โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง (อังกฤษ: Fukushima I Nuclear Power Plant; ญี่ปุ่น: 福島第一原子力発電所โรมาจิFukushima Dai-Ichi Genshiryoku Hatsudensho) เป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองโอกูมะ อำเภอฟูตาบะ จังหวัดฟูกูชิมะ ประเทศญี่ปุ่น โดยมีเครื่องปฏิกรณ์สำหรับผลิตไฟฟ้าหกหน่วย รวมกำลัง 4.7 กิกะวัตต์ โรงไฟฟ้าแห่งนี้เป็นหนึ่งใน 15 โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกซึ่งได้รับการก่อสร้างและบริหารจัดการทั้งหมดโดยบริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียว (TEPCO)

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ
ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อ ค.ศ. 2007
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่งตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง
พิกัดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ
ประเทศญี่ปุ่น
ที่ตั้งโอกูมะ จังหวัดฟูกูชิมะ
พิกัด37°25′22.7″N 141°01′58.5″E / 37.422972°N 141.032917°E / 37.422972; 141.032917
สถานะเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว หยุดการทำงาน
เริ่มสร้าง25 กรกฎาคม 2510 (2510-07-25)
ประจำการ26 มีนาคม 2514 (2514-03-26)
ดำเนินการบริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียว (เทปโก้)
ผู้สร้างคาจิมะ
ข้อมูลเครื่องปฏิกรณ์
เครื่องปฏิกรณ์ที่ดำเนินงานอยู่1 × 460 MW (เสียหายหน่วย 1)
4 × 784 MW (เสียหายหน่วย 2, 3 และ 4; หน่วย 5 ประสบปัญหาการระบายความร้อน)
1 × 1,100 MW (หน่วย 6 ประสบปัญหาการระบายความร้อน)
เครื่องปฏิกรณ์ที่อยู่ในแปลน2 × 1,380 MW
ประเภทเครื่องปฏิกรณ์เครื่องปฏิกรณ์น้ำเดือด
Reactor supplier(s)เจเนอรัลอิเล็กทริก
โทชิบา
ฮิตาชิ
ความสามารถในการผลิตไฟฟ้า
กำลังการผลิต4,696 MW
กำลังสูงสุด7,456 MW
Annual generation29,891 GW·h
Net generation877,692 GW·h
เว็บไซต์
http://www.tepco.co.jp/nu/f1-np/press_f1/2010/2010-j.html
ณ 14 มี.ค. 2554
กล้องเว็บแคม

เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 จากเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิถล่มเซ็นได รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศ "ภาวะฉุกเฉินพลังงานนิวเคลียร์" และอพยพผู้อยู่อาศัยในรัศมี 20 กิโลเมตรออกจากพื้นที่ เจ้าหน้าที่คณะกรรมการความปลอดภัยนิวเคลียร์ของญี่ปุ่นออกมาระบุว่าทางการกังวลว่าอาจมีความเป็นไปได้ที่แท่งเชื้อเพลิงในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์อาจหลอมละลาย[1]

เครื่องปฏิกรณ์ แก้

ภาพตัดขวางของเครื่องปฏิกรณ์ BWR Mark I containment ที่ใช้ในหน่วยที่ 1 ถึง 5 โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือ drywell (11), wetwell (18), spent fuel area (5)

เครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1 2 และ 6 ผลิตโดยเจเนอรัลอิเล็กทริก หน่วยที่ 3 และ 5 ผลิตโดยโตชิบา และหน่วยที่ 4 ผลิตโดยฮิตาชิ เครื่องปฏิกรณ์ทั้งหกหน่วยออกแบบโดย General Electric[2] เครื่องปฏิกรณ์ของ General Electric ออกแบบสถาปัตยกรรมโดย Ebasco และการก่อสร้างทั้งหมดดำเนินการโดย Kajima.[3] ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 เครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่สามได้เปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิง mixed-oxide (MOX) แทนที่ low enriched uranium (LEU) ที่เคยใช้อยู่เดิมในเครื่องปฏิกรณ์ทั้งหมดในโรงไฟฟ้าแห่งนี้[4][5] เครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1–5 เป็นแบบ Mark I type (light bulb torus) containment structures ส่วนหน่วยที่ 6 เป็นแบบ Mark II type (over/under) containment structure[6][7][8]

เครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 1 เป็นเครื่อง boiling water reactor (BWR-3) ขนาด 460 เมกะวัตต์ สร้างในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2510 และเริ่มใช้งานผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2514 และเดิมมีกำหนดปิดในต้นปี พ.ศ. 2554[9] ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 หน่วยงานกำกับดูแลโรงไฟฟ้าของรัฐบาลญี่ปุ่นได้อนุญาตให้ขยายเวลาการใช้งานเครื่องปฏิกรณ์หน่วยนี้ออกไปอีก 10 ปี[10]

ภาพถ่ายทางอากาศของโรงไฟฟ้าใน พ.ศ. 2518 showing sea walls and completed reactors showing, reading left (South) to right (North), Units 4,3,2,1 and 5, with Unit 6, on the right, then under construction.
ภาพขยายเครื่องปฏิกรณ์หน่วยที่ 4 3 2 และ 1
หน่วยปฏิกรณ์ชนิด[11]เริ่มก่อสร้าง[12]ถึงจุดวิกฤตครั้งแรก[12]ใช้งานเชิงพาณิชย์[12]กำลังไฟฟ้า[12]ผู้ผลิตเครื่องปฏิกรณ์[11]สถาปัตยกรรม[3]ก่อสร้าง[3]เชื้องเพลิง
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 1BWR-3July 25, 1967October 10, 1970March 26, 1971460 MWGeneral ElectricEbascoKajimaLEU
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 2BWR-4June 9, 1969May 10, 1973July 18, 1974784 MWGeneral ElectricEbascoKajimaLEU
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 3BWR-4December 28, 1970September 6, 1974March 27, 1976784 MWToshibaToshibaKajimaMOX[4]
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 4BWR-4February 12, 1973January 28, 1978October 12, 1978784 MWHitachiHitachiKajima
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 5BWR-4May 22, 1972August 26, 1977April 18, 1978784 MWToshibaToshibaKajima
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 6BWR-5October 26, 1973March 9, 1979October 24, 19791,100 MWGeneral ElectricEbascoKajima
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 7 (โครงการ)[13]ABWRApril 2012October 20161,380 MW
ฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง – 8 (โครงการ)[13]ABWRApril 2012October 20171,380 MW
พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตโดยโรงไฟฟ้าฟูกูชิมะแห่งที่หนึ่ง ในหน่วย GW·h[12]
ปีหน่วยที่ 1หน่วยที่ 2หน่วยที่ 3หน่วยที่ 4หน่วยที่ 5หน่วยที่ 6
197060.482
19712024.3
19722589.1
19732216.85.949
19741629.73670.1284.7
19750622.12961.8
19761563.94191.44807.1
1977049.72171.1875.1
19781497.63876.32753.73163.24806.7
19792504.429764916.33917.43898.63235.6
19801249.52889428743174282.66441.1
19811084.83841.83722.84667.54553.97418.6
198223555290.22886.85734.74061.36666.5
19833019.53422.740344818.25338.85387.8
19842669.7613698.7184497.3264433.1664691.4825933.242
19851699.2874266.2855798.6414409.0314112.4295384.802
19862524.6835541.1014234.1964315.2414157.3617783.537
19873308.8883851.0783748.8395964.0483995.0127789.201
19882794.4644101.2515122.9915309.8925952.7125593.058
19891440.7786516.3935706.6944232.6484766.5355128.362
19902352.4053122.7612919.5484273.7673956.5497727.073
19911279.9863853.0544491.0226483.3846575.8186948.662
19921794.0614568.5316098.7424082.7474841.2345213.607
19932500.6684186.7044204.3014206.5774059.6856530.932
19943337.5322265.9614202.3046323.2774246.2068079.391
19953030.8296396.4695966.5335485.6625878.6816850.839
19962298.5895192.3184909.6554949.8915666.8666157.765
19973258.9134618.8692516.6514556.814609.3829307.735
19983287.2313976.162632.6825441.3985369.9126328.985
19992556.933158.3825116.095890.5486154.1357960.491
20003706.2815167.2475932.4854415.9011647.0277495.577
2001487.5045996.5215637.3175858.4525905.137778.874
20023120.25101.0183567.3144687.7186590.4886270.918
200301601.1082483.55702723.764623.905
200403671.493969.6744728.9875471.3251088.787
2005851.3283424.9395103.851515.5962792.5617986.451
20063714.6063219.4944081.9324811.4094656.95321.767
2007610.7615879.8624312.8455050.6075389.5656833.522
20083036.5625289.5996668.8394410.2853930.6778424.526
20092637.4144903.2934037.6015462.1085720.0797130.99
20102089.0156040.782

อุบัติเหตุนิวเคลียร์ พ.ศ. 2554 แก้

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 เกิดแผ่นดินไหวซึ่งวัดความรุนแรงได้ 9.0 แมกนิจูด เมื่อเวลาราว 14.46 น. ตามเวลามาตรฐานญี่ปุ่น นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น เครื่องปฏิกรณ์ที่ 4, 5 และ 6 ถูกปิดตัวลงก่อนหน้าที่จะเกิดแผ่นดินไหวเพื่อการบำรุงรักษาตามกำหนด[14][15] ส่วนเครื่องปฏิกรณ์ที่เหลือถูกปิดลงอัตโนมัติหลังจากเกิดแผ่นดินไหว แต่คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นตามมาได้เข้าท่วมโรงไฟฟ้า ทำให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินซึ่งใช้สำหรับทำงานปั๊มทำความเย็นและควบคุมเตาปฏิกรณ์ ความเสียหายจากอุทกภัยและแผ่นดินไหวทำให้ความช่วยเหลือจากที่อื่นไม่สามารถเข้ามาถึงได้ อีกหลายวันต่อมามีหลักฐานว่าแกนปฏิกรณ์บางส่วนหลอมละลายในเครื่องปฏิกรณ์ที่ 1, 2 และ 3 การระเบิดของไฮโดรเจนทำลายวัสดุใช้หุ้มส่วนบนของอาคารซึ่งเป็นที่ตั้งของเครื่องปฏิกรณ์ที่ 1 และ 3 แรงระเบิดได้ทำลายอาคารคลุมเตาปฏิกรณ์ที่ 2 และเกิดเพลิงไหม้อย่างรุนแรงที่เครื่องปฏิกรณ์ที่ 4

อ้างอิง แก้

  1. "Explosion at Japanese nuclear plant raises fears". Usatoday.Com. สืบค้นเมื่อ 2011-03-12.
  2. Dedman, Bill (March 13, 2011). "General Electric-designed reactors in Fukushima have 23 sisters in U.S". MSNBC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 20, 2012. สืบค้นเมื่อ March 14, 2011.
  3. 3.0 3.1 3.2 "Nuclear Reactor Maps: Fukushima-Daiichi". Council for Security Cooperation in the Asia Pacific. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-23. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.
  4. 4.0 4.1 "Fukushima to Restart Using MOX Fuel for First Time". Nuclear Street. 2010-09-17. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
  5. "Third Japanese reactor to load MOX". World Nuclear News. 2010-08-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
  6. Brady, A. Gerald (1980). Ellingwood, Bruce (บ.ก.). An Investigation of the Miyagi-ken-oki, Japan, earthquake of June 12, 1978. NBS special publication. Vol. 592. United States Department of Commerce, National Bureau of Standards. p. 123.
  7. "Fact Sheet on Fukushima Nuclear Power Plant" (PDF). Nuclear Information and Resource Service. 13 March 2011. สืบค้นเมื่อ 13 March 2011.
  8. Sandia National Laboratories (July 2006). "Containment Integrity Research at Sandia National Laboratories - An Overview" (PDF). U.S. Nuclear Regulatory Commission. NUREG/CR-6906, SAND2006-2274P. สืบค้นเมื่อ 13 March 2011. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  9. "Fukushima Daiichi Information Screen". Icjt.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-15. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  10. Yamaguchi, Mari; Donn, Jeff (March 12, 2011). "Japan quake causes emergencies at 5 nuke reactors". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-17. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
  11. 11.0 11.1 "Reactors in operation". IAEA. 31 December 2009. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 "Japan: Nuclear Power Reactors". Power Reactor Information System - PRIS. IAEA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-28. สืบค้นเมื่อ 14 March 2011.
  13. 13.0 13.1 "Nuclear Power in Japan". World Nuclear Association. 2011-02-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-20. สืบค้นเมื่อ March 12, 2011.
  14. Black, Richard. "Reactor breach worsens prospects". BBC News. สืบค้นเมื่อ March 17, 2011.
  15. Biela Liwag. "Government Scientists on Japan Nuke Meltdown "No need to worry"". Noypi.ph. สืบค้นเมื่อ March 14, 2011.
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อสมทพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระสุนทรโวหาร (ภู่)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทวอลเลย์บอลสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกมลา สุโกศลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัววัฒนา อัศวเหมวอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างราชวงศ์จักรีประเทศไทยณพสิน แสงสุวรรณอิม นา-ย็องพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วอลเลย์บอลชายเอวีซีแชลเลนจ์คัพ 2024อริยสัจ 4ประเทศโปรตุเกสประเทศจีนฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่วรกมล ชาเตอร์นิธิ สมุทรโคจร4 KINGS 2ชาตรี ศิษย์ยอดธงรวงทอง ทองลั่นธมศิริลักษณ์ คองอิษยา ฮอสุวรรณพีรญา มะลิซ้อนทักษอร ภักดิ์สุขเจริญศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนาฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024