วิธีคลายความวิตกกังวล: การปรับเปลี่ยนอาหารการกินช่วยได้หรือไม่

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

มีผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอาหารหลายชนิดช่วยลดหรือคลายอาการวิตกกังวลลงไปได้ แต่ก็มีอาหารบางชนิดที่เพิ่มหรือทำให้เกิดอาการวิตกกังวลหนักขึ้น ถ้าเราเป็นโรควิตกกังวล เราต้องเข้ารับการรักษาด้วยการบำบัดหรือยา [1] แต่ถ้าเรามีอาการวิตกกังวลที่ไม่รุนแรง เราอาจรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนอาหารการกินได้ แค่ปรับเปลี่ยนอาหารการกินและรูปแบบการดำเนินชีวิตไปสักหน่อยก็จะสามารถช่วยเราคลายความวิตกกังวลลงไปได้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

กินอาหารที่ช่วยคลายความวิตกกังวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กินอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 มากขึ้น.
    กรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยป้องกันการอักเสบและมีผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าช่วยทำให้อารมณ์โดยรวมดีขึ้น สามารถรับมือกับความเครียดและเลิกนิสัยติดสารเสพติด[2]
    • กรดไขมันโอเมก้า 3 พบโดยเฉพาะอย่างยิ่งในน้ำมันปลา เช่น ทูน่า แมกเคอเรล และแซลมอน นอกจากนี้อาหารซึ่งมีไขมันที่ดีต่อสุขภาพยังมีวอลนัต น้ำมันมะกอก และอาโวคาโด ให้กินวันละ 1 หน่วยบริโภค [3]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน.
    เชื่อว่าอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตชนิดนี้จะเพิ่มระดับเซโรโทนินในสมอง สารสื่อประสาทนี้มีส่วนช่วยในการรักษาอารมณ์ให้ปกติ [4] ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการมีเซโรโทนินที่สูงจะทำให้อารมณ์สงบ [5]
    • อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ได้แก่ ควินัว ข้าวโอ๊ตแบบไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ขนมปัง และพาสต้าแบบโฮลวีต
    • อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเป็นที่รู้กันอีกด้วยว่ามีเส้นใยอาหาร โปรตีน และวิตามินสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีหรือคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว[6]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ดื่มชาคาโมไมล์.
    ผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ได้แสดงให้เห็นว่าคาโมไมล์สามารถลดอาการวิตกกังวลได้[7] คนส่วนใหญ่ที่เป็นโรควิตกกังวลทั่วไปเห็นว่าชาคาโมไมล์ช่วยได้พอสมควรหลังจากบริโภคเป็นประจำ
    • คาโมไมล์มีวางขายอยู่หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็น ชา ขี้ผึ้งใช้ภายนอก แคปซูล ยาสกัดไหลเหลว และดอกไม้อบแห้ง[8]
    • ถ้าเลือกดื่มชาคาโมไมล์ ให้ดื่มสามถึงสี่ถ้วยต่อวันเพื่อให้ได้ผลพอสมควร [9]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 กินอาหารที่มีทริปโตเฟนสูง.
    ทริปโตเฟนเป็นกรดอะมิโนที่สำคัญในอาหารของมนุษย์ เราสามารถได้กรดชนิดนี้จากอาหารเท่านั้น ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ [10] ทริปโตเฟนเป็นสารตั้งต้นในการสร้างเซโรโทนินซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีส่วนช่วยในการรักษาอารมณ์ให้ปกติ
    • นอกจากนี้ทริปโตเฟนยังลดความวิตกกังวลได้ด้วยการช่วยให้เรานอนหลับได้ง่ายขึ้น[11]
    • ตัวอย่างอาหารที่มีทริบโตเฟนสูง ได้แก่ ชีส ไก่ ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง ไข่ เต้าหู้ ปลา นม ไก่งวง ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วลิสง เนยถั่ว เมล็ดฟักทอง และเมล็ดงา[12]
    • การกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนสูงมีส่วนช่วยให้ทริบโตเฟนสูงขึ้นและร่างกายจะได้รับทริปโตเฟนอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ฉะนั้นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตชนิดนี้จึงช่วยให้สมองได้รับทริปโตเฟนเพื่อสร้างเซโรโทนินมากขึ้น[13]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 กินอาหารที่วิตามินบีสูง.
    เชื่อว่าวิตามินบี (โดยหลักคือ โฟเลต วิตามินบี 12 และบี 1) ช่วยรักษาอาการวิตกกังวลได้ด้วยการส่งผลต่อการผลิตสารสื่อประสาทบางตัวของสมอง (เช่น เซโรโทนิน) [14] ฉะนั้นเราต้องกินอาหารที่มีวิตามินบีให้หลากหลายทุกมื้อ
    • พบวิตามินบีต่างๆ เช่น โฟเลต วิตามินบี 12 และบี 1 ในอาหารหลากหลายชนิด แต่พบโดยส่วนใหญ่ในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (เช่น เป็ด ไก่ ไข่ เนื้อและปลา) ผลิตภัณฑ์นม เมล็ดธัญพืช และธัญพืชที่ผ่านการเพิ่มคุณค่าทางอาหาร รวมทั้งผักใบเขียว
    • ผู้สูงอายุ ผู้ที่กินมังสวิรัติ และผู้เป็นโรคระบบทางเดินอาหารอย่างเช่น โรคโครห์ หรือ โรคเซลิแอคมีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามินบีสูง [15] การขาดวิตามินบีอาจส่งผลให้มีอาการวิตกกังวล ฉะนั้นอาจต้องกินอาหารเสริมที่มีวิตามินบีเพิ่มเติม
  6. How.com.vn ไท: Step 6 กินอาหารเช้าที่มีโปรตีน.
    อาหารเช้าที่ให้พลังงานมากขึ้นช่วยให้เราต่อสู้กับผลกระทบจากความวิตกกังวลระหว่างวันได้ [5] อาหารเช้าที่อุดมไปด้วยโปรตีนยังช่วยให้เราอิ่มนานขึ้นตลอดวัน และรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ
    • แหล่งอาหารเช้าที่อุดมไปด้วยโปรตีน ได้แก่ ไข่ โยเกิร์ต ค็อตเทจชีส ชีส ข้าวโอ๊ตแบบไม่ขัดสี และธัญพืชอื่นๆ รวมทั้งเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ดื่มน้ำมากๆ.
    แม้แต่ภาวะขาดน้ำที่ไม่รุนแรงก็อาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์และสมดุลพลังงาน[16] การดื่มน้ำให้เพียงพอตลอดวันช่วยจะรักษาปริมาณน้ำในร่างกายให้ปกติ
    • พยายามดื่มน้ำให้ได้ 8 แก้วต่อวัน ปริมาณน้ำที่เราต้องการอาจแตกต่างกันไปตามแต่ละวัน แต่การดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว หรือ 64 ออนซ์ หรือประมาณ 2 ลิตรก็ยังเป็นหลักการดีๆ ที่ควรทำตามอยู่[17]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่อาจเพิ่มความวิตกกังวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ลดการกินอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 6.
    กรดไขมันโอเมก้า 6 ซึ่งเราได้จากน้ำมันพืชอาจเพิ่มการอักเสบในสมองและมีส่วนทำให้อารมณ์ผิดปกติ [18]
    • แหล่งอาหารที่พบกรดไขมันโอเมก้า 6 มากที่สุด ได้แก่ น้ำมันเมล็ดคำฝอย น้ำมันข้าวโพด น้ำมันงา และน้ำมันถั่วเหลือง[19]
    • พยายามใช้น้ำมันมะกอกหรือน้ำมันคาโนลาในการปรุงอาหารและเตรียมอาหารแทนน้ำมันที่มีกรดไขมันโอเมก้า 6 สูง
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์....
    หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์. นอกจากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะทำให้จิตใจสงบลงยากแล้ว กระบวนการเผาผลาญแอลกอฮอล์ยังทำให้เรารู้สึกกระวนกระวายและขัดขวางการนอนหลับด้วย[20]
    • ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าแอลกอฮอล์จะกระตุ้นให้เกิดอาการตื่นตระหนกหรืออาการกระวนกระวาย[21]
    • ปริมาณแอลกอฮอล์ที่บริโภคได้สูงสุดต่อวันของผู้หญิงคือหนึ่งแก้วและของผู้ชายคือสองแก้ว แอลกอฮอล์หนึ่งแก้วจะเท่ากับเบียร์ประมาณครึ่งลิตร หรือไวน์ประมาณ 148 มิลลิลิตร[22] แต่ถ้าสามารถเลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยเด็ดขาดจะดีที่สุด เพราะจะได้ช่วยคลายความวิตกกังวลลงไปได้ [23]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน.
    นอกจากจะทำให้เกิดความวิตกกังวลสูงด้วยการทำให้รู้สึกกระวนกระวายใจแล้ว ผลของการดื่มคาเฟอีนยังใช้เวลามากถึงแปดชั่วโมงกว่าจะหมดฤทธิ์และขัดขวางการนอนหลับพักผ่อนด้วย [24][25]
    • คาเฟอีนยังสามารถกระตุ้นให้เกิดอาการกระวนกระวายและอาการตื่นตระหนกเช่นเดียวกับแอลกอฮอล์[26]
    • โดยปกติพบคาเฟอีนในกาแฟและชาแต่ก็ยังพบในเครื่องดื่มเกลือแร่ เครื่องดื่มชูกำลัง และอาหารเสริมอื่นๆ ด้วย
    • ดื่มเครื่องดื่มที่ไม่มีคาเฟอีนอย่างเช่น กาแฟและชาแบบที่ไม่มีคาเฟอีน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลเชิงเดี่ยว....
    หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลเชิงเดี่ยว. ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีและน้ำตาลเชิงเดี่ยวมีผลข้างเคียงต่ออารมณ์ กำลังกาย และความวิตกกังวล [27] ฉะนั้นพยายามลดอาหารพวกนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตหรือน้ำตาลเชิงเดี่ยวซึ่งได้แก่ น้ำหวาน ของหวานอย่างเช่น ลูกอมหรือเค้ก และอาหารที่ทำมาจากแป้งสาลี เช่น ขนมปังขาวหรือพาสต้า
  5. How.com.vn ไท: Step 5 หลีกเลี่ยงอาหารที่แพ้.
    อาหารและวัตถุเจือปนอาหารบางอย่าง (เช่น วัตถุกันเสีย) สามารถก่อให้เกิดปัญหากับคนที่แพ้อาหารและวัตถุเจือปนอาหารนั้นได้ บางคนมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ฉุนเฉียวง่าย และมีอาการวิตกกังวล เมื่อรับประทานอาหารพวกนั้นเข้าไป [28]
    • พวกสารที่ก่อการระคายเคืองพบได้ทั่วไปในอาหาร เช่น ข้าวสาลี นม ไข่ และน้ำตาล รวมทั้งพบในยาสูบและควัน[29]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ทำกิจกรรมอื่นร่วมด้วยเพื่อลดความวิตกกังวล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กินอาหารเสริม.
    อาหารเสริมจากสมุนไพรบางชนิดมีผลการการศึกษาซึ่งได้แสดงให้เห็นว่ามีผลช่วยต้านความเครียด แต่ก่อนจะกินอาหารเสริมจากสมุนไพร ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารเสริมนั้นปลอดภัยและเหมาะสมกับสุขภาพเรา
    • กินอาหารเสริมจากรากของต้นวาเลอเรี่ยน มีผลการศึกษาได้ระบุไว้ว่าวาเลอเรี่ยนมีผลช่วยระงับประสาท จึงนิยมนำมาเป็นใช้ช่วยในการนอนหลับ[30] ผลการศึกษาอื่นๆ ได้แสดงให้เห็นว่ารากของต้นวาเลอเรี่ยนช่วยคลายความเครียดและความวิตกกังวลได้[31]
    • กินสารสกัดจากดอกเสาวรส ผลการศึกษาบางอย่างได้แสดงให้เห็นว่าดอกเสาวรสช่วยลดความวิตกกังวลลงได้[32]
    • กินอาหารเสริมจากสะระแหน่ ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าสะระแหน่สามารถลดอาการวิตกกังวลและอาการเครียดได้ [33] แต่ไม่ควรกินอาหารเสริมจากสะระแหน่ ถ้ามีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินกว่าปกติ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ออกกำลังกาย.
    การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยเราลดและคลายความวิตกกังวลได้ ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายสามารถช่วยจัดการกับความวิตกกังวลอย่างได้ผลทันทีและรับมือกับความวิตกกังวลได้นาน[34]
    • ทำกิจกรรมแอโรบิกแบบหนักปานกลางสัปดาห์ละ 150 นาที หรือทำกิจกรรมแอโรบิกแบบหนักมากสัปดาห์ละ 75 นาที[35]
    • ชวนเพื่อนหรือหาคู่หูมาออกกำลังกายด้วยกัน การชวนใครสักคนมาออกกกำลังกายด้วยกันจะทำให้การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่สนุก เราจะได้อยากออกกำลังกายบ่อยๆ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 นอนหลับให้เพียงพอ.
    เมื่อร่างกายของเราเครียดหรือเรากำลังรู้สึกวิตกกังวลสูง ร่างกายเราต้องการการนอนหลับพักผ่อนมาก [36] ฉะนั้นพยายามนอนหลับให้ได้ประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน [37]
    • เข้านอนแต่หัวค่ำ และอาจนอนตื่นสายบ้างถ้าจำเป็น
    • ปิดไฟทุกดวงและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดก่อนเข้านอน อย่าให้มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดๆ อยู่ในห้องนอน ถ้าทำได้
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พบแพทย์.
    บางครั้งความวิตกกังวลหรือโรควิตกกังวลทั่วไปต้องได้รับการรักษาและประเมินนอกเหนือไปจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตหรืออาหารการกิน ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต ถ้าเห็นว่าอาการเริ่มรุนแรง มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือมีความวิตกกังวลมาก
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • การเขียนแผนการกินช่วยให้เราสามารถปรับเปลี่ยนอาหารการกินอย่างค่อยเป็นค่อยไป
  • การกินอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนได้สัดส่วนและดีต่อสุขภาพอาจช่วยลดอาการวิตกกังวล แต่ไม่อาจรักษาหรือทำให้หายขาดได้ เราอาจต้องเข้าพบและรับการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญ
  • มีรูปแบบชีวิตหรือพฤติกรรมอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถช่วยคลายความวิตกกังวลนอกเหนือไปจากอาหารการกิน การจดบันทึก การทำสมาธิ การหายใจเข้าลึกๆ หรือเข้าร่วมกลุ่มทำกิจกรรมกับผู้อื่นก็ช่วยคลายหรือลดความวิตกกังวลได้
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าตอนนี้ไม่ได้เข้ารับการรักษากับผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต ลองเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญโรควิตกกังวล อาจต้องใช้วิธีพบผู้เชี่ยวชาญจริงๆ ถ้าหากว่าการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินชีวิตและอาหารการกินไม่ได้ผล
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนจะตัดสินใจปรับเปลี่ยนอาหารการกินและรูปแบบการดำเนินชีวิต เราจะได้แน่ใจว่าการปรับเปลี่ยนดังกล่าวนั้นปลอดภัยและเหมาะสมกับเรา


โฆษณา
  1. http://www.umm.edu/ency/article/002332.htm
  2. http://www.umm.edu/ency/article/002332.htm
  3. http://www.umm.edu/ency/article/002332.htm
  4. http://www.nytimes.com/2007/09/04/health/04real.html
  5. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/expert-answers/vitamin-b12-and-depression/faq-20058077
  6. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/depression/expert-answers/vitamin-b12-and-depression/faq-20058077
  7. http://www.mayoclinic.com/health/coping-with-anxiety/AN01589
  8. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/water/art-20044256
  9. http://www.psychologytoday.com/blog/in-the-zone/201201/anxiety-and-omega-3-fatty-acids
  10. https://umm.edu/health/medical/altmed/supplement/omega6-fatty-acids
  11. http://www.mayoclinic.com/health/coping-with-anxiety/AN01589
  12. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  13. http://pubs.niaaa.nih.gov/publications/Practitioner/pocketguide/pocket_guide2.htm
  14. http://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/alcohol/art-20044551
  15. http://www.mayoclinic.com/health/coping-with-anxiety/AN01589
  16. http://www.mayoclinic.com/health/foods-that-help-you-sleep/AN01582
  17. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  18. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/generalized-anxiety-disorder/expert-answers/coping-with-anxiety/faq-20057987
  19. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/generalized-anxiety-disorder/expert-answers/coping-with-anxiety/faq-20057987
  20. http://cchrflorida.org/can-anxiety-attack-symptoms-be-caused-by-food-allergies/
  21. http://www.mayoclinic.com/health/anxiety/DS01187/DSECTION=alternative-medicine
  22. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/generalized-anxiety-disorder/expert-answers/herbal-treatment-for-anxiety/faq-20057945
  23. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/generalized-anxiety-disorder/expert-answers/herbal-treatment-for-anxiety/faq-20057945
  24. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/generalized-anxiety-disorder/expert-answers/herbal-treatment-for-anxiety/faq-20057945
  25. http://www.adaa.org/living-with-anxiety/managing-anxiety/exercise-stress-and-anxiety
  26. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  27. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  28. http://www.adaa.org/tips-manage-anxiety-and-stress
  29. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/anxiety/basics/symptoms/con-20026282
  30. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/anxiety/basics/symptoms/con-20026282

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Zora Degrandpre, ND
ร่วมเขียน โดย:
แพทย์แนวธรรมชาติบำบัด
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Zora Degrandpre, ND. ดร.เดกรองด์เปรเป็นแพทย์แนวธรรมชาติบำบัดที่มีใบอนุญาตในวอชิงตัน เธอได้รับปริญญาโทจากวิทยาลัยแห่งยาธรรมชาติแห่งชาติในปี 2007 บทความนี้ถูกเข้าชม 1,482 ครั้ง

คำจำกัดสิทธิ์ความรับผิดชอบทางการแพทย์

เนื้อหาของบทความชิ้นนี้มิได้มีเจตนาที่จะใช้ทดแทนคำแนะนำ การตรวจ วินิจฉัยและการรักษาทางการแพทย์ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือมืออาชีพทางการดูแลสุขภาพที่ได้รับอนุญาตเสมอ ก่อนที่จะทำการเริ่มต้น เปลี่ยนแปลง หรือหยุดการดูแลสุขภาพไม่ว่าประเภทใด

มีการเข้าถึงหน้านี้ 1,482 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา