สงครามโลกครั้งที่สาม

สงครามโลกครั้งที่สาม (อังกฤษ: World War III หรือ Third World War; มักย่อเป็น WWIII) เป็นคำที่ใช้กล่าวถึงสงครามโลกที่ถูกสมมติขึ้นว่าจะเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง มีการกล่าวถึงสงครามโลกครั้งที่สามมาตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1941[1] ในบางครั้ง คำว่า "สงครามโลกครั้งที่สาม" ก็ถูกนำไปใช้เพื่อกล่าวถึงความขัดแย้งขนาดย่อย เช่น สงครามเย็นหรือสงครามต่อต้านการก่อการร้าย อย่างไรก็ตาม มีการสันนิษฐานว่าหากความขัดแย้งขนาดใหญ่เช่นนั้นเกิดขึ้น จะส่งผลเสียหายเป็นวงกว้างกว่าสงครามโลกที่ผ่านมาทั้งสองครั้ง[2]

การทำลายล้างด้วยอาวุธนิวเคลียร์มักถูกนำมาเชื่อมโยงกับสงครามโลกครั้งที่สาม

จากการที่อาวุธนิวเคลียร์ถูกพัฒนาขึ้นในโครงการแมนแฮตตัน จนกระทั่งมีการนำไปใช้ที่เมืองฮิโระชิมะและนางาซากิ และการที่อาวุธนิวเคลียร์ถูกพัฒนาและเก็บสะสมไว้โดยหลายประเทศ ทำให้มีการจินตนาการถึงสงครามโลกครั้งที่สามว่าอาจเป็นหายนะนิวเคลียร์ที่ทำลายล้างอารยธรรมและสิ่งมีชีวิตทั่วโลกในวงกว้าง

ก่อนที่สงครามโลกครั้งที่สองจะเกิดขึ้น มีความเชื่อว่าสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็น "สงครามเพื่อยุติสงครามทั้งปวง" มีความเชื่อว่าสงครามที่ใหญ่ในระดับนี้ไม่มีทางจะเกิดขึ้นได้อีก ในช่วงเวลานั้น สงครามโลกครั้งที่หนึ่งถูกเรียกอย่างเรียบง่ายว่า "มหาสงคราม" มีความหวังว่า หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจบลงแล้ว มนุษยชาติจะสามารถก้าวข้ามความขัดแย้งและสงครามได้ อย่างไรก็ตาม การเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่สองทำให้ความหวังนี้หมดไป[3]

การเริ่มต้นของสงครามเย็นใน ค.ศ. 1945 และการที่อาวุธนิวเคลียร์แพร่หลายไปถึงสหภาพโซเวียตทำให้โอกาสเกิดสงครามโลกครั้งที่สามเพิ่มสูงขึ้น ในช่วงสงครามเย็น กองทัพและรัฐบาลของหลาย ๆ ประเทศมีการวางแผนรับมือสงครามโลกครั้งที่สาม มีการคาดเดาเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สามไว้อย่างหลากหลาย บ้างก็คาดว่าสงครามครั้งนี้จะเป็นสงครามตามแบบ (Conventional warfare) บ้างก็คาดว่าจะเป็นสงครามนิวเคลียร์ มีแนวคิดว่า หากเกิดสงครามนิวเคลียร์ขึ้น การสู้รบด้วยอาวุธนิวเคลยร์จะทำให้ชาติต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในสงครามถูกทำลายไปจนหมด แนวคิดดังกล่าวอาจมีผลทำให้ผู้นำของสหรัฐและสหภาพโซเวียตหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากันด้วยอาวุธนิวเคลียร์ จนสงครามเย็นสิ้นสุดลง

ความขัดแย้งระหว่างชาติต่าง ๆ ในศตวรรษที่ 21 (รวมถึงการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียเมื่อ ค.ศ. 2022 ซึ่งเป็นความขัดแย้งครั้งล่าสุด) ทำให้เกิดความวิตกกังวลมาหลายครั้งว่าอาจเกิดการบานปลายจนกลายเป็นขนวนเหตุของสงครามโลกครั้งที่สาม[4][5]

อ้างอิง

แก้
  1. "Foreign News: World War III?". Time. 3 November 1941. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2017. สืบค้นเมื่อ 12 August 2017.
  2. The New Quotable Einstein. Alice Calaprice (2005), p. 173.
  3. Safire, William (2008). Safire's Political Dictionary. Oxford University Press US. pp. 792–3. ISBN 978-0-19-534334-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2021. สืบค้นเมื่อ 2010-08-24.
  4. "This Is What World War III Will Look Like". Time (ภาษาอังกฤษ). 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2020. สืบค้นเมื่อ 22 March 2020.
  5. Is this the start of World War III? | DW | 05.10.2022 (ภาษาอังกฤษแบบบริติช), Deutsche Welle, สืบค้นเมื่อ 2022-10-11
🔥 Top keywords: หน้าหลักมัณฑนา หิมะทองคำฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024พระสุนทรโวหาร (ภู่)พิเศษ:ค้นหาภักดีหาญส์ หิมะทองคำฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอสมทดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวอันดับโลกเอฟไอวีบีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพุ่มพวง ดวงจันทร์ณัฐวุฒิ เจนมานะโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทราชวงศ์จักรีฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020ทองภูมิ สิริพิพัฒน์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชครายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีอริยสัจ 4ประเทศไทยปภัสรา เตชะไพบูลย์ฟุตบอลโลกตารางธาตุอาณาจักรอยุธยาอาณาจักรสุโขทัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระอภัยมณีวอลเลย์บอลรายชื่อนักแสดงหญิงไทยนิราศภูเขาทองพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)