วิธีการ บอกให้ลูกรู้ว่าคุณกำลังมีความรักครั้งใหม่ภายหลังการหย่าร้าง

ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

ในช่วงที่คุณและลูกกำลังปรับตัวในการใช้ชีวิตหลังการหย่าร้าง อีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่คุณอาจต้องเผชิญเข้าสักวันหนึ่งคือการเริ่มต้นความสัมพันธ์ครั้งใหม่ เมื่อได้รู้ว่าพ่อหรือแม่กำลังเริ่มต้นคบหาดูใจกับใครสักคนอีกครั้ง เด็กๆ อาจรู้สึกกลัวและกังวลกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ในบทความนี้เราจะมาแนะนำวิธีที่เหมาะสมในการพูดคุยกับลูกน้อยของคุณเกี่ยวกับความรักครั้งใหม่พร้อมทำให้เขามั่นใจได้ว่าคุณพร้อมที่จะอยู่เคียงข้างเขาเสมอ

1

ปรับเปลี่ยนวิธีการพูดคุยตามอายุของเด็ก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: วิธีการพูดคุยที่เหมาะสมกับเด็กที่อายุน้อยกว่าอาจแตกต่างจากเด็กที่อายุมากกว่า....
    วิธีการพูดคุยที่เหมาะสมกับเด็กที่อายุน้อยกว่าอาจแตกต่างจากเด็กที่อายุมากกว่า. หากลูกของคุณยังอายุน้อยและยังขาดความเข้าใจในเรื่องการคบหาดูใจกับคนรัก คุณอาจพูดคุยกับเขาโดยใช้คำว่า “เพื่อนสนิท” คนใหม่ของคุณ (โดยส่วนใหญ่แล้ววิธีนี้จะเหมาะกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 10 ขวบ) ส่วนเด็กที่โตกว่านั้นอาจเริ่มเข้าใจในเรื่องความรักและความสัมพันธ์ คุณอาจเลือกใช้คำที่เจาะจงมากขึ้น เช่น คนรักหรือแฟน[1]
    • ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจพูดกับลูกอายุ 8 ขวบทำนองว่า “คืนนี้เพื่อนใหม่ของหม่าม้าจะมาที่บ้านเรานะ”
    • สำหรับเด็กอายุ 15 ปี คุณอาจพูดทำนองว่า “พ่อแค่อยากจะบอกว่าตอนนี้พ่อกำลังกลับมามีความรักอีกครั้งแล้วนะ”
    • แม้ว่าลูกของคุณจะโตมากพอที่จะเริ่มเข้าใจในเรื่องของความรัก แต่การเรียกคนรักใหม่ของคุณว่าเพื่อนอาจช่วยให้เรื่องที่เขาได้ยินจากคุณฟังดูเบาบางลงได้บ้าง คุณเป็นคนที่รู้จักลูกของคุณดีที่สุด ดังนั้นลองเลือกใช้คำที่คุณคิดว่าเหมาะสมที่สุดดู
    โฆษณา
2

เริ่มต้นบทสนทนาด้วยการถามคำถาม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: ลองเปิดประเด็นว่า “ลูกคิดอย่างไรหากพ่อ/แม่จะกลับมามีความรักอีกครั้ง”....
    ลองเปิดประเด็นว่า “ลูกคิดอย่างไรหากพ่อ/แม่จะกลับมามีความรักอีกครั้ง”. นี่เป็นการเปิดโอกาสให้ลูกของคุณได้พูดสิ่งที่คิดออกมา เตรียมรับมือกับอารมณ์โกรธ ความเสียใจ ความสับสน หรือความหึงหวงที่เขาอาจแสดงออกมา การเปิดประเด็นเช่นนี้จะทำให้คุณได้รับรู้ได้ในทันทีว่าลูกของคุณคิดหรือรู้สึกอย่างไรกับเรื่องนี้[2]
3

ทำให้ชัดเจนว่าคนรักใหม่ของคุณไม่ได้มาแทนที่พ่อ/แม่ของเขา

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: แม้จะเลิกรากันแล้ว แต่อดีตคนรักของคุณจะยังเป็นพ่อ/แม่ของเขาตลอดไป....
    แม้จะเลิกรากันแล้ว แต่อดีตคนรักของคุณจะยังเป็นพ่อ/แม่ของเขาตลอดไป. สำหรับเด็กบางคน ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะมองว่าคนที่พ่อหรือแม่กำลังคบหาดูใจอยู่คือพ่อ/แม่ “คนใหม่” ของเขา ดังนั้นบอกให้เขารู้ว่าคุณและอดีตคนรักของคุณยังคงจับมือทำหน้าที่พ่อแม่ของลูกเสมอ และคนรักใหม่ของคุณจะไม่มีวันแทนที่พ่อ/แม่ของเขาได้[3]
    • สำหรับเด็กที่ยังอายุน้อย คุณอาจพูดทำนองว่า “หม่าม้าเข้าใจว่ามันอาจจะฟังดูแปลกๆ แต่จำไว้นะว่าป่าป๊าจะยังเป็นป่าป๊าของลูกเสมอ เข้าใจมั้ย น้าริชาร์ดเพื่อนของหม่าม้าอาจเป็นเพื่อนใหม่ของลูกได้ แต่ไม่จำเป็นที่คุณน้าจะต้องมาเป็นพ่อคนใหม่ของลูกนะ”
    • หรือคุณอาจพูดกับลูกที่เริ่มโตว่า “ลูกอาจเห็นพ่อกับอาเจสสิก้าอยู่ด้วยกันบ่อยๆ แต่ลูกไม่จำเป็นต้องเรียกคุณอาว่า ‘แม่’ นะ แม่จะยังเป็นแม่ของลูกเสมอ และอาเจสสิก้าก็ไม่สามารถมาแทนที่แม่ของลูกได้”
    โฆษณา
4

ถามถึงความรู้สึกของลูก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: การพูดคุยอย่างเปิดอกกับลูกของคุณเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้....
    การพูดคุยอย่างเปิดอกกับลูกของคุณเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้. เมื่อได้พูดคุยกับลูกแล้ว อย่าลืมเปิดโอกาสให้เขาได้พูดระบายสิ่งที่อัดอั้นในใจออกมา คุณอาจถามเขาว่ารู้สึกอย่างไร พร้อมเตรียมรับมือกับความเสียใจ ความโกรธ หรือแม้กระทั่งความหึงหวงที่เขาอาจแสดงออกมา[4]
    • ลองพูดทำนองว่า “ลูกรู้สึกอย่างไรบ้าง” หรือ “บอกได้มั้ยว่าลูกกำลังคิดอะไรอยู่”
5

คลายทุกความกังวลใจที่ลูกมี

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: พยายามคลายความไม่สบายที่เกิดขึ้นหลังจากคุณทั้งสองคนพูดคุยกัน....
    พยายามคลายความไม่สบายที่เกิดขึ้นหลังจากคุณทั้งสองคนพูดคุยกัน. เด็กๆ มีอารมณ์ที่หลายหลาย และหากลูกของคุณโตมากพอที่จะแสดงความรู้สึกเหล่านั้นออกมา คุณอาจต้องปลอบโยนให้เขาคลายอารมณ์ขุ่นหมองลงได้ บอกให้เขารู้ว่าเขายังคงเป็นคนสำคัญในชีวิตของคุณเสมอและจะเป็นคนแรกที่คุณคิดถึงก่อนใครก็ตามที่คุณคบหาดูใจด้วย[5]
    • ยกตัวอย่างเช่น เด็กที่ยังอายุน้อยอาจถามทำนองว่า “เพื่อนใหม่ของหม่าม้าจะย้ายมาอยู่กับเราเหรอ” คุณอาจตอบว่า “ไม่จ๊ะลูก ไม่ใช่เร็วๆ นี้แน่นอน และมันอาจจะไม่เกิดขึ้นด้วย แต่แม้ว่าคุณน้าจะมาอยู่ร่วมกันกับเรา จำไว้ว่าลูกกับหม่าม้าจะมีกันและกันตลอดไป”
    • แม้จะเป็นเรื่องดีที่คุณเปิดใจพูดคุยกับลูกของคุณและทำความเข้าใจในสิ่งที่เขาคิด แต่คุณไม่จำเป็นต้องให้ลูกมาบงการชีวิตรักของคุณ สิ่งที่คุณควรทำคือรับฟังความกังวลใจของเขา ไม่ใช่การยุติความสัมพันธ์ครั้งใหม่เพียงเพราะเขาไม่ชอบใจกับการที่คุณมีคนรักใหม่
    โฆษณา
6

ให้เวลาลูกในการปรับตัวสักระยะหนึ่ง

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: เด็กส่วนใหญ่อาจไม่รู้สึกตื่นเต้นทันทีเมื่อรู้ว่าพ่อ/แม่กลับมามีความรักอีกครั้ง....
    เด็กส่วนใหญ่อาจไม่รู้สึกตื่นเต้นทันทีเมื่อรู้ว่าพ่อ/แม่กลับมามีความรักอีกครั้ง. สิ่งสำคัญคือการให้เวลาลูกของคุณในการปรับตัวและอย่าเร่งเร้าให้เขาเปิดใจยอมรับคนรักใหม่ของคุณได้โดยเร็ว พยายามพูดคุยและถามถึงความรู้สึกของเขาอยู่เรื่อยๆ แต่อย่าบังคับให้เขาเปลี่ยนความคิดในแบบที่เขาไม่ต้องการ[6]
7

หมั่นพูดคุยสื่อสารกับลูกอยู่เรื่อยๆ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: พูดคุยและรับฟังลูกของคุณอย่างสม่ำเสมอเผื่อว่าเขาจะมีความกังวลใจเพิ่มเติม....
    พูดคุยและรับฟังลูกของคุณอย่างสม่ำเสมอเผื่อว่าเขาจะมีความกังวลใจเพิ่มเติม. หากลูกของคุณยังอายุน้อย ลองมานั่งพูดคุยกับเขาสัปดาห์ละครั้งหรือตามที่คุณเห็นสมควรเพื่อดูว่าเขารู้สึกอย่างไรบ้างในตอนนี้ การพูดคุยสื่อสารกับลูกเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้หลังจากที่คุณแนะนำให้คนรักใหม่ของคุณรู้จักกับเขาแล้ว หากเขามีข้อสงสัยหรือความกังวลใจเพิ่มเติม คอยรับฟังและพยายามทำให้เขารู้สึกดีขึ้น[7]
    • คุณอาจลองถามเขาว่า “ลูกรู้สึกอย่างไรหลังจากได้เจอน้าแนนซี่” หรือ “มีความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องที่เราคุยกันเมื่อวันก่อนมั้ย”
    โฆษณา
8

พิจารณาคนรักใหม่อย่างรอบคอบ

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: ควรแน่ใจว่าคุณไว้วางใจในคนรักใหม่ของคุณให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตคุณทั้งสองคน....
    ควรแน่ใจว่าคุณไว้วางใจในคนรักใหม่ของคุณให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตคุณทั้งสองคน. การมีความรักครั้งใหม่เมื่อมีลูกติดค่อนข้างแตกต่างจากการคบหาดูใจกับใครสักคนตอนที่มีแค่คุณเพียงคงเดียว เพราะคุณจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของลูกของคุณด้วย เมื่อคุณได้พบใครสักคนที่คุณพร้อมเปิดใจด้วย อย่าลืมนึกถึงลูกของคุณก่อนเป็นอันดับแรก หากคุณไม่พร้อมที่จะให้คนรักใหม่กับลูกของคุณได้พบหน้ากัน อาจถึงเวลาที่คุณจะต้องยุติความสัมพันธ์ครั้งนี้และเดินหน้าต่อไป[8]
9

แนะนำให้คนรักใหม่รู้จักกับลูกเมื่อคุณมั่นใจ 100% เท่านั้น

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: เด็กอาจปรับตัวได้ยากกับการพบปะคนรักใหม่ของพ่อ/แม่หลายคนในช่วงเวลาสั้นๆ....
    เด็กอาจปรับตัวได้ยากกับการพบปะคนรักใหม่ของพ่อ/แม่หลายคนในช่วงเวลาสั้นๆ. หากคุณคบหาดูใจกับคนรักใหม่มาสักระยะหนึ่งและค่อนข้างจริงจังกับความสัมพันธ์ในครั้งนี้ ถึงเวลาที่คุณควรเริ่มคิดที่จะแนะนำให้คนรักใหม่รู้จักกับลูกของคุณ หากทั้งสองคนเริ่มสนิทสนมและเข้ากันได้ดี ก็มีโอกาสสูงขึ้นที่ความรักครั้งนี้จะพัฒนาไปสู่ความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนได้[9]
    • นอกจากนี้ หากลูกของคุณยังอายุน้อย การเห็นพ่อ/แม่คบหาดูใจกับคนใหม่คนแล้วคนเล่าในช่วงเวลาสั้นๆ อาจทำให้เด็กเกิดความสับสนได้
    โฆษณา
10

ลิสต์รายการจุดแข็งของคนรักใหม่

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: วิธีนี้จะช่วยให้คนรักใหม่และลูกของคุณเริ่มต้นสานสัมพันธ์กันได้ดี....
    วิธีนี้จะช่วยให้คนรักใหม่และลูกของคุณเริ่มต้นสานสัมพันธ์กันได้ดี. หากความสัมพันธ์ของคุณกับคนรักใหม่เริ่มจริงจังมากขึ้นจนถึงขั้นคิดที่จะแนะนำคนรักใหม่ให้รู้จักกับลูกของคุณ ลองลิสต์รายการสิ่งที่คุณชอบในตัวคนรักใหม่ หากลูกของคุณเห็นว่าคุณมีความสุขมากแค่ไหนและได้ฟังว่าคุณชอบคนๆ นี้มากเพียงใด เขาอาจยอมเปิดใจที่จะทำความรู้จักกับคนรักใหม่ของคุณ[10]
    • สำหรับเด็กที่ยังอายุน้อย คุณอาจพูดทำนองว่า “น้าเฟรดเป็นคนที่เจ๋งมาก แถมยังรู้ทริคมายากลตั้งเยอะ! แล้วเขาก็เป็นคนรักสัตว์เหมือนกับลูกเลย”
    • หรือคุณอาจพูดกับลูกที่เริ่มโตว่า “อาเฮเธอร์เป็นคนที่น่ารักมากคนหนึ่งเท่าที่พ่อเคยเจอ เธอเป็นคนตลก และพ่อคิดว่าลูกกับเธอน่าจะเข้ากันได้ดี”
11

ค่อยๆ ให้คนรักใหม่ทำความรู้จักกับลูกไปทีละน้อย

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: ออกไปทานอาหารด้วยกันหรือหากิจกรรมนอกบ้านสนุกๆ ทำร่วมกัน....
    ออกไปทานอาหารด้วยกันหรือหากิจกรรมนอกบ้านสนุกๆ ทำร่วมกัน. ให้เวลาทั้งสองคนค่อยๆ ทำความรู้จักกันไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องรีบร้อน เริ่มจากการพบปะกันสั้นๆ เช่น ทานอาหารเย็นร่วมกันที่ร้านอาหาร และเพิ่มเวลาที่ทำกิจกรรมร่วมกันให้มากขึ้น เช่น ออกไปเที่ยวด้วยกันในวันหยุดสุดสัปดาห์[11]
    • การให้เวลาลูกได้สร้างความคุ้นเคยกับคนรักใหม่ของคุณที่มากพอเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณรีบร้อนมากเกินไปหรือคอยกดดันให้เขาเข้ากันกับคนรักใหม่ของคุณได้โดยเร็ว อาจกลายเป็นว่าคุณกำลังทำให้เขารู้สึกขุ่นเคืองใจไปแทน
    โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Jade Giffin, MA, LCAT, ATR-BC
ร่วมเขียน โดย:
นักศิลปะบำบัด
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Jade Giffin, MA, LCAT, ATR-BC. เจด กริฟฟิน เป็นนักศิลปะบำบัดในนิวยอร์ก ด้วยประสบการณ์กว่า 1 ทศวรรษ เจดเชี่ยวชาญด้านการบำบัดอาการบาดเจ็บและความเศร้าก่อนและหลังคลอด ความท้าทายในการเป็นพ่อแม่ การจัดการอาการวิตกกังวลและความเครียด การดูแลตัวเอง ไปจนถึงความลำบากทางการเข้าสังคม ด้านอารมณ์ และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ในผู้ใหญ่ วัยรุ่น และเด็ก เจดจบการศึกษาชั้นปริญญาตรี สาขาจิตวิทยาและทัศนศิลป์ จากมหาวิทยาลัยบาร์นาร์ด และปริญญาโท สาขาศิลปะบำบัด จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 เจดได้รับรางวัล Hughes Fellow และ Lehman Award ในฐานะผลงานทางคลินิกที่โดดเด่น นอกจากนี้เจดยังให้คำแนะนำทางคลินิก พัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกาย เผยแพร่ผลงานวิจัย และเป็นพรีเซนเตอร์อีกด้วย
หมวดหมู่: ภายในครอบครัว
มีการเข้าถึงหน้านี้ 422 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา