ไต

อวัยวะในร่างกายของสิ่งมีชีวิต

ไตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback)

ไต
ไตมนุษย์เมื่อมองจากด้านหลังโดยนำลำกระดูกสันหลังออกแล้ว
รายละเอียด
ระบบระบบปัสสาวะและระบบต่อมไร้ท่อ
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงไต (renal artery)
หลอดเลือดดำหลอดเลือดดำไต (renal vein)
ประสาทข่ายไต (renal plexus)
ตัวระบุ
ภาษาละตินren
MeSHD007668
TA98A08.1.01.001
TA23358
FMA7203
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ

สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ[1] มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่าง

อ้างอิง แก้

  1. Cotran, RS S.; Kumar, Vinay; Fausto, Nelson; Robbins, Stanley L.; Abbas, Abul K. (2005). Robbins and Cotran pathologic basis of disease. St. Louis, MO: Elsevier Saunders. ISBN 0-7216-0187-1.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติอสมทพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ภาวะโลกร้อนพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวสโมสรฟุตบอลเชลซีสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีเฟซบุ๊กลมเล่นไฟพฤษภาคมรายการรหัสไปรษณีย์ไทยวันแรงงานโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทมาริษ เสงี่ยมพงษ์พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกพิมพ์ภัทรา วิชัยกุลสุภัคชญา ชาวคูเวียงปานปรีย์ พหิทธานุกรประเทศไทยสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซินแบมแบมวิทยุเสียงอเมริกาสโมสรฟุตบอลแอสตันวิลลาสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตีคิม ซู-ฮย็อนพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเขตพื้นที่การศึกษาสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สโมสรฟุตบอลทอตนัมฮอตสเปอร์รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยFBรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว