ไขมันไม่อิ่มตัว

ไขมันไม่อิ่มตัว (อังกฤษ: unsaturated fat) เป็นกรดไขมันที่มีพันธะคู่อย่างน้อยหนึ่งคู่ภายในโซ่กรดไขมันโซ่กรดไขมันเรียกว่า มีพันธะคู่เดี่ยว (monounsaturated) ถ้ามีพันธะคู่หนึ่งคู่ และมีพันธะคู่หลายคู่ (polyunsaturated) ถ้ามีพันธะคู่มากกว่านั้นในที่ ๆ เกิดพันธะคู่ โซ่คาร์บอนจะไร้อะตอมไฮโดรเจนดังนั้น ไขมันอิ่มตัวที่ไม่มีพันธะคู่เลย ก็จะมีไฮโดรเจนยึดกับคาร์บอนเป็นจำนวนมากที่สุด และดังนั้น จึง "อิ่มตัว" เพราะมีไฮโดรเจนเต็มในเมแทบอลิซึมระดับเซลล์ โมเลกุลไขมันไม่อิ่มตัวมีพลังงาน (คือ แคลอรี) น้อยกว่าไขมันอิ่มตัวเท่า ๆ กันกรดไขมันยิ่งไม่อิ่มตัวเท่าไร (คือมีพันธะคู่มากขึ้น ๆ) ก็จะไวต่อกระบวนการ lipid peroxidationคือหืน/มีกลิ่นเหม็นง่ายยิ่งขึ้นเท่านั้นสารต้านอนุมูลอิสระเช่นวิตามินสามารถป้องกันไขมันไม่อิ่มตัวจากกระบวนการนี้

เคมีและสารอาหาร แก้

พันธะคู่ดังว่าอาจเป็นไอโซเมอร์แบบซิส (cis) หรือทรานส์ (trans) ขึ้นอยู่กับรูปร่าง (molecular geometry) ของมันไอโซเมอร์แบบซิสมีอะตอมไฮโดรเจนที่ข้างเดียวกันกับพันธะคู่เทียบกับแบบทรานส์ ซึ่งมีอะตอมไฮโดรเจนด้านตรงกันข้ามกับพันธะคู่ (ดูเพิ่มที่ ไขมันทรานส์)ไขมันอิ่มตัวมักใช้ผลิตอาหารสำเร็จรูปเพราะมันหืนยากกว่า และแข็งกว่าไขมันไม่อิ่มตัวที่อุณหภูมิห้องไขมันไม่อิ่มตัวมีจุดหลอมเหลวต่ำ ดังนั้น มันจึงเพิ่มสภาพไหล/ความยืดหยุ่นได้ของเยื่อหุ้มเซลล์

ไขมันทรานส์ (Elaidic acid)ไขมันซิส (กรดโอเลอิก)ไขมันอิ่มตัว (Stearic acid)
elaidic acid เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบบทรานส์หลัก มักพบในน้ำมันพืชที่เติมไฮโดรเจน (hydrogenated)[1]กรดโอเลอิกเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวแบบซิส เป็นองค์ประกอบของน้ำมันมะกอกร้อยละ 55-80[2]stearic acid เป็นกรดไขมันอิ่มตัว พบในไขมันสัตว์ เป็นผลิตผลที่ต้องการเมื่อเติมไฮโดรเจนแก่ไขมันให้เต็ม (full hydrogenation) ไม่ใช่ไขมันทั้งแบบซิสหรือแบบทรานส์ เพราะไม่มีพันธะคู่ระหว่างคาร์บอนกับคาร์บอน
กรดไขมันเหล่านี้เป็นไอโซเมอร์เชิงเลขาคณิต (geometric isomers) คือมีโครงสร้างเช่นเดียวกันยกเว้นการจัดเรียงพันธะคู่กรดไขมันนี้ไม่มีพันธะคู่ระหว่างคาร์บอนกับคาร์บอน และไม่ใช่ไอโซเมอร์ของไขมันสองอย่างที่ว่าก่อน

แม้จะแทนไขมันอิ่มตัวในอาหารด้วยไขมันไม่อิ่มตัวทั้งแบบมีพันธะคู่เดี่ยวและมีพันธะคู่หลายคู่ได้ แต่ไม่ควรแทนด้วยไขมันไม่อิ่มตัวแบบทรานส์การแทนไขมันเช่นนี้ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมและคอเลสเตอรอลแบบไม่ดี (LDL) ในเลือด[3]ยกเว้นไขมันไม่อิ่มตัวแบบทรานส์เพราะรูปร่างสามมิติ (stereochemistry) ของพันธะคู่ทำให้โซ่คาร์บอนมักจะหมุนตามแกนพันธะให้เป็นเส้นตรง (linear conformation) ซึ่งทำให้ไขมันอัดแน่นได้ เช่นที่พบในตะกรัน/คราบไขมันในท่อเลือดแดง (atheroma, plaque)ส่วนพันธะคู่แบบซิสจะมีรูปร่างซึ่งทำให้โมเลกุลงอ ทำให้ไขมันอัดแน่นไม่ได้ (ดูรูปในตาราง)

ปริมาณไขมันในอาหารบางชนิด แปลจากซ้ายไปขวาจากบนลงล่าง เนย เนยเทียม มายองเนส น้ำมันเมล็ดผักกาด (canola) น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันเมล็ดคำฝอย] (safflower) น้ำมันงา น้ำมันเมล็ดทานตะวัน

แม้ไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) จะช่วยป้องกันภาวะหัวใจเสียจังหวะ แต่งานศึกษาหญิงหลังวัยหมดระดูที่ทานไขมันค่อนข้างต่ำแสดงว่า PUFA สัมพันธ์กับโรคหลอดเลือดแดงหล่อเลี้ยงหัวใจแข็ง (coronary atherosclerosis) ที่แย่ลง เทียบกับไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะเดี่ยว (MUFA)[4]นี่อาจเป็นเพราะ PUFA ไวต่อกระบวนการ lipid peroxidation ซึ่งสามารถป้องกันได้ด้วยวิตามินอี[5]

ตัวอย่างของกรดไขมันไม่อิ่มตัวรวมทั้ง palmitoleic acid, กรดโอเลอิก, myristoleic acid, linoleic acid และ arachidonic acidอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวรวมทั้งอาโวคาโด เมล็ดถั่ว น้ำมันมะกอก และน้ำมันพืชบางอย่างเช่น น้ำมันผักกาด (canola)ส่วนเนื้อสัตว์มีทั้งไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว

แม้ไขมันไม่อิ่มตัวโดยทั่วไปจะพิจารณาว่าถูกสุขภาพมากกว่าไขมันอิ่มตัว[6]องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) แนะนำว่า ไม่ควรทานไขมันไม่อิ่มตัวเป็นพลังงานเกินกว่า 30% ในแต่ละวัน[ต้องการอ้างอิง]อาหารโดยมากมีทั้งไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัวแต่โฆษณามักจะระบุเพียงอย่างเดียว คือไขมันที่มีมากกว่าดังนั้น น้ำมันพืชที่โฆษณาว่าเป็นไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก ก็มีไขมันอิ่มตัวด้วย[7]

องค์ประกอบไขมันของอาหารต่าง ๆ
อาหารไขมันอิ่มตัวไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่เดี่ยวไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่
เป็นเปอร์เซ็นต์ (%) ของน้ำหนักไขมันทั้งหมด
น้ำมันประกอบอาหาร
น้ำมันคาโนลา086428
น้ำมันมะพร้าว871300
น้ำมันข้าวโพด132459
น้ำมันเมล็ดฝ้าย[8]271954
น้ำมันมะกอก[9]147311
Palm kernel oil[8]861202
น้ำมันปาล์ม[8]513910
น้ำมันถั่วลิสง[10]174632
น้ำมันรำข้าว253837
น้ำมันเมล็ดคำฝอยมีกรดโอเลอิกสูง[11]067514
น้ำมันเมล็ดคำฝอยเป็นกรดลิโนเลอิก[8][12]061475
น้ำมันถั่วเหลือง152458
น้ำมันเมล็ดทานตะวัน[13]112069
Mustard oil115921
ผลิตภัณฑ์นม
ไขมันเนย[8]663004
ชีสธรรมดา642903
ชีสไขมันน้อย603000
ไอศกรีมพิเศษ (gourmet)622904
ไอศกรีมไขมันน้อย622904
นมไม่พร่องส่วนผสม622804
นม 2%623000
*Whipping cream[14]662605
เนื้อสัตว์
เนื้อวัว333805
เนื้อสันนอกบด384404
Pork chop354408
แฮม354916
อกไก่293421
ไก่342330
อกไก่งวง302030
ขาไก่งวง322230
ปลา orange roughy231546
ปลาแซลมอน283328
ฮอตดอกเนื้อ424805
ฮอตดอกไก่งวง284022
แฮมเบอร์เกอร์ อาหารจานด่วน364406
ชีสเบอร์เกอร์ อาหารจานด่วน434007
แซนด์วิชไก่โรยเศษขนมปัง203932
แซนด์วิชไก่ย่าง264220
ไส้กรอกโปแลนด์374611
ไส้กรอกไก่งวง284022
พิซซาหน้าไส้กรอก413220
ชีสพิซซ่า602805
เมล็ดถั่ว
อัลมอนด์คั่วแห้ง096521
มะม่วงหิมพานต์คั่วแห้ง205917
แมคาเดเมียคั่วแห้ง157902
ถั่วลิสงคั่วแห้ง145031
พีแคนคั่วแห้ง086225
Flaxseeds บด082365
เมล็ดงา143844
ถั่วเหลือง142257
เมล็ดทานตะวัน111966
วอลนัตคั่วแห้ง092363
ของหวานและของอบ
ช็อกโกแลตแท่ง593303
Candy, fruit chews144438
คุกกี้ข้าวโอ๊ตแลละลูกเกด224727
คุกกี้ช็อกโกแลตชิ๊พ354218
yellow cake602510
ขนมเดนนิช503114
ไขมันเติมใส่ในอาหาร
เนย632903
เนยวิ๊ป622904
เนยเทียมก้อน183939
เนยเทียมกล่อง163349
เนยเทียมกล่องไขมันน้อย194633
น้ำมันหมู394511
Shortening254526
ไขมันไก่304521
ไขมันเนื้อ414303
ไขมันห่าน[15]335511
น้ำสลัดบลูชีส165425
น้ำสลัดอิตาเลียนไขมันน้อย142458
อื่น ๆ
ไขมันไข่แดง[16]364416
อาโวคาโด[17]167113
ถ้าไม่ได้กำหนดในตาราง แหล่งอ้างอิงก็คือ[18]
* เป็นไขมันทรานส์ 3%

ไขมันในอาหารกับการไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน (insulin resistance) แก้

ความชุกของการไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน (insulin resistance) จะลดลงถ้าทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแบบมีพันธะคู่เดี่ยว (MUFA) โดยเฉพาะกรดโอเลอิก/omega-9 มากกว่า แต่จะมากขึ้นเมื่อทานอาหารมีไขมันมีพันธะคู่หลายคู่ (PUFA) โดยเฉพาะ arachidonic acid/omega-6 และไขมันอิ่มตัว เช่น arachidic acid มากกว่าความสัมพันธ์กับอาหารเช่นนี้สมมุติว่า รองจากความสัมพันธ์กับการอักเสบ (inflammation) ซึ่งสามารถควบคุมได้เป็นบางส่วนโดยลดเพิ่มการทานกรดไขมันโอเมกา-3/6/9 โอเมกา-3 และ 9 เชื่อว่า ต้านการอักเสบ และโอเมกา-6 สนับสนุนการอักเสบ แต่ก็มีปัจจัยอื่น ๆ อีกด้วย เช่น การทาน polyphenol และการออกกำลังกายจะช่วยต้านการอักเสบแม้ไขมันทั้งแบบสนับสนุนและต้านการอักเสบอาจจำเป็นต่อร่างกาย แต่อาหารอเมริกันโดยมากมีโอเมกา-6 มาก ซึ่งเพิ่มการอักเสบและเพิ่มการไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน[7]อย่างไรก็ดี มีงานศึกษาต่อจากนั้นซึ่งแสดงนัยตรงกันข้าม คือพบว่า ไขมันมีพันธะคู่หลายคู่ช่วยป้องกันการไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน

เยื่อหุ้มเซลล์บ่งชี้เมแทบอลิซึม แก้

เยื่อหุ้มเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีสัดส่วนกรดไขมันไม่อิ่มตัวมีพันธะคู่หลายคู่ (DHA, กรดไขมันโอเมกา-3) มากกว่าของสัตว์เลื้อยคลาน[19]ส่วนสัตว์ปีกมีสัดส่วนเช่นกันเมื่อเทียบกับสัตว์เลื้อยคลาน แต่มีโอเมกา-3 1/3 น้อยกว่าเทียบกับโอเมกา-6 เมื่อเทียบกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตามขนาดร่างกาย[20]องค์ประกอบกรดไขมันเช่นนี้ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์ยืดหยุ่นได้มากกว่าซึ่งไอออนหลายอย่างซึมผ่านได้รวมทั้ง H+ และ Na+ และต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าเพื่อดำรงรักษาซึ่งอ้างว่า เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีกมีเมแทบอลิซึมสูงและมีเลือดอุ่นอันเกิดขึ้นด้วยกัน[19]

แต่เยื่อหุ้มเซลล์ก็อาจเป็นไขมันอิ่มตัวแบบมีพันธะคู่หลายคู่เพื่อตอบสนองต่อความหนาวเป็นประจำได้เช่นกันคือปลาจะมีไขมันไม่อิ่มตัวทั้งแบบมีพันธะคู่เดี่ยวและพันธะคู่หลายคู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์มากขึ้นเมื่อสิ่งแวดล้อมเย็นลง เพื่อให้เยื่อยืดหยุ่นได้และทำงานได้ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า[21][22]

อ้างอิง แก้

  1. Alonso, L; Fontecha, J; Lozada, L; Fraga, NJ; Juarez, M (1999). "Fatty acid composition of caprine milk: major, branched-chain, and trans fatty acids". Journal of Dairy Science. 82 (5): 878–884. PMID 10342226.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. Thomas, Alfred (2002). "Fats and Fatty Oils". Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chem istry. Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry. Weinheim: Wiley-VCH. doi:10.1002/14356007.a10_173. ISBN 3-527-30673-0.
  3. Željko, Reiner; และคณะ (2011-06-28). "ESC/EAS Guidelines for the management of dyslipidaemias: the Task Force for the management of dyslipidaemias of the European Society of Cardiology (ESC) and the European Atherosclerosis Society (EAS)". European Heart Journal. 32 (14): 1769–818. doi:10.1016/j.atherosclerosis.2011.06.012. PMID 21723445.
  4. Mozaffarian, Dariush; Rimm, EB; Herrington, DM (2004-11-01). "Dietary fats, carbohydrate, and progression of coronary atherosclerosis in postmenopausal women". American Journal of Clinical Nutrition. 80 (5): 1175–84. doi:10.1093/ajcn/80.5.1175. PMC 1270002. PMID 15531663.
  5. Leibovitz, B; Hu, ML; Tappel, AL (1990). "Dietary supplements of vitamin E, beta-carotene, coenzyme Q10 and selenium protect tissues against lipid peroxidation in rat tissue slices". The Journal of Nutrition. 120 (1): 97–104. PMID 2303916.
  6. "Fats and sugars". BBC Health. สืบค้นเมื่อ 2013-04-07.
  7. 7.0 7.1 Storlien, LH; Baur, LA; Kriketos, AD; Pan, DA; Cooney, GJ; Jenkins, AB; Calvert, GD; Campbell, LV (1996). "Dietary fats and insulin action". Diabetologia. 39 (6): 621–31. doi:10.1007/BF00418533. PMID 8781757.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Anderson. "Fatty acid composition of fats and oils" (PDF). UCCS. สืบค้นเมื่อ April 8, 2017.
  9. "NDL/FNIC Food Composition Database Home Page". Nal.usda.gov. สืบค้นเมื่อ May 21, 2013.
  10. USDA → Basic Report: 04042, Oil, peanut, salad or cooking Retrieved on January 16, 2015
  11. nutritiondata.com → Oil, vegetable safflower, oleic Retrieved on April 10, 2017
  12. nutritiondata.com → Oil, vegetable safflower, linoleic Retrieved on April 10, 2017
  13. nutritiondata.com → Oil, vegetable, sunflower Retrieved on September 27, 2010
  14. USDA Basic Report Cream, fluid, heavy whipping
  15. "Nutrition And Health". The Goose Fat Information Service.
  16. nutritiondata.com → Egg, yolk, raw, fresh Retrieved on August 24, 2009
  17. "09038, Avocados, raw, California". National Nutrient Database for Standard Reference, Release 26. United States Department of Agriculture, Agricultural Research Service. สืบค้นเมื่อ 14 August 2014.
  18. "Feinberg School > Nutrition > Nutrition Fact Sheet: Lipids". Northwestern University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-20.
  19. 19.0 19.1 Hulbert, AJ; Else, PL (1999). "Membranes as Possible Pacemakers of Metabolism". J. Theor. Biol. 199: 257–274. doi:10.1006/jtbi.1999.0955.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  20. Hulbert, AJ; Faulks, S; Buttemer, WA; Else, PL (2002). "Acyl Composition of Muscle Membranes Varies with Body Size in Birds". J. Exp. Biol. 205: 3561–3569.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  21. Hulbert, AJ (2003). "Life, death and membrane bilayers". The Journal of Experimental Biology. 206 (Pt 14): 2303–11. doi:10.1242/jeb.00399. PMID 12796449.
  22. Raynard, RS; Cossins, AR (1991). "Homeoviscous Adaptation and Thermal Compensation of Sodium Pump of Trout Erythrocytes". Am. J. Physiol. Regul. Integr. Comp. Physiol. 260: R916–R924.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
🔥 Top keywords: