ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การออกไปพบปะเพื่อนใหม่จะช่วยเพิ่มคุณค่าและสร้างสีสันให้แก่ชีวิตของเรา การรวบรวมความกล้าเพื่อให้สามารถเข้าไปพูดคุยกับผู้อื่นได้นั้นอาจทำได้ยากในตอนแรก แต่พอได้เริ่มทำความรู้จักคุ้นเคยกับคู่สนทนามากขึ้น เราก็จะเห็นว่าการเข้าไปพูดคุยกับผู้อื่นนั้นไม่ยากอย่างที่คิด

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

เริ่มบทสนทนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พูดคุยกับคนที่ไม่เคยพบหน้ากันมาก่อน.
    บางครั้งส่วนที่ยากที่สุดในการพูดคุยกับผู้อื่นคือการไม่รู้ว่าจะเริ่มบทสนทนาอย่างไร เราอาจยิ่งประหม่าหนัก ถ้าคนที่ตนเองคุยด้วยเป็นคนที่ไม่เคยพบหน้ากันมาก่อน เวลาเริ่มบทสนทนากับคนที่ไม่เคยพบหน้ากันมาก่อน พยายามค้นหาสิ่งที่เราและคู่สนทนามีเหมือนกัน[1]
    • ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังต่อแถวซื้อเครื่องดื่มที่ร้านกาแฟร้านหนึ่งและเราไม่เคยอุดหนุนร้านนี้มาก่อน เราอาจเริ่มบทสนทนากับบุคคลที่อยู่ข้างหน้าเราว่า "ร้านนี้มีเครื่องดื่มอะไรที่เป็นของเฉพาะของทางร้านเหรอคะ พอดีฉันไม่เคยลองซื้อเครื่องดื่มจากร้านนี้มาก่อน"
    • เราอาจแสดงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในตอนนั้นก็ได้ สมมติว่าอากาศวันนั้นดีมาก เราก็อาจเริ่มบทสนทนาว่า "อากาศดีนะ คุณว่าไหม" ถ้าคนคนนั้นโต้ตอบเราด้วยน้ำเสียงที่เป็นมิตร เราก็สามารถที่จะเริ่มการสนทนากับเขาต่อไปได้
    • การเริ่มบทสนทนาอีกแบบหนึ่งคือการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบุคคลที่เราต้องการจะพูดคุยด้วย สมมติว่าเราเห็นเขาถือกระเป๋าใบหนึ่งมาและเห็นว่ากระเป๋าใบนั้นสวยดี เราก็อาจเริ่มบทสนทนาว่า "กระเป๋าคุณสวยจังเลย"
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เลือกเข้าหาคนที่พร้อมจะพูดคุยกับเรา.
    อย่าเลือกเข้าไปพูดคุยกับคนที่กำลังยุ่งอยู่ ให้เลือกสนทนากับคนที่พร้อมจะพูดคุยกับเราและมีท่าทีเป็นมิตร ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังยืนต่อแถวและมีใครสักคนสบตาเรา ให้ยิ้มตอบเขาและเปิดบทสนทนาด้วยการถามคำถาม อย่าเริ่มบทสนทนากับคนที่พูดคุยกับคนอื่นอยู่หรือคนที่กำลังง่วนอยู่กับการทำธุระ งาน หรือหน้าที่อย่างแข็งขัน[2]
    • ในงานเลี้ยงบริเวณที่เหมาะจะเริ่มบทสนทนามากที่สุดคือบริเวณใกล้โต๊ะอาหารหรือบาร์เครื่องดื่ม เราสามารถเปิดบทสนทนาได้อย่างเป็นธรรมชาติในบริเวณเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น เราเห็นอาหารจานหนึ่งน่ากินมาก แต่เราไม่เคยกินเมนูนี้มาก่อนและสงสัยว่ามันคืออะไร เราอาจเริ่มบทสนทนากับคนที่ตักอาหารอยู่ข้างๆ เราว่า "ฉันไม่เคยกินเมนูนี้มาก่อน มันเรียกว่าอะไรเหรอคะ" หรือเราต้องการเปิดขวดไวน์ แต่ไม่รู้ว่าที่เปิดขวดไวน์แบบใหม่นี้ใช้ยังไง เราอาจเริ่มบทสนทนากับคนที่ยืนอยู่ข้างๆ ว่า "ที่เปิดขวดไวน์อันนี้ใช้ยังไงเหรอคะ"
    • ถ้าไม่ถนัดเดินเข้าไปพูดคุยกับผู้คนภายในงานเลี้ยง ลองมุ่งตรงไปที่ห้องครัว ห้องครัวเป็นจุดที่ผู้คนมารวมตัวกันและเราสามารถเข้าไปช่วยผู้อื่นผสมเครื่องดื่มหรือจัดเตรียมของว่างได้
    • เมื่อต้องการเริ่มบทสนทนากับเพื่อนร่วมงาน เราก็ต้องดูก่อนว่าเขาพร้อมหรือสะดวกที่จะพูดคุยกับเราหรือไม่ ถ้าไม่ ให้รอจนกว่าเขาจะว่างและพร้อมจริงๆ เวลาอาหารกลางวันเป็นเวลาซึ่งเหมาะสมที่จะเริ่มบทสนทนากับเพื่อนร่วมงาน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เข้าหาคนที่ตนเองรู้จัก.
    เราอาจอยากคุยกับคนที่เคยเจอกันมาก่อน แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มบทสนทนาอย่างไร เราอาจเริ่มบทสนทนาด้วยการถามเรื่องเกี่ยวกับตัวของเขาก็ได้ การถามเป็นการเริ่มบทสนทนาที่ดีวิธีหนึ่ง[3]
    • ถ้าต้องการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานระหว่างรับประทานอาหารกลางวันด้วยกัน เราอาจเริ่มบทสนทนาด้วยการถามเรื่องเกี่ยวกับตัวของเขา เราอาจถามเพื่อนว่า "ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ได้ออกไปทำกิจกรรมอะไรบ้าง ออกไปเที่ยวที่ไหนบ้างไหม"
    • เราอาจอยากทำความรู้จักกับเพื่อนบ้านคนใหม่ เมื่อเห็นเพื่อนบ้านออกมารับจดหมายหรือพัสดุ อาจทักทายไปว่า "เป็นยังไงบ้างคะ คุ้นชินกับที่นี่บ้างหรือยัง ถ้าอยากรู้ว่าร้านอาหารอร่อยๆ แถวนี้มีที่ไหนบ้าง ถามฉันได้นะ"
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เปิดบทสนทนาอย่างเรียบง่าย.
    เราไม่จำเป็นต้องเปิดบทสนทนาด้วยถ้อยคำที่หรูหรา เราอาจเริ่มบทสนทนาด้วยการทักทายอย่างเรียบง่ายว่า "ไง" หรือ "เป็นไงบ้าง" อีกฝ่ายมักจะเริ่มพูดคุยกับเราหลังจากที่ทักทายไปและพยายามดำเนินบทสนทนาไปเรื่อยๆ[4]
    • เราอาจพูดถึงตนเองก็ได้ ตัวอย่างเช่น หลังจากปั่นจักรยานออกกำลังกายอย่างหนักแล้ว เราอาจเอ่ยกับคนที่ออกกำลังกายอยู่ข้างเราว่า "ฉันรู้สึกปวดเมื่อยตัวไปหมดเลย"
    • เริ่มบทสนทนาอย่างเรียบง่ายและให้ผู้อื่นได้มีส่วนช่วยเริ่มบทสนทนาด้วย จะได้ลดความกดดันของตนเองในการหาเรื่องพูดคุยที่เหมาะสม
  5. How.com.vn ไท: Step 5 อย่าเปิดเผยเรื่องส่วนตัวมากเกินไป.
    เมื่อพยายามเริ่มบทสนทนา เราต้องไม่ทำให้คู่สนทนารู้สึกอึดอัด ผู้คนมากมายมักจะพูดพล่ามหรือพูดจ้อไปเรื่อยเมื่อสนทนากันเล็กๆ น้อยๆ ถ้าเราเป็นแบบนั้น ก็อาจเผลอเปิดเผยเรื่องส่วนตัวมากเกินไปได้[5]
    • ถ้าเราไม่ได้พูดคุยเป็นการส่วนตัวกับคนที่ตนเองรู้จักเป็นอย่างดี อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวในเรื่องที่ละเอียดอ่อน ตัวอย่างเช่น อย่าเริ่มบทสนทนาด้วยการบอกผลตรวจสอบของแผนกนรีเวชเมื่อไม่นานมานี้ให้คนทั่วไปรู้
    • โดยปกติผู้คนจะรู้สึกอึดอัดเมื่อเราเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้รู้ พนักงานคิดเงินที่ร้านสะดวกซื้อคงไม่อยากรู้ว่าลูกสาววัยรุ่นของเราเรียนไม่เก่ง ฉะนั้นเมื่อกำลังเริ่มต้นบทสนทนา อย่าพูดเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน
  6. How.com.vn ไท: Step 6 รู้ว่าเมื่อไรควรเงียบ.
    บางครั้งความเงียบก็ทำให้รู้สึกอึดอัด เราจึงมักจะอยากพูดคุยกับผู้อื่นเพื่อคลายบรรยากาศอันเงียบเชียบนี้ อย่างไรก็ตามก็มีช่วงเวลาที่เราควรเงียบไว้จะดีกว่าเช่นกัน[6]
    • ถ้าเรารู้สึกเบื่อระหว่างที่นั่งเครื่องบินนานๆ เราอาจต้องการแก้เบื่อด้วยการนั่งคุยกับคนที่นั่งอยู่ข้างๆ แต่ถ้าคนคนนั้นแสดงท่าทีบางอย่างที่บ่งบอกว่าไม่พร้อมจะคุยด้วย หาอย่างอื่นทำแก้เบื่อจะดีกว่า
    • ถ้าคนที่ตนเองอยากคุยด้วยหลีกเลี่ยงการสบตา แสดงว่าคนคนนั้นไม่อยากคุยกับเรา ถ้าเห็นว่าเขากำลังอ่านหนังสือ ดูหนัง หรือฟังเพลงอยู่ แสดงว่าคนคนนั้นต้องการอยู่เงียบๆ
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

ดำเนินบทสนทนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ถามคำถาม.
    พอเริ่มบทสนทนาแล้ว เราสามารถทำให้บทสนทนาดำเนินต่อไปได้หลายวิธี การถามคำถามก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้บทสนทนาดำเนินต่อไปได้ เราอาจลองถามหาข้อมูลหรือคำแนะนำบางอย่างที่ตนเองต้องการจากผู้อืนก็ได้[7]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังรอรับลูกอยู่ที่โรงเรียนและรู้มาว่าพรุ่งนี้โรงเรียนจะเลิกเร็วกว่าปกติ แต่เราไม่รู้ว่าโรงเรียนจะเลิกกี่โมง เราอาจถามผู้ปกครองที่มารอรับลูกเหมือนกันว่า "ช่วยบอกได้ไหมครับว่าพรุ่งนี้โรงเรียนจะเลิกกี่โมง"
    • เราอาจขอคำแนะนำเรื่องใดเรื่องหนึ่งจากเพื่อนร่วมงานก็ได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าเพื่อนของเราสามารถใช้ Powerpoints นำเสนองานได้อย่างดีเยี่ยม เราอาจขอคำแนะนำจากเพื่อนของเราโดยพูดอย่างเช่นว่า "ช่วยบอกเคล็ดลับในการนำเสนองานหน่อยได้ไหม"
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ถามคำถามแบบปลายเปิด.
    การถามคำถามเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้การสนทนาดำเนินไปได้ ยิ่งเป็นการถามคำถามแบบปลายเปิดด้วยแล้ว บทสนทนาก็จะยิ่งดำเนินไปได้อย่างราบรื่น ถามคำถามที่ต้องการคำตอบมากกว่าใช่หรือไม่[8]
    • ตัวอย่างเช่น เพื่อนของเราไปเที่ยวเมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา ประเทศอเมริกามา แทนที่จะถามว่า "ไปเที่ยวฟีนิกซ์มาเหรอ?" ให้ถามว่า "เธอบอกว่าจะไปเที่ยวนี่นา ช่วงวันหยุดยาวนี้เธอไปเที่ยวที่ไหนมาบ้างล่ะ" เราจะได้รู้รายละเอียดเพิ่มเติม
    • ถามคำถามต่อหลังจากฟังคำตอบแรกจบแล้ว ถ้าเพื่อนตอบเราว่า "เราไปตีกอลฟ์กันตลอดช่วงวันหยุดยาว" เราก็อาจถามต่อว่า "โอ้โห ไปตีกอฟล์กันเหรอ ดูน่าสนุกจัง ฉันอยากฝึกตีกอล์ฟบ้าง เธอจะช่วยแนะนำโรงเรียนสอนตีกอลฟ์ดีๆ ให้ได้บ้างไหม "
    • เราอาจถามคำถามแบบปลายเปิดหลังจากแสดงความคิดเห็นของตนเองก็ได้ ตัวอย่างเช่น เราเห็นชุดเดรสของเพื่อนสวยมากและเราชอบชุดที่เขาใส่จริงๆ ก็อาจพูดว่า "ชุดเดรสนี้ของเธอสวยมากเลยนะ ซื้อมาจากร้านไหนเหรอจ๊ะ"
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พูดคุยในเรื่องที่ตนเองสนใจจริงๆ.
    พยายามพูดคุยในเรื่องที่ตนเองสนใจจริงๆ เพราะถ้าเราแกล้งทำเป็นพูดคุยในเรื่องที่ตนเองไม่สนใจเลยสักนิด การสนทนาก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่นแน่นอน[9]
    • เลือกเริ่มบทสนทนากับคนที่สนใจในเรื่องเดียวกันกับเรา ตัวอย่างเช่น สมมติว่าเราอยู่ที่งานเลี้ยงสังสรรค์งานหนึ่ง เราสนใจเรื่องจักรยานมากและได้ยินว่าไมค์เพื่อนของเราซึ่งมีความสนใจในเรื่องเดียวกันซื้อจักรยานคันใหม่ เราอาจเริ่มต้นบทสนทนาว่า "ไมค์ ได้ข่าวว่านายซื้อจักรยานคันใหม่เหรอ นายซื้อจักรยานยีห้ออะไรและรุ่นไหนเหรอ พอบอกฉันได้ไหม"
    • ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง สมมติว่าเรามีลูกสาวเป็นนักฟุตบอลเยาวชน ระหว่างดูลูกสาวแข่งขันอยู่เราอาจเริ่มบทสนทนากับผู้ปกครองที่มีลูกสาวเป็นนักฟุตบอลเยาวชนเหมือนกัน เราอาจเริ่มด้วยการพูดถึงผลการฝึกของลูกสาวว่า "ฉันรู้สึกว่าผลการฝึกเพิ่มเติมของลูกสาวตามคำแนะนำของโค้ชเแป้งออกมาดีทีเดียว แล้วผลการฝึกของลูกสาวคุณล่ะคะเป็นอย่างไรบ้าง"
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อย่าทำให้คู่สนทนารู้สึกอึดอัด.
    หลังจากพูดคุยกับผู้อื่นไปสักพัก เราอาจรู้สึกสบายใจมากขึ้นที่บทสนทนาดำเนินไปเรื่อยๆ แต่เราก็ต้องพยายามทำให้บทสนทนาดำเนินต่อไปอย่างราบรื่น คุณสมบัติอย่างหนึ่งของการเป็นนักสนทนาที่ดีคือการรู้ว่าควรพูดอย่างไรผู้อื่นถึงจะไม่รู้สึกอึดอัด[10]
    • เราอาจได้ยินภาษิตเก่าๆ ว่าไม่ควรพูดเรื่องการเมืองหรือศาสนาในวงสังคม เราควรทำตามภาษิตนี้เมื่อสนทนากับกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย
    • อย่าทำให้คู่สนทนารู้สึกเบื่อ ตัวอย่างเช่น ถึงแม้เราจะชอบเรียลลิตีโชว์รายการหนึ่งหรืออยากบอกเรื่องสุขภาพของแมวที่เลี้ยงไว้มากแค่ไหน แต่เราไม่ควรเอาแต่พูดเรื่องของตัวเองอยู่ฝ่ายเดียว ให้ผู้อื่นได้มีโอกาสพูดเรื่องของเขาบ้าง
    • พูดคุยในเรื่องที่เหมาะสม โดยส่วนใหญ่แล้วการพูดคุยกันเล็กๆ น้อยๆ ควรจะเป็นอะไรที่ทำให้มีความสุข อย่างไรเสียเราก็กำลังพยายามทำให้คู่สนทนาชอบเรา และโดยปกติเราต่างก็ถูกดูดเข้าหาคนที่คิดบวกอยู่แล้ว เมื่อไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี พยายามหาเรื่องดีๆ พูดคุยกับผู้อื่น[11]
    • ตัวอย่างเช่น เมื่อเราและคู่สนทนาเห็นดอกไม้ที่สวยงามบานหลังจากที่ฝนตกมาหลายวัน เราอาจพูดว่า "โอ้โห ดูสิ! หลังจากฝนตกหนักเมื่อไม่นานมานี้ ในที่สุดเราก็ได้เห็นดอกไม้สวยๆ บานเสียที!"
    • เราอาจพูดแสดงความเห็นใจเมื่อคู่สนทนาเจอสถานการณ์ที่ยากลำบาก แต่กล่าวถึงด้านดีของสถานการณ์นั้นด้วย สมมติว่าเราและเพื่อนต่างต้องอยู่ทำงานจนดึกดื่น และเรารู้จักร้านอาหารอร่อยๆ ทีเปิดในช่วงดึก ฉะนั้นเราอาจพูดกับเพื่อนว่า "แย่จังที่เราต้องอยู่ทำงานจนดึกดื่น แต่สุดท้ายงานก็เสร็จนะ ฉันรู้จักร้านอาหารอร่อยๆ สำหรับคนนอนดึก ไปกินฉลองที่งานเสร็จกันเถอะ"
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เปลี่ยนเรื่องสนทนา.
    พอบทสนทนาดำเนินไปเกินสองสามนาทีเราก็อาจพูดจบไปมากกว่าหนึ่งเรื่องแล้ว เราต้องเตรียมเปลี่ยนไปสนทนาเรืองใหม่ หากเรื่องที่ตนเองใช้เริ่มบทสนทนากำลังจะจบลงหรือไม่มีอะไรให้พูดถึงอีก เราสามารถเปลี่ยนมาพูดถึงเหตุการณ์ปัจจุบันและสิ่งที่อยู่ในกระแสนิยมได้ สองเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เราสามารถนำมาพูดถึงได้เสมอ[12]
    • ตัวอย่างเช่น เราได้ฟังข่าวเรื่องภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปีนี้ เราก็นำมาสนทนากับผู้อื่นอย่างเช่นว่า "นายเห็นรายชื่อภาพยนตร์ที่เข้าชิงรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมหรือยัง ฉันชอบเรื่องคนข่าวคลั่งมากเลย"
    • เตรียมที่จะเปลี่ยนไปพูดเรื่องใหม่ ตัวอย่างเช่น ถ้าคู่สนทนาพูดถึงเรื่องการท่องเที่ยวต่างประเทศและพอถึงคราวที่ตนเองพูดบ้าง เรานึกขึ้นได้ว่าตนเองเคยไปเที่ยวกรีซ เราก็นำเรื่องนี้มาใช้ในการเปลี่ยนเรื่องสนทนาว่า "พอพูดถึงเรื่องการไปเที่ยวต่างประเทศ ฉันนึกถึงตอนที่ตนเองได้ไปเที่ยวกรีซ เธอเคยไปเที่ยวกรีซไหม" การเปลี่ยนเรื่องสนทนาตามความเหมาะสมจะช่วยให้การสนทนาดำเนินต่อไปอย่างเป็นธรรมชาติ
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ชักชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมวงสนทนา.
    ยิ่งมีคนมาร่วมวงสนทนามากเท่าไหร่ ความกดดันของเราก็จะยิ่งลดลง ชักชวนผู้อื่นให้ร่วมวงสนทนากับเรา ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังกินข้าวที่โรงอาหารและเห็นว่าเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งที่ชื่อลักษณ์กำลังหาที่นั่งกินข้าวอยู่ อาจชักชวนเขาให้มานั่งกินข้าวกับเราด้วยการพูดว่า "ลักษณ์มานั่งกินข้าวกับพวกเราไหม"[13]
    • ในงานสังคมเราสามารถชักชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมวงสนทนาได้ เราอาจกำลังพูดคุยเล็กๆ น้อยๆ กับคนรู้จักที่งานเลี้ยงแบบค็อกเทล ถ้าเราพบใครที่ยืนอยู่เพียงลำพัง ให้ชักชวนเขามาร่วมวงสนทนาด้วย ถ้าเรากำลังกินกุ้งอยู่และมันอร่อยมาก เราอาจพูดเพื่อชวนคุยว่า "โอ้โห กุ้งนี่อร่อยเหาะ คุณได้ลองกินมันแล้วหรือยัง"
    • การชักชวนผู้อื่นให้เข้าร่วมวงสนทนาไม่เพียงสุภาพเท่านั้น แต่ยังช่วยให้บทสนทนาดำเนินต่อไปได้ ยิ่งมีคนร่วมวงสนทนามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีเรื่องพูดคุยกันมากขึ้นเท่านั้น
  7. How.com.vn ไท: Step 7 เป็นผู้ฟังที่ดี.
    การฟังสำคัญพอๆ กับการพูด ถ้าอยากเป็นนักสนทนาที่ดี เราก็ต้องเป็นนักฟังที่ดี เราต้องตั้งใจฟังและสนใจสิ่งที่คู่สนทนาพูด เราสามารถบอกให้คู่สนทนารับรู้ว่าเรากำลังฟังและสนใจเรื่องของเขาอยู่[14]
    • เมื่อฟังสิ่งที่คู่สนทนาพูด พยายามแสดงความคิดเห็นที่เป็นกลาง เช่น "เรื่องนี้น่าสนใจ" ถ้าอยากให้คู่สนทนาเล่าเรื่องที่น่าสนใจเรื่องนั้นต่อไป อาจพูดว่า "เล่าต่อเถอะค่ะ ฉันอยากฟัง"
    • เราอาจใช้วิธีพูดทวนข้อมูลที่ได้ยินมาเพื่อแสดงให้เห็นว่าตนเองตั้งใจฟังเรื่องที่คู่สนทนาพูด ตัวอย่างเช่น เมื่อได้ยินว่าเพื่อนของเราไปเที่ยวประเทศในยุโรปครบทุกประเทศแล้วและรู้สึกทึ่ง อาจพูดไปว่า "โอ้โห! เธอไปเที่ยวประเทศในยุโรปครบแล้วเหรอเนี่ย ยอดไปเลย"
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ใช้ภาษากายแสดงความสนใจคู่สนทนา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ยิ้ม.
    เมื่อเราสนทนากับผู้อื่น ภาษากายอาจสำคัญพอๆ กับถ้อยคำที่ใช้ การยิ้มให้คู่สนทนาเป็นวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิผลมากที่สุดวิธีหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เราต้องติดต่อพูดคุยกับคนที่ตนเองยังไม่รู้จักดีพอ[15]
    • ตัวอย่างเช่น หากเราเลี้ยงสุนัขไว้ตัวหนึ่ง วันหนึ่งเราพาสุนัขไปเดินเล่นที่สวนสุนัข มีเจ้าของคนหนึ่งพาสุนัขมาเดินเล่นเช่นกัน เราสังเกตเห็นว่าสุนัขของเราเล่นกับสุนัขตัวนั้นได้เป็นอย่างดี ยิ้มกว้างให้กับเจ้าของสุนัขตัวนั้น จะทำให้เราดูเป็นมิตรและเข้าถึงได้ง่าย
    • การยิ้มยังแสดงให้ผู้อื่นรู้ว่าเราพร้อมที่จะรับฟังด้วย ถ้าเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งแวะมาที่โต๊ะทำงานของเราเพื่อเล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง ยิ้มให้เพื่อนร่วมงานคนนั้นเพื่อแสดงให้เขารู้ว่าเราพร้อมรับฟังเรื่องของเขา
  2. How.com.vn ไท: Step 2 สบตาคู่สนทนา.
    ขณะที่พูดคุยกับผู้อื่นอยู่ เราต้องสบตาคู่สนทนาด้วย เพราะเป็นการแสดงให้เห็นว่าเราสนใจที่จะสนทนากับเขา การสบตาคู่สนทนายังเป็นการบอกว่าเรากำลังฟังเขาอยู่และเคารพสิ่งที่เขาพูด[16]
    • การสบตาคู่สนทนายังช่วยประเมินปฏิกิริยาของอีกฝ่ายด้วย ดวงตาจะสะท้อนอารมณ์ต่างๆ ของคน เช่น เบื่อ โกรธ ชอบ เป็นต้น
    • อย่าจ้องหน้าคู่สนทนาตลอดเวลา เราไม่จำเป็นต้องจ้องตาของอีกฝ่ายตลอดเวลา เราสามารถเปลี่ยนมามองบรรยากาศรอบตัวได้เช่นกัน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พยักหน้า.
    การพยักหน้าเฉยๆ เป็นวิธีสื่อสารแบบไม่ใช้คำพูดที่มีประสิทธิผลมากที่สุดวิธีหนึ่ง การพยักหน้าอาจแสดงความหมายได้หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น การพยักหน้าเป็นการแสดงให้ผู้อื่นเห็นว่าเราเข้าใจสิ่งที่เขาพูด[17]
    • การพยักหน้ายังเป็นการแสดงให้เห็นว่าเราเห็นด้วย รวมทั้งยังเป็นการแสดงว่าเราสนับสนุนสิ่งที่เขาพูด
    • อย่าพยักหน้าบ่อยมากเกินไป อย่าพยักหน้าอยู่เรื่อยๆ เพราะจะทำให้เราดูไม่จริงจัง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เสริมสร้างความมั่นใจในการสนทนา.
    โดยปกติภาษากายจะสะท้อนให้เห็นถึงความกล้าหรือความวิตกกังวล เราอาจประเหม่าเวลาต้องพูดคุยกับผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราเป็นคนขี้อาย วิธีเพิ่มความมั่นใจในการสนทนาคือการเตรียมตัวให้พร้อมรับสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น ถ้ารู้ว่าต้องไปพบปะผู้คนที่ไม่เคยรู้จักในงานเลี้ยงสังสรรค์ เราควรเตรียมเรื่องที่จะใช้ในการพูดคุยสนทนาให้พร้อม[18]
    • ถ้าเราจะต้องไปงานเลี้ยงวันเกิดและเจ้าของงานวันเกิดรวมทั้งผู้มาเข้าร่วมงานส่วนใหญ่เป็นคนจากชมรมโบว์ลิ่งทั้งนั้น เราอาจเตรียมเรื่องราวสนุกๆ ที่เกิดขึ้นตอนที่เราเข้าแข่งขันโบว์ลิ่งสองครั้งมาเล่าให้คู่สนทนาฟังก็ได้
    • ฝึกสนทนากับผู้อื่น ฝึกตนเองให้พูดคุยกับคนที่ไม่รู้จักทุกวัน คู่สนทนาอาจเป็นคนที่เราพบตามสถานที่ต่างๆ หรือเพื่อนร่วมโรงเรียนเดียวกัน ฝึกเริ่มและดำเนินบทสนทนาทุกวัน
    • ความมั่นใจเป็นกุญแจสำคัญในการเข้าหาคนที่ตนเองชอบ พอเราพบวิธีการเปิดบทสนทนาที่สามารถนำมาใช้ได้ผล ลองใช้วิธีนั้นเปิดบทสนทนากับคนที่เราชอบดู
    • ตัวอย่างเช่น เราได้ยินเพลงประกอบการปั่นจักรยานออกกำลังกายแล้วรู้สึกชอบ เราอาจเริ่มบทสนทนากับคนที่มาออกกำลังกายด้วยกันว่า "เพลงตอนปั่นจักรยานออกกำลังกายสนุกมากจนอยากเต้นเลย คุณรู้ไหมว่าจะหาฟังเพลงนี้ได้จากที่ไหนบ้าง" อย่าลืมยิ้มและสบตาคู่สนทนาด้วย
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • จดจำบทพูดสำหรับเริ่มการสนทนาไว้ในใจ จะได้นำไปใช้ได้ทันที
  • อย่ากลัว หากพบเจอสถานการณ์ที่ต่างออกไป การพยายามลองทำสิ่งใหม่ๆ จะช่วยให้เราพบเพื่อนใหม่และฝึกทักษะการสนทนา
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Cristina Morara
ร่วมเขียน โดย:
โค้ชด้านการสื่อสาร
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Cristina Morara. คริสตินา โมราร่า เป็นผู้ให้บริการหาคู่มืออาชีพ โค้ชด้านการเดท ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ และผู้ก่อตั้ง Stellar Hitch Private Matchmaking เป็นบริการจัดหาคู่ที่หรูหราในลอสแองเจลิส ซึ่งให้บริการลูกค้าทั่วประเทศและต่างประเทศ ในฐานะอดีตผู้อำนวยการคัดเลือกนักแสดง คริสตินาเชี่ยวชาญในการหาคู่ที่สมบูรณ์แบบผ่านเครือข่ายทั่วโลกที่พิเศษสุดของเธอและการหาอย่างใส่ใจรายละเอียดและอบอุ่น คริสตินาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาการสื่อสารและจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยวิลลาโนวา Stellar Hitch ได้รับการพูดถึงใน Huffington Post, สารคดี Netflix ของ Chelsea Handler, ABC News, The Tonight Show, Voyage LA และ The Celebrity Perspective บทความนี้ถูกเข้าชม 12,337 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 12,337 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา