อำเภอเกาะพะงัน

อำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประเทศไทย

เกาะพะงัน ตั้งอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นอำเภอที่มีพื้นที่น้อยที่สุดของจังหวัด ตั้งอยู่ในอ่าวไทย ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกประมาณ 100 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอเกาะสมุยประมาณ 15 กิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ คือ เกาะพะงัน มีพื้นที่ 168 ตารางกิโลเมตร และเกาะเต่า มีพื้นที่ 25 ตารางกิโลเมตร (รวม 193 ตารางกิโลเมตร)[1]

อำเภอเกาะพะงัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Ko Pha-ngan
เกาะนางยวน
คำขวัญ: 
ร.5 ธารเสด็จ หลวงพ่อเพชรศูนย์รวมใจ
พระจันทร์สวย ทะเลใส หาดทรายขาว
ปะการังแพรวพราว เพชรกลางอ่าว เมืองคนดี
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอเกาะพะงัน
แผนที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี เน้นอำเภอเกาะพะงัน
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
พื้นที่
 • ทั้งหมด194.3 ตร.กม. (75.0 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด18,507 คน
 • ความหนาแน่น95.25 คน/ตร.กม. (246.7 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 84280,
84360 (เฉพาะตำบลเกาะเต่า)
รหัสภูมิศาสตร์8405
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอเกาะพะงัน เลขที่ 2
หมู่ที่ 2 ถนนท้องศาลา-โฉลกหลำ ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โทรศัพท์ 0 7737 7064
โทรสาร 0 7737 7064-5
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ลักษณะภูมิอากาศ

แก้

เกาะพะงันได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้ง 2 ด้าน คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูกาลแบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน[2]

  • ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม เป็นช่วงปลายลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศจะคลายความชุ่มชื้น ประกอบกับมีกระแสน้ำอุ่นพัดจากทะเลจีนใต้ ทำให้มีฝนตกน้อยและอุณหภูมิสูงขึ้น แต่คลื่นลมสงบ น้ำทะเลใส เหมาะแก่การท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง
  • ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงมกราคม สำหรับช่วงเดือนมิถุนายนถึงตุลาคมเป็นช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกไปจนถึงเดือนมกราคมของทุกปี โดยเฉพาะเดือนพฤศจิกายน มีจำนวนวันที่ฝนตกโดยเฉลี่ยถึง 20.2 วันต่อเดือน ปริมาณน้ำฝน 1,919.2 มิลลิเมตรต่อปี[3]

การแบ่งเขตการปกครอง

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

อำเภอเกาะพะงันแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 3 ตำบล 17 หมู่บ้าน ได้แก่[4]

    
1.เกาะพะงัน(Ko Pha-ngan)8 หมู่บ้าน
2.บ้านใต้(Ban Tai)6 หมู่บ้าน
3.เกาะเต่า(Ko Tao)3 หมู่บ้าน
 

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ท้องที่อำเภอเกาะพะงันประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่[4]

สภาพทางเศรษฐกิจ

แก้

ประชากรร้อยละ 90 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำสวนมะพร้าว เลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน สวนผลไม้ ส่วนการประมงก็เป็นประมงชายฝั่ง มีเรือจับปลาหมึกเป็นหลัก อาชีพธุรกิจการท่องเที่ยวร้อยละ 5 และอื่น ๆ อีกร้อยละ 5 ธนาคารพาณิชย์ 6 แห่ง รายได้เฉลี่ย 36,000 บาทต่อคนต่อปี[5]

สถานที่ท่องเที่ยว

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "พื้นที่ของแต่ละอำเภอในจังหวัดสุราษฎร์ธานี". กระทรวงพลังงาน.
  2. "ข้อมูล ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี". ฐานข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว สำหรับนักท่องเที่ยวสูงอายุ ในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวภาคใต้ตอนบน.
  3. ณัฐา คุ้มแคว้น; สุธาวดี จินาญาติ; นิทัศ ไหมจุ้ย (กันยายน 2554). “วัฒนธรรมต่างชาติ” พลวัตที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ของชุมชนอาเภอเกาะสมุยและเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (PDF). กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (Report). p. 97.
  4. 4.0 4.1 muang-krabi (4 ตุลาคม 2559). "ประวัติความเป็นมา". สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเกาะพงัน.[ลิงก์เสีย]
  5. สิริรัตน์ นาคแป้น (2555). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในการมาท่องเที่ยวเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (PDF). สาขาการจัดการการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (MA). p. 50.
  6. "หาดริ้น". การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.).

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
🔥 Top keywords: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลหน้าหลักพระสุนทรโวหาร (ภู่)องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรอสมทวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024สไปร์ท (แร็ปเปอร์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พุ่มพวง ดวงจันทร์ดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อีดิลอัฎฮาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวราชวงศ์จักรีลำดับโปเจียมแห่งราชอาณาจักรไทยรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีหม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคลทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคลพระอภัยมณีหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคลหม่อมเจ้าฑิฆัมพร ยุคลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรหลานม่าอริยสัจ 4ตารางธาตุนิราศภูเขาทองรายชื่อเครื่องดนตรีเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชคประเทศไทยอาณาจักรอยุธยาปิติ ภิรมย์ภักดีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย