ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

การสรุปรวบยอดเนื้อหาบทความในวารสาร คือ ขั้นตอนของการเน้นและนำเสนอเฉพาะเนื้อหาบางส่วนของผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในแหล่งข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งได้ทำการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญในสายงาน (Peer-Review) ไว้แล้ว การสรุปรวบยอดจะช่วยนำเสนอข้อคิดเห็นแบบกระชับและได้ใจความให้แก่กลุ่มผู้สนใจอ่าน เพื่อให้พวกเขาพอที่จะเห็นภาพประเด็นสำคัญของบทความได้ล่วงหน้า การเขียนและการสรุปรวบยอดถือเป็นหน้าที่อย่างหนึ่ง ซึ่งนักศึกษามหาวิทยาลัยและผู้ช่วยทำงานวิจัยส่วนใหญ่จำเป็นต้องทำ คุณสามารถศึกษาวิธีการอ่านและสรุปบทความอย่างมีประสิทธิภาพ วางแผนการสรุปเนื้อหาได้สำเร็จ และเขียนมันจนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ จากการทำขั้นตอนด้านล่างนี้

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การอ่านบทความ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อ่านบทคัดย่อ.
    บทคัดย่อเป็นย่อหน้าสั้นๆ ที่เขียนโดยผู้แต่ง เพื่อสรุปบทความวิจัย มันมักจะมีอยู่ในวารสารทางวิชาการส่วนใหญ่และมีความยาวไม่เกิน 100-200 คำ บทคัดย่อจะจะสรุปเนื้อหาในวารสารออกมาแบบสั้นๆ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาวิจัยเฉพาะส่วนที่สำคัญ
    • จุดประสงค์ของบทคัดย่อ คือ การช่วยให้นักวิจัยได้เห็นภาพคร่าวๆ และตัดสินได้ทันทีว่า บทความวิจัยนั้นเกี่ยวข้องกับงานของพวกเขาหรือไม่ เช่น หากคุณกำลังรวบรวมข้อมูลวิจัยเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันในสัตว์ที่ใช้ฟันแทะ คุณก็จะรู้ได้ทั้งแง่ที่ว่า บทความวิจัยนั้นมันเกี่ยวของกับงานของคุณหรือไม่ รวมถึงรู้ด้วยว่าผลสรุปของบทความวิจัยนั้น มันขัดแย้งหรือสอดคล้องกับผลการค้นพบในงานวิจัยของคุณ ด้วยการอ่านเพียงไม่เกิน 100 คำเท่านั้น
    • จำไว้ว่า บทคัดย่อและส่วนสรุปรวบยอดของบทความนั้นแตกต่างกัน ดังนั้น หากบทสรุปของบทความใด ที่ดูเหมือนกับบทคัดย่อ ก็ถือว่าใช้ไม่ได้ [1] เพราะบทคัดย่อเป็นการย่อแบบกระชับมาก และไม่สามารถถ่ายทอดรายละเอียดและบทสรุปของงานวิจัย ได้เท่ากับส่วนสรุปรวบยอด[2]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เข้าใจบริบทของงานวิจัย.
    คุณต้องรู้ว่าผู้แต่งกำลังถกหรือวิเคราะห์ประเด็นใดอยู่ ทำไมงานวิจัยหัวข้อนี้จึงมีความสำคัญ และมันเป็นบทความที่จัดทำขึ้นเพื่อโต้แย้งบทความอื่นในสายงานเดียวกันหรือไม่ ฯลฯ ด้วยวิธีนี้ คุณจะได้แน่ใจว่าควรนำประเด็น ใจความ และข้อมูลส่วนใดมารวบยอดสรุป
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ข้ามไปอ่านบทสรุป.
    จงข้ามไปอ่านบทสรุป เพื่อหาว่างานวิจัยชิ้นนั้นได้ผลลัพธ์อย่างไร เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อนั้น และยังได้รู้ว่าประเด็นและเนื้อหาต่างๆ อันซับซ้อนจะมาลงเอยอย่างไร มันจะง่ายขึ้นในการตีความข้อมูลต่างๆ หากคุณอ่านในส่วนที่ผู้แต่งสรุปเอาไว้ก่อน
    • หลังจากอ่านส่วนสรุปแล้ว คุณยังคงต้องกลับไปอ่านเนื้อหาทั้งหมดอยู่ดี หากพบว่างานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับงานของคุณ หากคุณกำลังรวบรวมผลการวิจัย และมองหาเฉพาะงานวิจัยที่ขัดแย้งกับงานของคุณ คุณก็ไม่จำเป็นต้องไปอ่านข้อมูลส่วนอื่นๆ ของงานที่ได้ผลการวิจัยสอดคล้องกับงานของคุณ
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ค้นหาประเด็นโต้แย้งหลักหรือจุดยืนของบทความวิจัย....
    ค้นหาประเด็นโต้แย้งหลักหรือจุดยืนของบทความวิจัย. การที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้เสียเวลาไปกับการอ่านซ้ำสองรอบ เพื่อให้แน่ใจในประเด็นหลัก คุณก็ควรจะจับจุดนั้นให้ได้ตั้งแต่คราวแรก พยายามจดโน้ตหรือขีดเน้นประเด็นหลักที่คุณอ่านเจอ
    • จงใส่ใจเป็นพิเศษในหนึ่งหรือสองย่อหน้าแรกของบทความวิจัย เพราะมันเป็นส่วนที่ผู้แต่งมักระบุ ข้อวินิจฉัย ของบทความวิจัยทั้งหมดเอาไว้ พยายามค้นหาว่าอะไรคือข้อวินิจฉัยดังกล่าว และตัดสินว่าผู้แต่งต้องการโต้แย้งประเด็นใดด้วยงานวิจัยของพวกเขา
      • มองหาคำอย่างเช่น สมมติฐาน ผลลัพธ์ ตามแบบแผนทั่วไป โดยทั่วไปแล้ว หรือ เห็นได้ชัดว่า เพื่อหาเบาะแสว่า ข้อวินิจฉัยดังกล่าวอยู่ในประโยคใด
    • ขีดเส้นใต้ ทำตัวเน้น หรือรีไรท์ประเด็นถกเถียงหลักของบทความวิจัยเอาไว้ในต่างหาก จากนั้น พยายามโฟกัสไปที่ประเด็นถกเถียงเหล่านั้น เพื่อช่วยให้คุณสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาส่วนอื่นของบทความวิจัย เข้ากับประเด็นถกเถียงดังกล่าวและดูว่ามันสอดรับกันอย่างไร
    • ในเชิงมานุษยวิทยา บางครั้งมันอาจจะยากหน่อย ที่จะหาข้อวินิจฉัยที่ชัดเจนและกระชับในบทความวิจัยนั้น เพราะมันมักเป็นหัวข้อที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรม (เช่น วิชาเกี่ยวกับบทกวีที่เกิดขึ้นหลังยุคใหม่ หรือวิชาเกี่ยวกับภาพยนตร์แนวเฟมินิสท์ เป็นต้น) หากมันคลุมเครือ พยายามทำความเข้าใจด้วยตนเองว่า ผู้แต่งต้องการสื่อหรือโต้แย้งในประเด็นใดจากบทความวิจัยชิ้นนั้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 มองประเด็นถกเถียง.
    พยายามอ่านส่วนอื่นๆ ในบทความวารสารต่อไป และเน้นประเด็นถกเถียงหลักที่ผู้แต่งระบุเอาไว้ รวมถึงไอเดียและแนวคิดหลักที่มีการหยิบยกมากล่าวอ้าง จากนั้น ก็พยายามเอาไปเชื่อมโยงกับแนวคิดหลักซึ่งผู้แต่งได้ระบุเอาไว้ตั้งแต่ช่วงแรกของบทความนั้น
    • จุดโฟกัสต่างๆ ในบทความวารสาร มักจะถูกระบุไว้ด้วยหัวเรื่องย่อย ซึ่งบรรยายถึงขั้นตอนหรือพัฒนาการเฉพาะบางอย่าง ที่เกิดขึ้นระหว่างทำผลการศึกษาวิจัย หัวเรื่องย่อยเหล่านั้นมักจะเป็นตัวอักษรเข้มและขนาดใหญ่กว่าส่วนเนื้อหาทั่วไปด้วย
    • จำไว้ว่า เนื้อหาในวารสารทางวิชาการส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลพื้นฐานทั่วไป จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องอ่านบทพิสูจน์กว่า 500 คำของผู้แต่ง ในทฤษฎีเกี่ยวกับสูตรการสกัดกลีเซอรีนในผลการศึกษาวิจัยนั้น ก็อาจจำเป็น แต่ก็ไม่เสมอไป ปกติแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องอ่านผลการศึกษาวิจัยทุกถ้อยคำหรอก หากจุดประสงค์ของคุณเป็นเพียงการค้นหาแนวคิดหลักและเหตุผลที่มีการวิจัยขึ้นมาเท่านั้น
  6. How.com.vn ไท: Step 6 จดโน้ตตามไปด้วย.
    ประสิทธิผลคือกุญแจสำคัญในการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากวารสารวิชาการ อ่านบทความทั้งหมดอย่างตั้งใจ เพื่อวงกลมหรือเน้นเป็นส่วนๆ ไป โดยโฟกัสไปที่หัวเรื่องย่อยต่างๆ [3]
    • ส่วนต่างๆ เหล่านี้มักจะรวมเอาบทนำ วิธีการทดลอง ผลการศึกษาวิจัย และบทสรุปเอาไว้แล้ว นอกเหนือไปจากแหล่งอ้างอิงต่างๆ
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

เตรียมฉบับร่าง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 จดคำบรรยายย่อๆ ของบทความวิจัยลงไป.
    พยายามเขียนแบบลวกๆ ไปก่อน โดยบรรยายที่มาทางวิชาการของบทความนั้น จดคร่าวๆ ถึงขั้นตอนต่างๆ กว่าที่จะออกมาเป็นผลสรุป รวมถึงวิธีการและแนวทางการวิจัยที่ใช้ด้วย ไม่จำเป็นต้องเขียนให้เจาะจงมากนัก สำหรับการสรุปรวบยอด เอาแค่นี้ก็พอแล้ว
    • ในการเริ่มเขียนรอบแรก คุณไม่ควรจะไปกังวลหรือคัดสรรเนื้อหาส่วนใด แค่เขียนตามที่จำมาจากบทความได้ก็พอ เพื่อนำมาค้นหาประเด็นหลักเพื่อทำการสรุปรวบยอดอีกที
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ค้นหาว่า แง่มุมใดของบทความที่สำคัญที่สุด.
    คุณอาจจะเรียกมันว่า เป็นไอเดียหรือเนื้อหาสนับสนุนหลักของบทความนั้น ซึ่งแม้ว่ามันมักจะเห็นได้ชัดจากหัวเรื่องย่อย แต่คุณอาจต้องทำการบ้านหนักขึ้นเพื่อหาข้อมูลส่วนดังกล่าวให้เจอ ประเด็นแนวคิดหลักๆ ใดก็ตามที่มีความเชื่อมโยงสนับสนุประเด็นถกเถียงหลักของผู้แต่ง ควรจะถูกนำมารวมไว้เพื่อสรุปรวบยอด
    • ในบางบทความวิจัย คุณอาจต้องบรรยายสมมติฐานคร่าวๆ อันเป็นที่มาของงานวิจัยนั้น หรือสมมติฐานของผู้ทำการวิจัย ในบทความทางวิทยาศาสตร์ มันสำคัญมากที่คุณต้องสรุปสมมติฐานทั้งหมดที่ผู้แต่งเกริ่นเอาไว้ ก่อนที่จะมาทำการวิจัย ให้ชัดเจน รวมถึงขั้นตอนต่างๆ ที่ใช้ติดตามผลจนจบโครงการทดลองนั้นๆ และสรุปย่อๆ เกี่ยวกับตัวเลขทางสถิติที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการตีความแบบได้ใจความจากข้อมูลเหล่านั้นไว้ในการสรุปของคุณด้วย
    • ในบทความทางมานุษยวิทยา มันจะดีมากหากคุณจะสรุปสมมติฐานขั้นพื้นฐานและหลักการที่ผู้แต่งนำมาใช้ รวมถึงกรณีศึกษาและแนวคิดที่ถูกถ่ายทอดไว้ในบทความนั้นด้วย
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ค้นหาคีย์เวิร์ดเพื่อใช้ในการสรุป.
    คุณต้องพยายามรวบรวมคีย์เวิร์ดต่างๆ ทั้งหมดมาไว้ในส่วนสรุปด้วย จำเป็นที่คุณจะต้องตรวจสอบความหมายของคำศัพท์ที่ซับซ้อนเพื่อผู้อ่านจะสามารถจับใจความของเนื้อหาได้ในตอนที่คุณเข้าสู่บทสรุป
    • คำศัพท์และความหมายต่างๆ ที่ผู้เขียนคิดขึ้นมา ก็ควรนำมารวมไว้และกล่าวถึงในบทสรุปของคุณด้วย
  4. How.com.vn ไท: Step 4 เน้นความกระชับเข้าไว้.
    การสรุปรวบยอดบทความวารสาร ไม่จำเป็นต้องมีขนาดยาวเท่ากับบทความแม่แบบ จุดประสงค์ของการสรุป คือการนำเสนอคำอธิบายที่กระชับของบทความวิจัยซึ่งแยกเป็นอิสระจากมันเอง ไม่ว่าจะทำขึ้นเพื่อคนที่สนใจค้นคว้ารวบรวมข้อมูล หรือเพื่อย่อยข้อมูลเอาไว้ใช้ในขั้นตอนสุดท้ายของงานวิจัยของคุณเองก็ตาม
    • ตามหลักการทั่วไปแล้ว คุณอาจใช้หนึ่งย่อหน้าสำหรับหนึ่งแนวคิดหลัก และมักจะไม่เกิน 500-1000 คำ สำหรับบทความวิชาการทั่วไป สำหรับบทสรุปรวบยอดวารสารส่วนใหญ่ คุณควรจะเขียนย่อหน้าสั้นๆ หลายย่อหน้าเพื่อสรุปแต่ส่วนเนื้อหาของบทความวารสารนั้นๆ
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การเขียนบทสรุปรวบยอด

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 อย่าใช้คำสรรพนามส่วนตัว (ฉัน, เธอ,...
    อย่าใช้คำสรรพนามส่วนตัว (ฉัน, เธอ, เรา, ของเรา, ของเธอ, ของฉัน).
  2. How.com.vn ไท: Step 2 รักษาน้ำเสียงให้เป็นภววิสัยเท่าที่จะทำได้.
    คุณไม่ได้จะวิจารณ์บทความ คุณแค่กำลังสรุปเนื้อหาโดยรวมของมัน
  3. How.com.vn ไท: Step 3 เริ่มด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวกับงานวิจัย.
    ปกติแล้ว ผู้แต่งมักจะระบุประเด็นหลักของผลการศึกษาวิจัยและวัตถุประสงค์การวิจัย เอาไว้ในส่วนแรกของบทความ หรือไม่ก็ในส่วนบทนำนั่นเอง ซึ่งการเขียนบทสรุปของคุณ ก็ควรเป็นเช่นนั้นด้วยเหมือนกัน พยายามเขียนด้วยสไตล์ของตัวเอง ในการบรรยายว่าผู้แต่งต้องการพิสูจน์สมมติฐานใดงานวิจัยของเขาหรือเธอ
    • ในบทความเชิงวิทยาศาสตร์ มักจะมีบทนำที่กล่าวถึงที่มาในการทำการศึกษาทดลอง ซึ่งไม่ได้ช่วยคุณสรุปอะไรมากนัก และมันมักจะตามด้วยการบรรยายให้เห็นพัฒนาการของแต่ละขั้นตอน ในการตั้งคำถามเกี่ยวกับการทดลองและการทดสอบ ซึ่งคุณอาจจะอ่านแล้วพอเห็นภาพเนื้อหาทั้งหมดของบทความนั้นได้บ้าง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 กล่าวถึงวิธีการที่ผู้แต่งใช้ด้วย.
    ในส่วนนี้ คุณควรกล่าวถึงวิธีการและเครื่องมือที่ถูกใช้ในการศึกษาวิจัย[4]พูดง่ายๆ ก็คือ คุณจำเป็นต้องสรุปว่าผู้แต่งหรือนักวิจัย สรุปผลการวิจัยดังกล่าวออกมาเช่นนั้นได้อย่างไร จากข้อมูลและผลการวิจัยขั้นปฐมภูมิที่มีอยู่
    • ข้อมูลจำเพาะเจาะจงบางอย่างในการทดลองนั้น อาจไม่จำเป็นต้องนำมาใส่ไว้ในการสรุปทั้งหมด แต่มันควรจะระบุแค่ว่าคำถามของงานวิจัยถูกค้นพบอย่างไร นอกจากนี้ ผลการทดลองส่วนใหญ่อาจจะมีทั้งข้อมูลดิบและข้อมูลสรุปรวมกันอยู่ ซึ่งคุณควรจะนำมาเพียงข้อมูลที่ถูกสรุปไว้โดยผู้แต่ง มาใช้ในการสรุปของคุณเท่านั้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 อธิบายผลการวิจัย.
    หนึ่งในส่วนประกอบสำคัญที่สุดของการสรุปรวบยอด ก็คือการกล่าวถึงการค้นพบของผู้แต่ง [5] ผู้แต่งประสบความสำเร็จหรือทำการทดลองจนบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ อะไรคือประโยชน์ของผลการทดลองที่ค้นพบซึ่งผู้แต่งได้ระบุไว้ในบทความ เป็นต้น
    • คุณต้องสรุปบทความให้ครอบคลุมคำถามของงานวิจัย รวมถึงขั้นตอนและผลลัพธ์/ผลสรุปของงานวิจัยนั้นๆด้วย มันเป็นองค์ประกอบสำคัญของบทความที่พลาดไม่ได้
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เชื่อมโยงแนวคิดหลักต่างๆ ในบทความนั้น.
    สำหรับการสรุปรวบยอดบางอย่าง มันสำคัญมากที่จะต้องแสดงให้เห็นความเชื่อมโยงของแนวคิดต่างๆ ที่ผู้แต่งระบุเอาไว้ตลอดบทความ วัตถุประสงค์หลักของการสรุปบทความ ก็คือการนำเสนอภาพรวมคร่าวๆ ของประเด็นสำคัญของผู้แต่ง มาสู่ผู้อ่านทั่วไป มันจึงสำคัญที่คุณจะต้องแตกประเด็นเหล่านั้นออกมาบรรยายด้วยภาษาของคุณเอง เติมเต็มในส่วนที่ขาดหายและสมมติฐานบางอย่าง เพื่อช่วยสรุปรวบยอดให้ผลการศึกษาชิ้นนั้นมีความเด่นชัดขึ้น
    • หลักการดังกล่าวจะยิ่งมีความสำคัญ หากคุณทำการสรุปบทความทางมานุษยวิทยา เช่น มันจะง่ายสำหรับผู้อ่านมากขึ้น หากคุณแตกย่อยประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างเทพยดา กับกวีชั้นนำอย่าง จอร์จ เฮอร์เบิร์ต มาสรุปด้วยภาษาที่ติดดินสักหน่อยว่า “ผู้แต่งงานวิจัยชิ้นนี้ ได้ชี้ให้เห็นถึงด้านที่เป็นปุถุชนของจอร์จ เฮอร์เบิร์ต ด้วยการหยิบยกกิจวัตรประจำวันของกวีผู้นี้มานำเสนอ เพื่อเป็นการคัดง้างกับปรัชญาของเขา”
  7. How.com.vn ไท: Step 7 อย่าเอาความคิดตัวเองมาสรุป.
    การสรุปบทความไม่ควรถูกดัดแปลง หรือสอดแทรกความเห็นส่วนตัวลงไป เว้นเสียแต่ว่า จะถูกแยกไว้ต่างหากและเป็นส่วนหนึ่งของงานนั้น โดยทั่วไปแล้ว เป้าหมายของการสรุป ก็คือการสรุปความเห็นของผู้แต่ง ไม่ใช่การเสนอความเห็นหรือเวอร์ชั่นของคุณเพิ่มเติม
    • เรื่องนี้อาจจะยากสักหน่อยสำหรับนักเขียนรวบยอดงานวิจัยที่ยังไม่มีประสบการณ์ แต่ควรจำไว้ให้ดีว่า ต้องตัด "ตัวตน" ออกไปให้หมด
  8. How.com.vn ไท: Step 8 หลีกเลี่ยงการลอกข้อความจากบทความแม่แบบมาทั้งดุ้น....
    หลีกเลี่ยงการลอกข้อความจากบทความแม่แบบมาทั้งดุ้น. การลอกข้อความในลักษณะดังกล่าวอาจใช้ในการเขียนรายงานหรือบทความส่งอาจารย์ได้ แต่ไม่ควรนำมาใช้ในการสรุปบทความวารสาร สำหรับการสรุปรวบยอดบทความ คุณควรเน้นไปที่การถอดความโดยไม่ให้ความหมายและเนื้อหาที่ผู้แต่งต้องการสื่อ ผิดเพี้ยนไปมากกว่า
  9. How.com.vn ไท: Step 9 ใช้ประโยคในกาลปัจจุบัน.
    จงใช้ประโยคเป็นกาลปัจจุบันเสมอ เวลาที่กล่าวถึงเนื้อหาของบทความวิชาการ[6]มันจะช่วยให้คุณรักษาความสม่ำเสมอของโครงสร้างไวยากรณ์ได้ง่ายขึ้น
  10. How.com.vn ไท: Step 10 ปรับปรุงฉบับร่าง.
    งานเขียนที่ดีเกิดจากการปรับปรุง จงกลับไปลองเปรียบเทียบจุดโฟกัสและเนื้อหาที่คุณเขียนดูว่า มันสอดคล้องหรือสอดรับกับบริบทในบทความวารสารดังกล่าวหรือไม่ บทความวารสารที่สรุปได้อย่างดี ย่อมนำเสนอรีวิวสั้นๆ ให้แก่ผู้อ่าน ซึ่งสำคัญในการช่วยให้พวกเขาค้นหาและค้นคว้าข้อมูลจำเพาะบางอย่างเกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ ได้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Richard Perkins
ร่วมเขียน โดย:
โค้ชสอนการเขียนและผู้ประสานงานวิชาการด้านภาษาอังกฤษ
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Richard Perkins. ริชาร์ด เพอร์กินส์เป็นโค้ชสอนการเขียน ผู้ประสานงานวิชาการด้านภาษาอังกฤษ และเจ้าของ PLC Learning Center เขาให้เครื่องมือแก่คุณครูเพื่อสอนการเขียนแก่นักเรียนและทำงานร่วมกับนักเรียนระดับประถมไปจนถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยเพื่อให้พวกเขากลายเป็นนักเขียนที่มีความเชี่ยวชาญและความมั่นใจ โดยมีประสบการณ์ด้านการสอนมากกว่า 24 ปี ริชาร์ดเป็นสมาชิกที่ National Writing Project ในฐานะผู้นำครูคนหนึ่งและผู้ให้คำปรึกษาของ Global Education Project ที่มหาวิทยาลัยรัฐแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตลองบีช เพอร์กินส์สร้างและจัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการซึ่งนำเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 17 ข้อขององค์การสหประชาชาติมาผสมผสานไว้ในหลักสูตร K-12 เขาได้รับปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต สาขาการสื่อสารและโทรทัศน์ จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย และได้รับปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรัฐแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตโดมินเกซฮิลส์ บทความนี้ถูกเข้าชม 60,798 ครั้ง
หมวดหมู่: พัฒนางานเขียน
มีการเข้าถึงหน้านี้ 60,798 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา