ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี

การแข่งขันฟุตบอลชายทีมชาติ

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี (อังกฤษ: UEFA European Under-21 Championship) เป็นการแข่งขันฟุตบอลทีมชาติเพื่อหาทีมผู้ชนะในระดับทวีปยุโรปในรุ่นอายุต่ำกว่า 21 ปี จัดการแข่งขันโดยยูฟ่าทุก 2 ปี โดยทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศในการแข่งขันที่เกิดขึ้นก่อนกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1 ปี จะได้สิทธิ์แข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน ในปีถัดมา

ถ้วยรางวัลของทีมผู้ชนะฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี
ก่อตั้ง1989
ภูมิภาคยุโรป (ยูฟ่า)
จำนวนทีม55 (รอบคัดเลือก)
16 (รอบสุดท้าย)
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน อังกฤษ (3 สมัย)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุด อิตาลี
 สเปน
(ทีมละ 5 สมัย)
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี 2023

อิตาลีและสเปน เป็นทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันมากที่สุด ซึ่งสเปนยังคงเป็นทีมผู้ชนะ ณ ปัจจุบัน หลังจากชนะเลิศการแข่งขันในปี ค.ศ. 2019 ที่ผ่านมา จากการเอาชนะเยอรมนี ในรอบชิงชนะเลิศ 2–1

ประวัติ แก้

ตั้งแต่ปี 1967 ถึง 1970 ยูฟ่าได้จัดตั้งการแข่งขันประเภทผู้เล่นอายุต่ำกว่า 23 ปีขึ้นครั้งแรกในระดับยุโรปมีชื่อว่า Under-23 Challenge Cup ในปี ค.ศ. 1970 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี และมีจำนวนทีมที่มากขึ้นและใช้รูปแบบนี้จนถึงปี 1976 จึงเปลี่ยนรูปแบบการแข่งขันเป็นระดับรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปีและเริ่มต้นครั้งแรกในปี 1978 และคงรูปแบบนี้นับแต่นั้นมา โดยในรอบคัดเลือกผู้เล่นทุกคนจะต้องเกิดในหรือหลัง 21 ปีก่อนหน้า เช่น การแข่งขันรอบคัดเลือกของการแข่งขันในปี 2019 ซึ่งเริ่มต้นแข่งขันในปี 2017 ผู้เล่นทุกคนจะต่องเกิดในหรือหลังปี ค.ศ. 1996 แต่ในรอบสุดท้ายซึ่งจะแข่งขันในอีก 2 ปีข้างหน้านับจากรอบคัดเลือก ก็จะใช้กฎที่ทุกคนต้องเกิดในหรือหลังปี ค.ศ. 1996 เช่นกัน ฉะนั้นผู้เล่นจึงสามารถมีอายุมากกว่า 21 ปีได้ในการแข่งขันรอบสุดท้ายแต่จะไม่เกิน 23 ปี

แต่เดิมนั้น การแข่งขันจะมีการลงเล่นในเดือน พฤษภาคม–มิถุนายน ก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปของทีมชุดใหญ่ แต่ได้เปลี่ยนแปลงไปนับจากที่การแข่งขันถูกย้ายไปแข่งขันในปีคี่

การแข่งขันนี้ถือว่าเป็นก้าวสำคัญสู่ทีมชุดใหญ่ ซึ่งมีนักเตะที่คว้าแชมป์กับทีมชุดใหญ่มากมายเคยผ่านแข่งขันในรายการนี้ เช่น เมซุท เออซิล กลาส-ยัน ฮึนเตอลาร์ มานูเอ็ล น็อยเออร์ ผู้ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก 2014, ฌูอัน กัดดาบิลา การ์เลส ปูยอล ชาบี ผู้ชนะการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 เป็นต้น

รูปแบบการแข่งขัน แก้

ในการแข่งขันในปีก่อนหน้าและในปี 1992 ในรอบคัดเลือกได้มีเข้าร่วมทั้งหมด 33 ทีมจะถูกแบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 4 ทีมและจะมี 1 กลุ่มที่มี 5 ทีมทีมที่มีลำดับดีที่สุดจะผ่านเข้าสู่การแข่งขันในรอบสุดท้าย โดยในรอบสุดท้ายจะลงเล่นในรูปแบบแพ้คัดออก 2 นัด เหย้า–เยือน จนหาทีมชนะเลิศได้

การแข่งขันในปี 1994 ได้มีเจ้าภาพของการแข่งขันรอบสุดท้ายขึ้นเป็นครั้งแรกนั่นคือ ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจะเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันที่เหลือจากรอบรองชนะเลิศเป็นต้นไป เท่านั้น และมีการแข่งขันเพียงนัดเดียวไม่มีเหย้า–เยือน แต่ในรอบก่อนรองชนะเลิศยังคงใช้กฎกติกาเดิมของปีก่อนหน้า

การแข่งขันในปี 1998 ในรอบคัดเลือก ได้มีการคัดเลือกโดยมีกลุ่มมากถึง 9 กลุ่มเนื่องจากการมีทีมเข้าร่วมถึง 46 ทีม โดยทีมแชมป์กลุ่มทั้งหมดที่มีคะแนนดีที่สุด 7 ทีมจะผ่านเข้ารอบสุดท้ายโดยอัตโนมัติ ขณะที่ทีมแชมป์กลุ่มที่มีคะแนนต่ำที่สุด 2 ทีม จะไปแข่งขันกันในรูปแบบเหย้า–เยือน เพื่อหาผู้ชนะเข้าสู่รอบสุดท้าย โดยในรอบสุดท้าย การแข่งขันที่เหลือจากรอบรองชนะเลิศเป็นต้นไป ได้ถูกจัดขึ้นใน ประเทศโรมาเนีย ซึ่ง โรมาเนีย ก็ได้เป็นหนึ่งในแปดที่ผ่านเข้ารอบด้วย

การแข่งขันในปี 2000 ยังคงใช้ 9 กลุ่มในการคัดเลือกซึ่งมี 47 ทีมเข้าร่วม โดยทีมที่เป็นแชมป์กลุ่ม 9 ทีมและรองแชมป์กลุ่มที่มีคะแนนมากที่สุด 7 ทีม จะไปแข่งขันกันเพื่อหา 8 ทีมเข้าสู่รอบสุดท้าย โดยในรอบสุดท้าย สโลวาเกีย ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพการแข่งขันในทุกนัด การแข่งขันในรอบแบ่งกลุ่มจึงมีการแข่งขันเพียงนัดเดียวซึ่งทีมที่เป็นแชมป์กลุ่มของทั้ง 2 กลุ่มจะผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศและทีมที่เป็นรองแชมป์กลุ่มจะผ่านเข้าสู่รอบชิงที่สาม โดยโครงสร้างการแข่งขันในปี 2002 ที่สวิตเซอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพ ยังคงเหมือนกันแต่ได้มีการเพิ่มการแข่งขันในรอบรองชนะเลิศเข้ามา ซึ่งจะนำแชมป์และรองแชมป์กลุ่มมาแข่งขันเพื่อหาทีมเข้าสู่รอบชิงที่สาม และรอบชิงชนะเลิศ

การแข่งขันในปี 2004 มีการใช้กลุ่มสิบกลุ่มสำหรับการคัดเลือก โดยทีมแชมป์กลุ่ม 10 ทีม และรองแชมป์กลุ่มที่มีคะแนนมากที่สุด 6 ทีมจะเข้าไปลงเล่นพบกันเพื่อหาผู้ชนะ 8 ทีมเข้าสู่รอบสุดท้าย โดยเยอรมนีเป็นเจ้าภาพในปีนั้น, การแข่งขันในปี 2006 ได้เปลี่ยนรูปแบบเหลือ 8 กลุ่มโดยแชมป์และรองแชมป์กลุ่มรวม 16 ทีมจะไปแข่งขันพบกัน โดยโปรตุเกสเป็นเจ้าภาพการแข่งขันในรอบสุดท้ายในปีนี้

นับจากนั้น การแข่งขันได้ย้ายไปแข่งขันในปีคี่ การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเนื่องจากทีมชุดใหญ่ของหลายประเทศมักเลือกที่จะส่งเสริมผู้เล่นจากทีมอายุต่ำกว่า 21 ปี ขึ่นสู่ทีมเนื่องจากการแข่งขันของพวกเขามีมาก การแข่งขันที่เลื่อนออกไปทำให้ผู้เล่นมีเวลามากขึ้นกับการพัฒนาตัวเองกับทีมอายุต่ำกว่า 21 ปีแทนที่จะได้รับการลงเล่นในทีมชุดใหญ่ซึ่งเร็วเกินไปและจบลงด้วยการเป็นตัวสำรองของผู้เล่นทีมชุดใหญ่

โดยรอบคัดเลือกของการแข่งขันในปี 2007 จัดขึ้นก่อนการแข่งขันรอบสุดท้ายของปี 2006 โดยมี 52 ประเทศเข้าร่วม รอบคัดเลือกเริ่มต้นด้วยการแข่งขันของทีมชาติที่มีอันดับต่ำที่สุด 16 อันดับ เพื่อนำ 8 ทีมเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มกับอีก 34 ทีม ซึ่งแบ่งออกเป็น 14 กลุ่มกลุ่มละ 3 ทีม ผู้ชนะทั้ง 14 กลุ่มถูกจับคู่เพื่อลงเล่นพบกับแบบเหย้า–เยือน เพื่อตัดสินคัดเลือก 7 ทีมเข้ารอบสุดท้ายพร้อมกับเจ้าภาพ, ในช่วงปี 2009–2015 มีการใช้สิบกลุ่มสำหรับการคัดเลือก โดยแชมป์กลุ่ม และรองแชมป์กลุ่มที่ดีที่สุด 4 ทีมจะเข้าไปแขงขันพบกัน 2 นัดเหย้า–เยือน เพื่อหา 7 ทีมเข้ารอบสุดท้ายพร้อมกับเจ้าภาพ

การแข่งขันในปี 2017 ยูฟ่าได้เพิ่มจำนวนทีมในรอบสุดท้ายเป็น 12 ทีม[1] และในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2019 คณะกรรมการบริหารของยูฟ่าได้มีมติเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมในรอบสุดท้ายเป็น 16 ทีมตัังแต่ปี 2021 และมีเจ้าภาพ 2 ประเทศเป็นครั้งแรก[2]

ผลการแข่งขัน แก้

รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี แก้

ปีเจ้าภาพรอบชิงชนะเลิศผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศจำนวนทีม
(ในวงเล็บหมายถึงจำนวนในรอบคัดเลือก)
ชนะเลิศคะแนนรองชนะเลิศ
1972ลงเลนแบบ
เหย้า–เยือน

เชโกสโลวาเกีย
2–2 / 3–1
รวมผลสองนัด 5–3

สหภาพโซเวียต
 บัลแกเรีย และ  กรีซ8 (23)
1974ลงเลนแบบ
เหย้า–เยือน

ฮังการี
2–3 / 4–0
รวมผลสองนัด 6–3

เยอรมนีตะวันออก
 โปแลนด์ และ  สหภาพโซเวียต8 (21)
1976ลงเลนแบบ
เหย้า–เยือน

สหภาพโซเวียต
1–1 / 2–1
รวมผลสองนัด 3–2

ฮังการี
 เนเธอร์แลนด์ และ  ยูโกสลาเวีย8 (23)

รุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี แก้

ปีเจ้าภาพรอบชิงชนะเลิศผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ
(และนัดชิงที่สาม)
จำนวนทีม
(ในวงเล็บหมายถึงจำนวนในรอบคัดเลือก)
ชนะเลิศคะแนนรองชนะเลิศ
1978ลงเล่นแบบ
เหย้า–เยือน

ยูโกสลาเวีย
1–0 / 4–4
รวมผลสองนัด 5–4

เยอรมนีตะวันออก
 บัลแกเรีย และ  อังกฤษ8 (24)
1980ลงเล่นแบบ
เหย้า–เยือน

สหภาพโซเวียต
0–0 / 1–0
รวมผลสองนัด 1–0

เยอรมนีตะวันออก
 อังกฤษ และ  ยูโกสลาเวีย8 (25)
1982ลงเล่นแบบ
เหย้า–เยือน

อังกฤษ
3–1 / 2–3
รวมผลสองนัด 5–4

เยอรมนีตะวันตก
 สกอตแลนด์ และ  สหภาพโซเวียต8 (26)
1984ลงเล่นแบบ
เหย้า–เยือน

อังกฤษ
1–0 / 2–0
รวมผลสองนัด 3–0

สเปน
 อิตาลี และ  ยูโกสลาเวีย8 (30)
1986ลงเล่นแบบ
เหย้า–เยือน

สเปน
1–2 / 2–1
รวมผลสองนัด 3–3

อิตาลี
 อังกฤษ และ  ฮังการี8 (29)
1988ลงเล่นแบบ
เหย้า–เยือน

ฝรั่งเศส
0–0 / 3–0
รวมผลสองนัด 3–0

กรีซ
 อังกฤษ และ  เนเธอร์แลนด์8 (30)
1990ลงเล่นแบบ
เหย้า–เยือน

สหภาพโซเวียต
4–2 / 3–1
รวมผลสองนัด 7–3

ยูโกสลาเวีย
 อิตาลี และ  สวีเดน8 (30)
1992ลงเล่นแบบ
เหย้า–เยือน

อิตาลี
2–0 / 0–1
รวมผลสองนัด 2–1

สวีเดน
 เดนมาร์ก และ  สกอตแลนด์8 (32)
1994  ฝรั่งเศส
อิตาลี
1–0
(ต่อเวลา)

โปรตุเกส

สเปน
2–1
ฝรั่งเศส
8 (32)
1996  สเปน
อิตาลี
1–1
4–2 (ดวลลูกโทษ)

สเปน

ฝรั่งเศส
1–0
สกอตแลนด์
8 (44)
1998  โรมาเนีย
สเปน
1–0
กรีซ

นอร์เวย์
2–0
เนเธอร์แลนด์
8 (46)
2000  สโลวาเกีย
อิตาลี
2–1
เช็กเกีย

สเปน
1–0
สโลวาเกีย
8 (47)
2002  สวิตเซอร์แลนด์
เช็กเกีย
0–0
3–1 (ดวลลูกโทษ)

ฝรั่งเศส
 อิตาลี และ  สวิตเซอร์แลนด์8 (47)
2004  เยอรมนี
อิตาลี
3–0
เซอร์เบียและมอนเตเนโกร

โปรตุเกส
3–2
(ต่อเวลา)

สวีเดน
8 (48)
2006  โปรตุเกส
เนเธอร์แลนด์
3–0
ยูเครน
 ฝรั่งเศส และะ  เซอร์เบียและมอนเตเนโกร8 (51)
2007  เนเธอร์แลนด์
เนเธอร์แลนด์
4–1
เซอร์เบีย
 เบลเยียม และ  อังกฤษ8 (51)
2009  สวีเดน
เยอรมนี
4–0
อังกฤษ
 อิตาลี และ  สวีเดน8 (52)
2011  เดนมาร์ก
สเปน
2–0
สวิตเซอร์แลนด์

เบลารุส
1–0
เช็กเกีย
8 (53)
2013  อิสราเอล
สเปน
4–2
อิตาลี
 เนเธอร์แลนด์ และ  นอร์เวย์8 (53)
2015  เช็กเกีย
สวีเดน
0–0
4–3
(ดวลลูกโทษ)

โปรตุเกส
 เดนมาร์ก และ  เยอรมนี8 (53)
2017  โปแลนด์
เยอรมนี
1–0
สเปน
 อังกฤษ และ  อิตาลี12 (53)
2019  อิตาลี
สเปน
2–1
เยอรมนี
 ฝรั่งเศส และ  โรมาเนีย12 (55)
2021  ฮังการี
 สโลวีเนีย

เยอรมนี
1–0
โปรตุเกส
 เนเธอร์แลนด์ และ  สเปน16 (55)
2023  โรมาเนีย
 จอร์เจีย

อังกฤษ
1–0
สเปน
 อิสราเอล และ  ยูเครน16 (54)
2025  สโลวาเกีย16 (53)

ผลการแข่งขันในแต่ละประเทศ แก้

เฉพาะการแแข่งขันในระดับรุ่นอายุไม่เกิน 21 ปี เท่านั้น[3][4]

ทีมชนะเลิศรองชนะเลิศลำดับที่สามลำดับที่สี่ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศรวม (อยู๋ใน 4 อันดับแรก)
 สเปน5 (1986, 1998, 2011, 2013, 2019)4 (1984, 1996), 2017, 2023)2111
 อิตาลี5 (1992, 1994, 1996, 2000, 2004)2 (1986, 2013)512
 เยอรมนี[a]3 (2009, 2017, 2021)2 (1982, 2019)16
 อังกฤษ3 (1982, 1984, 2023)1 (2009)69
 เนเธอร์แลนด์2 (2006, 2007)136
 สหภาพโซเวียต2 (1980, 1990)13
 ฝรั่งเศส1 (1988)1 (2002)1126
 สวีเดน1 (2015)1 (1992)125
 เช็กเกีย1 (2002)1 (2000)13
 ยูโกสลาเวีย1 (1978)1 (1990)24
 โปรตุเกส3 (1994, 2015, 2021)13
 เซอร์เบีย2 (2004, 2007)13
 เยอรมนีตะวันออก2 (1978, 1980)2
 กรีซ2 (1988, 1998)2
 สวิตเซอร์แลนด์1 (2011)12
 ยูเครน1 (2006)1
 นอร์เวย์112
 เบลารุส11
 สกอตแลนด์123
 สโลวาเกีย11
 เดนมาร์ก22
 เบลเยียม11
 บัลแกเรีย11
 ฮังการี11
 โรมาเนีย11
รวม2323663492
  1. รวมการแข่งขันของเยอรมนีตะวันตก

รางวัล แก้

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำการแข่งขัน แก้

ตั้งแต่ปี 2013 ผู้เล่นของการแข่งขันจะได้รับการคัดเลือกโดยทีมงานด้านเทคนิคของยูฟ่า เพื่อหานักเตะยอดเยี่ยมประจำการแข่งขันเพียงคนเดียว[5]

ปีผู้ได้รับรางวัลอ้างอิง
อิสราเอล 2013 เตียโก อัลกันตารา[6]
สาธารณรัฐเช็ก 2015 วีลียัม การ์วัลยู[7]
โปแลนด์ 2017 ดานิ เซบาโยส[8]
อิตาลีและซานมาริโน 2019 ฟาเบียน รูอิซ[9]
ฮังการีและสโลวีเนีย 2021 ฟาบิอู วิเอยรา[10]
โรมาเนียและจอร์เจีย 2023 แอนโทนี กอร์ดอน[11]

รองเท้าทองคำ แก้

อาดิดาส รางวัลรองเท้าทองคำ จะมอบให้กับผู้เล่นที่ทำประตูมากที่สุดในการแข่งขันมาตั้งแต่ปี 2000 นับตั้งแต่ในปี 2013 ได้มีการมอบรางวัล รองเท้าเงิน และ รองเท้าทองแดง ให้กับผู้ทำประตูสูงสุดอันดับสองและสามในการแข่งขันตามลำดับ

การแข่งขันรองเท้าทองคำประตูรองเท้าเงินประตูรองเท้าทองแดงประตูอ้างอิง
สโลวาเกีย 2000 อันเดรอา ปีร์โล3    [12]
สวิตเซอร์แลนด์ 2002 มัสซีโม มักกาโรเน3[12]
เยอรมนี 2004 อัลแบร์โต จิลาร์ดิโน4[12]
โปรตุเกส 2006 กลาส-ยัน ฮึนเตอลาร์4[12]
เนเธอร์แลนด์ 2007 มัสซิโอ ริกเจอร์4[12]
สวีเดน 2009 มาร์คัส เบิร์ก7[12]
เดนมาร์ก 2011 อาเดรียน5[12]
อิสราเอล 2013 อัลบาโร โมราตา4 เตียโก3 อิสโก3[13]
สาธารณรัฐเช็ก 2015 ยาน คลิเมนท์3 เควิน ฟ็อลลันท์2 จอห์น กุยเดตติ2[12]
โปแลนด์ 2017 ซาอุล5 มาร์โก อาเซนซิโอ3 บรูมา3[14]
อิตาลี 2019 ลูคา วายชมิดท์7 โจนเจ ปุสกัส4 มาร์โก ริทแตร์3[15]
ฮังการีและสโลวีเนีย 2021 ลูคัส อึนเมชา4 ปาตริก กูโตรเน3 ดานี โมตา3[16]

ทีมผู้เล่นยอดเยี่ยมตลอดกาล แก้

ในวันที่ 17 มิถุนายน 2015 ยูฟ่า ได้ประกาศทีมผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำการแข่งขันตลอดกาล โดยจัดอันดับจากผลงานในการแข่งขันรอบสุดท้ายของรายการนี้[17]

ผู้รักษาประตูกองหลังกองกลางกองหน้า
มานูเอ็ล น็อยเออร์ มัทซ์ ฮุมเมิลส์
จอร์โจ กีเอลลีนี
อาเลสซันโดร เนสตา
บรานิสลัฟ อิวานอวิช
แฟรงก์ แลมพาร์ด
เมซุท เออซิล
อันเดรอา ปีร์โล
ชาบี
ฟรันเชสโก ตอตตี
ราอุล

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "U21 final tournament expanding to 12 teams". UEFA.com. 24 January 2014.
  2. "Aleksander Čeferin re-elected UEFA President until 2023". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). 7 February 2019. สืบค้นเมื่อ 7 February 2019.
  3. "Europe – U-23/U-21 Tournaments". rsssf.com. สืบค้นเมื่อ 2 March 2020.
  4. "U21 EURO – Champions". worldfootball.net (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2 March 2020.
  5. UEFA.com (2013-06-21). "Thiago leads all-star squad dominated by Spain". UEFA.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-13.
  6. "2013: Thiago Alcântara". UEFA.com. Union of European Football Associations. 26 July 2013. สืบค้นเมื่อ 29 June 2015.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "William named U21 EURO player of the tournament". UEFA.com. Union of European Football Associations. 1 July 2015. สืบค้นเมื่อ 3 July 2015.
  8. "Spain's Dani Ceballos named Player of the Tournament". UEFA.com.
  9. "Fabián Ruiz named SOCAR Player of the Tournament". UEFA.com.
  10. "2021 Under-21 EURO Player of the Tournament: Fábio Vieira". UEFA.com. 6 June 2021. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  11. "England's Anthony Gordon named 2023 Under-21 EURO Player of the Tournament". UEFA.com. Union of European Football Associations. 8 July 2023. สืบค้นเมื่อ 8 July 2023.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 12.6 12.7 "Czech striker Kliment wins Golden Boot award". UEFA.com. 30 June 2015.
  13. Adams, Sam (18 June 2013). "Morata wins Golden Boot in Spanish clean sweep". UEFA.com. สืบค้นเมื่อ 1 July 2017. 2013 Under-21 finals top scorers
    Golden Boot: Álvaro Morata, Spain – 4 goals, 1 assist
    Silver Boot: Thiago Alcántara – 3 goals, 1 assist
    Bronze Boot: Isco, Spain – 3 goals
  14. "Saúl Ñíguez wins U21 EURO adidas Golden Boot". UEFA.com. 30 June 2017. สืบค้นเมื่อ 1 July 2017. Golden Boot: Saúl Ñíguez (Spain) – 5 goals, 1 assist
    Silver Boot: Marco Asensio (Spain) – 3 goals, 1 assist
    Bronze Boot: Bruma (Portugal) – 3 goals
  15. "Spain beat Germany for fifth U21 title". UEFA.com. สืบค้นเมื่อ 30 June 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "Germany's Lukas Nmecha wins U21 Top Scorer award". UEFA.com. 6 June 2021. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  17. "Our all-time Under-21 EURO dream team". UEFA.com. Union of European Football Associations. 17 June 2015. สืบค้นเมื่อ 25 July 2015.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

🔥 Top keywords: สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีหน้าหลักจังหวัดชัยนาทองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024อสมทดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกอันดับโลกเอฟไอวีบีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวภีรนีย์ คงไทยยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2024เขื่อนเจ้าพระยาสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริดวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยเดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ปี 6วอลเลย์บอล4 KINGS 2สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงรอยรักรอยบาปโบรุสซีอาดอร์ทมุนท์วิษณุ เครืองามพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)ยุรนันท์ ภมรมนตรีบุพเพสันนิวาส 2บางกอกคณิกาพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวราณี แคมเปนสนามกีฬาเวมบลีย์ประเทศไทยมิถุนายนวิทยุเสียงอเมริกากรุงเทพมหานครสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดารายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่ณัฐณิชา ใจแสนพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว