ปรับปรุงทักษะการฟังเพื่อการทำงานด้วยหลักการฟังเชิงรุก

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ไม่ว่ากำลังจะปรับปรุงทักษะการฟังเพื่อการทำงานหรือพยายามทำความรู้จักคุ้นเคยกับเพื่อนให้มากขึ้นในการสนทนา หลัก 3A ของการฟังเชิงรุกช่วยได้ หลัก 3A (attitude, attention และ adjustment) แบ่งหลักของการฟังเชิงรุกออกเป็นข้อๆ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้ทุกสถานการณ์และเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด บทความนี้มีขึ้นเพื่อไขข้อสงสัยที่อาจมีเกี่ยวกับหลัก 3A บทความนี้จะให้ข้อสรุปสำคัญว่าการฟังเชิงรุกคืออะไร พร้อมกับอุปสรรคที่อาจพบเจอ และวิธีนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

หลัก 3A ของการฟังเชิงรุกมีอะไรบ้าง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 Attitude หรือทัศนคติ.
    A ตัวแรกคือการรักษาความคิดเชิงบวกไว้ขณะที่ฟัง เข้าสู่การสนทนาด้วยทัศนคติที่ดีและลดความคิดในแง่ลบให้มากที่สุดก่อนที่จะฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูดอย่างเต็มที่ การเข้าสู่การสนทนาด้วยทัศนคติเชิงลบอาจทำให้มีอคติจนทำให้เราไม่รับฟังหรือไม่สนใจฟังเลยแม้แต่นิดเดียว[1]
    • สมมติว่าเราต้องเข้าฟังการนำเสนองานของเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง แต่เราไม่มีความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่เพื่อนคนนั้นนำเสนอมากนัก เปลี่ยนข้อเสียตรงนี้ให้กลายเป็นความคิดเชิงบวกอย่างเช่น "เพื่อนร่วมงานคนนี้มีชุดทักษะแตกต่างจากเรามาก ฉะนั้นเราอาจได้เรียนรู้อะไรมากมายจากการนำเสนองานของเขาก็ได้"
    • การรักษาความคิดเชิงบวกอาจเป็นเรื่องยาก หากอยู่ในอารมณ์ที่ไม่ดีหรือโกรธเคืองผู้พูดอยู่ ฉะนั้นให้เปลี่ยนตารางการประชุมหรือการสนทนา ถ้าทำได้ เราจะได้สามารถสงบสติอารมณ์และกลับมาพร้อมกับมุมมองใหม่
  2. How.com.vn ไท: Step 2 Attention หรือความตั้งใจ.
    A ตัวที่สองคือการตั้งใจฟังสิ่งที่อีกฝ่ายพูด แสดงให้อีกฝ่ายเห็นว่าเราตั้งใจฟังโดยใช้สัญญาณทางคำพูดและทางกายซึ่งกระตุ้นให้อีกฝ่ายพูดไปเรื่อยๆ และช่วยให้จดจ่อกับสิ่งที่อีกฝ่ายพูด สัญญาณที่ช่วยแสดงให้เห็นว่าเราตั้งใจฟังสิ่งที่อีกฝ่ายพูดได้แก่ การสบตาผู้พูด การพยักหน้าขณะที่อีกฝ่ายพูด การส่งยิ้มให้กำลังใจผู้พูด และการเลียนแบบภาษากาย[2]
    • ถ้ากำลังฟังบรรยาย แสดงให้เห็นว่าเราตั้งใจฟังด้วยการสบตาผู้บรรยาย การพยักหน้า และการเขียนประเด็นสำคัญลงในสมุดจด
    • ถ้าเพื่อนร่วมงานกำลังพูดกับเรา พยายามเลียนแบบภาษากายของอีกฝ่าย ตัวอย่างเช่น ถ้าเพื่อนร่วมงานใช้ท่าทางมือไปด้วยขณะที่พูด ลองทำแบบเดียวกัน การเลียนแบบภาษากายช่วยให้ผู้พูดรู้สึกสบายใจขึ้นได้ขณะที่พูดไปเรื่อยๆ และช่วยเราสร้างสายสัมพันธ์ได้
    • การถามคำถามติดตามเพื่อเพิ่มความเข้าใจก็เป็นวิธีที่ดีเยี่ยมอีกวิธีหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าเราตั้งใจฟังผู้พูดจริงๆ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 Adjustment หรือการปรับความคิด.
    A ตัวสุดท้ายคือการเปิดใจให้กว้างอยู่เสมอขณะที่ฟังผู้พูด การเข้าร่วมประชุมหรือแม้แต่การสนทนากับเพื่อน เราอาจมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อีกฝ่ายพูดอยู่แล้ว พยายามปรับมุมมองไปตามสิ่งที่ผู้อื่นพูดและเปิดกว้างไปสู่การเปลี่ยนแปลงความคิดเพื่อจะได้รับฟังผู้อื่นตั้งแต่ต้นจนจบ การปรับความคิดช่วยเราไม่ให้เลิกสนใจสิ่งที่เขาพูดเพราะมีบางอย่างที่เราคิดไม่ตรงกับสิ่งที่เขาพูด[3]
    • สมมติว่าเราไม่เห็นด้วยกับกลยุทธ์การตลาดของเพื่อนร่วมงานอยู่บ่อยครั้ง ในการประชุมเรื่องการตลาดครั้งต่อไป พยายามวางความรู้สึกตามปรกติของตนเองไว้ก่อนและให้โอกาสเพื่อนร่วมงาน เราอาจต้องประหลาดใจที่พบว่าตนเองเห็นด้วยกับความคิดบางอย่างของเขา
    • ถึงจะไม่เห็นด้วยกับผู้พูดเลยก็ไม่เป็นไร แค่พยายามฟังให้จบก่อนที่จะโต้ตอบหรือเลิกสนใจ การพยายามฟังตั้งแต่ต้นจนจบช่วยให้เราโต้ตอบกลับไปอย่างเหมาะสมและให้เกียรติผู้พูด หากเราไม่เห็นด้วย
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

การฟังเชิงรุกคืออะไร

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 การฟังเชิงรุกเป็นกลยุทธ์ที่สามารถนำไปใช้เพื่อให้ฟัง (และเข้าใจ) สิ่งที่ผู้อื่นกำลังพูดได้ดีขึ้น....
    การฟังเชิงรุกเป็นกลยุทธ์ที่สามารถนำไปใช้เพื่อให้ฟัง (และเข้าใจ) สิ่งที่ผู้อื่นกำลังพูดได้ดีขึ้น. แทนที่จะเอาแต่ฟังเฉยๆ การฟังเชิงรุกช่วยกระตุ้นให้เราซึมซับข้อมูลโดยใช้เทคนิคเฉพาะอย่างเช่น การสบตาคู่สนทนา การกระตุ้นภาษากาย และการถามคำถามติดตามกลยุทธ์เหล่านี้ช่วยให้เราเข้าใจและจดจำข้อมูลในการทำงานและการสื่อสารระหว่างบุคคลอย่างเช่น การประชุม การสนทนากับเพื่อน เป็นต้น[4]
    • การฟังเชิงรับคือการฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูดโดยไม่มีการไตร่ตรองหรือโต้ตอบ การฟังเชิงรุกมีการไตร่ตรองสิ่งที่ผู้อื่นพูดและโต้ตอบด้วยคำถามหรือคำติชม
    • สรุปสิ่งที่ผู้อื่นพูดโดยใช้ถ้อยคำของตนเองและลดสิ่งรบกวน (เช่น ปิดโทรศัพท์มือถือ เลือกพูดคุยกับผู้อื่นในสถานที่ซึ่งเงียบสงบ) เป็นวิธีที่เราสามารถใช้ฝึกการฟังเชิงรุกได้
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

นำหลัก 3A ไปปฏิบัติ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 รอจนกระทั่งผู้พูดพูดจบก่อนแล้วเราค่อยโต้ตอบกลับไป....
    รอจนกระทั่งผู้พูดพูดจบก่อนแล้วเราค่อยโต้ตอบกลับไป. อย่าเพิ่งคิดว่าจะโต้ตอบอย่างไรหรือพูดขัดอีกฝ่ายขณะที่เขาพูด เราจะได้ตั้งใจฟังอย่างเต็มที่ขณะที่ผู้อื่นพูด ผู้พูดอาจมีแนวคิดสำคัญที่ยังไม่ได้เอ่ยเลยและเราอาจเข้าใจเจตนาของเขาผิดไป ถ้าไม่ปล่อยให้เขาพูดจนจบ[5]
    • สมมติว่าเราต้องการให้เจ้านายประทับใจด้วยการโต้ตอบเขาในการประชุม แทนที่จะคิดว่าควรโต้ตอบกลับไปอย่างไรขณะที่เขาพูด ให้ฟังเจ้านายพูดตั้งแต่ต้นจนจบและใช้เวลาสักครู่พิจารณาว่าจะโต้ตอบกลับไปอย่างไรหลังจากเขาพูดจบแล้ว
    • บางครั้งการพูดแทรกขึ้นมาก็เกิดขึ้นอยู่ดี เมื่อเรากำลังสนทนากับผู้อื่นในหัวข้อที่ตนเองชื่นชอบ ตัวอย่างเช่น ถ้าเพื่อนของเราพูดถึงวงดนตรีที่เราชอบ เราก็คงอยากพูดแทรกเขาเพื่อแสดงความคิดเห็นของเราที่มีต่อเพลงของวงดนตรีวงนี้ รอจนกระทั่งเพื่อนพูดจบเพื่อเป็นการให้เกียรติผู้พูด
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ถามคำถาม.
    ถ้าไม่ค่อยแน่ใจในสิ่งที่ผู้อื่นพูด การถามคำถามติดตามสามารถช่วยอธิบายความคิดของเขาให้กระจ่างและเพิ่มความเข้าใจมากขึ้นเราอาจยังเลือกการถามคำถามเป็นวิธีแสดงให้ผู้ฟังเห็นว่าเราให้ความสำคัญกับคำพูดของเขา[6]
    • "คุณบอกว่างานนี้เกี่ยวกับการบริการลูกค้า คุณช่วยบอกรายละเอียดมากกว่านี้หน่อยได้ไหม"
    • "การไปเที่ยวช่วงลาพักร้อนฟังดูน่าสนุกนะ! ช่วงลาพักร้อนนี้คุณวางแผนจะไปเที่ยวที่ไหน"
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ไตร่ตรองสิ่งที่อีกฝ่ายพูด.
    หลังจากอีกฝ่ายพูดจบ เราอาจต้องการพูดสิ่งแรกที่เข้ามาในความคิดออกไปเลย พิจารณาคำพูดของเขาสักสองสามวินาทีก่อนตอบกลับไปเพื่อยกระดับการโต้ตอบของเราให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การไตร่ตรองสิ่งที่อีกฝ่ายพูดจะช่วยซึมซับข้อมูลที่เขาแบ่งปันให้เราและเราอาจพบว่าการโต้ตอบของตนเองนั้นแตกต่างออกไปเล็กน้อย (หรือมาก) กว่าที่ควรจะเป็น หากเราไม่ไตร่ตรองก่อนโต้ตอบเลย[7]
    • ถ้าเพื่อนร่วมงานอธิบายแนวคิดใหม่ ใช้เวลาพิจารณาสิ่งที่เขาพูดสักสองสามวินาที เราอาจเกิดคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจง หรือเราอาจตระหนักว่าความคิดแนวใหม่ของเขานั้นหลักแหลมมากและอยากชมเขา
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สรุปสิ่งที่อีกฝ่ายพูดออกมาดังๆ หรือในใจก็ได้....
    สรุปสิ่งที่อีกฝ่ายพูดออกมาดังๆ หรือในใจก็ได้. การย้ำสิ่งที่เขาพูดช่วยให้เรามั่นใจว่าตนเองเข้าใจถูกต้อง พยายามสรุปสิ่งที่อีกฝ่ายพูดออกมาเป็นคำพูดของตนเองเพื่อทำให้เข้าใจสิ่งที่อีกฝ่ายพูดมากขึ้น[8]
    • "สรุปคือเรากำลังจะเปลี่ยนแปลงวิธีบริหารความสัมพันธ์ลูกค้าในอนาคตใช่ไหม"
    • "เท่าที่ฉันเข้าใจ ดูเหมือนเธอสนใจการลองสิ่งใหม่ๆ เพื่อจะได้มุมมองใหม่ในชีวิต"
    • ถ้าไม่สามารถสรุปออกมาได้ แสดงว่าเราอาจต้องถามคำถามติดตามหรือตรวจสอบสิ่งที่เขาพูดอีกครั้ง
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

อุปสรรคในการฟังเชิงรุก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 สิ่งรบกวนจากภายในอาจทำให้เราไม่สามารถฟังสิ่งที่ผู้อื่นกำลังพูดได้อย่างเต็มที่....
    สิ่งรบกวนจากภายในอาจทำให้เราไม่สามารถฟังสิ่งที่ผู้อื่นกำลังพูดได้อย่างเต็มที่. สิ่งรบกวนจากภายในอาจได้แก่ ความหิว ความรู้สึกไม่สบายหรือเหนื่อย และความวิตกกังวลเรื่องอื่น ทุกคนต่างก็ถูกรบกวนจากปัจจัยภายในบางครั้ง แต่พยายามจัดระเบียบวันของเราหรือจัดตารางการสนทนาที่สำคัญเสียใหม่เพื่อลดสิ่งรบกวนจากภายในให้ลดลง[9]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้ารู้สึกหิวและไม่มีสมาธิในช่วงระหว่างการประชุมพนักงาน พยายามรับประทานอาหารมาก่อนล่วงหน้าหรือกินของว่าง การนอนหลับตอนกลางคืนให้เต็มที่ 7-8 ชั่วโมงยังช่วยให้เรามีสมาธิอีกด้วย
    • เราอาจกังวลเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตส่วนตัว พยายามจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน การสนใจสภาพแวดล้อมรอบตัวและความรู้สึกที่มีในขณะนี้สามารถช่วยเราลดความวิตกกังวลได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เสียงดังจากภายนอกอาจทำให้การฟังเป็นไปด้วยความยากลำบาก....
    เสียงดังจากภายนอกอาจทำให้การฟังเป็นไปด้วยความยากลำบาก. เสียงจากภายนอกอย่างเสียงสนทนาจากบุคคลรอบข้าง เสียงเครื่องตัดหญ้าที่ดังเข้ามา หรือเสียงพูดแทรกจากผู้อื่นทำให้การฟังคู่สนทนาเป็นไปด้วยความยากลำบากมากขึ้น ถ้าทำได้ พยายามจัดการประชุมที่สำคัญหรือสนทนาเรื่องสำคัญกับเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงานในสถานที่ซึ่งห่างไกลเสียงดังจากภายนอก[10]
    • ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องสนทนาเรื่องสำคัญกับเพื่อน ให้นัดคุยกันที่ร้านกาแฟซึ่งมีบรรยากาศเงียบสงบ หรือบริเวณที่มีความเป็นส่วนตัว
    • อาจตั้งค่าโทรศัพท์มือถือให้อยู่ในโหมดเงียบก่อนพูดคุยเรื่องสำคัญ จะได้ไม่ถูกเสียงแจ้งเตือนรบกวน
    • บางครั้งเราก็ไม่สามารถควบคุมปัจจัยภายนอกได้มาก ถ้าเพื่อนร่วมงานพูดคุยกันเสียงดังมากหรือเสียงก่อสร้างดังรบกวนเราอยู่ พยายามจดจ่อกับการสนทนาตรงหน้าด้วยกลยุทธ์การฟังเชิงรุกแบบอื่น ถ้าเป็นไปได้ อาจขอย้ายไปคุยกันในสถานที่ซึ่งเงียบสงบกว่านี้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ความเบื่อหน่ายหรือการขาดความสนใจอาจทำให้การฟังเป็นเรื่องยากลำบากมาก....
    ความเบื่อหน่ายหรือการขาดความสนใจอาจทำให้การฟังเป็นเรื่องยากลำบากมาก. ถ้าเป็นเรื่องที่เราไม่ชอบ ก็ย่อมไม่อยากฟังอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีหนทางแก้ไขได้อยู่ พยายามหาส่วนใดก็ได้ส่วนหนึ่งของการสนทนาหรือการบรรยายที่น่าสนใจสำหรับเราเพื่อทำให้การฟังเรื่องนั้นง่ายขึ้นอีกสักนิด เราอาจต้องประหลาดใจที่พบว่าส่วนนั้นของเรื่องน่าสนใจสำหรับเราจริงๆ และอย่างน้อยเราก็น่าจะซึมซับข้อมูลมากขึ้น
    • สมมติว่าเจ้านายนำเสนอเรื่องงบประมาณของบริษัท ถึงแม้เราไม่สนใจเรื่องการเงิน แต่เราสนใจว่าการจัดการงบประมาณอย่างเป็นระบบจะมีส่วนทำให้แผนกของเราเติบโตและประสบความสำเร็จอย่างไร ฉะนั้นให้มุ่งความสนใจไปที่เรื่องนี้เพื่อจะได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งมากขึ้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 หากเราไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด แสดงว่าเราอาจมีปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการฟัง....
    หากเราไม่เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูด แสดงว่าเราอาจมีปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการฟัง. กำแพงภาษา ความพิการ และความบกพร่องในการเรียนรู้ต่างเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด ถ้าตอนนี้ประสบปัญหาเหล่านี้ในการทำงาน ลองพูดคุยกับแผนกทรัพยากรมนุษย์เพื่อจะได้รู้ว่าทางแผนกมีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรบ้างที่ช่วยเหลือเราได้ ปรึกษาแพทย์ ถ้าได้รับการวินิจฉัยว่ามีความบกพร่องในการเรียนรู้ หรือความพิการ หรือคิดว่ามีปัญหาสักอย่างหนึ่ง แพทย์สามารถให้เครื่องมือที่เราต้องใช้เพื่อช่วยให้จดจ่อในการทำงานและการสนทนากับเพื่อนและครอบครัว[11]
    • ความพิการและความบกพร่องในการเรียนรู้ที่อาจมีผลกระทบต่อการฟังได้แก่ ความผิดปกติทางการพูด โรคสมาธิสั้น และความบกพร่องในการอ่าน ความพิการและความบกพร่องในการเรียนรู้เหล่านี้ต่างก็พบได้มากและแพทย์สามารถช่วยเราวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้
    • ถ้ากำลังประสบปัญหาด้านกำแพงภาษาในการทำงาน อาจลองทำงานร่วมกับล่ามหรือนักแปล ถ้าบริษัทสามารถจัดหาให้เราได้ ติดต่อแผนกทรัพยากรมนุษย์เพื่อจะได้รู้ว่าบริษัทมีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไรบ้างที่สามารถช่วยเหลือเราได้
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Adina Zinn, MPA
ร่วมเขียน โดย:
โค้ชอาชีพและโค้ชชีวิตที่มีใบรับรอง
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Adina Zinn, MPA. อดีนา ซินน์เป็นโค้ชอาชีพและโค้ชชีวิตที่มีใบรับรอง รวมทั้งเจ้าของ Love Your Work Career and Life Coaching เธอเชี่ยวชาญในการใช้วิธีโค้ชแบบองค์รวมเพื่อช่วยให้ผู้คนบรรลุเป้าหมายในอาชีพและชีวิต โดยมีประสบการณ์ห้าปี อดีนาได้รับปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตซานตาครูซและได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรัฐซานฟรานซิสโก เธอยังเป็นโค้ชอาชีพที่ได้รับใบรับรองจากสถาบันโค้ชอาชีพและโค้ชชีวิตที่ได้รับใบรับรองจากสหพันธ์การโค้ชนานาชาติอีกด้วย บทความนี้ถูกเข้าชม 2,312 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 2,312 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา