วิธีการ สร้างแผนที่ความคิด

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ผู้คนใช้ภาพในการนำเสนอ จัดระเบียบ และทำความเข้าใจข้อมูลมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในคริสต์ทศวรรษ 1970 โทนี บูซาน นักวิจัยและนักการศึกษาได้พัฒนาแผนที่ความคิดขึ้นมาอย่างเป็นทางการ แผนที่ความคิดมีรูปร่างคล้ายใยแมงมุมหรือต้นไม้ซึ่งแตกแขนงออกไปเพื่อแสดงความสัมพันธ์ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และช่วยจดจำว่าได้เรียนรู้อะไรไปบ้าง แผนที่ความคิดช่วยให้เราทำและเข้าใจเรื่องต่างๆ ได้ง่ายมากขึ้น จึงสามารถเข้าใจและจัดระเบียบเรื่องต่างๆ ในชีวิตได้เป็นอย่างดี บทความนี้จะบอกวิธีการออกแบบแผนที่ความคิด เขียนออกมา และพิจารณาข้อดีกับข้อเสียของโปรแกรมสร้างแผนที่ความคิดที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ออกแบบแผนที่ความคิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 นึกภาพเครื่องบินอยู่บนท้องฟ้า.
    เมื่อนึกภาพหรือเห็นเครื่องบินอยู่บนท้องฟ้า ให้สนใจแต่เครื่องบินในตอนนั้น และปล่อยให้สมองคิด ให้เริ่มนำเครื่องบินมาเป็นหลักอ้างอิงหรือหลักในการเชื่อมโยง อาจอ้างอิงหรือเชื่อมโยงกับสีของท้องฟ้า เครื่องบินแบบต่างๆ วิธีการบิน นักบิน ผู้โดยสาร และอื่นๆ [1] เพราะกำลังนึกภาพ ไม่ใช้นึกคำพูด เราจึงมักจะนึกถึงอะไรที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบินไปด้วย
    • เมื่อนึกภาพ เราจะเริ่มสร้างแผนที่ความคิดในใจทันที สร้างความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เกี่ยวข้องหรือความคิด คล้ายกับการสร้างเว็บไซต์[2]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 นึกภาพแมงมุมหรือต้นไม้ที่เต็มไปด้วยกิ่งก้าน....
    นึกภาพแมงมุมหรือต้นไม้ที่เต็มไปด้วยกิ่งก้าน. ให้นำภาพเครื่องบินมาสร้างเป็นแผนที่ความคิดและเขียนคำว่า “เครื่องบิน” ไว้ตรงกลาง (ลำตัวแมงมุมหรือลำต้นของต้นไม้) กระดาษเปล่าซึ่งวางไว้ในแนวนอน จากนั้นลากเส้นสีต่างๆ จากเครื่องบิน (กิ่งไม้หรือขาแมงมุม) เขียนสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับเครื่องบินที่ปลายเส้นเหล่านี้ อย่างเช่น นักบินและสนามบิน ถ้ามีอะไรที่เกี่ยวข้องกับนักบินและสนามบิน ให้ลากเส้นออกมาจากคำเหล่านี้
    • เมื่อนึกถึงอะไรที่เกี่ยวข้องกับนักบิน ก็อาจนึกถึงเงินเดือนหรือการฝึก แผนที่ความคิดก็จะแตกแขนงออกไปมากขึ้น [3]
    • แผนที่ความคิดสะท้อนให้เห็นว่าสมองของเราที่จริงแล้วประมวลผลและนึกข้อมูลออกอย่างไร สมองจะประมวลผลและนึกข้อมูลโดยการเชื่อมโยงและการมองเห็น ไม่ใช่ทำงานเป็นเส้นตรงอย่างที่เคยคิดกัน
    • ตัวอย่างเช่น แผนที่ความคิดได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเป็นวิธีจดโน้ตที่ได้ผลดีมาก แทนที่จะจดคำพูดของคุณครูลงไปทุกคำ (คิดแบบเส้นตรง) ให้เขียนชื่อหัวข้อตรงกลางกระดาษ ส่วนหัวข้อย่อยให้เขียนไว้ที่ปลายเส้นที่เชื่อมจากหัวข้อใหญ่ ถ้ามีการกล่าวถึงหัวข้อย่อย ตัวอย่าง วันเดือนปี และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ให้วาดแผนที่ความคิดตามที่ได้ยินลงไป
    • เวลาจะเขียนเรียงความ บทความวิจัย ทบทวนเนื้อหาเพื่อเตรียมตัวสอบ ให้สร้างแผนที่ความคิดแทนการเขียนเค้าโครงตามปกติ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 คิดในแบบที่สมองคิด.
    บูซานเรียกว่าการคิดรอบทิศทาง เมื่อสมองเชื่อมโยงกับอะไรสักอย่าง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นความคิด เสียง ภาพ ความรู้สึกอะไรก็ตาม “สิ่งนั้น” จะยืนอยู่ใจกลางความคิดของเรา มีความคิด ภาพ ความรู้สึกต่างๆ หลายอย่างนับไม่ถ้วนเชื่อมโยงออกมาจากใจกลางนั้น[4]
    • แผนที่ความคิดช่วยเราเชื่อมโยงชิ้นส่วนข้อมูลและแนวคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน ยิ่งสมองเชื่อมโยงข้อมูลได้มากเท่าไร ก็ยิ่งจดจำข้อมูลได้มากขึ้นเท่านั้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สร้าง เก็บ ซึมซับ และสื่อสารข้อมูล.
    การนำข้อมูลมาเชื่อมโยงกันจะทำให้สามารถสร้าง เก็บ ซึมซับ และสื่อสารข้อมูลได้ดีและเร็ว ขณะกำลังวาดแผนที่ความคิด ก็จะมีการทำแบบนี้อยู่แล้ว เราจะใช้คำ รูปภาพ เส้น สี สัญลักษณ์ ตัวเลข และอื่นๆ ระบุและเชื่อมโยงความคิด ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าข้อเขียนและภาพจะช่วยให้เราจำได้ดีขึ้น เพิ่มความคิดสร้างสรรค์และการประมวลผลความคิด สีช่วยในการจดจำได้มากทีเดียว[5][6] เมื่อใช้สิ่งเหล่านี้ เราจะสามารถสร้างแผนที่ความคิดขึ้นมาได้
    • แผนที่ความคิดเป็นเครื่องมือในการสร้าง สิ่งต่างๆ และคิดวิธีการแก้ปัญหา การใช้แผนที่ความคิดเพื่อจุดประสงค์สองอย่างนี้ต้องมีการระดมความคิด ฉะนั้นเราจึงสามารถนำแผนที่ความคิดมาใช้กับเรื่องต่างๆ เช่น การแต่งงาน การทำอาหารเมนูใหม่ๆ การรณรงค์โฆษณา การเสนอขอขึ้นเงินเดือนกับหัวหน้า และอื่นๆ เขียนออกมาสิว่าเรารู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องนั้นบ้าง แผนที่ความคิดยังนำมาใช้แก้ปัญหาต่างๆ เช่น การบริหารเงิน การวินิจฉัยสุขภาพ ความขัดแย้งระหว่างบุคคล เป็นต้น เราสามารถเขียนแผนที่ความคิดเพื่อหาหนทางแก้ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ได้
    • แผนที่ความคิดใช้ในการเก็บ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหนึ่งโดยตรง จึงสามารถบีบอัดข้อมูลปริมาณมากให้เล็กลงได้ ตัวอย่างเช่น แผนที่ความคิดช่วยให้รู้ว่าต้องจดบันทึกอะไรบ้าง ต้องบันทึกอะไรบ้างในการประชุม ต้องเขียนอะไรบ้างในอัตชีวประวัติของตนเอง ต้องมีข้อมูลอะไรบ้างในเรซูเม่ เป็นต้น
    • แผนที่ความคิดช่วยเราให้ซึมซับ ข้อมูลและนำไปใช้ ฉะนั้นจึงช่วยให้สามารถจดจำข้อมูลอย่างเช่น เนื้อหาในหนังสือ การอภิปรายกับผู้อื่น ตารางเวลา และอื่นๆ ได้ดีขึ้น ยังใช้แผนที่ความคิดในการวิเคราะห์เรื่องยากๆ อย่างเช่น การเล่นหุ้น การสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการทำงานของเครื่องยนต์กลไกได้ด้วย แผนที่ความคิดยังนำมาใช้ในการวางแผนและดำเนินการเรื่องอย่างเช่น การพักร้อน การบริหารเวลา การทำงานโครงการสำคัญ เป็นต้น
    • แผนที่ความคิดเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพ[7] สามารถสร้างแผนที่ความคิดเพื่อนำมาใช้ในการนำเสนองาน โครงงานกลุ่ม การสนทนากันอย่างเปิดเผย สรุปเนื้อหาของงานเขียน เป็นต้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ทำแผนที่ความคิดด้วยมือตนเองหรือด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์....
    ทำแผนที่ความคิดด้วยมือตนเองหรือด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์. ผู้คนทำแผนที่ความคิดมาหลายสิบปีแล้ว แต่เมื่อมีโปรแกรมสร้างแผนที่ความคิด ผู้คนก็สร้างแผนที่ความคิดของตนเองโดยใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในโลกของธุรกิจแล้วมีการนำซอฟต์แวร์มาใช้ทำทุกอย่างเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่บันทึกรายงานการประชุมไปจนถึงการบริหารโครงการให้เสร็จสิ้น จะเลือกทำแผนที่ความคิดด้วยตนเองหรือใช้คอมพิวเตอร์นั้นแล้วแต่บุคคลและสภาพแวดล้อม
    • อย่างไรก็ตามขอแนะนำให้เขียนแผนที่ความคิดในแบบของตนเอง ฉะนั้นเขียนออกมาอย่างไรก็ได้
    • อย่าเข้มงวดเรื่องรูปแบบแผนที่ความคิดมากเกินไป ถ้าเข้มงวดกับรูปแบบแผนที่ความคิดมากเกินไป เราจะไม่ได้ใช้สมองซีกซ้ายและซีกขวาอย่างเต็มที่
    • แผนที่ความคิดต้องพึ่งการใช้สมองทั้งสองซีกเพื่อสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงกัน สมองซีกขวาใช้สำหรับนึกภาพ สี มิติ จินตนาการ และการคิดแบบ “มองภาพรวม” สมองซีกซ้ายไว้สำหรับคิดคำ ตรรกะ วิเคราะห์ ตัวเลข และการคิดไปตามลำดับ[8][9][10]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

สร้างแผนที่ความคิดด้วยมือตนเอง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 แสดงให้เห็นโครงสร้างของหัวข้อ.
    แผนที่ความคิดควรแสดงให้เห็นโครงร่างหรือโครงสร้างของหัวข้อนั้น สามารถแสดงโครงร่างหรือโครงสร้างนี้ด้วยการทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างกันของความคิดต่างๆ อย่างชัดเจนและเห็นว่าความคิดเหล่านั้นเกี่ยวข้องกันอย่างไร เราจะกลับมาดูแผนที่ความคิดนี้และจดจำข้อมูลภายหลัง แต่ก่อนอื่นเราต้องเขียนความคิดทุกอย่างที่เกิดขึ้นในหัวลงไปและเชื่อมโยงความคิดก่อน
    • ลองนึกถึงภาษิตที่บอกว่า “ภาพหนึ่งแทนคำพูดได้หนึ่งพันคำ” ดูสิ แล้วเราจะเข้าใจว่าแผนที่ความคิดควรหน้าตาเป็นอย่างไร แผนที่ความคิดต้องแสดงให้เห็นทั้งภาพรวมและรายละเอียด
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ระดมสมองคิดทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ.
    เราสามารถระดมสมองก่อนที่จะเริ่มวาดแผนที่ความคิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่ได้บันทึกข้อมูลเอาไว้อย่างเช่น มีโน้ตจากการฟังบรรยายหรือประชุม จะระดมสมองคิดให้เสร็จไปทีละหัวข้อหรือคิดทุกหัวข้อพร้อมกันเลยก็ได้ เมื่อระดมสมอง เราต้องเขียนทุกอย่างที่นึกออกเกี่ยวกับหัวข้อนั้นลงไป เขียนเป็นคำสำคัญหรือวลีดีกว่าเขียนเป็นประโยคหรือย่อหน้า
    • อย่าเพิ่งจัดระเบียบข้อมูล เขียนอะไรที่นึกออกลงกระกระดาษก่อน[11]
    • เมื่อกำลังระดมความคิด ถามตนเองว่าความคิดเหล่านี้เกี่ยวข้องกับหัวข้ออย่างไรและแตกต่างกันตรงไหน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 วาดแผนที่ความคิดก่อน.
    คนส่วนใหญ่ชอบวาดแผนที่ความคิดออกมาก่อน ไม่ว่าจะใช้วิธีไหน ต้องเขียนหัวข้อไว้ตรงกลางกระดาษ วางกระดาษในแนวนอนและเขียนชื่อหัวข้อลงไปที่กลางกระดาษ 1–2 คำ วงกลมชื่อหัวข้อไว้[12] พยายามเขียนตัวอักษรให้มีขนาดเท่ากันเพื่อให้ดูเรียบร้อยและอ่านง่าย อาจใส่สีให้กับคำและวงกลมก็ได้
    • พยายามใช้สีในแผนที่ความคิดอย่างน้อยสามสี เพราะสีจะช่วยแยกแยะความคิดและทำให้จำข้อมูลได้ง่ายขึ้น
    • อย่าใช้กระดาษที่มีเส้น เพราะอาจทำให้เราเผลอคิดเป็นเส้นตรง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ลากเส้นและใส่ชื่อหัวข้อย่อย.
    ลากเส้นของหัวข้อย่อยแต่ละเส้นออกมาจากวงกลมหัวข้อใหญ่และใส่ชื่อเป็นวลีสั้นๆ หรือภาพไว้ที่ปลายเส้นนั้น อย่าใช้อักษรย่อ จากตัวอย่างก็จะได้หัวข้อย่อยว่าสนามบินและนักบิน เส้นทุกเส้นหรือกิ่งก้านสาขาในแผนที่ความคิดควรเชื่อมโยงกันและเส้นแรกๆ ควรหนาที่สุด
    • แต่ละคำหรือแต่ละภาพที่ใช้ในแผนที่ความคิดต้องมีเส้นเป็นของตนเอง
    • ใช้ภาพ รูปถ่าย และภาพวาดให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    • ตัวอย่างเช่น วาดสัญลักษณ์หยุดข้างหัวข้อย่อยที่เป็นด้านลบ (สนามบิน) หรือวาดเครื่องหมายบวกสีเหลืองให้กับหัวข้อย่อยที่เป็นด้านบวก (นักบิน)
    • ใช้ลูกศร สัญลักษณ์ การเว้นวรรค และอื่นๆ มาเชื่อมโยงภาพต่างๆ และทำให้เกิด “เครือข่ายภาพ” ซึ่งบูซานกล่าวว่าเป็นส่วนสำคัญของแผนที่ความคิด[13]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 เพิ่มเส้นหัวข้อย่อย.
    เส้นที่ออกมาจากหัวข้อย่อยควรจะบางกว่าเส้นที่เชื่อมโยงระหว่างหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย คิดสิว่ามีอะไรเกี่ยวข้องกับหัวข้อย่อยนั้นบ้าง มีประเด็นหรือข้อเท็จจริงอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อย่อย ในตัวอย่างของเรามีอะไรเกี่ยวข้องกับสนามบินบ้าง ความล่าช้าหรือเปล่า ความปลอดภัยไหม อาหารแพงหรือเปล่า
    • จากนั้นลากเส้นจากหัวข้อสนามบินไปที่แต่ละหัวข้อเหล่านี้ เราจะให้ชื่อหัวข้อเหล่านี้เช่น ความปลอดภัย
    • ใส่สีและรูปภาพลงไปด้วย[14]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 แตกแขนงความคิดต่อไปเรื่อยๆ.
    แตกแขนงความคิดต่อไปเรื่อยๆ เพื่อทำให้แผนที่ความคิดสมบูรณ์ เส้นจะเริ่มบางลงเรื่อยๆ เพราะหัวข้อย่อยเริ่มมีรายละเอียดอย่างข้อเท็จจริงหรือวันเดือนปีมาสนับสนุนมากขึ้น อาจแตกแขนงเพิ่มไปอีกจากหัวข้อเดิม หรืออาจแม้แต่เพิ่มหัวข้อย่อย เมื่อค้นพบอะไรใหม่ๆ
    • อาจเรียงลำดับหัวข้อย่อยด้วยก็ได้
    • ฉะนั้น ถ้า “ความล่าช้า” “ความปลอดภัย” และ “อาหารแพง” เป็นหัวข้อแยกย่อยไปอีก ก็จะลากเส้นหรือแตกแขนงไปที่หัวข้อแยกย่อยเหล่านี้อย่างละเส้น จากนั้นนำหัวข้อแยกย่อยที่เห็นว่าสำคัญที่สุดมาไว้ที่เส้นบนสุด
  7. How.com.vn ไท: Step 7 เพิ่มเติมหรือปรับแก้จนเสร็จสิ้น.
    เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ ปรับเปลี่ยนเมื่อพบความเชื่อมโยงใหม่ๆ ปรับแก้จนพอใจ การตรวจแก้จะทำให้เห็นความสอดคล้องและข้อผิดพลาดในแผนที่ความคิด เราจะได้แผนที่ความคิดที่เรียบร้อย ไม่ยุ่งเหยิงนัก ถ้าแผนที่ความคิดยุ่งเหยิงเกินไป จะทำให้เห็นภาพรวมหรือรายละเอียดไม่ชัดเจน
    • อีกทางหนึ่งคือถามตนเองว่าได้เรียนรู้อะไรบ้าง เราได้ค้นพบอะไร
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

ใช้โปรแกรมและแอปสร้างแผนที่ความคิด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พิจารณาข้อดี.
    ซอฟต์แวร์และแอปสร้างแผนที่ความคิดได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก บางโปรแกรมหรือบางแอปนั้นไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แถมยังมีศักยภาพสูงมาก ทำให้สามารถเข้าใช้งานพร้อมกันกับผู้อื่น ระดมสมอง พูดคุย ปรับแก้แผนที่ความคิด นำเสนอบนไวท์บอร์ด วาดเขียนอย่างอิสระช่วงประชุมหรือนำเสนองาน ใช้ส่วนตัวบนโทรศัพท์มือ บริหารโครงการที่มีความซับซ้อนตั้งแต่ต้น และจัดกำหนดการต่างๆ ได้[15][16][17][18]
    • โปรแกรมและแอปมีตั้งแต่ใช้ง่ายไปจนถึงต้องได้รับการฝึกเพื่อให้รู้ถึงศักยภาพของโปรแกรม
    • มีโปรแกรมระดับท็อปสองโปรแกรมที่ให้ใช้ฟรี โปรแกรมอื่นๆ จะราคาตั้งแต่ประมาณ 156 บาทต่อเดือนขึ้นไปโดยขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของโปรแกรม
    • โปรแกรมเหล่านี้ใช้ปรับแก้แผนความคิดได้ง่ายและดูเป็นระเบียบ สามารถอัพโหลดภาพของตนเองได้
    • ส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลดเป็นไฟล์ PDF หรือดาวน์โหลดในรูปแบบอื่นได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 พิจารณาข้อเสีย.
    โปรแกรมมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป บางครั้งก็อาจทำให้ไม่สามารถสร้างแผนที่ความคิดได้อย่างอิสระ[19] ตัวอย่างเช่น โปรแกรมหนึ่งอาจให้เราใส่ลูกศรจากหัวข้อแยกย่อยหนึ่งไปอีกหัวข้อแยกย่อยหนึ่งได้ แต่อีกโปรแกรมหนึ่งไม่มีให้ ความสามารถที่จะสร้างการเชื่อมโยงที่มองเห็นได้ชัดเจนนั้นสำคัญมากในการสร้างแผนผังความคิด
    • โปรแกรมส่วนใหญ่จะให้ใช้เมาส์ในการวาดแผนที่ความคิด
    • โปรแกรมต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และมีราคาแพง การวาดแผนที่ความคิดด้วยมือตนเองจะเพิ่มการรับรู้และทำให้ความจำดีขึ้น
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ลองใช้ซอฟต์แวร์แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายและอ่านคำวิจารณ์จากผู้ใช้....
    ลองใช้ซอฟต์แวร์แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายและอ่านคำวิจารณ์จากผู้ใช้. ทดสอบด้วยการทดลองใช้ซอฟต์แวร์แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายสร้างแผนที่ความคิด จะช่วยให้รู้จักศักยภาพของโปรแกรม การทดลองใช้จะช่วยให้รู้ว่าโปรแกรมนี้มีประโยชน์พอที่จะใช้จริงเพื่อให้ได้ฟังก์ชันต่างๆ เพิ่มขึ้นหรือเปล่า อ่านคำวิจารณ์ทางอินเตอร์เน็ตเพื่อให้รู้ว่าผู้คนชอบใช้โปรแกรมไหนและพบปัญหาอะไรบ้าง โปรแกรมหรือแอปบางตัวเหมาะกับใช้ทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงาน แต่ไม่เหมาะใช้ในการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • อย่าเพิ่งใคร่ครวญถึงความคิดต่างๆ ที่เขียนลงไป ให้เขียนไปเรื่อยๆ ก่อน ถ้าเห็นว่าหัวข้อย่อยไม่เกี่ยวข้องกับหัวข้อใหญ่ ก็เริ่มลากเส้นจากหัวข้อใหญ่และใส่หัวข้อย่อยใหม่อีกครั้ง
  • อย่ากลัวที่จะแสดงความเป็นศิลปินออกมา ถ้าหัวข้อนั้นเกี่ยวกับดนตรี ก็ให้แตกหัวข้อย่อยเป็นเครื่องดนตรีแต่ละอย่าง
  • บันทึกสิ่งที่คิดด้วยการอัดเสียงพูดของตนเองไว้
  • ให้กิ่งก้านของความคิดหนึ่งมีสีหนึ่งและกิ่งก้านความคิดอีกกิ่งหนึ่งมีสีหนึ่ง
  • ถามคำถามในใจอย่างเช่น “ทำไมฉันถึงไม่เข้าใจเรื่องนี้” เมื่อรู้สึกว่ามีอะไรติดขัด สมองจะหาคำตอบให้ ให้ถามคำถามที่หวังว่าจะได้คำตอบอย่างเช่น “เกิดอะไรขึ้นตอนนี้”[20]
  • บางครั้งต้องถอยกลับไปคิดใคร่ครวญแล้วกลับมาสร้างแผนภาพความคิดใหม่ในภายหลัง!
  • ร่างแผนที่ความคิดขึ้นมาก่อนและใส่ความคิดทุกอย่างลงในร่างนั้น จากนั้นค่อยตัดสินใจว่าความคิดไหนจะนำมาใส่ในแผนที่ความคิดฉบับจริง
  • จะสร้างแผนที่ความคิดให้ออกมาเรียบง่ายก็ได้ ไม่ต้องสนใจเรื่องสี ไม่ต้องสนใจเรื่องภาพ เขียนคำสักคำและวงกลมรอบคำนั้น ลากเส้นจากวงกลมนั้นและใส่คำอื่นที่นึกออกลงไป การใช้เวลาวาดภาพ ลงสี กำหนดความหนาบางของเส้น และความเข้มอ่อนมากเกินไปอาจทำให้ไม่สามารถเขียนแผนภาพความคิดอย่างต่อเนื่องได้
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: ทีมงานวิกิฮาว
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียนในทีมวิกิฮาว
บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา

ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 7,238 ครั้ง
หมวดหมู่: การศึกษา
มีการเข้าถึงหน้านี้ 7,238 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา