เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (อังกฤษ: Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร[1] คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสันเช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรแบบจุลจิตรกรรมหน้านี้เป็นตกแต่งเป็นรูป “พระคริสต์ทรงพระสิริ” (Christ in Majesty) จาก หนังสืออเบอร์ดีน (Aberdeen Bestiary [en]) (folio 4v)
การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400

ประวัติ แก้

งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่น ๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น รวมถึงคำประกาศ ตั๋วเงินลงทะเบียน กฎหมาย กฎบัตร รายการสินค้า และโฉนด[2] และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (parchment หรือ vellum อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี[3] หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภาพเขียนย่อส่วน[4] แต่การพิมพ์ทำให้ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริง ๆ เท่านั้น

นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้ว ก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น

สมุดภาพ แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Britannica concise encyclopedia ภาคภาษาไทย เล่ม 2 G-O. Encyclopaedia Britannica. กรุงเทพฯ: มีเดีย แม็กเน็ท. 2008. ISBN 978-974-8072-60-9.
  2. Rholetter, Wylene (2018). Written Word in Medieval Society. Salem Press Encyclopedia.
  3. "Differences between Parchment, Vellum and Paper". National Archives (ภาษาอังกฤษ). 15 สิงหาคม 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2021.
  4. Wight, C. "M - Glossary for the British Library Catalogue of Illuminated Manuscripts". www.bl.uk. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้


🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อสมทพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระสุนทรโวหาร (ภู่)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทวอลเลย์บอลสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกมลา สุโกศลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัววัฒนา อัศวเหมวอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างราชวงศ์จักรีประเทศไทยณพสิน แสงสุวรรณอิม นา-ย็องพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วอลเลย์บอลชายเอวีซีแชลเลนจ์คัพ 2024อริยสัจ 4ประเทศโปรตุเกสประเทศจีนฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่วรกมล ชาเตอร์นิธิ สมุทรโคจร4 KINGS 2ชาตรี ศิษย์ยอดธงรวงทอง ทองลั่นธมศิริลักษณ์ คองอิษยา ฮอสุวรรณพีรญา มะลิซ้อนทักษอร ภักดิ์สุขเจริญศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนาฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024