ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

สัญลักษณ์ที่กำกับอยู่บนมัลติมิเตอร์อาจดูเหมือนภาษาต่างดาวสำหรับสามัญชนคนธรรมดา บางครั้ง แม้แต่ผู้มากประสบการณ์ด้านระบบไฟฟ้าก็อาจต้องขอความช่วยเหลือเมื่อพบกับมัลติมิเตอร์ที่ไม่คุ้นเคยซึ่งใช้ตัวย่อแบบแปลกๆ ข่าวดีก็คือ การแปลความหมายของค่าต่างๆ และทำความเข้าใจวิธีการอ่านสเกลเป็นสิ่งที่ไม่ต้องอาศัยเวลามากมาย คุณจึงกลับไปทำงานต่อได้โดยไม่ต้องเสียเวลา

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การอ่านค่าบนสวิตช์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ทดสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรงหรือกระแสสลับ.
    โดยทั่วไป ตัวอักษร V มักหมายถึงค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้า ในขณะที่เส้นยึกยือ หมายถึง ไฟฟ้ากระแสสลับ (พบได้ในวงจรในครัวเรือน) และเส้นตรงหรือเส้นประ หมายถึง ไฟฟ้ากระแสตรง (พบในแบตเตอรี่ส่วนใหญ่) โดยเส้นเหล่านี้อาจปรากฏอยู่ถัดจากหรือเหนือตัวอักษร[1]
    • การตั้งค่าสำหรับทดสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสสลับมักจะมีสัญลักษณ์ V~, ACV หรือ VAC กำกับไว้
    • หากต้องการทดสอบแรงเคลื่อนไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้ากระแสตรง ให้ตั้งค่ามัลติมิเตอร์เป็น V–, V---, DCV หรือ VDC
  2. How.com.vn ไท: Step 2 การตั้งค่ามัลติมิเตอร์เพื่อวัดกระแสไฟฟ้า.
    เนื่องจากกระแสไฟฟ้าที่วัดได้มีหน่วยเป็นแอมแปร์ จึงใช้ตัวอักษร A เป็นตัวย่อ โดยให้เลือกเป็นไฟฟ้ากระแสตรงหรือกระแสสลับตามวงจรไฟฟ้าที่กำลังทดสอบ แต่มัลติมิเตอร์แบบเข็มทั่วไปมักไม่สามารถใช้ทดสอบค่ากระแสไฟฟ้าได้
    • A~, ACA และ AAC เป็นสัญลักษณ์สำหรับไฟฟ้ากระแสสลับ
    • A–, A---, DCA และ ADC เป็นสัญลักษณ์สำหรับไฟฟ้ากระแสตรง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หาค่าความต้านทาน.
    ค่าความต้านทานจะมีตัวอักษรโอเมกา Ω ในภาษากรีกกำกับไว้ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่บอกค่าโอห์มหรือหน่วยที่ใช้ในการวัดความต้านทานนั่นเอง แต่มัลติมิเตอร์รุ่นเก่าๆ บางชนิดอาจจะใช้ตัวอักษร R ในการแสดงค่าความต้านทาน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 การใช้ DC+ และ DC-.
    หากมัลติมิเตอร์ของคุณมีการตั้งค่านี้ ให้เลือก DC+ ไว้เสมอเมื่อทดสอบไฟฟ้ากระแสตรง แต่ถ้ามิเตอร์ไม่แสดงค่าใดๆ และสงสัยว่าอาจจะต่อขั้วบวกขั้วลบไว้ผิดด้าน คุณก็สามารถเปลี่ยนการตั้งค่าเป็น DC- เพื่อแก้ปัญหาโดยที่ไม่ต้องปรับแต่งสายไฟ[2]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ทำความเข้าใจสัญลักษณ์อื่นๆ.
    ถ้ายังไม่แน่ใจว่าทำไมค่าแสดงแรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า หรือความต้านทานถึงต้องมีหลายๆ แบบ ให้ลองศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับช่วงการวัด (range) จากหัวข้อการแก้ไขปัญหา แต่นอกจากค่าพื้นฐานเหล่านี้แล้ว มัลติมิเตอร์ส่วนใหญ่มักจะแสดงค่าเพิ่มเติมอีก 2-3 ค่า แต่ถ้าเกิดมีเครื่องหมายกำกับค่าเดียวกันมากกว่า 1 เครื่องหมาย อาจเป็นเพราะมิเตอร์วัดค่าทั้ง 2 ค่าในเวลาเดียวกัน หรืออาจต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากคู่มือ
    • ))) หรือสัญลักษณ์ที่มีเส้นโค้งขนานกันหลายเส้นคล้ายๆ กันนี้ หมายถึง "การทดสอบความต่อเนื่อง" เมื่อทำการวัดค่านี้ มัลติมิเตอร์จะส่งเสียงบี๊บเมื่อหัวตรวจสอบ (probe) 2 หัวเชื่อมต่อเข้าด้วยกันทางไฟฟ้า[3]
    • ลูกศรชี้ขวาที่มีเครื่องหมายบวกลากผ่านลูกศร หมายถึง "การวัดไดโอด" ใช้สำหรับทดสอบว่ามีการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้าทางเดียวหรือไม่[4]
    • Hz ย่อมาจาก เฮิรตซ์ (Hertz) เป็นหน่วยสำหรับวัดค่าความถี่ในวงจรกระแสสลับ[5]
    • สัญลักษณ์ –|(– หมายถึง ค่าความจุ
  6. How.com.vn ไท: Step 6 อ่านสัญลักษณ์กำกับช่องต่อ.
    มัลติมิเตอร์ส่วนใหญ่จะมีช่องหรือรูต่อ 3 จุดด้วยกัน และบางครั้ง ช่องต่อเหล่านี้อาจจะมีสัญลักษณ์กำกับไว้ ซึ่งตรงกับสัญลักษณ์ที่เราอธิบายไปก่อนหน้านี้ โดยสามารถนำคำแนะนำต่อไปนี้ไปใช้ในกรณีที่สัญลักษณ์มีความคลุมเครือ
    • หัวตรวจสอบสีดำต้องต่อเข้ากับช่องต่อที่มีสัญลักษณ์ COM ซึ่งย่อมาจาก “common” เสมอ (เรียกได้อีกอย่างว่ากราวด์) และปลายอีกด้านของสายวัดสีดำต้องต่อเข้ากับขั้วลบเสมอ
    • เมื่อต้องการวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าหรือความต้านทาน ให้ต่อหัวตรวจสอบสีแดงเข้ากับช่องต่อที่มีค่ากระแสไฟฟ้ากำกับต่ำสุด (มักเป็น mA ที่ย่อมาจากมิลลิแอมป์)[6]
    • เมื่อต้องการวัดค่ากระแสไฟฟ้า ให้ต่อหัวตรวจสอบสีแดงเข้ากับช่องต่อที่มีข้อความกำกับว่าสามารถทนปริมาณกระแสไฟฟ้าที่คาดว่าจะวัดได้ โดยทั่วไป ช่องต่อสำหรับวงจรกระแสไฟฟ้าแรงต่ำมักมีฟิวส์ป้องกันไฟฟ้า 200mA ในขณะที่ช่องต่อสำหรับวงจรกระแสไฟฟ้าแรงสูงจะป้องกันไฟฟ้าได้ถึง 10A[7]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การอ่านผลลัพธ์จากมัลติมิเตอร์แบบเข็ม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ค้นหาสเกลที่ถูกต้องบนมัลติมิเตอร์แบบเข็ม.
    มัลติมิเตอร์แบบเข็มจะมีเข็มอยู่ด้านหลังกรอบกระจก โดยเจ้าเข็มนี้จะเคลื่อนที่ไปมาเพื่อแสดงค่าผลลัพธ์ และมักมีเส้นโค้ง 3 เส้นพิมพ์อยู่ด้านหลังเข็ม เส้นโค้งเหล่านี้ก็คือสเกล 3 รูปแบบที่ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป[8]
    • สเกล Ω ใช้สำหรับอ่านค่าความต้านทาน มักเป็นสเกลที่ใหญ่ที่สุดและอยู่ด้านบนสุด โดยมีค่า 0 (ศูนย์) อยู่ทางด้านขวา ไม่ใช่ด้านซ้ายเหมือนอย่างสเกลอื่นๆ
    • สเกล "DC" ใช้สำหรับอ่านค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรง
    • สเกล "AC" ใช้สำหรับอ่านค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับ
    • สเกล "dB" เป็นตัวเลือกที่มีการใช้งานน้อยที่สุด สามารถดูคำอธิบายสั้นๆ ได้จากส่วนท้ายของหัวข้อนี้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อ่านค่าจากสเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าตามช่วงการวัดของคุณ....
    อ่านค่าจากสเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าตามช่วงการวัดของคุณ. อย่าลืมตรวจดูสเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้ดีด้วยว่าเป็นกระแสตรงหรือกระแสสลับ โดยใต้สเกลมักจะมีตัวเลขหลายๆ แถวเรียงอยู่ ให้ดูว่าคุณได้เลือกช่วงการวัดใดไว้บนสวิตช์ (เช่น 10 โวลต์) จากนั้นจึงมองหาสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องซึ่งจะอยู่บริเวณด้านข้างของแถวเหล่านี้ โดยคุณจะต้องอ่านผลลัพธ์จากแถวนั้นๆ นั่นเอง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ประเมินค่าระหว่างตัวเลข.
    สเกลวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าบนมัลติมิเตอร์แบบเข็มจะทำงานเหมือนกับไม้บรรทัดทั่วไป แต่สเกลวัดความต้านทานจะแสดงค่าในรูปแบบลอการิทึม นั่นคือ ระยะห่างที่เท่ากันหมายถึงค่าจะเปลี่ยนแปลงไปตามจุดที่คุณอยู่บนสเกล ในขณะที่เส้นระหว่างตัวเลข 2 ตัวยังคงหมายถึงการแบ่งส่วนเท่าๆ กัน เช่น ถ้ามีเส้น 3 เส้นอยู่ระหว่างตัวเลข “50” และ “70” แสดงว่าค่าที่ได้คือ 55, 60 และ 65 แม้ว่าช่องว่างระหว่างตัวเลขจะดูไม่เท่ากันก็ตาม
  4. How.com.vn ไท: Step 4 นำค่าความต้านทานที่อ่านได้จากมัลติมิเตอร์แบบเข็มมาคูณ....
    นำค่าความต้านทานที่อ่านได้จากมัลติมิเตอร์แบบเข็มมาคูณ. ดูช่วงการวัดที่ตั้งค่าไว้บนสวิตช์มัลติมิเตอร์ เพราะเป็นตัวเลขที่เราต้องนำมาคูณกับค่าที่อ่านได้ ตัวอย่างเช่น หากตั้งค่ามัลติมิเตอร์ไว้ที่ R x 100 และเข็มชี้ไปที่ 50 โอห์ม แสดงว่าค่าความต้านทานที่แท้จริงของวงจรคือ 100 x 50 = 5,000
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสเกล dB.
    สเกล "dB" (เดซิเบล) มักเป็นสเกลที่อยู่ด้านล่างสุดและเล็กที่สุดบนมิเตอร์แบบเข็ม อีกทั้งต้องอาศัยการฝึกฝนเพิ่มเติมเล็กน้อยเพื่อให้ใช้งานได้ สเกล dB เป็นสเกลแบบลอการิทึมสำหรับวัดอัตราแรงเคลื่อนไฟฟ้า (หรือที่เรียกอีกอย่างว่าการขยายหรือการสูญเสีย)[9] สเกล dBv ตามมาตรฐานของสหรัฐกำหนดไว้ว่า 0 dbv เท่ากับ 0.775 โวลต์ ซึ่งวัดได้ที่ความต้านทานมากกว่า 600 โอห์ม แต่ก็มีสเกลอื่นๆ อย่าง dBu, dBm และ dBV (ตัว V พิมพ์ใหญ่) ที่ใช้แพร่หลายไม่แพ้กัน[10]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การแก้ไขปัญหา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กำหนดช่วงการวัด.
    โหมดพื้นฐานแต่ละโหมด (แรงเคลื่อนไฟฟ้า ความต้านทาน และกระแสไฟฟ้า) จะมีค่ามากมายให้คุณเลือก ยกเว้นในกรณีที่ใช้มัลติมิเตอร์แบบกำหนดช่วงการวัดอัตโนมัติ โดยช่วงการวัดเป็นสิ่งที่คุณจะต้องกำหนดก่อนที่จะต่อสายวัดเข้ากับวงจร โดยเริ่มจากการเดาสุ่มค่าที่อยู่ถัดขึ้นมาจากผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงที่สุด ตัวอย่างเช่น ถ้าคิดว่าค่าที่วัดได้น่าจะอยู่ที่ประมาณ 12 โวลต์ ก็ให้ตั้งค่ามิเตอร์ไว้ที่ 25 โวลต์ ไม่ใช่ 10 โวลต์ (สมมุติว่า 2 ค่านี้เป็นตัวเลือกที่ใกล้เคียงที่สุด)[11]
    • แต่ถ้าไม่รู้เลยจริงๆ ว่าจะได้ค่ากระแสไฟฟ้าเท่าไร ให้ตั้งช่วงการวัดให้สูงที่สุดไว้ก่อนในการลองครั้งแรก เพื่อป้องกันไม่ให้มิเตอร์ของเราเสียหายนั่นเอง
    • โหมดอื่นๆ มีโอกาสที่จะทำให้มิเตอร์เสียหายค่อนข้างน้อย แต่ให้ลองพิจารณาถึงการตั้งค่าความต้านทานให้ต่ำที่สุดและใช้ค่าเริ่มต้นที่ 10 โวลต์[12]
  2. Step 2 การปรับแต่งเมื่อค่าที่ได้ "อยู่นอกขอบเขตสเกล"....
    การปรับแต่งเมื่อค่าที่ได้ "อยู่นอกขอบเขตสเกล". สำหรับมิเตอร์แบบดิจิตอล สัญลักษณ์ "OL," "OVER" หรือ "overload" แสดงให้เห็นว่าคุณจะต้องเลือกช่วงการวัดให้สูงขึ้น แต่ถ้าผลลัพธ์ที่ได้ใกล้เคียงกับศูนย์มาก นั่นหมายความว่าการเลือกช่วงการวัดที่ต่ำลงจะให้ผลลัพธ์ที่แม่นยำกว่า ส่วนในมิเตอร์แบบเข็ม การที่เข็มหยุดนิ่งมักหมายความว่าต้องเลือกช่วงการวัดที่ต่ำลงมา แต่ถ้าเข็มพุ่งไปที่ค่าสูงสุดแสดงว่าต้องเลือกช่วงการวัดให้สูงขึ้น
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ปิดแหล่งจ่ายไฟก่อนลงมือวัดความต้านทาน.
    ควรปิดสวิตช์แหล่งจ่ายไฟหรือถอดแบตเตอรี่ที่จ่ายพลังงานให้กับวงจรออกเพื่อให้วัดค่าความต้านทานได้อย่างความแม่นยำ[13] เพราะมัลติมิเตอร์จะส่งกระแสไฟฟ้าออกมาเพื่อวัดความต้านทาน แต่ถ้ามีกระแสไฟฟ้าอื่นไหลเวียนอยู่ก่อนแล้ว จะทำให้ผลลัพธ์ที่ได้มีความคลาดเคลื่อนนั่นเอง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 วัดค่ากระแสไฟฟ้าตามลำดับ.
    ถ้าอยากวัดค่ากระแสไฟฟ้า คุณจะต้องสร้างวงจรหนึ่งขึ้นมา โดยต่อมัลติมิเตอร์ "ตามลำดับ" กับส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ถอดสายไฟเส้นหนึ่งออกจากขั้วแบตเตอรี่ จากนั้นจึงต่อหัวตรวจสอบหนึ่งเข้ากับสายไฟและอีกหัวเข้ากับแบตเตอรี่เพื่อปิดวงจรอีกครั้ง
  5. How.com.vn ไท: Step 5 วัดค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าในแนวขนาน.
    แรงเคลื่อนไฟฟ้าคือการเปลี่ยนแปลงของพลังงานไฟฟ้าในบางส่วนของวงจร โดยควรปิดวงจรไว้ก่อนแล้วในขณะที่ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ จากนั้นจึงติดตั้งหัวตรวจสอบทั้ง 2 หัวของมิเตอร์ไว้ในจุดที่ต่างกันไปบนวงจรเพื่อเชื่อมต่อ "ในแนวขนาน" กับวงจร ซึ่งต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดความคลาดเคลื่อน
  6. How.com.vn ไท: Step 6 สอบเทียบค่าโอห์มบนมิเตอร์แบบเข็ม.
    มิเตอร์แบบเข็มจะมีสวิตช์เสริมสำหรับปรับสเกลความต้านทาน ซึ่งมักมีเครื่องหมาย Ω กำกับอยู่ ก่อนที่จะลงมือวัดความต้านทาน ให้เชื่อมปลายหัวตรวจสอบทั้ง 2 หัวเข้าด้วยกันเสียก่อน จากนั้นให้หมุนสวิตช์จนกระทั่งสเกลโอห์มมีค่าเป็นศูนย์เพื่อทำการสอบเทียบ แล้วจึงทำการทดสอบจริง[14]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หากพื้นที่ด้านหลังเข็มมัลติมิเตอร์แบบเข็มมีกระจกติดอยู่ ให้หมุนมิเตอร์ไปทางซ้ายหรือขวาเพื่อให้เข็มปิดทับเงาของตัวเองเพื่อให้วัดค่าได้แม่นยำขึ้น
  • หากพบปัญหาในการอ่านค่าบนมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล สามารถตรวจสอบข้อมูลได้จากคู่มือ โดยทั่วไป มิเตอร์จะแสดงผลลัพธ์เป็นตัวเลขตามเริ่มต้น แต่ก็มีมิเตอร์บางชนิดที่แสดงค่าเป็นแผนภูมิแท่งหรือข้อมูลในรูปแบบอื่นๆ
  • หากเข็มบนมัลติมิเตอร์แบบเข็มชี้ต่ำกว่าเลขศูนย์ (แม้เลือกช่วงการวัดต่ำสุดไว้ก็ตาม) แสดงว่าขั้วต่อ "+" และ "-" น่าจะมีการเคลื่อนถอยหลัง ให้ลองสับเปลี่ยนขั้วต่อและอ่านค่าใหม่อีกครั้ง
  • ในขณะที่วัดแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับ ค่าที่วัดได้จะมีความผันผวนในช่วงเริ่มต้น แต่จะให้ค่าที่คงที่และแม่นยำในที่สุด[15]
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าไม่เลือกช่วงการวัดให้สูงกว่าผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้จากวงจรหรือแบตเตอรี่ การอ่านค่าอาจทำให้มัลติมิเตอร์เกิดความเสียหาย โดยมัลติมิเตอร์แบบเข็มมักทนทานน้อยกว่ามัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล และมัลติมิเตอร์ดิจิตอลแบบกำหนดช่วงการวัดอัตโนมัติจะแข็งแรงที่สุด
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 17 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 207,488 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 207,488 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา