
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เอาตัวอย่างโค้ดในเน็ตมาแยกส่วน.
    ในเน็ตมีตัวอย่างโค้ดของทุกภาษาเขียนโปรแกรมให้ได้ศึกษาเป็นพันๆ โค้ด ยังไงลองเอาตัวอย่างโค้ดพวกนี้มาแกะดูว่าตรงไหนใช้ทำอะไร ถ้าแตกต่างออกไปผลจะเป็นยังไง ลองแยกส่วนแล้วเอามาประกอบร่างเป็นโปรแกรมในแบบของคุณดู
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ศึกษา syntax.
    syntax คือโครงสร้างภาษา ต้องเขียนให้ compiler หรือ interpreter เข้าใจ แต่ละภาษาก็มี syntax เฉพาะแตกต่างกันไป แต่บาง element หรือบางส่วนของภาษาต่างๆ ก็อาจเหมือนกันได้ คุณต้องรู้จัก syntax ให้ดี ถึงจะเขียนโปรแกรมในภาษานั้นๆ ได้ เรียกว่าเป็นภาพจำเวลาที่คนนึกถึงการเขียนโปรแกรมคอมเลยทีเดียว แต่จริงๆ แล้ว syntax เป็นแค่รากฐานสำหรับต่อยอดฟังก์ชั่นอื่นๆ ที่ซับซ้อนกว่า
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ทดลองปรับเปลี่ยน.
    ลองเล่นกับโค้ดของโปรแกรมตัวอย่างแล้วทดสอบผลดู ถ้าได้ลองผิดลองถูก คุณจะรู้เลยว่าอะไรได้ผลไม่ได้ผล เร็วกว่าอ่านตำราหรือบทความเป็นไหนๆ อย่ากลัวทำโปรแกรมเจ๊ง เพราะการฝึกแก้ไข error ต่างๆ ก็สำคัญต่อการเรียนรู้ ไม่มีใครเก่งและถูกมาแต่ต้นหรอก[2]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 หัด debug โปรแกรม.
    ตอนเขียนโปรแกรม แน่นอนว่ายังไงก็ต้องเจอ bug เข้าสักวัน พวกนี้คือ error ของโปรแกรม เกิดได้ทุกที่ทุกเวลา bug มีตั้งแต่ข้อผิดพลาดนิดๆ หน่อยๆ ของโปรแกรม ไปจนถึง error หนักที่ทำให้ compile หรือเปิดโปรแกรมไม่ได้ การตามล่าหา bug แล้วแก้ไข error ต่างๆ ก็เป็นขั้นตอนสำคัญในการพัฒนาโปรแกรม เพราะงั้นทำให้ชินและชิลไว้แต่เนิ่นๆ จะดีกว่า
    • ช่วงที่ลองปรับเปลี่ยนโปรแกรมพื้นฐานดู แน่นอนว่าต้องเจอ error นู่นนี่ไม่ทำงานบ้าง ก็ต้องหาทางแก้กันไป เป็นการพัฒนาทักษะที่ถือว่าสำคัญน่าดูสำหรับโปรแกรมเมอร์
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ใส่คอมเมนท์ไว้ในโค้ด.
    แทบทุกภาษาเขียนโปรแกรม จะมีฟังก์ชั่น "comment" ให้คุณพิมพ์ข้อความเตือนความจำ ซึ่งจะไม่ถูกนำไปประมวลผลโดย interpreter หรือ compiler ให้พิมพ์คำอธิบายสั้นกระชับได้ใจความ ว่าโค้ดนี้ใช้ทำอะไร นอกจากเห็นแล้วรู้เลยว่าโค้ดนี้ใช้ทำอะไรในโปรแกรม ยังเป็นโอกาสให้ได้ฝึกใช้ collaborative environment หรือพื้นที่สำหรับประสานงานกัน คนอื่นจะได้เข้าใจด้วย ว่าโค้ดของคุณใช้ทำอะไร
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 6:

หมั่นฝึกฝน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ฝึกเขียนโค้ดทุกวัน.
    กว่าจะเชี่ยวชาญการใช้ภาษาเขียนโปรแกรมต้องใช้เวลา ขนาดภาษาง่ายๆ อย่าง Python ที่เข้าใจ syntax พื้นฐานได้ในแค่ 1-2 วัน ก็ยังต้องใช้เวลากว่าจะเชี่ยวชาญ การเขียนโค้ดก็เหมือนทักษะอื่นๆ นั่นแหละ ทางเดียวที่จะเก่งได้ ก็คือต้องฝึกฝนและศึกษาเยอะๆ ขอให้หาเวลาเขียนโค้ดให้ได้ทุกวัน แค่ชั่วโมงเดียวก็ยังดี ประมาณว่าหลังเลิกงานแต่ก่อนเวลาอาหารเย็น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เขียนโปรแกรมเพื่ออะไร.
    ถ้าคุณตั้งเป้าหมายที่ท้าทายแต่ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง ก็จะกระตือรือร้นแก้ปัญหา สร้างสรรค์หนทางใหม่ๆ เริ่มจากโปรแกรมง่ายๆ ก่อน เช่น เครื่องคิดเลข แล้วพัฒนาจนได้โปรแกรมที่ว่ามาครอง ใช้ syntax กับฟังก์ชั่นต่างๆ ที่ได้เรียนไปนั่นแหละ ลองประยุกต์ใช้ ประกอบร่างกันดูจนได้โปรแกรมที่ใช้ประโยชน์ได้จริง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และศึกษาโปรแกรมของคนอื่น....
    แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และศึกษาโปรแกรมของคนอื่น. มีหลายเว็บบอร์ดเลยที่เป็นชุมชนโปรแกรมเมอร์ของภาษาหรือแนวทางนั้นๆ โดยเฉพาะ แค่เข้าไปอ่านหรือถามตอบในเว็บบอร์ดพวกนี้ก็เหมือนได้เปิดโลกการเขียนโค้ดเลย แถมมักมีสิทธิ์เห็นตัวอย่างโค้ดและเครื่องมือใหม่ๆ ก่อนใคร เสริมการเรียนรู้ได้อีกเยอะ นอกจากนี้พอได้ศึกษาโค้ดของโปรแกรมเมอร์คนอื่นๆ อาจทำคุณเกิดแรงบันดาลใจ และเห็นจุดบกพร่องของตัวเองที่ยังต้องแก้ไขพัฒนาต่อไป[3]
    • เข้าเว็บบอร์ด ชุมชนโปรแกรมเมอร์ อ่านกระทู้ต่างๆ พยายามมีส่วนร่วมและช่วยเหลือคนอื่นเท่าที่ทำได้ อย่าเอาแต่ถามรัวๆ ให้มองว่าเป็นเหมือนพื้นที่สำหรับประสานงานและแลกเปลี่ยนความรู้กัน ไม่ใช่แค่ถามตอบอย่างเดียว ถ้าอยากสอบถาม ขอความช่วยเหลือก็ได้ไม่เป็นไร แต่ต้องกล้านำเสนอผลงาน และรับฟังคำแนะนำติชม เพื่อปรับแก้ พัฒนาตัวเองต่อไปด้วยด้วย
    • พอเริ่มปีกกล้าขาแข็ง ก็ลองเข้าร่วมงาน hack-a-thon (แข่งกันแฮกแบบมาราธอน) หรือไปแจมเขียนโปรแกรมกับคนอื่นดู มีทั้งแบบทีมและเดี่ยว เป็นโอกาสให้คุณได้แสดงฝีมือในเวลาที่กำหนด โดยเฉพาะการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้ดีมีประโยชน์ ตามธีมของแต่ละงาน ไปร่วมงานพวกนี้แต่ละทีนอกจากสนุกแล้วยังได้พบเจอเพื่อนร่วมอาชีพด้วย
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สนุกกับการท้าทายตัวเอง.
    ลองอะไรใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำ ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ให้ทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (หรือใกล้เคียง) แล้วลองประกอบร่างเข้าไปในโปรแกรมของตัวเอง อย่าหยุดแค่โปรแกรมที่ "แค่ทำงานได้" แต่ให้พัฒนาต่อไปจนได้โปรแกรมที่ทำงานได้อย่าง "ไร้ที่ติ"
    โฆษณา
ส่วน 5
ส่วน 5 ของ 6:

ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ลงเรียนเพิ่มเติม.
    หลายมหาวิทยาลัย สถาบัน กระทั่งในเน็ต มีคอร์สหรือ workshop สอนเขียนโปรแกรมโดยเฉพาะเยอะแยะ ส่วนใหญ่เป็นคอร์สสั้นๆ ไม่มีภาระผูกพัน บางที่ก็เรียนออนไลน์ได้ไม่วุ่นวาย พวกนี้แหละแหล่งฝึกวิชาชั้นดีสำหรับมือใหม่หัดเขียนโค้ด เพราะมีโปรแกรมเมอร์อาชีพคอยให้คำแนะนำติชม แถมเป็นโอกาสให้ได้ผูกสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมอาชีพด้วย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ซื้อหรือยืมตำรามาอ่าน.
    เดี๋ยวนี้มีตำราสอนเขียนโค้ดเยอะมาก ซึ่งก็แตกแยกย่อยกันไปตามภาษาที่คุณสนใจ ถึงเราจะแนะนำให้ลงมือทำจริงเป็นส่วนใหญ่ แต่ความรู้ในตำราก็เป็นข้อมูลอ้างอิงที่ดี แถมมักมีตัวอย่างโค้ดที่น่าสนใจด้วย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เรียนเลขกับตรรกะ.
    ปกติการเขียนโปรแกรมส่วนใหญ่จะใช้ความรู้คณิตศาสตร์แค่ขั้นพื้นฐาน แต่ถ้าเรียนรู้ลงลึกไปกว่านั้นก็ไม่เสียหาย จริงๆ ถือว่าสำคัญเลยถ้าอยากสร้างเกมหรือโปรแกรมจำลองสถานการณ์ที่มีระบบซับซ้อน รวมถึงโปรแกรมอื่นๆ ที่เน้น algorithm แต่ถ้าเป็นโปรแกรมไก่กาทั่วไป ก็ไม่ต้องถึงกับไปเรียนเลขเพิ่มเติม ส่วนตรรกะ โดยเฉพาะตรรกะด้านคอมพิวเตอร์ ถ้ารู้ไว้จะทำให้คุณหาวิธีแก้โจทย์ยากๆ ของโปรแกรมขั้นสูงได้ง่ายขึ้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อย่าหยุดเขียนโค้ด.
    ความเชื่อที่คุณอาจได้ยินบ่อยๆ คือ จะเป็นโปรได้ ต้องฝึกเขียนโค้ดอย่างน้อย 10,000 ชั่วโมง จะจริงหรือเปล่าไม่มีใครรู้ แต่ก็ถือว่าน่ายึดเป็นแนวทางปฏิบัติ เพราะกว่าจะเก่งได้ต้องอาศัยเวลาและแรงกายแรงใจ ไม่มีใครเก่งได้ในชั่วข้ามคืน ต้องมุ่งมั่นตั้งใจศึกษาและฝึกฝนไป สุดท้ายคุณจะเชี่ยวชาญในด้านที่สนใจเอง[4]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เรียนภาษาอื่น.
    เก่งภาษาเดียวก็ได้ แต่ถ้าเก่งหลายๆ ภาษาก็ยิ่งดี ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับโปรแกรมเมอร์ที่อยากประสบความสำเร็จ ภาษาที่ 2 และ 3 จะช่วยเสริมภาษาเขียนโปรแกรมแรกที่คุณรู้ ทำให้พัฒนาโปรแกรมที่ซับซ้อนและน่าสนใจยิ่งขึ้นได้ เพราะงั้นพอภาษาแรกทะลุปรุโปร่ง ก็ถึงเวลาเรียนภาษาต่อไปแล้ว
    • คุณอาจพบว่าเรียนภาษาที่ 2 ได้ง่ายและเร็วกว่าตอนเรียนภาษาแรก เพราะฟังก์ชั่นหรือแนวคิดหลักๆ นั้นเหมือนหรือคล้ายกัน โดยเฉพาะถ้าเป็นภาษาตระกูลใกล้เคียงกัน
    โฆษณา
ส่วน 6
ส่วน 6 ของ 6:

ประยุกต์ใช้ทักษะ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เรียนต่อด้านเขียนโค้ด.
    จริงๆ ก็ไม่จำเป็นต้องลงเรียนเต็มๆ 4 ปี แต่หลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยจะทำให้คุณได้เรียนรู้หลายภาษาพร้อมๆ กัน แถมได้เพื่อนคอเดียวกัน และรู้จักอาจารย์ที่เป็นมืออาชีพ เขียนโปรแกรมเก่งๆ อย่างไรก็ดี การลงเรียนเต็มเวลาอาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน ซึ่งก็ไม่เป็นไร เพราะโปรแกรมเมอร์เก่งๆ ส่วนใหญ่จะมาจากพรแสวงของตัวเองทั้งนั้น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทำพอร์ต.
    ระหว่างฝึกสร้างโปรแกรมและศึกษาหาความรู้ไป อย่าลืมเซฟงานเจ๋งๆ เก็บเป็นพอร์ตไว้ด้วย จะได้เอาไปใช้สมัครและสัมภาษณ์งาน บริษัทหรือนายจ้างจะได้เห็นผลงานที่ผ่านๆ มา ถ้าเป็นไปได้ควรมีทั้งงานส่วนตัวและผลงานที่เคยทำในบริษัทก่อนๆ เลย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เป็นโปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ์.
    ตอนนี้ถือเป็นยุคทองของโปรแกรมเมอร์ โดยเฉพาะนักพัฒนาแอพมือถือ ถ้ามีเวลาว่างพยายามรับงานฟรีแลนซ์บ้าง จะได้รู้ว่าลักษณะงานเป็นยังไง รายได้ดีไหม งานฟรีแลนซ์เป็นโอกาสดีให้ได้สะสมผลงานทำพอร์ต แถมได้นำเสนอผลงานเก่าที่เคยทำไว้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พัฒนา freeware หรือเขียนโปรแกรมขายเอง.
    ไม่จำเป็นต้องเป็นโปรแกรมเมอร์ประจำบริษัท เขียนเองขายเองก็ได้ ถ้ามีทักษะพอ คุณสามารถเขียนโปรแกรมแล้วปล่อยขายเองได้ ทั้งผ่านเว็บตัวเองหรือเว็บฝากขายอื่นๆ แต่ต้องยินดีช่วยเหลือให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาการใช้โปรแกรมด้วย โดยเฉพาะโปรแกรมที่เขียนขายไม่ได้แจกฟรี เพราะลูกค้าควักกระเป๋าแล้วก็คาดหวังโปรแกรมดีไม่มีที่ติแน่นอน
    • การเขียน freeware หรือโปรแกรมฟรี เป็นวิธียอดนิยมในการแชร์โปรแกรมหรือ utilities ที่มีขนาดเล็ก คนพัฒนาก็ไม่ได้ค่าตอบแทนอะไร แต่เป็นช่องทางให้ได้สร้างชื่อเป็นที่รู้จัก ได้แสดงตัวในชุมชนโปรแกรมเมอร์
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ถ้าสนใจอยากสร้างเกม ให้เรียนภาษา Python, C++ และ Java โดยเฉพาะ C++ ที่เกมจะออกมาอลังการที่สุด ถ้า Python นั้นเด่นด้านเข้าใจง่าย ส่วน Java ก็ใช้งานได้ทั้ง Windows, Mac OS และ Linux แบบไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไร
  • เรียนรู้จากโปรแกรมฟรี ลองศึกษา source code ของโปรแกรมต่างๆ ในรายชื่อโปรแกรมฟรีพวกนี้ดู อย่าลืมว่าการพัฒนาต่อยอดสะดวกกว่ามานั่งงมโข่งเองแต่แรกเยอะ แต่ต้องรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่นะ
  • เชื่อว่าโปรแกรมเมอร์ส่วนใหญ่เห็นตรงกัน ว่าสร้างโปรแกรมที่ตัวเองสนใจ หรืออำนวยความสะดวกให้ตัวเอง สนุกกว่าสร้างโปรแกรมตามตำราเยอะ ยังไงลองหาไอเดียจากในเน็ตดู
  • ตอนเริ่มหัดเขียนโปรแกรม จะเห็นผลกว่าถ้าพัฒนาแล้วติดตั้งเอง จากนั้นก็ปรับแต่งหน้าตาและคาดเดาผลลัพธ์ตามสะดวก จะเข้าใจหลักการเขียนโปรแกรมง่ายกว่า
  • ให้ใช้ interface เขียนโปรแกรมที่อัพเดททันสมัย รวมถึงเครื่องมือและข้อมูลอ้างอิงของผู้พัฒนาโปรแกรมค่ายต่างๆ
  • ข้อมูลอ้างอิงมีอยู่เต็มเน็ต ลืมอะไรไปบ้างก็ไม่ถึงกับคอขาดบาดตาย ถ้าฝึกฝนใช้งานจริงไปนานๆ เดี๋ยวก็จำได้เอง จุดสำคัญอยู่ที่รู้จักหาแหล่งข้อมูลและเครื่องทุ่นแรงดีๆ นี่แหละ
  • การสอนหรือแนะนำคนอื่นก็เป็นโอกาสให้ได้ฝึกตัวเอง นอกจากเพิ่มพูนทักษะแล้ว ยังทำให้ได้คิดพิจารณาในแง่มุมอื่นๆ ด้วย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 103 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 11,949 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 11,949 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา