วิธีการ พัฒนาความเข้าใจในการอ่าน

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เราอาจรู้สึกท้อแท้ที่ตนเองตั้งใจอ่านหนังสือแล้วแต่กลับไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่านเลยสักนิด ความจริงแล้วมีวิธีการง่ายๆ ที่จะทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่อ่านได้มากยิ่งขึ้น และยังทำให้เราสนุกกับการอ่านด้วย เราสามารถอ่านหนังสือได้เข้าใจมากขึ้นและทำให้การอ่านเป็นกิจกรรมที่สนุกมากขึ้นด้วยการเปลี่ยนสถานที่อ่านหนังสือและวิธีการอ่านควบคุู่ไปกับการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างสม่ำเสมอ ลองทำตามขั้นตอนที่บทความนี้แนะนำดูสิ แล้วเราจะสามารถเข้าใจเนื้อหาที่อ่านได้มากยิ่งขึ้น

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 4:

ทำความเข้าใจเนื้อหาที่อ่าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ป้องกันไม่ให้มีอะไรมารบกวนระหว่างอ่านหนังสือ....
    ป้องกันไม่ให้มีอะไรมารบกวนระหว่างอ่านหนังสือ. ขั้นตอนแรกที่จะทำให้เราอ่านหนังสือได้เข้าใจมากขึ้นคือต้องหาสถานที่อันเงียบสงบเพื่อจะได้มีสมาธิในการอ่านหนังสือ เราต้องเอาสิ่งรบกวนออกจากสถานที่นั้นให้หมดและปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเสียงดังรบกวนระหว่างอ่านหนังสือ[1]
    • ปิดทีวีและอย่าเปิดเพลงในห้องที่เราจะใช้อ่านหนังสือ ถ้าเรามีสมาร์ตโฟนอยู่กับตัว ปิดเครื่อง หรือปิดเสียงและวางไว้ในบริเวณที่การแจ้งเตือนของมือถือจะไม่สามารถรบกวนเราได้ในเวลาอ่านหนังสือ
    • ถ้าเราไม่สามารถกำจัดสิ่งรบกวนออกจากสถานที่นั้นได้ทั้งหมด ให้เปลี่ยนสถานที่อ่านหนังสือซะ! ย้ายไปอ่านที่ห้องสมุด ห้องหนังสือ หรือแม้แต่ห้องน้ำเลยก็ได้ ถ้าเราต้องการสถานที่ซึ่งเงียบสงบจริงๆ
    • ถ้าเรารู้สึกไม่มีสมาธิอยู่ดี ลองฟังเพลงคลาสสิกหรือเพลงแนวแอมเบียนต์ที่ไม่มีผู้ขับร้องก็ได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ถามผู้อื่น หากเนื้อหาที่เราอ่านนั้นยากเกินไปสำหรับตนเอง....
    ถามผู้อื่น หากเนื้อหาที่เราอ่านนั้นยากเกินไปสำหรับตนเอง. ผู้อื่นที่ว่านั้นอาจเป็นคุณครู เพื่อน หรือพ่อแม่ก็ได้ ให้อ่านร่วมกับบุคคลที่มีความรู้มากกว่าเรา เป็นคนที่เราสามารถพูดคุยด้วยได้อย่างสบายใจ และยินดีจะตอบคำถามต่างๆ ของเรา บุคคลเหล่านี้สามารถช่วยเราได้ หากเรามีข้อสงสัยใดๆ และสามารถอธิบายเนื้อหาต่างๆ ให้เราเข้าใจได้ [2]
    • ถ้าบุคคลนั้นเป็นคุณครู ก็อาจขอให้คุณครูร่างคำถามที่ช่วยทำให้เข้าใจเนื้อหาที่สำคัญ เราจะได้อ่านคำถามเหล่านั้นก่อนเริ่มอ่านเนื้อหาจริง และนำเอาคำตอบที่ได้หลังจากอ่านจบมาตอบคำถามข้างต้น[3]
    • สรุปเนื้อหาให้ผู้อื่นฟังหลังจากอ่านจบและให้พวกเขาถามคำถามที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้นเพื่อทดสอบว่าเราเข้าใจเนื้อหาเป็นอย่างดีหรือไม่ ถ้าเราไม่สามารถตอบคำถามของพวกเขาได้ ให้กลับไปหาคำตอบจากเนื้อหาที่อ่านนั้น
    • ถ้างานเขียนนั้นเป็นงานเขียนที่อ่านยากมาก ให้ลองค้นหาบทสรุปและคำถามที่ทดสอบความเข้าใจในเนื้อหาของงานเขียนชิ้นนั้นทางอินเตอร์เน็ต
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อ่านออกเสียง.
    การอ่านออกเสียงจะช่วยชะลอ การอ่านให้ช้าลงและทำให้เรามีเวลาประมวลผลข้อมูลที่ตนเองอ่าน ฉะนั้นจึงทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่อ่านมากขึ้น ประโยชน์อีกอย่างของการอ่านช้าๆ คือเราจะได้เห็นคำต่างๆ ในหน้าที่อ่านนั้น (เรียนรู้จากการมองเห็น) และได้ยินเสียงของตนเองอ่านคำเหล่านั้น (เรียนรู้จากการได้ยิน)[4]
    • ถ้าเห็นว่าการได้ยินเสียงอ่านจะช่วยทำให้เราเข้าใจเนื้อหาที่อ่านมากขึ้น เราอาจลองหาหนังสือเสียงมาฟัง หรือลองอ่านออกเสียงเองก็ได้ ไม่ว่าเลือกวิธีไหนก็จะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาที่อ่านได้มากยิ่งขึ้น
    • ถ้าเด็กคนไหนยังไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน อย่าให้เด็กคนนั้นอ่านออกเสียงต่อหน้าผู้อื่นเพื่อไม่ให้เด็กเครียดและอาย ให้เขาอ่านออกเสียงให้ตนเองฟังไปก่อนจนกว่าจะเข้าใจเนื้อหาจริงๆ[5]
    • ระหว่างอ่านออกเสียง ให้ใช้นิ้ว ดินสอ หรือปากกาไล่ตามคำที่อ่านไปด้วย เราจะได้จดจ่อกับเนื้อหาที่อ่านและเข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น
  4. How.com.vn ไท: Step 4 อ่านซ้ำอีกครั้งเพื่อจะได้เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น....
    อ่านซ้ำอีกครั้งเพื่อจะได้เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น. บางครั้งเมื่อเราอ่านหนังสือ เราอาจพบว่าตนเองจำเนื้อหาที่เพิ่งอ่านไปไม่ได้เลย ทั้งๆ ที่อ่านจบไปแล้วหนึ่งย่อหน้าหรือหนึ่งหน้า นี้เป็นเรื่องปกติ! ถ้าเห็นว่าตนเองยังจำเนื้อหาไม่ได้ ให้กลับไปอ่านย่อหน้านั้นหรือหน้านั้นอีกครั้งเพื่อกระตุ้นความจำและจะได้เข้าใจเนื้อหามากยิ่งขึ้น[6]
    • ถ้าเราไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่านเลยในการอ่านรอบแรก ให้อ่านช้าลงในรอบที่สองและพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาที่อ่านให้ได้ก่อนที่จะไปอ่านย่อหน้าต่อมาหรือหน้าถัดไป
    • ถ้าเราไม่เข้าใจหรือไม่สามารถจดจำเนื้อหาก่อนหน้านี้ได้ เราก็จะทำความเข้าใจเนื้อหาส่วนต่อมาได้ยากลำบาก
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 4:

พัฒนาทักษะการอ่าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 เลือกอ่านหนังสือที่ตรงกับระดับการอ่านของตนเอง....
    เลือกอ่านหนังสือที่ตรงกับระดับการอ่านของตนเอง. เราควรเลือกอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาอ่านเข้าใจง่าย และในหนังสือเล่มนั้นก็ควรมีเนื้อหาส่วนที่ยากปะปนอยู่บ้างด้วย อย่าเพิ่งเริ่มอ่านหนังสือที่อ่านยากมาก ให้อ่านหนังสือที่อ่านง่ายก่อนและเริ่มฝึกทำความเข้าใจเนื้อหาในหนังสือเล่มนั้น[7]
    • เมื่ออ่านหนังสือที่เหมาะสมกับระดับการอ่านของตนเอง เราก็จะไม่ต้องคร่ำเคร่งอย่างหนักในการพยายามทำความเข้าใจความหมายของคำต่างๆ หรืออ่านประโยคต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก ถ้าหากเราประสบกับความยากลำบากในการทำความเข้าใจเนื้อหาที่อ่าน แสดงว่าเราอ่านหนังสือที่สูงกว่าระดับการอ่านของตนเอง
    • ถ้าเราต้องการฝึกอ่านหนังสือภาษาอังกฤษและไม่รู้ว่าระดับการอ่านของตนเองอยู่ในระดับไหน ให้ค้นหาเว็บไซต์ทดสอบระดับการอ่านทางอินเตอร์เน็ตและทำแบบทดสอบดู
    • ถ้าคุณครูมอบหมายให้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งแต่เนื้อหาของหนังสือเล่มนั้นเกินระดับการอ่านของเรา พยายามทำความเข้าใจเนื้อหาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอ่านหนังสือที่ตรงกับระดับการอ่านของเราด้วย การอ่านหนังสือที่ตรงกับระดับการอ่านของตนเองจะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาของหนังสือที่สูงกว่าระดับการอ่านของตนเองได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 หาความหมายของคำศัพท์ต่างๆ เพื่อจะได้เข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น....
    หาความหมายของคำศัพท์ต่างๆ เพื่อจะได้เข้าใจเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น. ถ้าเราไม่ทราบความหมายของคำศัพท์ต่างๆ เราก็จะไม่เข้าใจเนื้อหาที่ตนเองอ่าน ลองคาดคะเนดูสิว่าคนอายุประมาณเราควรจะเข้าใจคำศัพท์ต่างๆ ได้ถึงระดับไหนและหาเวลาศึกษาความหมายของคำศัพท์ต่างๆ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง [8]
    • มีพจนานุกรมหรือคอมพิวเตอร์วางไว้ข้างตัวเวลาอ่านหนังสือ หากเราเกิดพบคำศัพท์ที่ตนเองไม่รู้ความหมาย ก็ให้หาความหมายในพจนานุกรมและจดบันทึกเอาไว้ วิธีนี้อาจทำให้เราต้องใช้เวลาอ่านหนังสือนานขึ้น แต่ก็ช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาที่อ่านมากขึ้น
    • อ่านให้มาก บางครั้งเราจะเข้าใจความหมายของคำต่างๆ ได้ชัดเจนมากขึ้น เมื่อได้เห็นคำที่อยู่แวดล้อมคำคำนั้น ฉะนั้นยิ่งเราอ่านมาก ก็ยิ่งสามารถเดาความหมายของคำต่างๆ จากบริบทที่ให้มาได้ดียิ่งขึ้น
    • ถ้าเราต้องอ่านหนังสือที่เกินระดับการอ่านของตนเอง ให้มองหาหนังสือที่สามารถทำให้เราเข้าใจเนื้อหาได้เป็นอย่างดีแล้วค่อยเพิ่มระดับการอ่านให้ยากขึ้น ถ้าเราเข้าใจคำศัพท์ต่างๆ ในระดับการอ่านของตนเองได้เป็นอย่างดีแล้วและต้องการรู้คำศัพท์เพิ่มขึ้นมากกว่านี้ ให้เลือกอ่านหนังสือที่เกินระดับการอ่านของตนเองเพื่อจะได้เจอคำศัพท์ที่ยากขึ้น
  3. How.com.vn ไท: Step 3 อ่านหนังสือหลายๆ รอบเพื่อให้ตนเองสามารถอ่านได้คล่อง....
    อ่านหนังสือหลายๆ รอบเพื่อให้ตนเองสามารถอ่านได้คล่อง. การอ่านหนังสือได้คล่องคือการที่เราสามารถอ่านและเข้าใจคำต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วโดยอัตโนมัติ ถ้าเราอยากอ่านหนังสือได้คล่อง ให้อ่านหนังสือสักสองสามรอบเพื่อให้ตนเองได้คุ้นเคยกับคำและวลีต่างๆ[9]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 4:

จดบันทึกขณะอ่าน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 จดบันทึกเนื้อหาที่อ่าน.
    การจดบันทึกเนื้อหาจะช่วยทำให้ตนเองเข้าใจเนื้อหาที่อ่านได้มากยิ่งขึ้น ถ้าเราอ่านเนื้อหาตามที่คุณครูมอบหมาย ให้จดบันทึกเนื้อหาลงในสมุดบันทึก ถ้าเราอ่านเพื่อความสนุกและความบันเทิง ให้จดบันทึกเนื้อหาลงในกระดาษ[10]
    • ขอแนะนำให้จดบันทึกด้วยปากกาหรือดินสอแทนการพิมพ์ใส่แล็ปท็อปหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ การจดบันทึกด้วยลายมือตนเองมีส่วนช่วยทำให้เราเข้าใจเนื้อหาได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น [11]
    • ถ้าหนังสือเล่มนั้นเป็นของเราเอง จดบันทึกเนื้อหาไว้ที่ขอบกระดาษของแต่ละหน้า
    • รีบจดบันทึกเนื้อหาที่เราจำได้ในแต่ละบท แต่ละตอน หรือแต่ละย่อหน้าลงในสมุดหรือกระดาษ ถ้าเรามีความเข้าใจในเนื้อหาดีแล้ว เราอาจแค่บันทึกหมายเหตุประกอบในหนังสือเท่านั้นก็ได้
    • ถ้าหนังสือที่อ่านเป็นนวนิยาย เราไม่ต้องเขียนเรื่องใหม่ทั้งหมด แต่ก็อย่าจดบันทึกน้อยเกินไปจนไม่สามารถปะติดปะต่อเรื่องราวที่เกิดขึ้นตามลำดับเวลาได้
    • เมื่อไหร่ก็ตามที่มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น มีการแนะนำตัวละครใหม่ หรือเห็นรายละเอียดที่ผิดแปลก ให้จดบันทึกลงไปในกระดาษ
    • เก็บเนื้อหาที่จดบันทึกไว้ด้วยกัน เราจะสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้ในภายหลัง ถ้าเราจดบันทึกไว้ในกระดาษเป็นแผ่นๆ เก็บกระดาษเหล่านี้ไว้ในแฟ้ม โดยเลือกแฟ้มที่สามารถจัดเก็บเอกสารแยกเป็นหมวดหมู่ได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ถามตนเองว่าสาระสำคัญหรือจุดมุ่งหมายของผู้เขียนคืออะไร....
    ถามตนเองว่าสาระสำคัญหรือจุดมุ่งหมายของผู้เขียนคืออะไร. การพยายามฝึกตนเองให้มีนิสัยชอบตั้งคำถามจะช่วยให้เราเข้าใจเนื้อหาที่อ่านมากยิ่งขึ้น เพราะจะทำให้เราต้องตั้งใจอ่านเพื่อจะได้พบคำตอบของคำถามที่ได้ตั้งไว้ สมมติว่าเรากำลังอ่านนวนิยายและอยากรู้ว่าเกิดเรื่องอะไรขึ้น เราก็ต้องตั้งคำถามและคาดเดาคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้เองก่อน เขียนคำถามและคำตอบลงไปในสมุดบันทึก[12]
    • นี้คือตัวอย่างคำถามที่เราอาจตั้งขึ้นมาเพื่อถามตนเองขณะอ่านหนังสือเล่มหนึ่ง สมมติเราตั้งคำถามว่า
      • ตัวละครหลักปล่อยแมวออกไปทางประตูหลังเพราะมีเหตุผลบางอย่าง หรือผู้แต่งแค่พยายามเขียนเพิ่มเข้ามาเท่านั้น
      • ทำไมผู้เขียนถึงให้สุสานเป็นฉากแรกของเรื่อง ฉากนี้ของหนังสือกำลังบอกเล่าอะไรบางอย่างเกี่ยวกับตัวละครหลักหรือเปล่า
      • ตัวละครทั้งสองมีความสัมพันธ์กันอย่างไร หากมองอย่างผิวเผินทั้งสองดูเหมือนเป็นศัตรูกัน แต่ความจริงแล้วทั้งสองชอบกันอยู่ใช่ไหม
    • หลังจากอ่านจบสักตอนหนึ่งหรือบทหนึ่งและพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาที่อ่านแล้ว ให้ลองตั้งคำถามตามตัวอย่าง ลองคาดเดาคำตอบ เมื่อได้รู้คำตอบที่ถูกต้องแล้ว ถามตนเองว่าเนื้อหาส่วนไหนที่สามารถนำมาเป็นเหตุผลสนับสนุนและอธิบายคำตอบนั้นได้ดีที่สุด
  3. How.com.vn ไท: Step 3 แบ่งตารางออกเป็น 2 ช่องและจดบันทึกเนื้อหากับเขียนความคิดเห็นลงไป....
    แบ่งตารางออกเป็น 2 ช่องและจดบันทึกเนื้อหากับเขียนความคิดเห็นลงไป. แบ่งตารางออกเป็นสองช่อง จดบันทึกข้อมูลและเนื้อหาที่ได้จากการอ่านรวมทั้งเลขหน้า สรุป และอัญพจน์ลงในช่องซ้ายของตาราง เขียนความคิดเห็นของตนเองที่มีต่อเนื้อหาลงในช่องขวาของตาราง[13]
    • เหตุผลที่เราต้องจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการอ่านในช่องซ้ายของตารางมี 2 ข้อคือ ข้อแรกถ้าเราต้องการกลับไปดูเนื้อหาอีกครั้ง เราก็จะรู้ว่าเนื้อหานั้นอยู่ตรงส่วนไหนหรือหน้าไหนของหนังสือเล่มนั้น และข้อสองเราจะได้นำข้อมูลนี้มาใช้ในการอ้างอิงด้วย
    • เนื้อหาในช่องซ้ายของตารางจะเป็นการสรุปหรือดึงสาระสำคัญของเนื้อหาออกมา ถ้าเราหยิบยกข้อความมาจากหนังสือแบบตรงๆ อย่าลืมใส่เครื่องหมายอัญประกาศด้วย
    • เนื้อหาในช่องขวาของตารางควรเป็นการบอกว่าเนื้อหาที่อ่านเกี่ยวข้องอย่างไรกับสิ่งที่ตนเองคิดหรือความคิดที่ตนเองอภิปรายในชั้นเรียน
    โฆษณา
วิธีการ 4
วิธีการ 4 ของ 4:

เลือกอ่านเนื้อหาที่สำคัญและเกี่ยวข้อง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ดูส่วนประกอบที่สำคัญก่อน อย่าเพิ่งอ่านเนื้อหาทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ....
    ดูส่วนประกอบที่สำคัญก่อน อย่าเพิ่งอ่านเนื้อหาทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ. ถ้าเรากำลังอ่านเนื้อหาซึ่งเป็นข้อเท็จจริง อย่างเช่น เนื้อหาในตำราเรียนหรือหนังสือพิมพ์ ให้ดูที่ส่วนประกอบของงานเขียนนั้นก่อน อ่านสรุป บทนำ และบทสรุปก่อนเพื่อจะได้รู้ว่าข้อมูลที่สำคัญอยู่ตรงไหน[14]
    • หาใจความสำคัญในส่วนประกอบแต่ส่วนที่เราอ่านและจากนั้น “ศึกษา” ใจความสำคัญนั้น โดยปกติใจความสำคัญมักปรากฏตั้งแต่แรกหรือในช่วงแรกของส่วนประกอบนั้น
    • เราควรใช้สารบัญ หัวเรื่อง และชื่อเรื่องในการช่วยพิจารณาว่าควรอ่านเนื้อหาส่วนใดก่อน
  2. How.com.vn ไท: Step 2 อ่านเนื้อหาให้ตรงกับเรื่องที่จะต้องเรียน.
    ถ้าเราต้องอ่านเนื้อหามาล่วงหน้าก่อนเข้าเรียน อ่านเนื้อหาให้ตรงกับเรื่องที่จะต้องเรียน เน้นอ่านเนื้อหาที่ตนเองจำเป็นต้องรู้ ส่วนเนื้อหาที่ไม่สำคัญก็ไม่ต้องไปเน้นมากนัก เราก็จะเข้าใจเนื้อหาที่อ่านได้มากขึ้น[15]
    • ถ้าอยากรู้ว่าต้องอ่านเนื้อหาอะไรบ้าง ให้ดูประมวลรายวิชาหรือเค้าโครงการสอนและตั้งใจฟังเนื้อหาที่ผู้สอนเน้นเป็นพิเศษในห้อง
    • ตรวจดูการบ้าน งานที่ได้รับมอบหมาย และแบบทดสอบเพื่อจะได้รู้ว่ามีเนื้อหาอะไรบ้างที่มักจะถูกถามบ่อยๆ
  3. How.com.vn ไท: Step 3 สืบค้นข้อมูลต่างๆ ทางอินเตอร์เน็ต.
    เลือกคำสำคัญหรือวลีที่ต้องการสืบค้นและใช้คำเหล่านั้นค้นหาข้อมูลภายในหนังสือทางอินเตอร์เน็ต ถ้ามีโอกาสหาข้อความที่เกี่ยวข้อง เราจะได้มั่นใจว่าตนเองอ่านเนื้อหาที่มีประโยชน์จริงๆ และไม่เสียเวลาหรือแรงไปกับการอ่านข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้อง[16]
    • ถ้าเราไม่สามารถสืบค้นเนื้อหาของหนังสือทางอินเตอร์เน็ตได้ เราก็ยังสามารถค้นหาคำสำคัญหรือวลีในดัชนีและค้นหาว่าคำสำคัญหรือวลีนั้นอยู่ที่หน้าไหนของหนังสือเล่มนั้น
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ใช้เทคนิค SQ3R (สำรวจ ตั้งคำถาม อ่าน และทบทวน) เมื่อต้องทำข้อสอบการอ่านจับใจความ เทคนิคนี้จะช่วยให้เราสามารถอ่านจับใจความข้อความต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
  • บันทึกคำที่เราไม่รู้จักหรือวลีที่ตนเองสนใจไว้ในหน้าที่คำหรือวลีนั้นปรากฎ เราจะได้ค้นหาความหมายของคำหรือวลีเหล่านั้นในพจนานุกรม สักวันเราอาจได้นำคำหรือวลีเหล่านั้นมาใช้ในงานเขียนของตนเอง
  • พยายามอ่านหนังสือให้หลากหลาย แต่ก็อย่าลืมอ่านอะไรที่สนุกและตนเองสนใจด้วย เช่น กราฟิกโนเวล หรือนิตยสารที่ตนเองชื่นชอบ
  • ลองใช้วิธีการอ่านแบบต่างๆ เพื่อจะได้รู้ว่าวิธีไหนใช้ได้ผลกับตนเองมากที่สุด เช่น ขังตนเองอยู่ในห้องและอ่านออกเสียง ลองใช้วิธีการอ่านหลายๆ แบบ
  • ลองอ่านเรื่องย่อก่อนอ่านฉบับเต็ม วรรณกรรมคลาสสิกบางเรื่องจะมีเรื่องย่อให้เราอ่านทางอินเตอร์เน็ต ให้ใช้เรื่องย่อเหล่านี้เป็นตัวช่วยในการทำความเข้าใจงานเขียนที่อ่านเข้าใจยาก
  • หาโอกาสเข้าห้องสมุดเมื่อมีเวลา เช่น หลังเลิกเรียน ช่วงพักกลางวัน เป็นต้น พยายามเข้าห้องสมุดให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้!
  • ถามผู้อื่นเมื่อสงสัยหรือไม่เข้าใจ ถ้าเราไม่เข้าใจเนื้อหาที่ตนเองอ่าน ถามเพื่อน คุณครู หรือคุณพ่อคุณแม่ดู ถ้าเป็นการอ่านตามความสนใจของตนเอง ลองหากลุ่มเพื่อนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน ไม่ว่าจะในโรงเรียนหรือทางอินเตอร์เน็ตเพื่อพูดคุยและถกกันถึงเนื้อหาที่ได้อ่านนั้น
  • อ่านหนังสือที่อยู่เหนือระดับการอ่านของตนเองเพื่อท้าทายสมองและทำให้ตนเองได้เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ๆ
  • ถ้าเกรงว่าจะอ่านหนังสือไม่ทัน ลองสำรวจบทที่ต้องอ่าน ดูสิว่ามีเนื้อหาอะไรบ้าง อาจจะแค่อ่านหัวเรื่องและบทนำเพื่อให้ทราบว่าเนื้อหาที่จะได้เรียนนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร ทำแบบนี้แทนการอ่านเนื้อหาของบทนั้นทุกตัวอักษร
โฆษณา

คำเตือน

  • ถ้าหยิบยกถ้อยคำของผู้อื่นมาใส่ในงานเขียนของตนเอง อย่าลืมอ้างอิงด้วย ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นการคัดลอกผลงานของผู้อื่น คุณครูสามารถตรวจสอบได้ว่างานเขียนของเรามีการคัดลอกงานเขียนของผู้อื่นมาหรือไม่
  • บางครั้งเราอ่านหนังสือแล้ว แต่ไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่านเลย ถ้าเราทำความเข้าใจเนื้อหาได้ยากลำบาก ฝึกจดบันทึกเนื้อหา หากลวิธีการอ่านและวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง
  • อย่าใช้เรื่องย่อหรือสรุปเป็นตัวแทนของเนื้อหาทั้งหมดที่ตนเองต้องอ่าน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Christopher Taylor, PhD
ร่วมเขียน โดย:
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Christopher Taylor, PhD. คริสโตเฟอร์ เทย์เลอร์เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษของมหาวิทยาลัยชุมชนออสตินในเท็กซัส เขาได้รับปริญญาเอกด้านวรรณคดีอังกฤษและการศึกษายุคกลางจากมหาวิทยาลัยเท็กซัสแห่งออสตินในปี 2014 บทความนี้ถูกเข้าชม 3,928 ครั้ง
หมวดหมู่: การศึกษา
มีการเข้าถึงหน้านี้ 3,928 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา