วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร

วัดในกรุงเทพมหานคร

วัดมหาพฤฒาราม วรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนมหาพฤฒาราม แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

วัดมหาพฤฒารามวรวิหาร
พระอุโบสถวัดมหาพฤฒาราม
แผนที่
ชื่อสามัญวัดมหาพฤฒารามวรวิหาร, วัดมหาพฤฒาราม, วัดท่าเกวียน, วัดตะเคียน
ที่ตั้งเลขที่ 517 ถนนมหาพฤฒาราม แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี
เวลาทำการ08.00-18.00 น.
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ประวัติ

แก้

วัดมหาพฤฒารามเป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของคลองผดุงกรุงเกษม แต่เดิมในช่วงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น วัดนี้แต่เดิมชื่อว่า "วัดท่าเกวียน" เนื่องจากเคยเป็นที่พักแรมของกองเกวียน ที่เดินทางเข้ามาค้าขายในกรุงเทพฯ แต่ต่อมาชาวบ้านก็พากันเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดตะเคียน" สันนิษฐานว่า เรียกชื่อวัดตามต้นตะเคียนที่ขึ้นหนาแน่นอยู่รอบบริเวณวัดที่มีอาณาบริเวณถึง 14 ไร่

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เคยอยู่ในเพศบรรพชิตได้เสด็จมาพระราชทานผ้าป่าที่วัดนี้ ในคราวนั้น พระอธิการแก้วเจ้าอาวาสได้ทูลถวายพยากรณ์ว่า "จะได้เป็นเจ้าชีวิตในเร็วๆนี้" พระองค์จึงมีรับสั่งว่า "ถ้าได้ครองแผ่นดินจริงจะมาสร้างวัดให้อยู่ใหม่" หลังจากนั้นหลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์จึงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาวัดขึ้นใหม่ ในเวลาต่อมาจึงโปรดให้พระราชทานสมณะศักดิ์ พระอธิการแก้วเป็น "พระมหาพฤฒาจารย์" และโปรดให้สร้างพระอารามใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2397 จนถึง พ.ศ. 2409 โดยโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองในการสถาปนา ต่อมาเมื่อทำการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงโปรดฯ ให้สถาปนาขึ้นในพระอารามหลวง พระราชทานนามว่า "วัดมหาพฤฒาราม"

ศิลปะและสถาปัตยกรรม

แก้
จิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ
พระอุโบสถ

จิตรกรรมฝาผนังของที่วัดมหาพฤฒาราม แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่เขียนเรื่อง "ธุดงควัตร13" และการไปสืบพระพุทธศาสนาที่ลังกา แทนการเขียนเรื่องทศชาติชาดกหรือพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ของวัดอื่น โดยนำเอาศิลปะทางตะวันตกมา นำเอาวิธีการเขียนภาพแบบ 3 มิติ ตามวิธีการเขียนภาพจิตรกรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในการเขียนภาพทิวทัศน์ มีการจัดองค์ประกอบภาพให้มีความลึก เหมือนจริงตามธรรมชาติ และรับเอารูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกเข้ามาใช้ในการวาดภาพตกแต่งประดับอาคาร

พระอุโบสถของวัดมหาพฤฒาราม สร้างเป็นรูปโถงตลอด หลังคาลด 2 ชั้น ประดับช่อฟ้า ใบระกา หน้าจั่วเป็นสัญลักษณ์พระมงกุฎวางอยู่บนพานสองชั้นในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนช้างสามเศียร หมายถึง เจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่4) ผู้ครองสยามประเทศ ทรงเป็นผู้สร้างพระอุโบสถหลังนี้ บานประตูและหน้าต่างของพระอุโบสถ เป็นรูปวัวลาก หมายถึง ชื่อเดิมของวัดท่าเกวียน รูปช้างหมายถึง เจ้าอาวาสพระอธิการแก้ว อายุ 107 ปี รูปเทวดาทูลพานสองชั้น ซึ่งมีพระมงกุฎวางอยู่ข้างบน หมายถึง เจ้าฟ้ามงกุฎ (รัชกาลที่4)

พระปรางค์ 4 องค์สร้างขึ้นเพื่ออุทิศถวายแด่พระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระองค์ที่ปรินิพพานไปแล้ว โดยมีขนาดใหญ่เล็กเรียงกัน ตั้งอยู่ระหว่างอุโบสถกับวิหารเหนือ

พระพุทธไสยาสน์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ พระพุทธไสยาสน์ (พระนอน) ของวัดพระมหาพฤฒารามใหญ่โตเป็นรองก็แค่พระพุทธไสยาสน์ที่วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์) เท่านั้น เป็นพระพุทธไสยาสน์ที่มีมาแต่ครั้งยังเป็น วัดท่าเกวียน และ วัดตะเคียน แต่เดิมไม่ได้ใหญ่ยาวดังในปัจจุบัน แต่รัชกาลที่ 4 ทรงปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปให้ใหญ่ขึ้น เป็นขนาดความยาวจากพระบาทถึงพระเกตุมาลา 19.25 เมตร และ พระอุระกว้าง 3.25 เมตร พระนาภีกว้าง 2 เมตร

รายนามเจ้าอาวาส

แก้

พระมหาพฤฒาจารย์ (แก้ว) เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่เป็นวัดท่าเกวียน[1] ภายหลังสถาปนาเป็นพระอารามหลวง วัดมหาพฤฒาราม มีเจ้าอาวาสดังรายนามต่อไปนี้

ลำดับที่รายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระหมายเหตุ
1พระครูธรรมจริยาภิรมย์ (สอน)ครั้งที่ 1

พ.ศ.2397

ครั้งที่ 2 พ.ศ.2411

พ.ศ.2406

พ.ศ.2427

2พระศีลาจารย์พิพัฒน์ (สี)พ.ศ.2406พ.ศ.2411ภายหลังเป็นเจ้าอาวาสวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร
3พระสาศนานุรักษ์ (ปาน)พ.ศ.2428พ.ศ.2436ลาสิกขาบท
4พระเทพสุธี (อุ่ม ธมฺมธโร ป.4)พ.ศ.2436พ.ศ.2458ได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดวัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ภายหลังได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น พระธรรมเจดีย์
5พระธรรมธราจารย์ (อ่อน ปุญฺญุตฺตโม)พ.ศ.2458พ.ศ.2484
พระครูบริหารวรกิจ (เจ๊ก โสภีโต)พ.ศ.2484พ.ศ.2491รักษาการเจ้าอาวาส
6พระเทพวิสุทธิเวที (สุด ฐิตวีโร ป.ธ.9)พ.ศ.2491พ.ศ.2531
7พระเทพวิสุทธิเวที (วิจิตร อาสโภ ป.ธ.7)พ.ศ.2531พ.ศ.2552
พระโสภณปัญญารังษี (สมนึก ปญฺญาโชโต ป.ธ.7 )พ.ศ.2552พ.ศ.2552รักษาการเจ้าอาวาส
8พระราชวชิราภรณ์ (สุรเดช รกฺขิตญาโณ ป.ธ.5)พ.ศ.2553พ.ศ.2566ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์[2]
พระธรรมสุธี (นรินทร์ นรินฺโท ป.ธ.3)พ.ศ.2566ปัจจุบันรักษาการเจ้าอาวาส[3]

ของหลวงที่พระราชทานไว้สำหรับวัด

แก้
  • ธรรมาสน์ชั้นเอก คราวงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ รัชกาลที่ 5
  • พระบรมรูปหล่อรัชกาลที่ 5 ทรงเครื่องยศจอมพลทหารบก สูงประมาณ 48 เซนติเมตร (สูญหาย)
  • พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ สมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมตู้บรรจุ
  • ตู้สลักลายปิดทองล่องชาด สำหรับตั้งเทียนพรรษา คราวงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (ถูกไฟไหม้สมัยสงคราม พ.ศ. 2487)
  • กระถางธูปกระเบื้องเคลือบ ลายสิงโต 1 กระถาง (แตกเสียหาย)
  • ธรรมาสน์พระปาฏิโมกข์ คราวงานพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ในปี พ.ศ. 2471 (ชำรุด)

คลังภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. www.thaistudies.chula.ac.th http://www.thaistudies.chula.ac.th/2018/09/29/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%92%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1/. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  2. "มส.พักตำแหน่งเจ้าอาวาส "พระราชวชิราภรณ์" พร้อมยกเป็นกิตติมศักดิ์ หลังปล่อย "คนนอก" คุมวัดมหาพฤฒาราม". เดลินิวส์.
  3. "แต่งตั้ง "พระธรรมสุธี" เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดมหาพฤฒาราม". เดลินิวส์.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°43′58″N 100°30′58″E / 13.732809°N 100.516213°E / 13.732809; 100.516213

🔥 Top keywords: หน้าหลักมัณฑนา หิมะทองคำฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024พระสุนทรโวหาร (ภู่)พิเศษ:ค้นหาภักดีหาญส์ หิมะทองคำฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปอสมทดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวอันดับโลกเอฟไอวีบีพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวพุ่มพวง ดวงจันทร์ณัฐวุฒิ เจนมานะโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทราชวงศ์จักรีฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020ทองภูมิ สิริพิพัฒน์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเฌอมาวีร์ สุวรรณภาณุโชครายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีอริยสัจ 4ประเทศไทยปภัสรา เตชะไพบูลย์ฟุตบอลโลกตารางธาตุอาณาจักรอยุธยาอาณาจักรสุโขทัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระอภัยมณีวอลเลย์บอลรายชื่อนักแสดงหญิงไทยนิราศภูเขาทองพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)