วิธีการ เริ่มเขียนบันทึกหรือไดอารี่

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ก่อนจะเริ่มจดบันทึกหรือเขียนไดอารี่ ต้องเริ่มจากหาสมุดบันทึกสักเล่ม ตามด้วยเครื่องเขียน สุดท้ายคือความตั้งใจจริง ครบแล้วก็ได้เวลาลงมือเขียนบันทึกเรื่องแรก ถ้าคิดว่าใช่ ก็จดบันทึกต่อไปเป็นประจำซะเลย! ให้บันทึกหรือไดอารี่ส่วนตัวนี้ เป็นเหมือนช่องทางให้ได้ค้นพบตัวตนที่แท้จริงหรือความรู้สึกนึกคิดที่ซ่อนอยู่ลึกในใจคุณ อันเป็นสิ่งที่ไม่มีใครรู้ และไม่คิดจะบอกใคร

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เตรียมบันทึก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาสมุดบันทึกเหมาะๆ.
    จะเป็นสมุดโน้ตธรรมดา หรือสมุดบันทึกสวยๆ สักเล่มก็ได้ ถ้าเน้นประโยชน์ใช้สอยอย่างเดียว จะใช้สมุดแบบมีเส้นบรรทัดของโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยก็ได้ แต่ถ้าอยากเขียนบันทึกจริงจังให้ได้อารมณ์ ก็ลองหาซื้อไดอารี่ปกแข็งหรือปกหนังลวดลายสวยๆ มาใช้ดู เอาแบบที่มีกุญแจล็อคด้วยก็ยังได้!
    • เลือกว่าจะใช้สมุดแบบมีเส้นหรือไม่มีเส้น ถ้าชอบจดบันทึกเป็นข้อความอย่างเดียว ก็ให้ใช้สมุดมีเส้นบรรทัด แต่ใครชอบขีดเขียน วาดภาพประกอบตกแต่ง ก็เลือกที่เป็นกระดาษโล่งๆ จะเหมาะกว่า ของแบบนี้อยู่ที่สไตล์ของคุณ ลองคิดดูก่อนว่าอยากจะจดบันทึกแบบไหน แล้วค่อยเลือกสมุดที่เห็นแล้วอยากหยิบมาใช้ทุกวัน
    • ถ้าชอบสมุดบันทึกแบบพกพา (จะในกระเป๋า ในเป้ หรือกระทั่งกระเป๋าเสื้อ/กางเกง/กระโปรงก็ตาม) ก็ต้องเลือกที่เล่มเล็กกะทัดรัดหน่อย
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ตกแต่งสมุดบันทึก.
    ตกแต่งสมุดบันทึกหรือไดอารี่ให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวตามสไตล์ของคุณ เช่น เขียนชื่อ คำคม วาดรูป ติดสติกเกอร์ หรือระบายสีตามหน้าปกหรือขอบและมุมกระดาษ อาจจะตัดอะไรที่น่าสนใจมาจากแมกกาซีนโปรด แล้วปะติดไว้ด้านในหรือด้านนอกสมุดบันทึกสร้างแรงบันดาลใจ แต่ถ้าชอบแบบเรียบๆ จะปล่อยว่างไว้แบบนั้นก็ตามสะดวก!
    • อาจจะเขียนเลขหน้าด้วยก็ได้ โดยเขียนให้ครบทุกหน้าก่อนเริ่มใช้งาน หรือจดบันทึกไปลงเลขหน้าไปเรื่อยๆ ในแต่ละวันก็ได้ แบบนี้ถ้าอยากค้นหาอะไรก็กลับมาดูได้ทุกเมื่อ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พิมพ์บันทึกในคอม.
    เป็นการบันทึกความในใจที่ปลอดภัยและใช้ง่าย แค่พิมพ์บันทึกใน Microsoft Word หรือโปรแกรม word processor อื่นๆ ที่ไม่ต้องมีฟังก์ชั่นอะไรมากมาย จากนั้นเซฟเก็บไว้ในโฟลเดอร์เฉพาะ หรือจะพิมพ์รวมไว้ในไฟล์เดียวแบบ canonical คือป้องกันข้อมูลซ้ำซ้อนก็ได้
    • ทางที่ดีให้เลือกระบบที่เข้าใช้ง่าย มีรหัสผ่าน เก็บข้อมูลในคลาวด์หรือออนไลน์ แบบนี้จะได้เปิดแล้วแก้ไขบันทึกในคอมหรืออุปกรณ์ไหนก็ได้! ลองใช้ WordPress ดูก็ได้ หรือง่ายกว่านั้นคือเขียนในอีเมลนี่แหละ
    • แต่ถึงเขียนบันทึกในคอมหรือออนไลน์จะสะดวกและสารพัดประโยชน์แค่ไหน ก็อาจจะไม่มีเสน่ห์เท่าเขียนมือในสมุดที่จับต้องได้ ของแบบนี้ต้องลองดู แล้วถามความรู้สึกตัวเอง อาจจะเขียนใส่สมุดบ้าง พิมพ์แล้วเซฟลงไดรฟ์ของคอมหรือออนไลน์บ้าง สลับกันไป
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เริ่มจดบันทึก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ลงมือบันทึกเรื่องแรก.
    ขั้นตอนสำคัญที่สุดของการเริ่มจดบันทึก ก็คือการลงมือเขียนเรื่องแรกนั่นเอง ทั้งการเลือกสมุดบันทึก การตกแต่ง และหาวิธีเก็บความลับนั้น ต่างก็เป็นแค่การเตรียมพื้นที่ปลอดภัยไว้รอเรื่องราวของคุณเท่านั้น ต้องคิดพิจารณาก่อนว่าอยากจะเขียนเรื่องอะไร แล้วค่อยถ่ายทอดความคิดลงไป[1]
    • เล่าว่าวันนี้เกิดอะไรขึ้น เช่น คุณไปไหนมา ทำอะไร คุยกับใครบ้าง
    • เล่าว่าวันนี้รู้สึกยังไง ถ่ายทอดลงไปทั้งความสุข เรื่องหงุดหงิดรำคาญใจ และเป้าหมายทั้งใกล้ไกลของคุณ ให้การเขียนเป็นช่องทางให้ได้สำรวจความรู้สึกนึกคิดที่แท้จริงของตนเอง หรือจะจดบันทึกความฝันก็ได้
    • จดบันทึกการเรียน ประมาณว่าวันนี้เรียนอะไรไปบ้าง แล้วใช้บันทึกนี้เป็นวิธีสำรวจและเชื่อมโยงความคิดตัวเอง[2]
    • ถ่ายทอดประสบการณ์ออกมาเป็นผลงานศิลปะ โดยบอกเล่าเรื่องราวและบทกวีลงในสมุดบันทึก หรือสเก็ตช์ภาพ ไม่ก็วางแผนโปรเจ็คต์ใหม่ซะเลย ตอนจดบันทึกวันอื่นก็ขีดเขียนเชื่อมโยงกันได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ลงวันที่.
    ถ้าคิดจะเขียนบันทึกในระยะยาว ก็ควรลงวันที่ทุกครั้งที่เขียน จะได้เป็นระเบียบแถมย้อนกลับมาดูได้ง่าย ให้เขียนวันที่เต็มไว้ หรืออะไรก็ได้ที่คุณเข้าใจเอง เช่น 6/10/2018 หรือ 6 ต.ค. 2561 ใครอยากให้ละเอียดกว่านั้น ก็ลงเวลาควบคู่กันไปด้วยเลย (เช่น ช่วงเช้า กลางวัน หรือกลางคืน) ไปจนถึงอารมณ์ ณ ขณะนั้น และ/หรือสถานที่เขียน ให้ลงวันที่ไว้ตรงด้านบนของบันทึกหน้านั้น หรือด้านบนของแต่ละเรื่อง
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เขียนให้ลื่นไหล.
    อย่าพยายามวิจารณ์บันทึกของตัวเองระหว่างเขียน ทำสมองให้ปลอดโปร่ง แล้วเขียนไปตามที่คิดหรือรู้สึกเลย สิ่งที่ทำให้สมุดบันทึกส่วนตัวหรือไดอารี่พิเศษกว่าอย่างอื่น ก็คือคุณสามารถเปิดอกได้ทุกเรื่องที่ปกติบอกใครไม่ได้ ทั้งความคิดในส่วนลึก ความรู้สึกที่แท้จริง และเรื่องที่ต้องตัดสินใจในแต่ละวัน นี่แหละโอกาสให้ได้ทำความรู้จักกับตัวเอง[3]
    • คิดซะว่าสมุดบันทึกเป็นคู่สนทนาของคุณ ไม่ว่าคุณจะเลือกเปิดอกกับเพื่อนสนิท หรือระบายความรู้สึกนึกคิดลงในไดอารี่ ก็เท่ากับถ่ายทอดมันออกมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง ให้กลายเป็นอะไรที่ชัดเจน จับต้องได้ บางทีคุณก็คิดไม่ออกบอกไม่ถูก ว่าจริงๆ แล้วตัวเองคิดหรือรู้สึกยังไง จนได้เห็นมันอยู่ตรงหน้านี่แหละ[4]
    • เยียวยาตัวเองด้วยการจดบันทึก ถ้ามีเรื่องอะไรคอยหลอกหลอนหรือกวนใจคุณ ก็พยายามเขียนออกมา และทำความเข้าใจว่าทำไมถึงได้สลัดเรื่องนี้ออกจากหัวไม่หลุดสักที[5]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 คิดก่อนเขียน.
    ถ้าเขียนไปแล้วติดขัด ไม่ลื่นไหล ให้หยุดเขียนแล้วสำรวจความคิดตัวเองเงียบๆ สัก 2 - 3 นาที ถึงปกติเขียนๆ ไปแล้วจะช่วยกระตุ้นความรู้สึกออกมาได้ แต่บางทีก็ยากจะเขียน จนกว่าจะรู้แน่ชัดว่าอยากเริ่มต้นตรงไหนดี[6]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 จับเวลาตอนเขียน.
    หามุมสงบและเวลาเป็นส่วนตัว จากนั้นลงมือเขียนบันทึก ตั้งเตือนภายใน 5 - 15 นาที จากนั้นอยากเขียนอะไรก็เขียนไป ถ้ามี "deadline" มากดดัน บางคนก็ว่าช่วยกระตุ้นให้เขียนไหลลื่นดี แต่อย่าไปเครียดว่าต้องเขียนให้ออกมาดี! แค่จดทุกอย่างที่คิดหรือรู้สึกลงไปก็พอ
    • ถ้าหมดเวลาแล้วยังไม่รู้จะเขียนอะไร ก็อนุโลมให้เขียนต่อไปได้ การจับเวลาไม่ได้เพื่อตีกรอบตัวเอง แต่เป็นเหมือนแรงผลักดันมากกว่า
    • ถ้าใครยุ่งๆ อ้างว่าหาเวลาไม่ค่อยได้ ก็จับเวลาเขียนบันทึกแบบนี้ซะเลย เพราะใช้เวลาไม่นานแน่นอน ในเมื่อหาเวลาปลีกตัวมาเขียนบันทึกได้ยาก ก็ยัดลงตารางประจำวันแค่ช่วงสั้นๆ นี้ซะเลย[7]
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

เก็บรักษาและจดบันทึกในระยะยาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พกพาไปทุกที่.
    แบบนี้พอมีไอเดียใหม่ๆ หรือเกิดความรู้สึกบางอย่าง จะได้จดทันท่วงที จะเก็บบันทึกไว้ในเป้ กระเป๋า กระเป๋าถือ หรือกระเป๋าเสื้อ/กางเกง/กระโปงก็ได้ พอว่างเมื่อไหร่ก็รีบหยิบออกมาเขียนบันทึกแทนการเล่นมือถือ จะช่วยให้ตื่นรู้อยู่เสมอ ไม่พลาดทุกกิจวัตรประจำวัน
    • ข้อดีของการพกสมุดบันทึกติดตัวตลอดเวลา คือไม่มีใครมาแอบหยิบไปอ่านได้แน่นอน ในเมื่อติดตัวคุณซะขนาดนั้น จะตกไปอยู่ในมือใครหน้าไหนได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เก็บไว้ในที่ลับตา.
    ถ้าในสมุดบันทึกมีเรื่องส่วนตัวหรือความรู้สึกนึกคิดลึกซึ้ง ก็คงไม่ดีแน่ถ้ามีใครมาแอบอ่านได้ง่ายๆ แบบนี้ต้องหาที่ซ่อนลับตาคน สถานที่ที่แนะนำก็เช่น
    • ซ่อนไว้หลังหนังสือในชั้น
    • ซุกไว้ใต้ที่นอนหรือหมอน
    • ใส่ไว้ในลิ้นชักหัวเตียง
    • แอบไว้หลังกรอบรูป
  3. 3
    หน้าปกอย่าโจ่งแจ้ง. อย่าไปเขียนซะหราหน้าสมุดว่า "ไดอารี่ส่วนตัว!" หรือ "ห้ามอ่าน!" เพราะยิ่งทำให้คนอยากรู้อยากเห็น อดใจอ่านไม่ได้ ทางที่ดีควรปล่อยหน้าปกโล่งๆ ไว้ หรือแปลงโฉมให้ดูไม่น่าสนใจ เช่น "การบ้าน" หรือ "รายการของที่ต้องซื้อเข้าบ้าน"
    • แต่ถ้าอยากเขียนให้มันชัดเจนว่าเป็น "สมุดบันทึกของฉัน" หรือ "สมุดส่วนตัว!" ก็ต้องหาที่ซ่อนให้ดีๆ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เขียนประจำอย่าได้ขาด.
    พยายามฝึกวินัยให้ตัวเองเขียนบันทึกเรื่อยๆ เพราะดีต่อสุขภาพจิตหลายอย่าง จากการได้สำรวจและรู้เท่าทันความคิดและจิตใจตัวเองในแต่ละวัน[8] ทุกครั้งที่จดบันทึก ต้องจริงใจกับตัวเอง เขียนทุกอย่างไปตามความจริง
    • ล็อคเวลาเขียนไดอารี่ให้ได้ทุกวัน บางคนก็ชอบเขียนไดอารี่ก่อนนอน หรือทันทีหลังตื่นนอน บางคนก็จดบันทึกระหว่างเดินทาง หรือช่วงพักกลางวัน อันนี้แล้วแต่ว่าคุณสะดวกช่วงไหน
  5. How.com.vn ไท: Step 5 บันทึกตอนอยากเยียวยาตัวเอง.
    มีงานวิจัยที่ชี้ว่า การเขียนบันทึกเป็นสุดยอดวิธีรับมือและทำความเข้าใจกับความเศร้า เรื่องราวกระทบกระเทือนจิตใจ และความเจ็บปวดทางอารมณ์อื่นๆ พยายามเยียวยารักษาใจตัวเองด้วยการเขียนบันทึก ทุกครั้งที่รู้สึกทุกข์เกินจะทน[9]
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ลองตั้งชื่อสมุดบันทึกของตัวเองดู จะช่วยจูงใจให้อยากเขียนได้ เหมือนเล่าเรื่องให้ใครสักคนฟัง แทนที่จะขึ้นต้นว่า "ไดอารี่ที่รัก" ก็เปลี่ยนเป็น "เพื่อนรัก" "น้องแนนโน๊ะ" "พี่ปกแดง" "" หรืออื่นๆ ตามสะดวก
  • ใส่ข้อมูลส่วนตัวไว้ที่หน้าแรกของบันทึก เผื่อโชคร้ายเกิดเหตุสุดวิสัย บาดเจ็บหรือเจ็บป่วย คนที่เข้าช่วยเหลือจะได้รู้ว่าควรติดต่อใคร และถ้าทำสมุดบันทึกหายหรือไปลืมไว้ที่ไหน คนก็จะได้เอามาคืนถูก แต่ระวังอย่าใส่ข้อมูลที่เป็นความลับหรือไม่อยากเปิดเผยล่ะ
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้ากลัวคนแอบอ่านไดอารี่ ก็ต้องเก็บให้มิดชิด! หาที่ซ่อนที่คุณจำง่ายแต่คนอื่นเดายาก คนอื่นที่ว่าก็ทั้งเพื่อนฝูง ครอบครัว ไปจนถึงคนรู้จัก และศัตรูคู่อาฆาตเลย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Nicolette Tura, MA
ร่วมเขียน โดย:
ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีสุขภาพที่ดี
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Nicolette Tura, MA. นิโคเล็ตต์ ทูร่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการมีสุขภาพดีและเป็นผู้ก่อตั้ง The Illuminated Body บริษัทให้คำปรึกษาเรื่องการมีสุขภาพดีและความสัมพันธ์ในซานฟรานซิสโก นิโคเล็ตต์เป็นครูสอนโยคะที่มีใบรับรองและผ่านการสอนมากว่า 500 ชั่วโมงจากสถาบันวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งชาติ (NASM) โดยเอกทางด้านจิตวิทยา เธอสำเร็จปริญญาตรีด้านสังคมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเบอร์กลีย์แห่งแคลิฟอร์เนียและได้รับปริญญาโทด้านสังคมศาสตร์จาก SJSU บทความนี้ถูกเข้าชม 10,161 ครั้ง
หมวดหมู่: การเขียน
มีการเข้าถึงหน้านี้ 10,161 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา