วิธีการ อดทนกับเด็กๆ

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่าคุณจะทำหน้าที่เป็นพ่อแม่ ดูแล อบรมสั่งสอน หรือทำงานอาสาสมัครร่วมกับเด็กๆ ทุกคนย่อมถึงจุดที่หมดความอดทนกันบ้าง แต่การหมดความอดทนกับเด็กๆ นั้นทำลายความสัมพันธ์ของคุณกับเด็กและยังเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีอีกด้วย การเรียนรู้ที่จะปล่อยผ่านแม้จะเจอความยุ่งยาก ความหงุดหงิด และความผิดพลาดที่เลี่ยงไม่ได้เป็นทักษะสำคัญที่ต้องมีเมื่อคุณต้องดูแลหรืออยู่กับเด็กๆ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

รับมือกับการหมดความอดทนในช่วงเวลานั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หายใจลึกๆ.
    หายใจเข้าและออกลึกๆ เพื่อส่งสัญญาณให้ร่างกายผ่อนคลายและทำให้จิตใจสงบลงอีกครั้งถ้าคุณรู้สึกหงุดหงิดและตึงเครียด วิธีนี้ยังทำให้คุณมีช่วงเวลาที่จะประเมินสถานการณ์และวิธีการที่จะตอบโต้มากขึ้นด้วย[1]
    • ฝึกสมาธิเป็นประจำเพื่อเรียนรู้วิธีควบคุมอารมณ์และทำให้ใจสงบเมื่อจำเป็น
    • ลองหายใจเข้า 5 วินาที ค้างไว้ 5 วินาที แล้วหายใจออก 5 วินาที จังหวะนี้เป็นจังหวะมาตรฐานทั่วไป แต่ลองทำดูเพื่อให้รู้ว่าระยะเวลาเท่าไหร่ที่เหมาะกับคุณมากที่สุด
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ถอยห่างจากช่วงเวลานั้นถ้าทำได้.
    การถอยห่างจากสถานการณ์ทำให้คุณสามารถเอาตัวเองออกมาจากสถานการณ์นั้นๆ ได้ถ้าคุณกลัวว่าการตอบโต้แบบทันทีจะแสดงถึงความไม่อดทน วิธีนี้จะทำให้คุณรู้สึกว่าตัวเองมีเหตุผลมากขึ้นและพร้อมที่จะกลับไปเผชิญกับช่วงเวลาต่อๆ ไป[2]
    • เวลาที่คุณถอยห่างออกมา ลองนับถึง 10 ช้าๆ หรือหายใจลึกๆ เพื่อช่วยให้คุณสามารถกลับไปได้เร็วขึ้น
    • คุณสามารถระเบิดความคับข้องใจต่างๆ ใส่หมอนได้เมื่อคุณถอยห่างออกมาแล้ว
    • ยังคงดูแลความปลอดภัยของเด็กๆ แม้ว่าคุณจะต้องถอยออกมาก็ตาม ใช้กล้องดูเด็กหรือขอให้ผู้ใหญ่คนอื่นมาช่วยดูเด็กๆ ให้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พูดสิ่งที่คุณอยากจะพูดออกมาเป็นเพลง.
    การร้องเพลงทำให้คุณหมดความอดทนหรือโมโหได้ยาก เพราะมันจะทำให้สถานการณ์เบาบางลงด้วยเสียงหัวเราะแทน คุณยังพูดในสิ่งที่อยากพูดได้เหมือนเดิม แต่วิธีการสื่อสารนั้นดีกว่า และคุณก็จะไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองปรี๊ดแตกขนาดนั้น[3]
    • การร้องเพลงยังอาจทำให้เด็กๆ รู้สึกแปลกใจ ซึ่งจะทำให้พวกเขาตั้งใจฟังสิ่งที่คุณพูดมากขึ้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 พูดให้เด็กๆ เข้าใจ.
    พยายามนึกถึงความสัมพันธ์และความเข้าใจเป็นหลัก อย่าแสดงท่าทีสั่งสอน และพยายามไตร่ตรองแทนที่จะตอบโต้[4]
    • รับฟังขณะที่เด็กพูด และพูดคุยกับเขาแทนที่จะบอกเขา
    • การพูดแค่ว่า “ลูก พ่อจะหมดความอดทนแล้วนะ” ก็ช่วยได้ เพราะมันเป็นการสื่อสารกับเด็กๆ อย่างตรงไปตรงมาว่าคุณรู้สึกอย่างไร และให้พวกเขาตอบสนองความรู้สึกนั้น[5]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ท่องคำพูดเตือนใจ.
    การพูดวนไปวนมาที่เป็นลักษณะของคำพูดเตือนใจนั้นช่วยปลอบโยนและทำให้รู้สึกสงบ ซึ่งมีประโยชน์ในสถานการณ์ที่คุณรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะปรี๊ดแตกอย่างแน่นอน นอกจากนี้คำพูดเตือนสติยังช่วยให้คุณปรับมุมมองที่มีต่อสถานการณ์ได้ด้วย[6]
    • ถ้าต้องการกระตุ้นความอดทนอดกลั้น ลองท่องว่า “เดี๋ยวมันก็ผ่านไป และฉันจะผ่านมันไปได้”[7]
    • ในการปรับมุมมอง ลองท่องว่า “ฉันรักลูกๆ ของฉันมากกว่า...” แล้วเติมอะไรก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ เช่น จาน กำแพง หรือสวนลงไป
  6. How.com.vn ไท: Step 6 สมมุติว่าตัวเองเป็นเด็ก.
    ประเมินสถานการณ์จากมุมมองของเด็กสักครู่ วิธีนี้จะช่วยให้คุณทำความเข้าใจได้ว่าเจตนาของพวกเขาคืออะไร และต้องตอบสนองอย่างไรพวกเขาจึงจะเข้าใจ[8]
    • ยิ่งคุณฝึกทำวิธีนี้มากเท่าไหร่ ในอนาคตคุณก็จะยิ่งเข้าใจมุมมองของเด็กมากยิ่งขึ้น ซึ่งหมายความว่าคุณจะปรี๊ดแตกน้อยลงในวันข้างหน้า
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

จัดการกับปฏิกิริยาในระยะยาว

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เด็ก.
    พิจารณาพฤติกรรม คำพูด และปฏิกิริยาของคุณที่มีต่อสถานการณ์ที่ทำให้คุณอดทนแทบไม่ไหว การตอบสนองทุกอย่างจะเป็นแบบอย่างให้กับพฤติกรรมของพวกเขาไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม[9]
    • เช่น การตะโกนใส่เด็กว่าให้เลิกตะโกนสักทีนั้นใช้กับเด็กๆ ไม่ได้ และยิ่งเป็นการส่งเสริมความคิดที่ว่า วิธีรับมือกับการปรี๊ดแตกที่ดีที่สุดคือการปรี๊ดแตกให้มากกว่า
    • แม้ว่าการเป็นแบบอย่างที่ดีตลอดเวลาจะเป็นเรื่องยาก และคุณก็อาจจะรู้ว่าตัวเองเป็นแบบอย่างเรื่องความอดทนในสถานการณ์แบบนี้มาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน แต่จำไว้ว่าแม้ว่าเด็กๆ จะไม่สมควรได้รับความอดทนจากคุณมากกว่านี้อีกแล้ว แต่คุณก็จำเป็นต้องให้สิ่งนั้นกับพวกเขาอยู่ดี
  2. How.com.vn ไท: Step 2 สื่อสารอารมณ์ลึกๆ ข้างในที่มีต่อผู้อื่นและสถานการณ์อื่นๆ....
    สื่อสารอารมณ์ลึกๆ ข้างในที่มีต่อผู้อื่นและสถานการณ์อื่นๆ. การหมดความอดทนเกิดจากอารมณ์อื่นๆ ที่เดือดอยู่ข้างในและยังไม่ได้จัดการ พูดออกมาและสื่อสารให้ชัดเจน ปัญหาภายนอกจะได้ไม่ทำให้คุณหมดความอดทนกับเด็กๆ[10]
    • ถ้าคุณยังไม่สามารถจัดการกับสถานการณ์ได้ในทันที ให้เขียนแผนปฏิบัติการลงในกระดาษและกลับมาอ่านอีกครั้งทันทีที่มีโอกาส
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ฝึกนิสัยสร้างความอดทนในชีวิตประจำวัน.
    มีหลายสิ่งในชีวิตที่คุณสามารถปรับเปลี่ยนเพื่อประโยชน์ด้านสุขภาพ ซึ่งจะช่วยสร้างความอดทนให้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติและช่วยให้คุณใจเย็นลงได้ การดูแลตัวเองและวิถีชีวิตที่สะท้อนถึงการดูแลตัวเองจะช่วยสร้างแนวคิดที่ดีต่อสุขภาพและเสริมสร้างความอดทน[11]
    • นอนหลับอย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง การนอนสำคัญต่อความเป็นอยู่ที่ดีทั้งทางร่างกายและทางอารมณ์ ซึ่งรวมไปถึงความอดทนด้วย การนอนดึกจะปล้นพลังงาน ความร่าเริง และความอดทนของวันพรุ่งนี้ไป
    • ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว ภาวะร่างกายขาดน้ำไม่เคยทำให้อารมณ์ที่ดิ่งลงอยู่แล้วดีขึ้น แต่การดื่มน้ำจะช่วยให้สมองของคุณปลอดโปร่งและรู้สึกกระฉับกระเฉง
    • วางแผนล่วงหน้าเสมอ วางแผนเผื่อเกิดเหตุการณ์ที่แย่ที่สุดสำหรับงานและวันที่ตึงเครียด และเขียนออกมาเป็นรายการเพื่อให้คุณรู้สึกพร้อมที่จะลุยกับทุกสิ่งที่รออยู่
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เป็นตัวอย่างของความอดทนในทุกด้านของชีวิต.
    ถ้าความอดทนเป็นส่วนหนึ่งของทุกๆ ด้านในชีวิต การสร้างความอดทนต่อเด็กๆ ก็จะง่ายขึ้น และเมื่อความอดทนกลายเป็นสิ่งที่กลมกลืนกับชีวิตของคุณไปแล้ว คุณก็จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็กๆ ได้ง่ายขึ้น
    • ฝึกความอดทนในที่ทำงานหากการพูดคุยกับเจ้านายหรือเพื่อร่วมงานทำให้ความอดทนของคุณต่ำลง หายใจลึกๆ และสื่อสารความรู้สึกของตัวเองให้ชัดเจน
    • พยายามสร้างความอดทนต่อคนรักและครอบครัวด้วยเช่นกัน เริ่มจากการพูดถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่เพื่อให้ทุกคนอดทนกันและกันได้มากขึ้น
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ปลูกฝังทักษะที่มีประโยชน์ให้แก่เด็ก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ช่วยให้เด็กเรียนรู้เรื่องการควบคุมตัวเองและการอดทนรอคอย....
    ช่วยให้เด็กเรียนรู้เรื่องการควบคุมตัวเองและการอดทนรอคอย. โดยธรรมชาติเด็กๆ ไม่อดทนอยู่แล้ว ซึ่งในที่สุดก็จะทำให้คุณหมดความอดทนไปด้วย และเป็นวงจรแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ การปลูกฝังเด็กเรื่องการควบคุมตัวเองและการอดทนรอคอยเป็นวิธีที่ดีในการสร้างค่านิยมเรื่องความอดทน[12]
    • การนำสิ่งเร้าออกไปเป็นวิธีที่ดีในการเสริมสร้างความอดทน การซ่อนสิ่งที่เย้ายวนใจจะทำให้เด็กอดทนได้มากขึ้นเพราะพวกเขาไม่เห็นว่าตัวเองอยากได้อะไร การนำสิ่งนั้นออกไปให้พ้นหูพ้นตาจะทำให้เด็กๆ ลืมนึกถึงมันได้อย่างแน่นอน
    • ใช้การเบี่ยงเบนความสนใจเชิงบวกเพื่อไม่ให้พวกเขาเริ่มหมดความอดทน ลองให้พวกเขาร้องเพลงหรือให้เล่นสปริงของเล่นเพื่อให้พวกเขาได้จดจ่อกับบางสิ่งบางอย่างและฝึกการรอคอยอย่างอดทน
    • สงบสติอารมณ์แม้ว่าลูกจะอาละวาด
  2. How.com.vn ไท: Step 2 กำหนดกฎระเบียบและขอบเขต.
    วิธีนี้จะช่วยให้ความคาดหวังของคุณชัดเจนและเสมอต้นเสมอปลาย ซึ่งจะทำให้เกิดสถานการณ์ที่มาทดสอบความอดทนของเด็กๆ น้อยลงในอนาคต กฎระเบียบและขอบเขตทำให้เด็กๆ มีสิ่งที่เป็นโครงสร้างมั่นคงให้พวกเขายึดเป็นหลักได้[13]
    • การกำหนดกฎระเบียบและขอบเขตเป็นเรื่องของสอนให้เด็กๆ รู้ว่าอะไรที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับสถานการณ์ เพราะว่ามันจะกลายเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องพยายามและทำตามให้ได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ขอโทษเมื่อถึงเวลา.
    แม้ว่าการฝึกฝนและการพยายามสร้างความอดทนจะเป็นประโยชน์อย่างมาก แต่ถึงอย่างไรคุณก็เป็นมนุษย์และต้องทำผิดพลาดบ้างเป็นครั้งคราว คุณอาจจะเผลอหลุด แต่การขอโทษเด็กๆ และพยายามกลับไปอดทนเหมือนเดิมจะทำให้สถานการณ์นั้นมีความหมายมากยิ่งขึ้น[14]
    • การขอโทษจะทำให้เด็กๆ รู้ว่า คุณเข้าใจว่าตัวเองรับมือกับสถานการณ์ได้ไม่ดีเท่าที่ควร และคุณจะพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป วิธีนี้เป็นการสร้างแบบอย่างที่ดีในการขอโทษเมื่อคุณทำผิดต่อพวกเขา ซึ่งจะทำให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะทำสิ่งนั้นเช่นเดียวกัน
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ความอดทนอีกประเภทหนึ่งที่หาได้ยากก็คือเมื่อเราต้องรับมือกับเด็กที่ดื้อรั้นสุดๆ ในกรณีนี้เคล็ดลับส่วนหนึ่งก็คือการมีอารมณ์ขันที่ไม่เกี่ยวกับเด็กแต่เป็นเรื่องของสถานการณ์ หาสิ่งตลกขบขัน สนุก และมีความสุขเพื่อดึงดูดให้เด็กๆ ออกจากความดื้อรันของตัวเองและมาสนใจสิ่งที่คุณทำอยู่แทน
  • บางครั้งความอดทนอย่างลึกซึ้งก็จำเป็นหากเด็กผ่านความเจ็บปวดมาอย่างสาหัส คนที่รับเด็กมาเลี้ยงเป็นลูกบุญธรรมหรืออุปการะเด็กที่ผ่านความยากลำบากหรือความหวาดกลัว เช่น การใช้ชีวิตในช่วงสงคราม การขาดแคลนอาหาร หรือความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ มักยืนยันว่า คุณจำเป็นที่จะต้องรอคอยอย่างอดทนในระหว่างที่เด็กกำลังเรียนรู้ที่จะกลับมาไว้ใจอีกครั้งและออกมาจากดักแด้ของความปลอดภัยที่เด็กได้พันตัวเองเอาไว้ เมื่อเขากลับมาตระหนักได้อีกครั้งว่ามีคนห่วงใยและเคารพเขา ความอดทนประเภทนี้ต้องอาศัยความอดกลั้นรูปแบบพิเศษ แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากหากเด็กต้องเรียนรู้ที่จะกลับมาไว้ใจอีกครั้ง
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าความใจร้อนมีผลต่อชีวิตและส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ คุณอาจจะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำความเข้าใจว่าทำไมจึงเป็นแบบนี้ เพราะแก่นแท้ของอารมณ์ร้อนที่รุนแรงอาจเป็นปัญหาด้านจิตใจที่สามารถจัดการได้หากได้รับการช่วยเหลือและการส่งเสริมที่ถูกต้อง
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Wits End Parenting
ร่วมเขียน โดย:
ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเด็ก
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Wits End Parenting. Wits End Parenting เป็นการฝึกพ่อแม่ในเบิร์กลีย์ แคลิฟอร์เนีย ที่เชี่ยวชาญในการรับมือกับเด็ก "พิเศษ" ที่มีอารมณ์แปรปรวน สมาธิสั้น หรือก้าวร้าว นักให้คำปรึกษาของ Wits End Parenting จะจัดทำหลักการฝึกและดูแลตามแต่สภาวะของเด็กแต่ละคนเพื่อผลในระยะยาว ทำให้พ่อแม่มีอิสระจากการดูแลได้มากขึ้น บทความนี้ถูกเข้าชม 2,330 ครั้ง
หมวดหมู่: พ่อแม่
มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,330 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา