อาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด

อาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด (โซมาลี: Cali Mahdi Maxamed, อาหรับ: علي مهدي محمد); 1 มกราคม พ.ศ. 2482 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2564) เป็นผู้ประกอบการและนักการเมืองชาวโซมาเลีย เขาเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีโซมาเลียตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2534 – มกราคม พ.ศ. 2540

อาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด
ประธานาธิบดีคนที่ 4 แห่งโซมาเลีย
ดำรงตำแหน่ง
27 มกราคม พ.ศ. 2534 – 3 มกราคม พ.ศ. 2540
ก่อนหน้าไซอัด บาร์รี
ถัดไปว่าง (3 มกราคม พ.ศ. 2540–27 สิงหาคม พ.ศ. 2543);
อับดิคาซิม ซาลาด ฮัสซัน
หลังจากนั้น
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 มกราคม ค.ศ. 1939(1939-01-01)
โจวฮาร์ โซมาเลีย
เสียชีวิต10 มีนาคม ค.ศ. 2021(2021-03-10) (82 ปี)
ไนโรบี เคนยา
ศาสนาอิสลาม
พรรคการเมืองรัฐสภาแห่งสหรัฐโซมาลี

มูฮัมหมัดขึ้นสู่อำนาจหลังจากที่คองเกรสสหโซมาลี องค์การทางทหารของเขากับพันธมิตรกลุ่มต่อต้านติดอาวุธอื่น สามารถปลดประธานาธิบดีไซอัด บาร์รีผู้ครองอำนาจอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตามมูฮัมหมัดไม่สามารถที่จะใช้อำนาจของเขาเกินกว่าส่วนของเมืองหลวงได้[1] อำนาจได้รับการแทนที่โดยผู้นำกลุ่มอื่น ๆ ในภาคใต้ ครึ่งหนึ่งของประเทศ และโดยหน่วยงานของดินแดนปกครองตนเองในภาคเหนือ[2]

ชีวิตช่วงต้น แก้

มูฮัมหมัดเกิดเมื่อ ค.ศ. 1939[3] ที่โจวฮาร์ซึ่งเป็นเมืองเกษตรกรรมทางตอนใต้ของภูมิภาคชาเบลกลาง (ซึ่งต่อมากลายเป็นอาณานิคมของอิตาลีและรู้จักกันในชื่ออิตาเลียนโซมาลีแลนด์) ครอบครัวของเขามีเชื้อสายอับกัลฮาวิยี[3]

อาชีพ แก้

คองเกรสสหโซมาลี แก้

มูฮัมหมัดเริ่มต้นอาชีพในฐานะนักธุรกิจ โดยทำงานบริษัทอิสระแห่งหนึ่งที่โมกาดิชู ต่อมา เขาได้เข้าสู่อาชีพการเมืองใน ค.ศ. 1968 เพื่อแย่งชิงที่นั่งตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโมกาดิชู[4]

หลังจากประสบความล้มเหลวในแคมเปญโอกาเดนเมื่อปลายทศวรรษ 1970 ไซอัด บาร์รีได้จับกุมรัฐบาลและเจ้าหน้าที่ทหารเนื่องจากสงสัยในเหตุรัฐประหาร 1978 ที่ก่อไม่สำเร็จ[5][6] ประชาชนส่วนใหญ่ที่คิดการกบฏถูกตัดสินให้ประหารชีวิต[7] อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ทหารส่วนหนึ่งหลบหนีไปต่างประเทศและก่อตั้งกลุ่มทางการเมืองเพื่อขับไล่รัฐบาลบาร์รี[8]

ปลายทศวรรษ 1980 รัฐบาลบาร์รีตกต่ำลงเพื่อการปกครองที่เป็นเผด็จการและมีการเคลื่อนไหวที่สนับสนุนเดิร์กซึ่งเป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์ในเอธิโอเปีย สิ่งนี้นำไปสู่สงครามกลางเมืองโซมาเลียใน ค.ศ. 1991 ซึ่งนับเป็นจุดสิ้นสุดของรัฐบาลบาร์รีและการแตกสลายของกองทัพแห่งชาติโซมาเลีย (SNA) กลุ่มที่ต่อต้านบาร์รีเริ่มมีบทบาทและอำนาจทางการเมือง กองกำลังติดอาวุธที่นำโดยผู้บัญชาการคองเกรสสหโซมาลี (USC) อย่างอาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัด และนายพลอย่างมูฮัมหมัด ฟาราห์ ไอดิด เกิดความขัดแย้งจากการแย่งชิงอำนาจในการปกครองเมืองหลวง[9]

ประธานาธิบดีโซมาเลีย แก้

ในการประชุมนานาชาติหลายครั้งที่จัดขึ้นที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างจิบูติเมื่อ ค.ศ. 1991 ไอดิด นายพลคองเกรสสหโซมาลี ประกาศคว่ำบาตรการประชุมครั้งแรก และจากการที่มูฮัมหมัดได้รับความชอบธรรมจากการประชุมที่จิบูติ ทำให่เขาได้รับการรับรองจากนานาชาติในฐานะประธานาธิบดีโซมาเลียคนใหม่ จิบูติ, อียิปต์, ซาอุดีอาระเบีย และอิตาลี เป็นประเทศที่ขยายการรับรองในการบริหารของมูฮัมหมัด[2] อย่างไรก็ตาม เขาไม่สามารถที่จะใช้อำนาจของเขาเกินกว่าส่วนของเมืองหลวงได้ อำนาจได้รับการแทนที่โดยผู้นำกลุ่มอื่น ๆ ในภาคใต้ ครึ่งหนึ่งของประเทศ และโดยหน่วยงานของดินแดนปกครองตนเองในภาคเหนือ[1] การแข่งขันเพื่ออิทธิพลและทรัพยากรระหว่างมูฮัมหมัดกับไอดิดดำเนินเรื่อยมาระหว่าง ค.ศ. 1992–95 ซึ่งเป็นช่วงที่สหประชาชาติเข้ามาทำภารกิจในโซมาเลีย (UNOSOM I, UNOSOM II, และ UNITAF) จนกระทั่งไอดิดเสียชีวิตใน ค.ศ. 1996

ค.ศ. 2000 มูฮัมหมัดเข้าร่วมการประชุมอีกครั้งที่จิบูติ เขาเสียตำแหน่งประธานาธิบดีให้กับอับดิคาซิม ซาลาด ฮัสซัน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในรัฐบาลของบาร์รี มูฮัมหมัดได้กล่าวยอมรับผลการเลือกตั้งและจะช่วยสนับสนุนการทำงานร่วมกับประธานาธิบดีคนใหม่

วันที่ 10 มีนาคม 2021 เขาเสียชีวิตที่ไนโรบีในเคนยา หลังจากติดเชื้อไวรัสโควิด–19[10]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "Somalia: Some key actors in the transitional process". IRIN. 2005-05-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-02-07.
  2. 2.0 2.1 Paul Fricska, Szilard. "Harbinger of a New World Order? Humanitarian Intervention in Somalia" (PDF). University of British Columbia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ March 16, 2012. สืบค้นเมื่อ October 6, 2013.
  3. 3.0 3.1 Metz, Helen Chapin (1993). Somalia: a country study. The Division. p. 155. ISBN 0844407755. สืบค้นเมื่อ June 10, 2014.
  4. Whitaker's Almanack World Heads of State, 1998, Stationery Office: Roger East, page 222
  5. ARR: Arab report and record, (Economic Features, ltd.: 1978), p.602.
  6. Ahmed III, Abdul. "Brothers in Arms Part I" (PDF). WardheerNews. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 3, 2012. สืบค้นเมื่อ February 28, 2012.
  7. New People Media Centre, New people, Issues 94–105, (New People Media Centre: Comboni Missionaries, 2005).
  8. Nina J. Fitzgerald, Somalia: issues, history, and bibliography, (Nova Publishers: 2002), p.25.
  9. Library Information and Research Service, The Middle East: Abstracts and index, Volume 2, (Library Information and Research Service: 1999), p.327.
  10. "Former Somali president Ali Mahdi dies in Nairobi". Citizentv.co.ke. สืบค้นเมื่อ March 11, 2021.
ก่อนหน้าอาลี มาห์ดิ มูฮัมหมัดถัดไป
ไซอัด บาร์รี ประธานาธิบดีโซมาเลีย
(27 มกราคม พ.ศ. 2534-3 มกราคม พ.ศ. 2540)
ว่าง-ดำรงตำแหน่งต่อไปโดยอับดิคาซิม ซาลาด ฮัสซัน
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาพระสุนทรโวหาร (ภู่)อสมทดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัววอลเลย์บอลราชวงศ์จักรีสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีตารางธาตุพิธา ลิ้มเจริญรัตน์อริยสัจ 4ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอาณาจักรสุโขทัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรอาณาจักรอยุธยานิราศภูเขาทองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรายชื่อเครื่องดนตรีณพสิน แสงสุวรรณพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพิธีไหว้ครูประเทศไทยรอยรักรอยบาปพระอภัยมณีในวันที่ฝนพร่างพรายฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024ประเทศฝรั่งเศสพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชกติกาฟุตบอลรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีรายพระนามพระมหากษัตริย์ไทยพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)รายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยสงครามโลกครั้งที่สองทวีปยุโรปจารึกพ่อขุนรามคำแหง