ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าคุณจะมีปัญหาสุขภาพหรือแค่ดื่มน้ำมากไปหน่อย พอถึงจุดนึงคุณก็อาจจะรู้สึกปวดปัสสาวะมากๆ ตอนที่ไม่มีห้องน้ำให้เข้า ซึ่งมักจะเกิดกับคนที่ขับรถทางไกลและที่งานแข่งกีฬา แต่ถ้าเป็นคนที่มีปัญหาสุขภาพ เหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ และเมื่อปวดคุณก็ต้องหาทางปัสสาวะออกมา เพราะไม่อย่างนั้นคุณอาจปัสสาวะราดหรือเกิดอาการแทรกซ้อนร้ายแรงได้[1] การหัดปัสสาวะใส่ขวดจึงช่วยทั้งในเรื่องของสุขภาพและทำให้คุณไม่ต้องอับอายด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เลือกอุปกรณ์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ซื้อกระบอกปัสสาวะ.
    ถ้าคุณปัสสาวะบ่อยหรือกังวลว่าจะมีเหตุการณ์ที่คุณอาจจะปวดปัสสาวะอย่างมาก คุณก็อาจจะลงทุนซื้อกระบอกปัสสาวะ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาให้ปากขวดเข้ามุมที่ช่วยให้คุณปัสสาวะลงไปได้แบบไม่หกเลอะเทอะ นอกจากนี้ยังมีขนาดใหญ่มากและสามารถเก็บปัสสาวะได้หลายครั้ง[2]
    • กระบอกปัสสาวะมีขายทางออนไลน์หรือผ่านผู้จำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีใบอนุญาต ซึ่งมักจะขายในราคาค่อนข้างถูก
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เลือกขนาดให้เหมาะสม.
    ในการเลือกขวดนั้น คุณต้องเลือกขวดที่มีขนาดพอเหมาะ แม้ว่าคุณจะไม่สามารถคาดการณ์ได้เป๊ะๆ ว่าคุณจะปัสสาวะออกมามากน้อยแค่ไหน แต่คุณก็ควรเลือกขวดที่ใหญ่พอที่จะใส่ปริมาณปัสสาวะโดยเฉลี่ยได้ จริงอยู่ที่ว่าร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่โดยทั่วไปแล้วปริมาณปัสสาวะจะอยู่ที่ 120-465 มล. หรือประมาณ 0.12-0.47 ลิตร[3]
    • เลือกขวดที่สามารถเก็บปัสสาวะได้อย่างน้อย 465 มล. หรือประมาณ 0.47 ลิตร[4] ถ้าขวดจะใหญ่กว่านั้นก็ไม่เป็นไร จำไว้ว่าขวดใหญ่เกินไปดีกว่าเล็กเกินไปเสมอ
    • ขวดน้ำอัดลมโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 0.35 ลิตรหรือประมาณ 355 มล. ถ้าเป็นขวดใหญ่จะมีขนาด 1.75 ลิตร (1,750 มล.) แต่จำไว้ว่าปากขวดน้ำอัดลมจะแคบมากไม่ว่าจะขนาดไหนก็ตาม[5]
    • เครื่องดื่มเกลือแร่ เช่น เอ็มสปอร์ตและสปอนเซอร์ ปากขวดมักจะกว้างกว่า เช่น เอ็มสปอร์ตความจุ 250 มล. นั้นปากขวดจะกว้างกว่าขวดน้ำอัดลม ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงชอบปัสสาวะใส่ขวดเครื่องดื่มเกลือแร่มากกว่า แต่ข้อเสียคือเก็บปัสสาวะได้น้อย[6]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ทำเครื่องหมายที่ขวด.
    ไม่ว่าคุณจะอยู่คนเดียวในรถหรือในเต็นท์หรือมีคนอื่นอยู่ด้วย คุณต้องทำเครื่องหมายลงบนขวดน้ำที่เก็บฉี่คุณไว้เพื่อไม่ให้สับสน[7] คุณอาจจะแค่ใช้ปากกาเพอร์มาเนนท์เขียนเครื่องหมาย "X" ตัวใหญ่ๆ ลงบนขวด หรือจะเขียนให้ชัดเจนกว่านั้น (เช่น "ห้ามดื่ม") ก็ได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ใช้อุปกรณ์ช่วยยืนปัสสาวะสำหรับผู้หญิง.
    อุปกรณ์ช่วยยืนปัสสาวะหรือกรวยรองปัสสาวะสำหรับผู้หญิงเป็นกรวยเล็กๆ สำหรับให้ผู้หญิงยืนปัสสาวะหรือปัสสาวะลงไปในขวด ซึ่งมีหลายยี่ห้อ เช่น Carrycare และ Primo ซึ่งออกแบบมาให้ผู้หญิงสามารถปัสสาวะเวลาหาห้องน้ำเข้าไม่ได้[8]
    • ในการใช้อุปกรณ์ช่วยยืนปัสสาวะนั้น แค่ถือกรวยไว้ใต้อวัยวะเพศเข้าหาร่างกาย ปัสสาวะลงไปในอุปกรณ์และปรับมุมตรงปลายให้ปัสสาวะไหลลงเข้าสู่ปากขวด[9]
    • คุณสามารถหาซื้ออุปกรณ์ช่วยยืนปัสสาวะได้ทางออนไลน์หรือร้านค้าปลีกทั่วไป เช่น ร้านขายอุปกรณ์กิจกรรมกลางแจ้ง
  5. How.com.vn ไท: Step 5 พกอุปกรณ์ทำความสะอาด.
    นอกจากขวดแล้ว คุณก็ต้องพกอุปกรณ์ทำความสะอาดให้เพียงพอด้วย ถ้าคุณเป็นผู้หญิง คุณก็ต้องพกกระดาษชำระหรือกระดาษทิชชูเพื่อเช็ดทำความสะอาด และต้องมีสบู่กับน้ำหรือน้ำยาล้างมือแอลกอฮอล์ติดไปด้วยไม่ว่าจะเป็นเพศไหนก็ตาม[10]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ปัสสาวะใส่ขวด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาที่ลับตาคน.
    ถ้าเป็นไปได้ให้หาที่ลับตาคน ถ้าคุณอยู่ในรถ คนอื่นจะเห็นหน้าคุณก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าคุณอยู่ในงานที่มีคนเยอะ เช่น งานแข่งขันกีฬาหรือพาเหรดและไม่สามารถไปเข้าห้องน้ำได้ การปัสสาวะใส่ขวดก็อาจจะยากสักหน่อย คุณต้องระวังไม่ให้ใครเห็น เพราะนอกจากจะน่าอายแล้ว การเปิดเผยอวัยวะเพศให้คนอื่นเห็นยังผิดกฎหมายอีกด้วย
    • หาที่ที่คุณจะได้อยู่คนเดียวและไม่มีใครเห็นคุณ อาจจะเป็นตรงปล่องบันได้หรือหลบหลังตึกก็ได้ แล้วแต่ว่าคุณอยู่ที่ไหน
    • ใช้วิจารณญาณของคุณให้ดีที่สุดและระมัดระวัง อย่าทำท่ามีพิรุธ และเตือนอีกครั้งว่าอย่าให้ใครเห็นคุณ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หามุมขวดให้เข้าที่.
    ถ้าคุณใช้กระบอกปัสสาวะ การปัสสาวะลงขวดจะค่อนข้างง่าย เพราะมุมปากขวดจะป้องกันไม่ให้ปัสสาวะกระฉอกหรือกระเด็นเข้าหาตัวอยู่แล้ว แต่ถ้าคุณใช้ขวดเครื่องดื่มเปล่า คุณจะต้องหามุมขวดเพื่อไม่ให้หกเลอะเทอะหรือล้นออกมา แค่เอียงมุมขวดเข้าหาลำตัวเพื่อให้ปัสสาวะไหลลงไปตรงก้นขวด ถ้าจะให้ดีต้องเป็นมุมที่ปัสสาวะไหลลงไปด้านล่างตรงก้นขวดพอดี[11]
    • ถ้าคุณเป็นผู้หญิง หลังปัสสาวะเสร็จคุณต้องเช็ดให้แห้ง เพราะฉะนั้นคุณต้องมีกระดาษชำระติดตัวด้วย อย่าลืมเช็ดจากหน้าไปหลังเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ถ้าแบคทีเรียจากบริเวณทวารหนักเข้าสู่บริเวณที่เป็นรูเปิดของกระเพาะปัสสาวะ[12]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 นำขวดไปทิ้งให้ถูกที่.
    หลังจากที่คุณปัสสาวะเรียบร้อยแล้ว คุณต้องนำขวดปัสสาวะไปทิ้งให้ถูกที่ แม้ว่าประเทศไทยจะไม่มีกฎหมายห้ามนำสิ่งปฏิกูลของมนุษย์ไปวางไว้ข้างถนน แต่มันก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสุขอนามัยของพนักงานก่อสร้างริมถนนและนักจัดสวน เพราะฉะนั้นคุณต้องคิดถึงส่วนรวมด้วย[13]
    • อย่าลืมหมุนฝาขวดให้สนิทเพื่อไม่ให้มันหกเลอะเทอะถ้าคว่ำหรือตกพื้น
    • เก็บขวดไว้ให้มิดชิดที่ตัวหรือในรถ
    • เมื่อคุณเจอถังขยะหรือห้องน้ำแล้ว ให้คุณโยนขวดลงถังขยะหรือเทปัสสาวะลงในโถส้วม
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ทำความสะอาดหลังปัสสาวะ.
    หลังจากปัสสาวะเสร็จแล้ว คุณต้องล้างมือให้สะอาด ถ้าคุณสามารถหาก๊อกน้ำได้และมีสบู่ติดตัวอยู่ ให้ถูสบู่เป็นฟองลงบนมือและระหว่างนิ้ว จากนั้นเปิดก๊อกเพื่อล้างมือประมาณ 20 วินาที วิธีนี้จะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อโรคและลดโอกาสที่คุณหรือคนอื่นๆ จะป่วย[14]
    • ถ้าคุณหาก๊อกน้ำไม่ได้ ซึ่งเป็นไปได้มากๆ เพราะคุณหาห้องน้ำเข้าไม่ได้ คุณก็ควรใช้น้ำยาล้างมือหรือทิชชูเปียกที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียอยู่ดี ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์เหล่านี้จะไปฆ่าแบคทีเรียที่อยู่บนมือ ซึ่งช่วยป้องกันการกระจายของเชื้อโรค[15]
    • ในการใช้น้ำยาล้างมือนั้น แค่ฉีดผลิตภัณฑ์ออกมาให้เพียงพอที่จะล้างทั้งสองมือได้ทั่ว จากนั้นถูมือทั้งสองข้างเข้าหากันให้ทั่วทุกนิ้วและพื้นผิวมือทั้งหมดจนกว่าผลิตภัณฑ์จะระเหยไปเอง[16]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ป้องกันและรับมือกับเหตุฉุกเฉิน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 จำกัดการบริโภคของเหลวก่อนออกเดินทาง.
    ถ้าคุณมักจะปวดปัสสาวะบ่อยหรือรู้ว่าตัวเองจะต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถหาห้องน้ำเข้าได้ คุณก็อาจจะเลี่ยงการดื่มของเหลวทั้งก่อนและระหว่างที่อยู่ในสถานการณ์นั้น เช่น ถ้าคุณต้องเดินทางด้วยรถเป็นระยะทางไกลๆ จำกัดการบริโภคของเหลวสักหนึ่งหรือสองชั่วโมงก่อนออกเดินทาง และจำกัดปริมาณเครื่องดื่มระหว่างเดินทาง[17]
    • แต่ก็อย่าถึงขั้นอดน้ำไปเลย ถ้าคุณหิวน้ำ คุณก็ต้องดื่มน้ำบ้างเพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ แต่พยายามจำกัดปริมาณในการดื่มเพื่อไม่ให้เกิดเหตุฉุกเฉิน[18]
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีสารขับปัสสาวะ เช่น กาแฟ ชา โคล่า และเครื่องดื่มอื่นๆ ที่มีคาเฟอีน สารขับปัสสาวะจะทำให้คุณปวดปัสสาวะบ่อยและปวดหนัก ซึ่งอาจทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินในขณะที่ไม่มีห้องน้ำเข้า[19]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ฝึกนิสัยที่ดีในการเข้าห้องน้ำ.
    เมื่อเวลาผ่านไป การเข้าห้องน้ำตอนที่คุณไม่จำเป็นต้องเข้าจะทำให้กระเพาะปัสสาวะของคุณเคยชินกับการปวดปัสสาวะทั้งที่ปัสสาวะยังไม่เต็ม และเนื่องจากว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของนิสัยการเข้าห้องน้ำในระยะยาว คุณจึงควรอั้นปัสสาวะไว้จนกว่าจะถึงเวลาที่จำเป็นต้องปัสสาวะจริงๆ [20] อย่างไรก็ตามถ้าคุณออกเดินทางบนถนนหรือไปยังสถานที่ที่หาห้องน้ำเข้ายาก คุณก็อาจจะปัสสาวะทุกครั้งที่มีโอกาส[21]
    • วางแผนช่วงพักเข้าห้องน้ำทุกครั้งที่เดินทางหรือไปเที่ยว พยายามคาดการณ์ล่วงหน้าว่าที่ไหนมีห้องน้ำและที่ไหนไม่มี และวางแผนพักเข้าห้องน้ำตามนั้น[22]
    • ไม่ต้องรีบ ปัสสาวะออกมาให้หมด ไม่อยากนั้นคุณอาจจะปวดปัสสาวะอีกทีหลังได้[23] นอกจากนี้คุณควรปล่อยให้ปัสสาวะไหลด้วยความเร็วตามธรรมชาติจะดีที่สุด แทนที่จะบีบเชิงกรานเพื่อบังคับให้มันไหลเร็วขึ้น[24]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 รู้ว่าเมื่อไหร่ที่ต้องไปพบแพทย์.
    อาการปวดปัสสาวะส่วนใหญ่เกิดจากการดื่มของเหลวมากเกินไปหรือไม่ก็ได้รับสารขับปัสสาวะมากเกินไป ส่วนอาการปวดปัสสาวะอื่นๆ เกิดจากแรงกดดันในช่องท้องจากปัจจัยต่างๆ เช่น การตั้งครรภ์หรือน้ำหนักเกิน[25] อย่างไรก็ตามการปวดปัสสาวะบางครั้งก็อาจจะเกิดจากปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ ลองปรึกษาแพทย์หากคุณมีอาการใดอาการหนึ่งดังต่อไปนี้ :
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าให้ใครดื่มสิ่งที่อยู่ในขวดเด็ดขาด!
  • ในท้องตลาดมีผลิตภัณฑ์ประเภทกรวยมากมายที่ช่วยให้ผู้หญิงยืนปัสสาวะหรือปัสสาวะใส่ขวดได้ง่ายขึ้น ถ้าคุณเป็นผู้หญิงที่ปวดปัสสาวะบ่อย ลองมองหาตัวเลือกเหล่านี้
  • ถ้าคุณตั้งใจจะนำขวดปัสสาวะกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิล ให้ใส่แอลกอฮอล์หรือน้ำยาฆ่าเชื้ออื่นๆ ลงไปเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรีย วิธีนี้จะช่วยป้องกันการเกิดกลิ่นปัสสาวะหมักหมมในขวด
  • อย่าวางขวดฉี่ไว้ใกล้ครัวหรือบริเวณที่คนอื่นรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม เพราะเขาอาจจะนึกว่าปัสสาวะของคุณเป็นเครื่องดื่มได้!
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าคุณยังปัสสาวะใส่ขวดไม่คล่อง คุณก็อาจจะโดนปัสสาวะกระเด็นใส่ตัวนิดหน่อย ถ้าคุณคิดว่าอาจมีเหตุการณ์ที่คุณต้องปัสสาวะใส่ขวด ให้ฝึกที่บ้านก่อน
โฆษณา

สิ่งของที่ใช้

  • ขวด
  • กรวย (สำหรับผู้หญิง) ถ้าจำเป็น
  • ปากกามาร์กเกอร์ (สำหรับทำเครื่องหมายที่ขวด)

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

  1. http://emergency.cdc.gov/disasters/handhygienefacts.asp
  2. http://gearjunkie.com/backpacking-camping-pee-bottle
  3. http://emedicine.medscape.com/article/1958794-overview
  4. http://www.nbcnews.com/id/7912464/ns/us_news-environment/t/urine-trouble-some-states-warn-truckers/# .VlJ9vN-rTEY
  5. http://emergency.cdc.gov/disasters/handhygienefacts.asp
  6. http://emergency.cdc.gov/disasters/handhygienefacts.asp
  7. http://emergency.cdc.gov/disasters/handhygienefacts.asp
  8. http://www.webmd.com/baby/urination-frequency
  9. http://www.webmd.com/baby/urination-frequency
  10. http://www.webmd.com/baby/urination-frequency
  11. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/incontinence-prevention-tips
  12. http://www.bladderbowel.gov.au/assets/doc/LiveBetter.html
  13. http://www.bladderbowel.gov.au/assets/doc/LiveBetter.html
  14. http://www.bladderbowel.gov.au/assets/doc/LiveBetter.html
  15. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/incontinence-prevention-tips
  16. http://www.webmd.com/urinary-incontinence-oab/frequent-urination-causes-and-treatments
  17. http://www.mayoclinic.org/symptoms/frequent-urination/basics/when-to-see-doctor/sym-20050712
  18. http://www.mayoclinic.org/symptoms/frequent-urination/basics/when-to-see-doctor/sym-20050712
  19. http://www.mayoclinic.org/symptoms/frequent-urination/basics/when-to-see-doctor/sym-20050712
  20. http://www.mayoclinic.org/symptoms/frequent-urination/basics/when-to-see-doctor/sym-20050712
  21. http://www.mayoclinic.org/symptoms/frequent-urination/basics/when-to-see-doctor/sym-20050712
  22. http://www.mayoclinic.org/symptoms/frequent-urination/basics/when-to-see-doctor/sym-20050712

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: ทีมงานวิกิฮาว
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียนในทีมวิกิฮาว
บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา

ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 7,044 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,044 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา