ศูนย์กีฬาแห่งชาติออลิมปีย์สกึย

ศูนย์กีฬาแห่งชาติออลิมปีย์สกึย หรือ ศูนย์กีฬาโอลิมปิกแห่งชาติ (ยูเครน: Націона́льний спорти́вний ко́мплекс «Олімпі́йський») เป็นสนามกีฬาอเนกประสงค์ในกรุงเคียฟ ประเทศยูเครน ตั้งอยู่บนเนินเขาแชแรปานอว์ในเขตเปแชสก์ เคยใช้ในการจัดมหกรรมกีฬาทั้งในระดับทวีปและระดับโลกมามากมายและสนามแห่งนี้ยังเป็นสนามที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในยุโรปตะวันออกโดยเป็นรองแค่สนามกีฬาลุจนีกีของประเทศรัสเซีย

ศูนย์กีฬาแห่งชาติออลิมปีย์สกึย
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่ 55 ถนนเวลือกา วาซึลกิวสกา เคียฟ ประเทศยูเครน
พิกัด50°26′0.38″N 30°31′19.61″E / 50.4334389°N 30.5221139°E / 50.4334389; 30.5221139
ขนส่งมวลชนLine 2 Olimpiiska and Line 3 Palats Sportu, Kiev Metro
เจ้าของกระทรวงเยาวชนและกีฬา (ประเทศยูเครน)[2]
ความจุ50,000 ที่นั่ง (ค.ศ. 1941)
47,756 ที่นั่ง (ค.ศ. 1949)
100,062 ที่นั่ง (ค.ศ. 1967)
83,450 ที่นั่ง (ค.ศ. 1999)
70,050 ที่นั่ง (ค.ศ. 2011)[6][7]
สถิติผู้ชม102,000 (สโมสรฟุตบอลดือนามอกือยิว - สโมสรฟุตบอลบาเยิร์นมิวนิก, 16 มีนาคม 1977)[8]
ขนาดสนาม105 68 เมตร
พื้นผิวสนามหญ้า
การก่อสร้าง
เปิดใช้สนาม12 สิงหาคม ค.ศ. 1923[1]
ปรับปรุงค.ศ. 1967, 1999, 2011
ต่อเติมค.ศ. 1966, 1978
ปิดค.ศ. 2008–2011
งบประมาณในการก่อสร้าง3,968–4,365 ล้านฮรึวญา[3]
สถาปนิกL.V.Pilvinsky (ค.ศ. 1923)
Mykhailo Hrechyna (ค.ศ. 1936–1941)
GMP (เยอรมนี) (ค.ศ. 2008–2011)
ผู้รับเหมาทั่วไปKyivmiskbud[4]
การใช้งาน
ทีมชาติสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1969–1990)
ฟุตบอลทีมชาติยูเครน (ค.ศ. 1994–ปัจจุบัน)
สโมสรฟุตบอลดือนามอกือยิว (ค.ศ. 2011–ปัจจุบัน)[5]
เว็บไซต์
nsc-olimpiyskiy.com.ua/en/

สนามกีฬาแห่งนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ทำให้ถูกนำมาใช้ในการจัดการแข่งขันฟุตบอลบางรายการในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1980

หลังจากมีการปรับปรุงหลังคาและซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็กลับมาเปิดใช้อีกครั้งในวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2011 ซึ่งการเปิดใช้ในครั้งนี้เป็นการเปิดการแสดงของชากีรา และในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 2011 ก็ได้มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลกระชับมิตรระหว่างฟุตบอลทีมชาติยูเครนกับฟุตบอลทีมชาติเยอรมนีโดยผลคือ 3–3 ประตู สนามแห่งนี้ยังถูกใช้ในการจัดการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2012และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2018ที่ประเทศยูเครนเป็นเจ้าภาพ

ประวัติ

แก้

หลังประเทศยูเครนได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1991 สนามแห่งนี้ได้ใช้เป็นสนามประจำของฟุตบอลทีมชาติยูเครนและได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์กีฬาแห่งชาติออลิมปีย์สกึย (ริพับลิกันสเตเดียม) จึงทำให้สถานีรถไฟใต้ดินออลิมปีย์สกาที่อยู่ใกล้เคียงมีชื่อเรียกว่า "แรสปูบลือกันสกึยสตาดีออน" (Respublykanskyi Stadion)

ในปี 1997-1999 สนามได้มีการปรับปรุงใหม่ตามหลักเกณฑ์ของฟีฟ่าซึ่งทำให้สนามมีความจุลดลงเหลือ 83,450 ที่นั่ง

สนามแห่งนี้ใช้เป็นสนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลดือนามอ แต่หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามใน ค.ศ. 1998 ทำให้สโมสรฟุตบอลดือนามอตัดสินใจย้ายออกไปสร้างสนามใหม่ชื่อสนามโลบานอว์สกีดีนาโมซึ่งเป็นสนามที่จุคนได้น้อยกว่า ซึ่งการย้ายสนามของสโมสรฟุตบอลดือนามอนี้ทำให้สนามนี้ถูกเซ็นสัญญาเช่ายืมโดยสโมสรฟุตบอลดือนามอกือยิวแทนแต่จะใช้แค่เกมส์ในบ้านหรือเกมส์ในทัวร์นาเมนต์ใหญ่เท่านั้น

สนามนี้ยังใช้เป็นสนามเหย้าของฟุตบอลทีมชาติยูเครนและเป็นสถานใช้ในการจัดทัวร์นาเมนต์หรือมหกรรมกีฬาของประเทศยูเครนหรือที่ยูเครนเป็นเจ้าภาพ เช่นยูเครเนียนคัพ, โอลิมปิกฤดูร้อน 1980, ฟุตบอลยูโร 2012 หรือการแข่งขันที่ฟีฟ่าขอใช้ เช่นยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ 2018

ใช้ในการแข่งขัน

แก้
วันที่เวลาทีมผลการแข่งขันทีมรอบผู้เข้าชท
20 กรกฎาคม 198012:00  เยอรมนีตะวันออก1–1  สเปนกลุ่ม C100,000
22 กรกฎาคม 192012:00  เยอรมนีตะวันออก1–0  แอลจีเรีย70,000
24 กรกฎาคม 198012:00  เยอรมนีตะวันออก5–0  ซีเรีย80,000
21 กรกฎาคม 198012:00  อิรัก3–0  คอสตาริกากลุ่ม D
23 กรกฎาคม 198012:00  อิรัก0–0  ฟินแลนด์40,000
25 กรกฎาคม 198012:00  อิรัก1–1  ยูโกสลาเวีย
27 กรกฎาคม 198012:00  เยอรมนีตะวันออก4–0  อิรักรอบก่อนรองชนะเลิศ48,000
วันที่เวลาทีมผลการแข่งขันทีมรอบผู้เข้าชม
11 มิถุนายน 201221:45  ยูเครน2–1  สวีเดนกลุ่ม D64,290
15 มิถุนายน 201222:00  สวีเดน2–3  อังกฤษ64,640
19 มิถุนายน 201221:45  สวีเดน2–0  ฝรั่งเศส63,010
24 มิถุนายน 201221:45  อังกฤษ0–0 (2–4 ลูกโทษตัดสิน)  อิตาลีรอบก่อนรองชนะเลิศ64,340
1 กรกฎาคม 201221:45  สเปน4–0  อิตาลีรอบชิงชนะเลิศ63,170

คอนเสิร์ต

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-10. สืบค้นเมื่อ 2017-06-15.
  2. Уряд ліквідував Державний концерн "Спортивні арени України" у зв'язку з неефективним господарюванням
  3. Cost of the stadium reconstruction was explained by the Vice-Prime Minister and chairman of the government supporting program Euro-2012 (Borys Kolesnikov)
  4. "Kyivmiskbud's owner is Pechersk Raion State Administration of Kiev city". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-03. สืบค้นเมื่อ 2017-06-15.
  5. Dynamo is returning on "Olimpiyskyi" ("Динамо" возвращается на "Олимпийский") "ua-football.com" 8 ตุลาคม 2011
  6. Great history of NSC "Olimpiyskiy"
  7. Official facts and figures
  8. Match report

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • Web cameras:
🔥 Top keywords: หน้าหลักมัณฑนา หิมะทองคำฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024พระสุนทรโวหาร (ภู่)พิเศษ:ค้นหาภักดีหาญส์ หิมะทองคำฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอสมทดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวอันดับโลกเอฟไอวีบีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพุ่มพวง ดวงจันทร์ณัฐวุฒิ เจนมานะโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทราชวงศ์จักรีฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020ทองภูมิ สิริพิพัฒน์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชครายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีอริยสัจ 4ประเทศไทยปภัสรา เตชะไพบูลย์ฟุตบอลโลกตารางธาตุอาณาจักรอยุธยาอาณาจักรสุโขทัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระอภัยมณีวอลเลย์บอลรายชื่อนักแสดงหญิงไทยนิราศภูเขาทองพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)