วิธีการ เขียนนิทานสำหรับเด็ก

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การเขียนนิทานสำหรับเด็กอาศัยจินตนาการที่แจ่มชัดและความสามารถในการสวมความเป็นเด็กในตัวคุณ คุณอาจจะต้องเขียนนิทานสำหรับเด็กเพื่อส่งเป็นการบ้านหรือคุณอาจจะตัดสินใจเขียนนิทานในฐานะโปรเจ็กต์ส่วนตัว ในการเขียนนิทานสำหรับเด็กนั้น ให้เริ่มจากการระดมแนวคิดที่ดึงดูดใจเด็ก จากนั้นเขียนเรื่องราวที่มีการเปิดเรื่องที่น่าสนใจ มีพัฒนาการด้านเนื้อเรื่อง และมีคติสอนใจ นอกจากนี้คุณยังต้องขัดเกลานิทานหลังจากเขียนเสร็จแล้วเพื่อให้ถูกใจบรรดานักอ่านตัวจิ๋วของคุณด้วย

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

เริ่มเขียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 กำหนดกลุ่มอายุสำหรับนิทานที่คุณจะเขียน.
    นิทานสำหรับเด็กมักจะเขียนโดยมีกลุ่มอายุของเด็กที่เจาะจงอยู่ในใจ คุณอาจจะเขียนนิทานสำหรับเด็กวัยเตาะแตะหรือเด็กที่โตกว่านั้น กำหนดกลุ่มอายุว่าคุณเขียนนิทานสำหรับเด็ก 2-4 ขวบ 4-7 ขวบ หรือ 8-10 ขวบ ภาษา น้ำเสียง และสไตล์ของนิทานจะแตกต่างไปตามกลุ่มอายุของเด็กที่กำหนดไว้[1]
    • เช่น ถ้าคุณเขียนนิทานสำหรับเด็กช่วงวัย 2-4 ขวบหรือ 4-7 ขวบ คุณควรใช้ภาษาเรียบง่ายและประโยคสั้นมากๆ
    • ถ้าคุณเขียนนิทานสำหรับเด็กช่วงอายุ 8-10 ขวบ คุณสามารถใช้ภาษาที่ซับซ้อนขึ้นเล็กน้อยและประโยคที่ยาวกกว่า 4-5 คำได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้ความทรงจำในวัยเด็กเป็นแรงบันดาลใจ.
    คิดถึงความทรงจำวัยเยาว์ที่น่าตื่นเต้น แปลก หรือมหัศจรรย์หน่อยๆ ใช้ความทรงจำเหล่านั้นเป็นพื้นฐานของนิทานสำหรับเด็ก
    • เช่น คุณอาจจะมีวันอันแปลกประหลาดตอนป. 3 ที่คุณสามารถนำไปเขียนเป็นเรื่องราวสนุกๆ ได้ หรือคุณอาจจะเคยไปต่างประเทศตอนคุณเด็กมากๆ และมีเรื่องราวจากการไปเที่ยวครั้งนั้นที่เด็กๆ น่าจะชอบ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พูดถึงสิ่งธรรมดาๆ แล้วทำให้มันกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์....
    พูดถึงสิ่งธรรมดาๆ แล้วทำให้มันกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์. เลือกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ประจำวันแล้วเพิ่มความแปลกเข้าไปในเหตุการณ์นั้น เพิ่มความมหัศจรรย์ด้วยการเพิ่มองค์ประกอบแปลกๆ เข้าไป ใช้จินตนาการของคุณมองเหตุการณ์นั้นจากมุมมองของเด็ก[2]
    • เช่น คุณอาจจะเลือกเหตุการณ์ธรรมดาๆ อย่างการไปหาหมอฟันแล้วทำให้เหตุการณ์นั้นมหัศจรรย์ขึ้นด้วยการให้เครื่องมือที่หมอฟันใช้เกิดมีชีวิตขึ้นมา หรือคุณอาจจะใช้ประสบการณ์การไปมหาสมุทรครั้งแรกของเด็กคนหนึ่งแล้วทำให้เหตุการณ์นั้นมหัศจรรย์ขึ้นด้วยการให้เด็กลงลึกไปใต้มหาสมุทร
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เลือกประเด็นหรือแนวคิดสำหรับนิทาน.
    การมีประเด็นหลักของเรื่องจะช่วยให้คุณต่อยอดแนวคิดต่างๆ ออกมาได้ เน้นไปที่ประเด็นอย่างความรัก การสูญเสีย ตัวตน หรือมิตรภาพจากมุมมองของเด็ก ลองคิดดูว่าเด็กมองประเด็นนั้นอย่างไรแล้วลองสำรวจประเด็นนั้น[3]
    • เช่น คุณอาจจะสำรวจประเด็นมิตรภาพด้วยการเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กผู้หญิงกับเต่าที่เป็นสัตว์เลี้ยงของเธอ
  5. How.com.vn ไท: Step 5 สร้างตัวละครหลักที่มีเอกลักษณ์.
    บางครั้งนิทานสำหรับเด็กก็อาศัยตัวละครหลักที่เด็กเข้าถึงได้และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ลองนึกถึงประเภทของตัวละครที่ไม่ค่อยปรากฏในนิทานสำหรับเด็ก แล้วทำให้ตัวละครนั้นโดดเด่นด้วยการใช้คุณสมบัติของเด็กและผู้ใหญ่ในชีวิตจริงที่คุณคิดว่าน่าสนใจ[4]
    • เช่น คุณอาจจะสังเกตว่าไม่ค่อยมีนิทานสำหรับเด็กเรื่องไหนที่มีเด็กผู้หญิงพิการเป็นตัวละครหลัก คุณอาจจะสร้างตัวละครเพื่อเติมเต็มส่วนที่หายไปนี้
  6. How.com.vn ไท: Step 6 สร้างตัวละครหลักให้มีลักษณะพิเศษสัก 1-2 อย่าง....
    สร้างตัวละครหลักให้มีลักษณะพิเศษสัก 1-2 อย่าง. สร้างตัวละครหลักให้จับใจผู้อ่านด้วยการสร้างลักษณะทางกายภาพที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ทรงผมแบบใดแบบหนึ่ง ชุดเดรสที่มีสไตล์เป็นเอกลักษณ์ หรือท่าเดินที่ไม่เหมือนใคร หรือคุณอาจจะให้ตัวละครหลักมีลักษณะบุคลิกที่เป็นคนจิตใจดี รักการผจญภัย หรือมีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก[5]
    • เช่น คุณอาจจะให้ตัวละครหลักไว้ผมเปียยาวอยู่เสมอและรักเต่าเป็นชีวิตจิตใจ หรือคุณอาจจะให้ตัวละครหลักมีรอยแผลพิเศษบนมือจากตอนที่เธอตกต้นไม้ก็ได้
  7. How.com.vn ไท: Step 7 สร้างคำบรรยาย.
    ร่างโครงเรื่องออกมาเป็น 6 ส่วน เริ่มจากคำอธิบายหรือคำบรรยาย ในการบรรยายให้คุณแนะนำฉากท้องเรื่อง ตัวละครหลัก และปมขัดแย้ง เริ่มจากชื่อตัวละครหลัก จากนั้นอธิบายสถานที่หรือที่ตั้งของเรื่อง จากนั้นค่อยร่างความปรารถนาหรือเป้าหมายของตัวละคร รวมถึงอุปสรรคหรือปัญหาที่พวกเขาต้องรับมือ[6]
    • เช่น คุณอาจจะบรรยายว่า เด็กผู้หญิงคนหนึ่งชื่อเฟื่องฟ้าที่อยากได้สัตว์เลี้ยงไปพบเต่าในทะเลสาบข้างบ้านของเธอ
  8. How.com.vn ไท: Step 8 สร้างเหตุการณ์เร่งเร้า.
    เหตุการณ์เร่งเร้าอาจเป็นเหตุการณ์หรือการตัดสินใจที่เปลี่ยนหรือท้าทายตัวละครหลัก เหตุการณ์หรือการตัดสินใจนั้นอาจจะมาจากอีกตัวละครหนึ่ง หรืออาจจะมาจากสถาบัน เช่น โรงเรียนหรืองาน หรืออาจจะมาจากธรรมชาติ เช่น พายุหรือพายุทอร์นาโด
    • เช่น คุณอาจจะเขียนเหตุการณ์เร่งเร้าไปว่า แม่ของเฟื่องฟ้าบอกว่าเธอเลี้ยงสัตว์ไม่ได้เพราะว่าต้องอาศัยความรับผิดชอบมากเกินไป
  9. How.com.vn ไท: Step 9 เพิ่มการขมวดปม.
    การขมวดปมคือการที่คุณพัฒนาตัวละครหลักและสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครหลักกับตัวละครอื่นๆ ในเรื่อง แสดงให้ผู้อ่านเห็นการดำเนินชีวิตของตัวละครท่ามกลางเหตุการณ์เร่งเร้า อธิบายว่าพวกเขารับมือหรือปรับตัวเข้ากับเหตุการณ์เร่งเร้าอย่างไร
    • เช่น คุณอาจจะเพิ่มการขมวดปมไปว่า เฟื่องฟ้าจับเต่าแล้วเอาไปซ่อนไว้ในกระเป๋าเป้ แอบพกเต่าไปไหนมาไหนด้วยทุกที่เพื่อไม่ให้แม่รู้
  10. How.com.vn ไท: Step 10 มีจุดสำคัญสูงสุดของเรื่องที่กระชากอารมณ์.
    จุดสำคัญสูงสุดของเหตุการณ์เป็นจุดสูงสุดของเรื่อง เป็นจุดที่ตัวละครหลักต้องตัดสินใจหรือเกิดการเลือกครั้งใหญ่ ซึ่งควรจะกระชากอารมณ์และเป็นช่วงที่น่าตื่นเต้นที่สุดของเรื่อง
    • เช่น คุณอาจจะให้จุดสำคัญของเรื่องเป็นตอนที่แม่ของเฟื่องฟ้าเจอเต่าในกระเป๋าของเธอและห้ามไม่ให้เธอเลี้ยงเต่า
  11. How.com.vn ไท: Step 11 ใส่ภาวะคลี่คลาย.
    ภาวะคลี่คลายคือจุดที่ตัวละครหลักรับมือกับผลที่เกิดจากการเลือก พวกเขาอาจจะต้องชดเชยหรือตัดสินใจ โดยที่ตัวละครนี้อาจจะร่วมมือกับตัวละครอื่นในส่วนนี้ของเนื้อเรื่องก็ได้
    • เช่น ภาวะคลี่คลายของคุณอาจจะเป็นแบบนี้ เฟื่องฟ้าทะเลาะกับแม่แล้วเต่าก็หนีไป จากนั้นเฟื่องฟ้ากับแม่ก็ออกตามหาเต่าเมื่อพวกเขารู้ว่ามันหายไป
  12. How.com.vn ไท: Step 12 จบด้วยการแก้ปม.
    การแก้ปมจะเป็นตัวขมวดเรื่อง บอกให้ผู้อ่านรู้ว่าตัวละครหลักประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในการไปถึงเป้าหมาย ตัวละครหลักอาจจะได้ในสิ่งที่ต้องการ หรือเขาอาจจะต้องลดเป้าหมายของตัวเองก็ได้
    • เช่น การแก้ปมของคุณอาจจะเป็น เฟื่องฟ้ากับแม่เจอเต่าที่ทะเลสาบแล้วมองมันว่ายน้ำออกไปด้วยกัน
  13. How.com.vn ไท: Step 13 อ่านตัวอย่างนิทานสำหรับเด็ก.
    คุณควรอ่านตัวอย่างนิทานหรือวรรณกรรมสำหรับเด็กที่ประสบความสำเร็จเพื่อให้เข้าถึงแก่นประเภทของงานเขียนมากยิ่งขึ้น พยายามอ่านเรื่องที่ตรงกับกลุ่มพื้นเพหรือกลุ่มอายุที่คุณอยากเขียน คุณอาจจะอ่าน
    • ดินแดนแห่งเจ้าตัวร้าย โดย Maurice Sendak
    • แมงมุมเพื่อนรัก โดย E.B. White
    • กรัฟฟาโลกับเจ้าหนูหัวไว โดย Julia Donaldson
    • ในสวนลับ โดย Frances Hodgson Burnett
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

ร่างนิทาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สร้างการเปิดเรื่องที่ดึงดูดใจ.
    เริ่มต้นด้วยประโยคที่จะทำให้ผู้อ่านอยากอ่านต่อในทันที ใช้ภาพตัวละครหลักแปลกๆ เป็นตัวเปิดเรื่อง แสดงภาพตัวละครหลักกำลังทำอะไรสักอย่างอยู่ การเปิดเรื่องควรเป็นสิ่งที่กำหนดบรรยากาศของเรื่องทั้งหมดที่เหลือและทำให้ผู้อ่านคาดเดาได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง[7]
    • เช่น ในประโยคแรกของเรื่อง “ไอด้ากับยาวิเศษ” โดยสินจิรา สินธุเสนและวิวัฒน์ โรจนพิทยากร คือ “ในเวลาค่อนดึกของเดือนหงาย ไอด้า เทพตัวน้อยๆ ซึ่งถือกำเนิดบนดาวดวงหนึ่ง นั่งเศร้าศร้อยอยู่บนโขดหินแต่เพียงลำพัง…”
    • ประโยคเปิดเรื่องนี้สร้างตัวละคร บรรยากาศของเรื่อง และองค์ประกอบที่มหัศจรรย์ให้กับไอด้าที่เป็น “เทพตัวน้อยๆ”
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ให้ภาษาที่แสดงถึงประสาทสัมผัสและรายละเอียด....
    ให้ภาษาที่แสดงถึงประสาทสัมผัสและรายละเอียด. ทำให้ตัวละครของคุณมีชีวิตชีวาด้วยการเน้นไปที่ว่าเขาเห็น ได้กลิ่น ชิมรส สัมผัส รู้สึก และได้ยินอะไร ใช้ภาษาที่อธิบายประสาทสัมผัสเพื่อให้ผู้อ่านเข้าถึงเรื่องของคุณ[8]
    • เช่น คุณอาจจะบรรยายฉากท้องเรื่องว่า “ดังและดุดัน” หรือ “ร้อนและเหนียวเหนอะหนะ”
    • นอกจากนี้คุณอาจจะใช้เสียง เช่น “โครม” “ปัง” “ตุ้ม” หรือ “หวือ” เพื่อให้เรื่องราวน่าสนใจสำหรับผู้อ่าน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใส่คำคล้องจองเข้าไปในเรื่อง.
    ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านด้วยการใส่คำคล้องจองเข้าไปในนิทานของคุณ ลองเขียนสัมผัสคู่ที่ตอนจบของทุก 2 บรรทัดจะคล้องจองกัน หรือจะใช้คำคล้องจองในประโยคเดียวกันก็ได้ เช่น “เขาทำดึงดันปั้นปึ่ง” หรือ “เธอช่างพร้อมเพียบเรียบร้อย”[9]
    • คุณอาจจะใช้คำคล้องจองโดยสมบูรณ์ที่ทั้งเสียงสระและเสียงสะกดเข้ากัน เช่น “ดม” และ “ขม” ถือว่าคล้องจองกันโดยสมบูรณ์
    • หรือคุณจะใช้คำคล้องจองไม่สมบูรณ์ก็ได้ ที่มีแค่เสียงสระหรือเสียงสะกดเท่านั้นที่เข้ากัน เช่น “ดม” กับ “หลน” ถือเป็นคำคล้องจองไม่สบบูรณ์ มีแค่เสียงสระ “โอะ” เท่านั้นที่เข้ากัน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ย้ำคำซ้ำ.
    ทำให้ภาษาในนิทานของคุณคุ้นหูด้วยการย้ำคำหลักตลอดทั้งเล่ม การย้ำคำซ้ำจะทำให้ผู้อ่านอินกับเนื้อเรื่องและทำให้จำเนื้อเรื่องได้[10]
    • เช่น คุณอาจจะย้ำคำถามอย่าง “เจ้าเต่าดุ๊กดิ๊กหายไปไหน” ตลอดทั้งเรื่อง หรือคุณอาจจะย้ำวลีเช่น “ไม่นะ!” หรือ“วันนี้คือวันพิชิต!” เพื่อให้จังหวะและพลังของเรื่องขับเคลื่อนไปเรื่อยๆ
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ใส่การสัมผัสอักษร อุปมา และอุปลักษณ์.
    การสัมผัสอักษรคือการที่คำแต่ละคำขึ้นต้นด้วยเสียงพยัญชนะเดียวกัน เช่น “มะเหมี่ยวมดเหม็น” หรือ “ตุ๊ดตู่เต่าต้วมเตี้ยม” เป็นวิธีการสนุกๆ ในการเพิ่มจังหวะเข้าไปในงานเขียนและทำให้เนื้อเรื่องสนุกสนานสำหรับเด็กๆ[11]
    • อุปลักษณ์คือการเปรียบเทียบของสองสิ่ง เช่น คุณอาจจะใส่อุปลักษณ์ไปว่า “เจ้าเต่าคือเปลือกสีเขียวที่ล่องลอยอยู่ในทะเลสาบ”
    • อุปมาคือการเปรียบเทียบของสองสิ่งโดยใช้คำว่า “เหมือน” หรือ “ราวกับ” เช่น คุณอาจจะใส่อุปมาเข้าไปว่า “เต่าน้อยรูปร่างเหมือนมือของฉันเลย”
  6. How.com.vn ไท: Step 6 ให้ตัวละครหลักรับมือกับปมขัดแย้ง.
    องค์ประกอบหลักของเรื่องที่ดีคือปมขัดแย้งที่ตัวละครหลักจะต้องเอาชนะอุปสรรค ปัญหา หรือปมต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วง จำกัดปมขัดแย้งในเรื่องไม่เกิน 1 ปมให้เป็นปมขัดแย้งที่เป็นรูปธรรมและชัดเจนสำหรับผู้อ่าน คุณอาจจะให้ตัวละครหลักต่อสู้กับการยอมรับจากผู้อื่น ปัญหาครอบครัว หรือการเติบโตทางกายก็ได้[12]
    • อีกหนึ่งปมขัดแย้งในนิทานสำหรับเด็กก็คือความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้ เช่น การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ การไปที่ใหม่ๆ หรือการหลงทาง
    • เช่น คุณอาจจะสร้างตัวละครหลักที่ต่อสู้กับการเข้ากับคนอื่นๆ ที่โรงเรียน เธอจึงตัดสินใจให้เต่าเป็นเพื่อนรักของเธอ หรือคุณอาจจะสร้างตัวละครหลักที่กลัวห้องใต้ดินในบ้านและทำให้เธอต้องเรียนรู้ที่จะเอาชนะความกลัวของเธอ
  7. How.com.vn ไท: Step 7 สร้างคติสอนใจที่ให้ความหวังแต่ไม่สั่งสอน.
    นิทานสำหรับเด็กส่วนใหญ่จะมีตอนจบที่มีความสุขและให้ความหวังพร้อมด้วยคติสอนใจ ระวังอย่าให้คติสอนใจดูยัดเยียดมากเกินไป คติสอนใจที่แยบยลจะมีประสิทธิภาพมากกว่าและไม่ค่อยชัดเจนสำหรับผู้อ่านมากนัก [13]
    • ลองแสดงคติสอนใจผ่านการกระทำของตัวละคร เช่น คุณอาจแสดงภาพเด็กผู้หญิงกับแม่กอดกันริมทะเลสาบขณะที่เต่ากำลังว่ายน้ำออกไป ซึ่งอาจเป็นการสำรวจคติสอนใจของการหาแรงสนับสนุนจากครอบครัวโดยไม่ต้องบอกผู้อ่านตรงๆ ว่าคติสอนใจของเรื่องคืออะไร
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ให้นิทานมีภาพประกอบ.
    นิทานสำหรับเด็กส่วนใหญ่จะมีภาพประกอบที่ทำให้นิทานมีชีวิตชีวามากขึ้นผ่านภาพ คุณจะวาดภาพประกอบด้วยตัวเองหรือจ้างนักวาดภาพประกอบก็ได้[14]
    • ในนิทานสำหรับเด็กหลายๆ เรื่อง ภาพประกอบมีบทบาทในการสื่อสารเรื่องราวไปยังผู้อ่านครึ่งหนึ่ง คุณอาจจะเพิ่มรายละเอียดของตัวละครอย่างเช่นเสื้อผ้า ทรงผม การแสดงสีหน้า และสีลงไปในภาพประกอบด้วยก็ได้
    • ส่วนใหญ่ภาพประกอบในหนังสือสำหรับเด็กจะวาดหลังจากเขียนเรื่อง ซึ่งทำให้นักวาดภาพประกอบสามารถวาดภาพจากเนื้อหาในแต่ละฉากหรือตามเส้นเรื่องได้
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ขัดเกลานิทานสำหรับเด็ก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อ่านนิทานออกเสียง.
    พอคุณเขียนร่างนิทานสำหรับเด็กเสร็จแล้ว ให้อ่านออกเสียงให้ตัวเองฟัง ฟังว่าเรื่องราวในแต่ละหน้าฟังดูเป็นอย่างไร สังเกตว่ามีภาษาที่ซับซ้อนเกินไปหรือระดับสูงกว่ากลุ่มอายุเป้าหมายหรือเปล่า แก้ไขนิทานเพื่อให้อ่านและติดตามได้ง่ายขึ้น
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เอานิทานให้เด็กอ่าน.
    ขอความคิดเห็นจากกลุ่มอายุเป้าหมาย ขอให้น้อง สมาชิกในครอบครัวที่อายุน้อย หรือเด็กที่โรงเรียนอ่านนิทานของคุณแล้วแสดงความคิดเห็น ปรับเนื้อเรื่องเพื่อให้น่าอ่านและเข้าถึงได้สำหรับเด็กๆ [15]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ปรับแก้เนื้อเรื่องในด้านความยาวและความชัดเจน....
    ปรับแก้เนื้อเรื่องในด้านความยาวและความชัดเจน. อ่านร่างที่เขียนไว้อีกครั้งและดูให้แน่ใจว่ามันไม่ยาวเกินไป นิทานสำหรับเด็กมักจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อมันสั้นและตรงประเด็น นิทานสำหรับเด็กส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีเนื้อหาที่เป็นตัวหนังสือ หรือถ้ามีก็จะต้องใช้เนื้อหาเล่าเรื่องออกมาได้อย่างชัดเจน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พิจารณาตีพิมพ์นิทาน.
    ถ้าคุณชอบนิทานสำหรับเด็กที่คุณเขียน คุณอาจจะส่งงานเขียนชิ้นนี้ไปให้สำนักพิมพ์ที่พิจารณาตีพิมพ์หนังสือเด็ก เขียนจดหมายสอบถามเรื่องการส่งนิทานสำหรับเด็กไปให้บรรณาธิการและสำนักพิมพ์พิจารณา
    • นอกจากนี้คุณยังสามารถเผยแพร่หนังสือเด็กได้ด้วยตัวเองและขายให้แก่ผู้อ่านทางออนไลน์ก็ได้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Lucy V. Hay
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียน นักเขียนบทและนักปรับแก้บท
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Lucy V. Hay. ลูซี่ วี. เฮย์เป็นนักเขียน นักเขียนบทและนักเขียนบล็อกที่ช่วยเพื่อนนักเขียนโดยการจัดเวิร์กช็อป เปิดคอร์สสอนและบล็อก Bang2Write ลูซี่เป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์แนวระทึกขวัญของอังกฤษสองเรื่องและยังเป็นผู้ดูแลปรับแก้บทภาพยนตร์มากมาย เธอเป็นผู้เขียนหนังสือ 'Writing & Selling Thriller Screenplays' ให้ซีรี่ส์หนังสือ Creative Essentials ของสำนักพิมพ์ Kamera Books และตามมาด้วยหนังสือภาคต่อเรื่อง 'Drama Screenplays' และ 'Diverse Characters' นวนิยายแนวอาชญากรรมเล่มแรกของเธอที่ชื่อ 'The Other Twin' กำลังจะถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์โดยทีมผู้สร้างที่เคยเข้าชิงรางวัลเอ็มมี่จากเรื่อง 'Agatha Raisin' ที่ออกอากาศทาง Free@Last TV บทความนี้ถูกเข้าชม 37,385 ครั้ง
หมวดหมู่: การเขียน
มีการเข้าถึงหน้านี้ 37,385 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา