ดาวน์โหลดบทความดาวน์โหลดบทความ

เมื่อนั่งทบทวนบทเรียน เราจะนำข้อมูลมากมายมหาศาลจากหนังสือและสิ่งที่จดไว้มาเก็บในสมองได้อย่างไร เราต้องฝึกตนเองให้มีพฤติกรรมที่ดีในการทบทวนบทเรียนก่อน โดยเริ่มต้นจากพยายามเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนของตนเองอย่างจริงจังจนกระทั่งกลายเป็นนิสัย แล้วในที่สุดเราก็จะสามารถทบทวนบทเรียนได้ง่ายขึ้น

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 4:

เตรียมตัวทบทวนบทเรียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 จัดเวลา...
    จัดเวลา. เขียนตารางประจำสัปดาห์และหาเวลาทบทวนบทเรียนวันละหนึ่งชั่วโมง วิธีนี้จะช่วยให้ผลการเรียนของเราดีขึ้นได้ ระยะเวลาการทบทวนก็จะขึ้นอยู่กับว่าเรากำลังเรียนระดับมัธยมหรือมหาวิทยาลัยและวิชาที่จะทบทวน เราต้องทำตามตารางเวลาให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ก็อย่ากลัวที่จะออกนอกแผนไปบ้าง เพื่อจะได้มีเวลาทบทวนบทเรียนมากขึ้น และเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบที่กำลังจะมาถึง แผนทบทวนบทเรียนต้องทำได้จริงและเป็นไปได้ อย่าลืมจัดเวลาให้กับทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่การกิน การแต่งตัว การเดินทาง ไปจนถึงการเข้าห้องทดลอง และการเข้าเรียนวิชาต่างๆ [1]
    • เราต้องจัดเวลาให้การเรียน การทำงาน และการทำกิจกรรมนอกหลักสูตรสมดุลกัน ถ้ากำลังประสบปัญหาด้านการเรียน เราอาจต้องยกเลิกการทำงานพิเศษหลังเลิกเรียนหรือกิจกรรมนอกหลักสูตรไปก่อน จนกว่าผลการเรียนของเราจะดีขึ้น เราจะต้องจัดเวลาตามลำดับความสำคัญ พึงระลึกไว้ว่าการศึกษานั้นสำคัญที่สุดเพราะเป็นรากฐานแห่งอนาคต[2]
    • ถ้ากำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย ก็ควรจัดเวลาทบทวนบทเรียนโดยดูจากความยากง่ายและจำนวนหน่วยกิตของวิชานั้น ตัวอย่างเช่น ถ้าเราเรียนวิชาฟิสิกส์ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และเห็นว่าเป็นวิชาที่ยากมากทีเดียว เราอาจต้องจัดเวลาทบทวนวิชานี้ 9 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (จำนวนชั่วโมงเรียน 3 ชั่วโมง x 3 ซึ่งแทนระดับความยากมาก) ถ้าเราเรียนวิชาวรรณกรรม 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และเห็นว่าเป็นวิชาที่ยากเล็กน้อย เราอาจต้องจัดเวลาทบทวนวิชานี้ 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (จำนวนชั่วโมงเรียน 3 ชั่วโมง x 2 ซึ่งแทนระดับความยากปานกลาง)
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ทบทวนบทเรียนด้วยความเร็วที่เหมาะกับตนเอง.
    ดูสิว่าเราทบทวนบทเรียนได้เร็วระดับไหนและปรับระยะเวลาให้เหมาะสม ถ้าเราถนัดหรือเข้าใจบางบทหรือบางวิชาดีอยู่แล้ว เราก็จะทบทวนวิชาเหล่านั้นได้เร็วขึ้น บางวิชาอาจใช้เวลาทบทวนนานเป็นสองเท่า ใช้เวลาเท่าที่จำเป็นและทบทวนบทเรียนตามความเร็วที่เหมาะสมกับเรา
    • การเรียนแบบพักทุก 20 นาทีจะช่วยให้เราจำเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
    • ถ้าเราไม่ถนัดหรือเข้าใจบทเรียนใดบทเรียนหนึ่งหรือบางวิชา เราจะต้องใช้เวลาในการทบทวนบทเรียนวิชานั้นมากขึ้น
  3. How.com.vn ไท: Step 3 พักผ่อนให้เพียงพอ.
    เราต้องจัดเวลานอนให้เพียงพอด้วย นอนหลับอย่างเต็มอิ่มทุกคืนและเราจะทบทวนบทเรียนได้ดี การพักผ่อนให้เพียงพอนั้นสำคัญมากในตอนที่เราเตรียมตัวสอบ และสำคัญอย่างยิ่งก่อนที่จะเข้าสอบในวันรุ่งขึ้น ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าการนอนหลับเป็นผลดีต่อการสอบเพราะช่วยให้มีความจำดีขึ้นและมีสมาธิมากขึ้น การนั่งทบทวนบทเรียนตลอดคืนอาจฟังดูเข้าท่าแต่อย่าคร่ำเคร่งเกินไป ถ้าเราหมั่นทบทวนบทเรียนทุกสัปดาห์ เราไม่จำเป็นต้องคร่ำเคร่งก่อนสอบมากนัก การพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้เราทำข้อสอบได้ดีด้วย[3]
    • ถ้าสุดท้ายแล้วเราเผลอคร่ำเคร่งกับการทบทวนบทเรียนมากจนนอนไม่เต็มอิ่ม งีบหลับสักนิด ก่อนทบทวนบทเรียน นอนสักประมาณ 15-30 นาที หลังจากตื่นก็ให้ออกกำลังกาย (อย่างที่เราชอบทำช่วงพัก) ก่อนเริ่มทบทวนบทเรียน
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ทำจิตใจให้ว่าง ไม่คิดอะไรก็ตามที่ไม่เกี่ยวกับหัวข้อที่กำลังทบทวน....
    ทำจิตใจให้ว่าง ไม่คิดอะไรก็ตามที่ไม่เกี่ยวกับหัวข้อที่กำลังทบทวน. ถ้าเรามีเรื่องต้องคิดมากมายในหัว ให้ใช้เวลาสักครู่เขียนความคิดและความรู้สึกออกมาก่อนที่จะเริ่มทบทวนบทเรียน วิธีนี้จะช่วยทำให้จิตใจของเราว่างและนึกถึงแต่การทบทวนบทเรียนเท่านั้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ปิดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกอย่าง.
    สิ่งหนึ่งที่รบกวนการทบทวนบทเรียนมากที่สุดคืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีสื่อสังคม ถ้าเปิดทิ้งไว้ ก็มักจะมีเพื่อนหรือคนที่เรารู้จักส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มาหาเรา เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ใช้เข้าอินเทอร์เน็ตได้ ฉะนั้นให้ปิดเสียงมือถือหรือเก็บใส่ไว้ในกระเป๋า จะได้ไม่มีเสียงรับสายหรือเสียงข้อความดังรบกวนเรา อย่าเปิดคอมพิวเตอร์หรือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ถ้าทำได้
    • ถ้ากลัวจะยับยั้งชั่งใจตนเองไม่ได้ รู้สึกอยากเข้าไปดูเว็บไซต์ต่างๆ เช่น ยูทูบ เฟซบุ๊ก หรือเว็บไซต์อื่นๆ ตลอดเวลา ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่มีเพื่อช่วยปิดกั้นเว็บไซต์ที่เข้ามารบกวนในคอมพิวเตอร์ เมื่อทบทวนบทเรียนเรียบร้อย ค่อยปลดการปิดกั้นเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อจะได้เข้าสะดวกเหมือนเคย [4]
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 4:

ปรับสถานที่ให้เหมาะสมกับการทบทวนบทเรียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 หาสถานที่ซึ่งเหมาะสมกับการทบทวนบทเรียน.
    เราต้องเป็นคนเลือกสถานที่ทบทวนบทเรียนด้วยตนเอง เราควรรู้สึกสบายใจ ถึงจะทบทวนบทเรียนได้สนุกขึ้น ถ้าไม่ชอบนั่งทบทวนในห้องสมุด ก็ให้เลือกสถานที่ซึ่งเราชอบ เช่น โซฟา หรือเก้าอี้เม็ดโฟม พยายามใส่เสื้อผ้าที่สบายตัวอย่างเสื้อสเว็ตเชิ้ตที่อบอุ่นสบายหรือกางเกงโยคะ[5] สถานที่ซึ่งจะใช้ทบทวนบทเรียนควรปลอดสิ่งรบกวนและค่อนข้างเงียบ[6]
    • อย่าเลือกสถานที่ซึ่งสะดวกสบายมากเกินไป เพราะเราอาจเผลอหลับได้ เราต้องการความสะดวกสบายก็จริง แต่ไม่ใช่มากจนทำให้อยากหลับ ฉะนั้นเมื่อเราเหนื่อย อย่าเลือกเตียงนอนเป็นที่ทบทวนบทเรียน
    • เสียงการจราจรนอกหน้าต่างและเสียงพูดคุยกันเบาๆ ในห้องสมุดไม่ใช่เสียงที่รบกวนเรา แต่พี่น้องที่เข้ามาขัดจังหวะและเสียงเพลงที่ดังกระหึ่มข้างห้องนั้นจะรบกวนการทบทวนบทเรียนของเรา เราอาจต้องเลือกสถานที่ซึ่งไม่มีใครมารบกวนเราได้
  2. How.com.vn ไท: Step 2 เลือกเพลงประกอบการทบทวนอย่างเหมาะสม.
    บางคนชอบทบทวนบทเรียนอย่างเงียบๆ บางคนชองฟังเพลงระหว่างนั้นไปด้วย เพลงอาจมีประโยชน์ต่อการทบทวนบทเรียนของเรา ช่วยให้จิตใจเราสงบ ทำให้อารมณ์ดีขึ้น และเกิดแรงบันดาลใจ ถ้าชอบฟังเพลงไปด้วย ให้เลือกเพลงบรรเลง เพลงที่ไม่มีคนร้อง เช่น เพลงคลาสสิก เพลงประกอบภาพยนตร์ เพลงแนวแทรนซ์ หรือดนตรีบาโรก[7]
    • ถ้าเห็นว่าไม่รบกวนการทบทวนบทเรียน อาจฟังเพลงของนักร้องที่เราชื่นชอบก็ได้ แต่ถ้าเสียงเพลงเป็นสิ่งที่รบกวนเรา ก็อย่าเปิดเพลงระหว่างที่ทบทวนบทเรียน บางคนอาจฟังเพลงร็อกระหว่างนั้น แต่ถ้าฟังเพลงป๊อบอาจไม่มีสมาธิ ลองดูสิว่าเราเหมาะที่จะทบทวนบทเรียนแบบไหน ต้องเปิดเพลงไปด้วยหรือไม่ แล้วเพลงแบบไหนช่วยให้เราทบทวนบทเรียนได้ดี
    • เปิดเพลงเบาพอสมควร เพลงที่ดังเกินไปจะรบกวนสมาธิเรา แต่เพลงเบาๆ ช่วยเราในการทบทวนบทเรียนได้
    • ปิดวิทยุ โฆษณาและเสียงดีเจอาจทำให้เราเสียสมาธิในการทบทวนบทเรียน[8]
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ฟังเสียงธรรมชาติ.
    เสียงธรรมชาติช่วยให้เรา "มีสมาธิ" และจดจ่อกับการทบทวนบทเรียนโดยไม่ถูกรบกวน เสียงธรรมชาติ เช่น เสียงน้ำตก เสียงฝน เสียงฟ้าร้อง และเสียงภายในป่านั้นดังสม่ำเสมอพอที่จะทำให้เราจดจ่อกับการทบทวนบทเรียนและไม่สนใจเสียงอื่นๆ เราสามารถหาเสียงพวกนี้ฟังได้จากเว็บไซต์ทางอินเทอร์เน็ต เช่น ยูทูบ[9]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 ปิดทีวี.
    การเปิดทีวีระหว่างที่ทบทวนบทเรียนไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก เพราะเราจะมีโอกาสไขว้เขวได้มากและผลคืออาจทำให้เราเลือกที่จะดูทีวีหรือภาพยนตร์แทนการอ่านหนังสือ นอกจากนี้เสียงต่างๆ จากทีวีจะทำให้เราเสียสมาธิ เพราะเสียงพวกนี้มีผลต่อศูนย์ภาษาของสมองเรา[10]
  5. How.com.vn ไท: Step 5 กินของว่างที่ดีต่อสุขภาพ.
    ถ้าเกิดหิวระหว่างที่ทบทวนบทเรียน ให้กินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการและดีต่อสุขภาพ กินอาหารที่ให้พลังงานอย่างผลไม้ หรืออาหารที่ทำให้รู้สึกอิ่มอย่างผักและถั่วเปลือกแข็ง ถ้าอยากกินของหวานๆ ให้เลือกกินช็อกโกแลตดำ ดื่มน้ำเพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างเพียงพอ และจะดื่มชาก็ได้ ถ้าต้องการคาเฟอีนมากระตุ้นร่างกายสักหน่อย
    • หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตสูงอย่างบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มันฝรั่งทอด และลูกกวาด อย่าดื่มเครื่องดื่มชูกำลังและน้ำอัดลม เพราะมีน้ำตาลในปริมาณสูง จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเรา ถ้าเลือกดื่มกาแฟ อย่าดื่มแบบที่ใส่น้ำตาลมาก [11]
    • มีของว่างไว้กินตอนเริ่มทบทวนบทเรียนด้วย เราจะได้ไม่หิวแล้วเอาแต่คิดเรื่องกินระหว่างนั้น
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 4:

ใช้เทคนิคช่วยในการทบทวนบทเรียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 ใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R.
    นี้คือวิธีทบทวนบทเรียนด้วยการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้เราเข้าใจและเรียนรู้เรื่องที่อ่าน ถ้าเราใช้วิธีนี้ เราจะได้ดูเนื้อหาก่อนที่จะอ่านอย่างจริงจัง ฉะนั้นเราก็จะมีความพร้อมมากขึ้นเมื่อต้องการอ่านบทเรียนสักบทหรือบทความสักบทความ
    • เริ่มด้วย"Survey" หรือสำรวจ หมายถึงการอ่านอย่างคร่าวๆ กวาดตาดูตาราง รูปภาพ หัวเรื่อง และคำที่เป็นตัวหนาซึ่งปรากฏในเนื้อหา
    • จากนั้น"Question" หรือตั้งคำถาม นำหัวเรื่องแต่ละหัวเรื่องมาตั้งเป็นคำถาม
    • "Read" หรืออ่านเนื้อหาและพยายามหาคำตอบให้กับคำถามที่ตั้งไว้
    • "Recite" หรือท่องคำตอบเหล่านั้นด้วยปากเปล่าและท่องข้อมูลสำคัญต่างๆ ที่เราจำได้จากบทเรียนนั้น
    • "Review" หรือทบทวนบทเรียนนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าเราเก็บสาระหลักครบถ้วน จากนั้นลองคิดสิว่าทำไมสาระหลักนี้ถึงมีความสำคัญ
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้เทคนิค THIEVES.
    เมื่อเริ่มทบทวนบทใหม่ เทคนิคนี้จะช่วยให้เราเก็บข้อมูลสำคัญได้มากและทบทวนบทเรียนนั้นได้ง่ายขึ้น ถ้าอ่านบทเรียนนั้นคร่าวๆ โดยใช้เทคนิค THIEVES
    • เริ่มด้วยการอ่านหัวข้อ หัวข้อนั้นบอกอะไรเกี่ยวกับเนื้อหา บทความ หรือบทเรียนนั้นบ้าง เรารู้อะไรบ้างในหัวข้อนั้น เราควรจะได้อะไรขณะที่อ่าน วิธีนี้จะช่วยเราวางขอบเขตการอ่านของตนเอง
    • เปลี่ยนไปอ่านบทนำ บทนำนั้นบอกอะไรเกี่ยวกับบทเรียนนั้นบ้าง
    • อ่านหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยอย่างคร่าวๆ หัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยบอกอะไรเกี่ยวกับเรื่องที่จะอ่านบ้าง นำหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อยมาตั้งเป็นคำถามเพื่อช่วยเป็นแนวทางในการอ่านของเรา
    • อ่านประโยคแรกของทุกย่อหน้า ส่วนใหญ่ประโยคแรกจะเป็นประโยคใจความหลักและช่วยให้เรารู้ว่าย่อหน้านั้นเกี่ยวกับอะไร
    • ดูสิ่งที่เห็นและคำศัพท์ ดูตาราง กราฟ และแผนภาพที่มีในบทเรียนนั้น สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าคืออย่าลืมดูคำที่ทำเป็นตัวหนา ตัวเอน และคำที่ขีดเส้นใต้ คำหรือย่อหน้าที่ทำเป็นสีต่างๆ และรายการที่มีลำดับกำกับ
    • อ่านคำถามท้ายบท แนวคิดอะไรที่เราควรรู้จากการอ่านบทเรียนนี้ เราจะได้นึกถึงคำถามนี้ขณะที่อ่าน
    • ดูที่สรุปประจำบท เพื่อจะได้รู้ว่าบทนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไรก่อนที่จะอ่านทั้งบท
  3. How.com.vn ไท: Step 3 ใช้ปากกาเน้นรายละเอียดที่สำคัญ.
    ใช้ปากกาเน้นข้อความหรือใช้ปากกาธรรมดาขีดเส้นใต้ประเด็นที่สำคัญที่สุดในเนื้อหาของบทนั้น เราจะได้สังเกตเห็นง่ายเมื่อถึงเวลาทบทวน[12] อย่าเน้นไปหมดทุกอย่าง การทำแบบนั้นไม่ใช่จุดประสงค์ของการเน้นข้อความ ให้ใช้ปากกาเน้นเฉพาะถ้อยคำและคำที่สำคัญมากที่สุด [13] จะใช้ดินสอเขียนสรุปหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญเป็นคำพูดของตนเองสั้นๆ ไว้ที่ริมกระดาษของหน้านั้นก็ได้
    • เราอาจแค่อ่านข้อความเหล่านี้ก็ได้ จะได้ทบทวนเนื้อหาได้เร็วขึ้นในตอนที่เรายังจำได้ดีและช่วยให้ประเด็นสำคัญเหล่านั้นซึมเข้าสู่สมอง
    • ถ้าหนังสือเรียนเป็นสมบัติของโรงเรียน เราอาจใช้กระดาษโน้ตกาวที่เป็นสีต่างๆ หรือกระดาษโน้ตกาวธรรมดาแปะไว้ข้างประโยคหรือย่อหน้าที่สำคัญ จดข้อความสั้นๆ ที่กระดาษโน้ตกาวและแปะไว้ข้างย่อหน้าสำคัญนั้น
    • ทบทวนด้วยการอ่านข้อความที่เราใช้ปากกาเน้นเอาไว้เป็นครั้งคราว เพื่อให้สมองจดจำประเด็นสำคัญที่อ่านได้อยู่ ถ้าเราต้องจดจำเนื้อหามากมายเพื่อใช้ในระยะยาวเช่น จำเนื้อหาเพื่อสอบปลายภาค สอบประมวล สอบจบแบบปากเปล่า หรือเข้าสู่แวดวงวิชาชีพของตนเอง
  4. How.com.vn ไท: Step 4 สรุปเนื้อหาโดยย่อ.
    การเขียนสิ่งที่ได้จากการจดและอ่านให้ออกมาเป็นคำพูดของตนเองก็เป็นวิธีการทบทวนบทเรียนที่ดีวิธีหนึ่ง เพราะเราจะต้องนึกถึงเนื้อหาโดยใช้คำพูดของตนเอง แทนที่จะใช้ภาษาของตำรา รวบรวมสรุปต่างๆ ของเราให้เป็นข้อความสั้นๆ ถ้ามีเนื้อหาบางอย่างเกี่ยวโยงกัน อาจสรุปเนื้อหาโดยย่อก็ได้ ให้มีแค่ประเด็นหลักและประเด็นย่อยที่สำคัญเท่านั้น[14]
    • ถ้าเราทบทวนบทเรียนในบริเวณที่มีความเป็นส่วนตัว ลองท่องสิ่งที่ตนเองสรุปออกมาดังๆ เพื่อจะได้จดจำเนื้อหานั้นได้ดีขึ้น ถ้าเราเป็นคนที่ถนัดเรียนรู้ผ่านการฟังหรือจะเรียนรู้ได้ดีขึ้น ถ้าพูดเนื้อหานั้นออกมา วิธีนี้อาจช่วยให้เราทบทวนบทเรียนได้ดีขึ้น
    • ถ้าไม่ถนัดเขียนสรุปบทเรียนให้ออกมาในแบบที่ตนเองสามารถจดจำได้ง่าย ให้ลองสอนผู้อื่นดู สมมติว่าเรากำลังสอนใครสักคนที่ไม่มีความรู้ในเรื่องที่อ่านนั้นเลย หรือเขียนเป็นบทความลงเว็บไซต์ก็ได้ ตัวอย่างเช่น อาจเขียนหลักในการจำจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทยก็ได้
    • เมื่อเขียนสรุปโดยใช้ปากกาสีต่างๆ สมองจะจำข้อมูลต่างๆ ได้ดีขึ้น ถ้าได้เห็นข้อความสีต่างๆ นั้น
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ทำบัตรคำ.
    ให้ทำบัตรเล็กๆ ขึ้นมาหลายใบ เขียนคำถาม ถ้อยคำ หรือแนวคิดลงไปที่ด้านหน้าของบัตรนั้น ส่วนด้านหลังเขียนคำตอบ การทำเป็นบัตรคำนั้นสะดวกเพราะเราสามารถพกติดตัวไปด้วยได้และใช้ทบทวนบทเรียนเมื่อต้องรอรถประจำทาง รอเข้าเรียน หรือรอทำกิจกรรมต่างๆ [15]
    • อาจดาวน์โหลดโปรแกรมบัตรคำก็ได้เพื่อเป็นการประหยัดเนื้อที่จัดเก็บและค่าใช้จ่ายซื้อบัตรคำ จะใช้แค่กระดานธรรมดามาพับครึ่ง (ในแนวตั้ง) ทำเป็นบัตรคำก็ได้ ให้เขียนคำถามในด้านที่เราสามารถเห็นได้ชัดเจนเมื่อพับกระดาษ พอคลี่ออกมาก็จะเห็นคำตอบอยู่ข้างใน ใช้บัตรคำมาเป็นแบบฝึกหัดถามตอบตนเองไปเรื่อยๆ จนกว่าเราจะตอบถูกทั้งหมด พึงระลึกไว้ว่า "การหมั่นฝึกฝนจะทำให้เราเชี่ยวชาญ"
    • ถ้าเราใช้การจดโน้ตแบบคอร์เนล เราสามารถนำเนื้อหาที่เราจดไว้มาทำเป็นบัตรคำได้ ดึงคำสำคัญออกมาจากโน้ตของเราก่อน นำคำสำคัญนั้นมาตั้งเป็นคำถามโดยที่ปิดโน้ตไว้ และพยายามจำสิ่งที่จดไว้ด้วยการมองแค่คำสำคัญเท่านั้น
  6. How.com.vn ไท: Step 6 นำข้อมูลมาเชื่อมโยงกัน.
    วิธีเก็บข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือนำเนื้อหานั้นไปเชื่อมโยงกับข้อมูลที่มีอยู่เดิมในสมอง การใช้เทคนิคช่วยจำช่วยเราให้จดจำข้อมูลยากๆ หรือปริมาณมากได้
    • นำเนื้อหามาทำให้สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้ของตนเอง คิดสิว่าอะไรที่จะทำให้เราเรียนรู้ได้เร็วและจำได้ง่าย เพลงหรือเปล่า พวกท่าเต้นต่างๆ ใช่ไหม รูปภาพใช่หรือเปล่า นำสิ่งเหล่านี้มาช่วยในการทบทวนบทเรียน ถ้าเราจดจำเนื้อหาบางอย่างไม่ได้ ลองนำเนื้อหามาแต่งเป็นเพลงที่ฟังติดหู หรือเขียนเนื้อเพลงให้เข้ากับทำนองของเพลงที่เราชื่นชอบ คิดและออกแบบท่าเต้นที่ตรงกับเนื้อหาที่ทบทวน วาดออกมาเป็นการ์ตูนก็ได้ ยิ่งใช้วิธีการที่ตรงกับรูปแบบการเรียนของตนเอง ก็ยิ่งทำให้เราจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น เพราะไม่รู้สึกว่าน่าเบื่อ
    • ใช้เทคนิคช่วยจำ. จัดเรียงข้อมูลให้เป็นลำดับที่เราสามารถจดจำได้ ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการจำโน้ตดนตรีของบรรทัดกุญแจซอล เราก็จะใช้เทคนิคช่วยจำคือ "Every Good Boy Deserves Fudge" เมื่อดึงแค่อักษรตัวพิมพ์ใหญ่ออกมาก็จะได้ชื่อของตัวโน้ตนั้นคือ E G B D F การจำเป็นประโยคง่ายกว่าจำเป็นชุดตัวอักษรที่ไร้แบบแผน [16] เราอาจสร้างวังแห่งความจำ (memory palace) ก็ได้ อาจใช้ห้องโรมัน (Roman room) เพื่อจดจำรายชื่อต่างๆ เช่น สิบสามรัฐแรกของอเมริกาตามลำดับเวลา แต่ถ้ารายการที่ต้องจำมีไม่มาก ให้นำของในรายการนั้นมาเชื่อมโยงกันด้วยการนึกภาพในหัว
    • จัดข้อมูลให้เป็นระเบียบด้วยการเขียนออกเป็นแผนที่ความคิด แผนที่ความคิดที่ออกมาควรมีโครงสร้างคล้ายใยแมงมุม คำและแนวคิดต่างๆ เชื่อมโยงกัน
    • ใช้การนึกภาพ สร้างภาพยนตร์ซึ่งแสดงถึงเนื้อหาที่เรากำลังพยายามจดจำในหัวและฉายภาพนี้ซ้ำหลายครั้ง ลองนึกถึงรายละเอียดเล็กๆ ทุกอย่าง ใช้ประสาทสัมผัสของเราด้วย มีกลิ่นอะไร เห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ได้ยินเสียงอะไร และมีรสอะไร
  7. How.com.vn ไท: Step 7 แตกหัวข้อใหญ่ให้เป็นหัวข้อย่อย.
    วิธีทบทวนบทเรียนวิธีหนึ่งคือแตกหัวข้อใหญ่เป็นหัวข้อย่อย การทำแบบนี้จะช่วยให้เราได้ศึกษาข้อมูลไปทีละนิดแทนที่จะพยายามทำความเข้าใจทั้งหมดในคราวเดียว เราอาจแยกกลุ่มตามหัวข้อ คำสำคัญ หรือด้วยวิธีการอื่นๆ ที่ทำให้เราเข้าใจบทเรียน สิ่งที่สำคัญคือการลดปริมาณข้อมูลที่เราต้องรับในหนึ่งครั้ง เราจะได้จดจ่อกับการทบทวนเนื้อหาส่วนนั้นก่อนที่ย้ายไปทบทวนเนื้อหาส่วนอื่น
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ทำชีทสำหรับทบทวน.
    พยายามย่อเนื้อหาที่เราจำเป็นต้องรู้ไว้ในกระดาษแผ่นเดียวหรือสองแผ่นก็ได้ ถ้าจำเป็นจริงๆ นำติดตัวไปด้วยและให้ดูช่วงที่ว่างหลายวันก่อนสอบ นำสิ่งที่จดและบทเรียนมาจัดเป็นหัวข้อที่มีความเกี่ยวโยงกันและดึงแนวคิดที่สำคัญที่สุดออกมา [17]
    • ถ้าใช้คอมพิวเตอร์พิมพ์ชีททบทวน เราจะสามารถจัดหน้าได้ง่ายขึ้น เปลี่ยนขนาดตัวอักษร ระยะจากขอบกระดาษ หรือการแสดงรายการต่างๆ ได้สะดวก วิธีนี้จะช่วยเราทบทวนบทเรียนได้ดีขึ้น ถ้าเราเป็นคนที่เรียนรู้ผ่านทางการมองเห็นได้ดี
    โฆษณา
ส่วน 4
ส่วน 4 ของ 4:

เพิ่มประสิทธิภาพในการทบทวนบทเรียน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. How.com.vn ไท: Step 1 พักบ้าง.
    ถ้าเลือกทบทวนบทเรียนครั้งละสองสามชั่วโมงแล้ว ให้พักสัก 5 นาที ทุกครึ่งชั่วโมงหรือมากกว่านั้นก็ได้ เราจะได้ขยับตัวบ้างหลังจากนั่งมานานสักพักใหญ่ อีกทั้งการหยุดพักยังทำให้จิตใจผ่อนคลายขึ้นด้วย จึงช่วยให้เราจำบทเรียนได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเราไม่ให้เสียสมาธิด้วย
    • ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวเพื่อให้เลือดไหลเวียนและทำให้เราตื่นตัวมากขึ้น กระโดดตบแบบจั๊มปิ้งแจ็ค (jumping jacks) วิ่งรอบบ้าน เล่นกับสุนัข ทำท่าสควอท (squats) หรืออะไรก็ตามที่เป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังให้เพียงพอที่จะทำให้ร่างกายตื่นตัว แต่ไม่ใช่ออกกำลังอย่างหนักจนหมดแรง
    • พยายามยืนทบทวนบทเรียน อาจเดินรอบโต๊ะขณะที่กำลังท่องเนื้อหาหรือยืนพิงผนังขณะอ่านสิ่งที่ตนเองจดอยู่[18]
  2. How.com.vn ไท: Step 2 ใช้คำสำคัญเรียกสมาธิ.
    หาคำสำคัญที่เกี่ยวกับเรื่องที่ทบทวนอยู่ เมื่อไรก็ตามที่เสียสมาธิ เริ่มวอกแวก หรือใจลอยไปคิดเรื่องอื่น ให้เริ่มพูดคำสำคัญซ้ำๆ ในใจจนกว่าจะสามารถกลับมาจดจ่อกับเรื่องที่อยู่ตรงหน้าได้ คำสำคัญนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นคำเดียวและคำเดิมเท่านั้น ให้เปลี่ยนไปตามวิชาหรือเนื้อหาที่ทบทวน จะเลือกคำสำคัญคำไหนก็ได้ ขอให้เป็นคำที่ทำให้เรารู้สึกว่าพอเอ่ยออกไปแล้วทำให้กลับมาจดจ่อกับบทเรียนได้
    • ตัวอย่างเช่น เมื่อเราอ่านบทความเรื่องกีตาร์อยู่ เราอาจเอ่ยคำว่า "กีตาร์" เพื่อช่วยเรียกสมาธิก็ได้ ขณะที่กำลังอ่านบทความ เมื่อไรก็ตามที่เริ่มวอกแวก อ่านไม่รู้เรื่อง หรือขาดสมาธิ ให้เอ่ยคำสำคัญนั้นในใจว่า "กีตาร์ กีตาร์ กีตาร์ กีตาร์ กีตาร์" จนกว่าจิตใจจะกลับมาจดจ่อกับบทความและสามารถเริ่มอ่านต่อไปได้
  3. How.com.vn ไท: Step 3 จดสิ่งที่เรียนให้ดี.
    เมื่อกำลังอยู่ในชั่วโมงเรียน เราต้องจดสิ่งที่เรียนไว้อย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ การจดสิ่งที่เรียนให้ดีไม่ได้หมายถึงว่าต้องจดให้เรียบร้อยหรือเขียนทุกประโยคที่คุณครูสอนลงไป เราต้องจับข้อมูลสำคัญให้ได้ บางครั้งเราอาจต้องจดคำศัพท์ที่คุณครูกล่าวถึง จากนั้นพอกลับถึงบ้าน ค่อยคัดลอกคำอธิบายจากตำราลงไป พยายามเขียนลงไปให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
    • การจดโน้ตจะช่วยให้เรายังคงตื่นตัวและตั้งใจฟังทุกอย่างที่คุณครูสอน อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้เราเผลอหลับในห้องเรียนด้วย
    • จดเป็นอักษรย่อ จะช่วยให้เราจดเร็วขึ้นโดยไม่ต้องพะวงเรื่องตัวสะกด พยายามหาคำเต็มมาสร้างเป็นอักษรย่อในแบบของเราเอง หรือใช้ที่มีอยู่แล้วก็ได้อย่างเช่น "ม.ค." ย่อมาจาก "มกราคม" "พ.ศ." ย่อมาจาก "พุทธศักราช" "พ.รบ." ย่อมาจาก "พระราชบัญญัติ" "กก." ย่อมาจาก "กิโลกรัม"
    • ถามทันทีเมื่อเกิดความสงสัยหรือสนับสนุนให้มีการอภิปรายกันในห้องเรียน วิธีที่จะถามหรือเชื่อมโยงข้อมูลคือจดไว้ที่ขอบกระดาษของโน้ตก่อน เราจะได้ค้นหาคำตอบเมื่อกลับถึงบ้านหรือสามารถปะติดปะติดเนื้อหาเข้าด้วยกันได้เมื่อเรียนตอนนั้น[19]
  4. How.com.vn ไท: Step 4 นำเนื้อหาที่จดไว้มาเขียนใหม่.
    เมื่อกำลังจดเนื้อหาที่ครูสอน ให้เน้นบันทึกข้อมูลมากกว่าทำความเข้าใจหรือจดเนื้อหาให้เป็นระเบียบเรียบร้อย หลังจากจบชั่วโมงเรียนแล้ว ให้นำเนื้อหาที่จดไว้มาเขียนใหม่ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับยังอยู่ในสมอง ฉะนั้นถ้าขาดตกบกพร่องอะไรไป เราก็สามารถใช้ความทรงจำที่มีเติมส่วนที่ขาดหายให้สมบูรณ์ได้ การเขียนโน้ตขึ้นมาใหม่เป็นวิธีการทบทวนบทเรียนที่ได้ผลดี ช่วยให้เราได้นำข้อมูลมาเชื่อมต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพ เราอาจเสียสมาธิได้ง่าย ถ้าเราเอาแต่อ่านอย่างเดียว การเขียนทำให้ต้องนึกข้อมูลไปด้วย [20]
    • นี้ไม่ได้หมายความว่าเราไม่ควรพยายามทำความเข้าใจเรื่องที่ครูสอนหรือจดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย แค่ไม่อยากให้เสียเวลาและพะวงกับสิ่งที่สามารถทำหรือจัดการทีหลังได้ เราสามารถกลับมาทำความเข้าใจหรือเขียนโน้ตใหม่ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยที่บ้านได้ นึกว่าโน้ตที่จดในชั่วโมงเรียนเป็น "ร่างอย่างคราวๆ" ก็ได้
    • เราอาจมีสมุดจดไว้สองเล่มเพื่อความสะดวก เล่มแรกไว้จดแบบ"ร่างคร่าวๆ " อีกเล่มไว้เขียนโน้ตใหม่
    • บางคนอาจใช้วิธีพิมพ์สิ่งที่จดลงคอมพิวเตอร์ บางคนอาจเขียนใหม่ด้วยลายมือตนเองเพราะเห็นว่าช่วยให้จำเนื้อหาได้ดีขึ้น
    • ยิ่งพยายามเขียนออกมาเป็นถ้อยคำของตนเอง ยิ่งดี การวาดรูปก็เช่นกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าเรากำลังเรียนเรื่องกายวิภาคศาสตร์ ให้ลอง "วาด" ระบบต่างๆ ภายในร่างกายซึ่งได้เรียนออกมาเป็นรูป
  5. How.com.vn ไท: Step 5 ทำให้บทเรียนเป็นเรื่องที่น่าสนใจ.
    การอ้างเหตุผลตามตรรกะไม่ได้สร้างแรงบันดาลใจให้เราอยากทบทวนบทเรียน บางทีการคิดว่า "ถ้าฉันตั้งใจเรียน ฉันจะได้เข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง และได้งานดีๆ ทำ" อาจไม่ได้เป็นแรงจูงใจที่ทำให้เราอยากทบทวนบทเรียน ฉะนั้นลองหาซิว่าบทเรียนที่กำลังทบทวนอยู่นั้นมีอะไรน่าสนใจบ้าง พยายามหาสิ่งที่น่าสนใจของแต่ละวิชาให้พบ และที่สำคัญที่สุดคือพยายามนำสิ่งนั้นมาเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันและสิ่งต่างๆ ที่เราสนใจ
    • เราอาจนำบทเรียนมาเชื่อมโยงกับเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ โดยตั้งใจ เช่น การแสดงปฏิกิริยาเคมี การทดลองทางฟิสิกส์ หรือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเองเพื่อพิสูจน์สูตรสักสูตรหนึ่ง หรืออาจเชื่อมโยงโดยไม่ตั้งใจ เช่น กำลังเดินเล่นที่สวนสาธารณะ แล้วไปเห็นใบไม้เข้า ก็อาจคิดว่า "ลองมานึกทบทวนเรื่องส่วนประกอบของใบไม้ที่เรียนไปเมื่อสัปดาห์ทีแล้วดีกว่า"
    • นำข้อมูลมาแต่งเป็นเรื่องราวอย่างสร้างสรรค์ พยายามแต่งเรื่องจากบทเรียนที่เรากำลังทบทวนอยู่ ตัวอย่างเช่น ถ้ากำลังทบทวนภาษาอังกฤษ ลองเขียนเรืองขึ้นมาสักเรื่องหนึ่งโดยภาคประธานประโยคทั้งหมดขึ้นต้นด้วยตัว S ภาคกรรมทั้งหมดขึ้นต้นด้วยตัว O และอย่าใช้กริยาที่มีตัว V พยายามสร้างเรื่องราวให้เชื่อมโยงกันด้วยคำศัพท์ บุคคลที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ หรือคำสำคัญอื่นๆ [21]
  6. How.com.vn ไท: Step 6 เรียนวิชาที่ยากก่อน.
    เริ่มทบทวนวิชาหรือบทที่ยากก่อน เราจะได้มีเวลาเพียงพอที่จะศึกษาและทำความเข้าใจ อีกทั้งเรายังมีความกระตือรือร้นและความตื่นตัวอยู่ เก็บวิชาง่ายๆ ไว้ทบทวนทีหลัง[22]
    • ทบทวนเนื้อหาส่วนที่สำคัญก่อน อย่าอ่านทุกเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ อย่าเพิ่งจำเนื้อหาทุกอย่างที่อ่าน เราจะรับข้อมูลใหม่ได้ง่ายขึ้นเมื่อมาสามารถนำมาปะติดปะต่อกับข้อมูลเก่าที่เรามีอยู่ในหัวอยู่แล้วได้ อย่าเสียเวลาไปมากกับการอ่านเนื้อหาที่จะไม่ออกสอบ ให้ทุ่มเทพลังทบทวนเนื้อหาส่วนที่สำคัญก่อน
  7. How.com.vn ไท: Step 7 ศึกษาคำศัพท์ที่สำคัญ.
    หารายการคำศัพท์หรือคำที่เป็นตัวหนาในบทนั้น ดูสิว่าตำราของเรามีหมวดคำศัพท์ อภิธานศัพท์ หรือรายการคำศัพท์ไหม และพยายามทำความเข้าใจคำเหล่านี้ให้แตกฉาน ไม่จำเป็นต้องจำ แต่เมื่อไรก็ตามที่มีการกล่าวถึงแนวคิดสำคัญในวิชาต่างๆ ก็จะมีการใช้คำศัพท์เฉพาะเหล่านี้เพื่ออ้างถึงแนวคิดสำคัญนั้น ฉะนั้นเราต้องศึกษาคำศัพท์ต่างๆ ให้เข้าใจ จนสามารถใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว ในที่สุดเราก็จะเริ่มเชี่ยวชาญวิชานั้นเอง
  8. How.com.vn ไท: Step 8 ตั้งกลุ่มติวหนังสือ.
    ชักชวนเพื่อนหรือเพื่อนร่วมห้องสัก 3-4 คนและขอให้ทุกคนเอาบัตรคำของตนเองมา ใช้บัตรคำนั้นมาสลับกันถามตอบ ถ้ามีเพื่อนคนไหนไม่เข้าใจ ให้คนอื่นๆ ผลัดกันอธิบาย อาจปรับการทบทวนบทเรียนให้อยู่ในรูปแบบเกมสนุกๆ เช่น ปริศนาฟ้าแลบหรือแฟนพันธุ์แทนก็ได้
    • แบ่งเนื้อหาให้แต่ละคนในกลุ่มมาสอนหรืออธิบายเนื้อหาส่วนนั้นให้เพื่อนคนที่เหลือฟัง
    • แบ่งกลุ่มกันสรุปแนวคิดสำคัญ ทุกคนในกลุ่มช่วยกันเสนอหรือเขียนสรุปโดยย่อหรือสรุป 1 หน้ามาแจกกลุ่มที่เหลือ
    • พยายามทบทวนบทเรียนเป็นกลุ่มทุกสัปดาห์ ใช้เวลาทุกสัปดาห์ทบทวนบทเรียนและศึกษาบทเรียนล่วงหน้า ควรทำแบบนี้ตลอดเทอมดีกว่าทำแค่ตอนปลายเทอม
    • เลือกเพื่อนที่อยากทบทวนบทเรียนจริงๆ
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • นอกเหนือจากพยายามจำเนื้อหาในบทเรียนให้ได้แล้ว เราควรพยายามทำความเข้าใจเนื้อหาให้มากพอที่จะสามารถอธิบายให้คนที่ไม่มีพื้นฐานเลยเข้าใจได้
  • การทบทวนบทเรียนกับเพื่อนที่ตั้งใจเรียนจะเป็นแรงบันดาลใจให้เราขยันมากขึ้น แบ่งช่วงการทบทวนออกเป็นช่วงต่างๆ ทบทวนเนื้อหาที่จดมา สรุปเนื้อหาบทนั้น และอภิปรายแนวคิดต่างๆ (พยายามแลกเปลี่ยนความคิดและอธิบายให้กันและกันฟัง จะได้เข้าใจเนื้อหาทั้งคู่)
  • อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เริ่มทบทวนบทเรียนแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้ไม่เครียดในภายหลัง อย่าผัดวันประกันพรุ่ง นี้เป็นพฤติกรรมที่ไม่ดี การทบทวนบทเรียนแต่เนิ่นๆ จะเป็นผลดีต่อเรามากกว่าการมาเริ่มทบทวนในช่วงใกล้สอบ
  • ตำราเรียนส่วนใหญ่จะมีบททบทวนให้ที่ท้ายบท เราควรอ่านบททบทวนและลองใช้เนื้อหาตรงนั้นถามตอบตนเอง คุณครูบางท่านใช้คำถามเหล่านี้มาออกข้อสอบ
  • เราต้องเข้าใจแนวคิดที่กำลังเรียนอยู่ ไม่อย่างนั้นเราอาจทำความเข้าใจสิ่งที่เรียนอยู่ได้ยากขึ้น
  • เมื่อกำลังจดเนื้อหาที่คุณครูอธิบาย พยายามจดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย และใช้ปากกาสี เมื่อกลับมาถึงบ้านและเห็นข้อความที่น่าอ่าน เราจะได้อยากทบทวนบทเรียนมากขึ้น
  • จัดพื้นที่ให้เป็นระเบียบและวางสิ่งที่เราต้องมีไว้ข้างตัว เราจะได้ไม่ต้องลุกไปหยิบหรือเสียเวลาหา
  • ปิดโทรศัพท์มือถือขณะทบทวนบทเรียน
  • บางคนเรียนรู้ได้ดีที่สุดมากกว่าหนึ่งแบบ ฉะนั้นเราอาจเรียนรู้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้านำวิธีการเรียนรู้มาผสมผสานกัน ตัวอย่างเช่น ถ้าเราสามารถเรียนรู้ผ่านการเห็นและการฟังได้ดี เราอาจเลือกทบทวนบทเรียนโดยการดูวีดีโอ นอกจากจะทำให้การทบทวนบทเรียนน่าสนใจแล้ว ยังทำให้จิตใจของเราจดจ่อกับการทบทวนบทเรียน และน่าจะจดจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น
  • ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ไม่ใช่แค่เพื่อที่จะสอบได้คะแนนดีเท่านั้น เพราะถ้าเราศึกษาวิชาใดก็ตามจนมีความรู้และมีความเข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว เราก็ย่อมสอบได้คะแนนดีอยู่แล้ว
โฆษณา

คำเตือน

  • ระวังไม่ให้ตนเองผัดวันประกันพรุ่ง ตัวอย่างเช่น เราคิดจะใช้เวลาที่ควรทบทวนบทเรียนไปทำอย่างอื่นหรือเปล่า ถ้าคิดแบบนี้ความพยายามทั้งหมดของเราจะไม่สัมฤทธิ์ผล และถ้าเราเอาแต่ผัดวันประกันพรุ่ง เราจะมีเวลาทบทวนบทเรียนน้อยลง
  • ถ้าไม่มีสมาธิทบทวนบทเรียนเพราะเครียดมากเกินไปหรือมีเรื่องวิตกกังวล ต้องพยายามควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตนเองให้ได้ก่อนที่จะทบทวนบทเรียน ถ้าไม่อาจคลายความเครียดหรือความวิตกกังวลลงได้ เราอาจต้องปรึกษาคุณครู
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

How.com.vn ไท: Jai Flicker
ร่วมเขียน โดย:
ติวเตอร์
บทความนี้ ร่วมเขียน โดย Jai Flicker. ไจ ฟลิกเกอร์เป็นติวเตอร์และ CEO กับผู้ก่อตั้ง Lifeworks Learning Center ในซานฟรานซิสโกที่เน้นการติวเข้ามหาวิทยาลัยและการเตรียมสอบเพื่อช่วยเปลี่ยนทัศนคติของนักเรียนต่อการศึกษา ไจมีประสบการณ์กว่า 20 ปีในด้านการศึกษา เขาจบปริญญาตรีด้านปรัชญาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งซานดิเอโก บทความนี้ถูกเข้าชม 14,322 ครั้ง
หมวดหมู่: การศึกษา
มีการเข้าถึงหน้านี้ 14,322 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

⚠️ Disclaimer:

Content from Wiki How ไท language website. Text is available under the Creative Commons Attribution-Share Alike License; additional terms may apply.
Wiki How does not encourage the violation of any laws, and cannot be responsible for any violations of such laws, should you link to this domain, or use, reproduce, or republish the information contained herein.

Notices:
  • - A few of these subjects are frequently censored by educational, governmental, corporate, parental and other filtering schemes.
  • - Some articles may contain names, images, artworks or descriptions of events that some cultures restrict access to
  • - Please note: Wiki How does not give you opinion about the law, or advice about medical. If you need specific advice (for example, medical, legal, financial or risk management), please seek a professional who is licensed or knowledgeable in that area.
  • - Readers should not judge the importance of topics based on their coverage on Wiki How, nor think a topic is important just because it is the subject of a Wiki article.

โฆษณา