ราชวงศ์ของอียิปต์โบราณ

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

ในประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ ราชวงศ์เป็นกลุ่มผู้ปกครองที่มีชาติกำเนิดร่วมกัน โดยปกติแล้วผู้ปกครองแห่งอียิปต์จะแบ่งออกเป็นจำนวนสามสิบสามราชวงศ์ แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นเช่นนั้นเสมอไป โดยปกติแล้ว ราชวงศ์ดังกล่าวจะถูกจัดกลุ่มโดยนักวิชาการสมัยใหม่เป็น "ช่วงสมัยราชอาณาจักร" และ "ช่วงสมัยระหว่างกลาง"

การแบ่งกลุ่มฟาโรห์ออกเป็นสามสิบราชวงศ์นั้นมาจากแมนิโธ ซึ่งเป็นนักบวชชาวอียิปต์ในช่วงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ซึ่งหนังสือ แอกิปเทียกา นั้นน่าจะเขียนขึ้นในช่วงที่มีผู้ปกครองอียิปต์ที่พูดภาษากรีกหรือราชวงศ์ทอเลมี แต่คงหลงเหลืออยู่เพียงเศษเสี้ยวและบทสรุปเท่านั้น ชื่อของสองราชวงศ์สุดท้ายคือ ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดที่ปกครองในช่วงเวลาสั้นๆ และราชวงศ์ทอเลมีที่ปกครองอียิปต์ในช่วงเวลาที่ยาวนานกว่านั้นเป็นชื่อเรียกในช่วงเวลาภายหลัง

ถึงแม้ว่าจะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายและมีประโยชน์ แต่ระบบการจัดกลุ่มนั้นก็ยังคงมีข้อบกพร่อง บางราชวงศ์ปกครองเพียงส่วนหนึ่งของอียิปต์และปกครองอยู่ในคาบเกี่ยวเวลาเดียวกันราชวงศ์อื่นในเมืองอื่น หรือราชวงศ์ที่เจ็ด ซึ่งอาจจะไม่มีอยู่เลย ส่วนราชวงศ์ที่สิบดูเหมือนจะเป็นการปกครองต่อของราชวงศ์ที่เก้า และอาจจะมีราชวงศ์ในบริเวณอียิปต์บนอีกหนึ่งหรือหลายราชวงศ์ก่อนหน้าช่วงการปกครองของราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์

รายชื่อราชวงศ์ในประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ แก้

Late Period of ancient EgyptThird Intermediate Period of EgyptNew Kingdom of EgyptSecond Intermediate Period of EgyptMiddle Kingdom of EgyptFirst Intermediate Period of EgyptOld Kingdom of EgyptEarly Dynastic Period (Egypt)
ราชวงศ์ศูนย์กลางการปกครองช่วงเวลาในการปกครองผู้ปกครอง
เริ่มต้น
(ปีก่อนคริสตกาล)
สิ้นสุด
(ปีก่อนคริสตกาล)
จำนวนผู้ปกครองพระองค์แรกผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายรายพระนาม/พระราชพงศาวลี
สมัยราชวงศ์ตอนต้น
ราชวงศ์ที่หนึ่งทินิส31502900250 ปีนาร์เมอร์กา'อา(รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
ราชวงศ์ที่สองทินิส28802686204 ปีโฮเทปเซเคมวีคาเซเคมวี(รายพระนาม)
สมัยราชอาณาจักรเก่า
ราชวงศ์ที่สามเมมฟิส2687261373 ปีดโจเซอร์ฮูนิ(รายพระนาม)
ราชวงศ์ที่สี่เมมฟิส26132494112 ปีสเนเฟอร์อูเชปเซสคาฟ หรือ ธัมฟ์ธิส[a](รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
ราชวงศ์ที่ห้าเมมฟิส24942345149 ปีอูเซอร์คาฟอูนัส(รายพระนาม)
ราชวงศ์ที่หกเมมฟิส23452181164 ปีเตติเมอร์เอนเร เนมติเอมซาฟที่ 2 หรือ เนทเจอร์คาเร ซิพทาห์[b] หรือ นิโตคริส[c](รายพระนาม)
สมัยระหว่างกลางที่หนึ่ง
ราชวงศ์ที่เจ็ด[d]เมมฟิส[1]: 396 ไม่ทราบไม่ทราบไม่ทราบไม่ทราบไม่ทราบ(รายพระนาม)
ราชวงศ์ที่แปดเมมฟิส[1]: 396 2181216021 ปีเนทเจอร์คาเร ซิพทาห์[b] หรือ เมนคาเรเนเฟอร์อิร์คาเรที่ 2(รายพระนาม)
ราชวงศ์ที่เก้าเฮราคลีโอโพลิส มักนา2160213030 ปีเมริอิบเร เคติ[e]ไม่ทราบ(รายพระนาม)
ราชวงศ์ที่สิบเฮราคลีโอโพลิส มักนา2130204090 ปีเมริฮัตฮอร์ไม่ทราบ(รายพระนาม)
สมัยราชอาณาจักรกลาง
ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด[f]ธีบส์21301991139 ปีอินเตฟเมนทูโฮเทปที่ 4(รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
ราชวงศ์ที่สิบสองอิทจ์ทาวี19911802189 ปีอเมนเอมฮัตที่ 1โซเบคเนเฟอร์อู(รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
ราชวงศ์ที่สิบสาม[g]อิทจ์ทาวี18031649154 ปีเซเคมเร คูทาวี โซเบคโฮเทปไม่ทราบ(รายพระนาม)
สมัยระหว่างกลางที่สอง
ราชวงศ์ที่สิบสี่อะวาริส1725165075 ปียากบิม เซคาเอนเร[h]ไม่ทราบ(รายพระนาม)
ราชวงศ์ที่สิบห้า
(ฮิกซอส)
อะวาริส16501550100 ปีซาลิทิสคามูดิ(รายพระนาม)
ราชวงศ์อไบดอส[i]อไบดอส1650160050 ปีไม่ทราบไม่ทราบ(รายพระนาม)
ราชวงศ์ที่สิบหกธีบส์ หรือ อะวาริส1649158267 ปีอะนัต-เฮอร์ไม่ทราบ(รายพระนาม)
ราชวงศ์ที่สิบเจ็ดธีบส์1580155030 ปีราโฮเทปคาโมส(รายพระนาม)
สมัยราชอาณาจักรใหม่
ราชวงศ์ที่สิบแปดธีบส์และอะมาร์นา15501292258 ปีอาโมสที่ 1ฮอร์เอมเฮบ(รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
ราชวงศ์ที่สิบเก้าธีบส์ และ เมมฟิส และ พี-ราเมสเซส12921189103 ปีราเมสเซสที่ 1ทวอสเรต(รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
ราชวงศ์ที่ยี่สิบพี-ราเมสเซส11891077112 ปีเซตนัคต์เอราเมสเซสที่ 11(รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
สมัยระหว่างกลางที่สาม
ราชวงศ์ที่ยี่สิบเอ็ดทานิส1069943126 ปีสเมนเดสซูเซนเนสที่ 2(รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
ราชวงศ์ที่ยี่สิบสอง
(เมชเวส)
ทานิส และ บูบัสติส943720223 ปีโชเชงค์ที่ 1โอซอร์คอนที่ 4(รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
ราชวงศ์ที่ยี่สิบสาม
(เมชเวส)
เฮราคลีโอโพลิส มักนา หรือเฮอร์โมโพลิส หรือ ธีบส์837728109 ปีฮาร์ซิเอเซ เอรุดอามุน(รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
ราชวงศ์ที่ยี่สิบสี่ซาอิส73272312 ปีเทฟนัคต์บาเคนราเนฟ(รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
ราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า
(นิวเบีย)
เมมฟิส และ แนปาตา74465688 ปีปิเยทันต์อมานิ(รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
สมัยปลาย
ราชวงศ์ที่ยี่สิบหกซาอิส664525139 ปีพซัมติกที่ 1พซัมติกที่ 3(รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ด[j]
(เปอร์เซีย)
บาบิโลน525404121 ปีแคมไบซีสที่ 2[k]ดาริอุสที่ 2[l](รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
ราชวงศ์ที่ยี่สิบแปดซาอิส4043986 ปีอไมร์เตอุสอไมร์เตอุส(รายพระนาม)
ราชวงศ์ที่ยี่สิบเก้าเมนเดส39838018 ปีเนเฟริเตสที่ 1เนเฟริเตสที่ 2(รายพระนาม)
ราชวงศ์ที่สามสิบเซเบนนิโตส38034337 ปีเนคทาเนโบที่ 1เนคทาเนโบที่ 2(รายพระนาม)
ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ด[m]
(เปอร์เซีย)
บาบิโลน34333211 ปีอาร์ตาเซิร์กซีสที่ 3[n]ดาริอุสที่ 3[o](รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
สมัยกรีก-โรมัน
ราชวงศ์อาร์กีด
(กรีก)
เพลลา[p]33230923 ปีอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาซิดอนอเล็กซานเดอร์ที่ 4 แห่งมาซิดอน(รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
ราชวศ์ทอเลมี
(กรีก)
อะเล็กซานเดรีย30530275 ปีทอเลมีที่ 1 โซเตอร์ซีซาเรียน(รายพระนาม)
(พระราชพงศาวลี)
อียิปต์ถูกรวมเข้ากับสาธารณรัฐโรมันเมื่อ 30 ปีก่อนคริสตกาล

(ดูเพิ่ม อียิปต์แห่งโรมัน, ฟาโรห์แห่งโรมัน และรายพระนามจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมัน)

ราชวงศ์ก่อนช่วงการปกครองของราชวงศ์ทอเลมีจำนวน 31 ราชวงศ์ตามระยะเวลาการปกครอง (ช่องละ 25 ปี),[q] แต่ละราชวงศ์จะปรากฏเป็นรูปกล่อง(หน่วย)สี สมัยช่วงต้นยุคราชวงศ์ต้นและสมัยสามราชอาณาจักรคือสีน้ำเงิน โดยสีที่เข้มกว่าหมายถึงเก่าแก่กว่า ช่วงสมัยระหว่างกลางคือสีแดง สีส้ม และสีเหลือง โปรดทราบว่าหลายราชวงศ์สามารถปกครองจากเมืองต่างๆ พร้อมกันได้ในช่วงสมัยระหว่างกลางและช่วงปลายของมัยราชอาณาจักรกลาง โดยช่วงเวลาการปกครองของราชวงศ์มักจะใกล้เคียงกันมาก ซึ่งด้านบนใช้ช่วงเวลาของเทมเพลตรายการราชวงศ์แห่งอียิปต์

เชิงอรรถ แก้

  1. การมีอยู่ของฟาโรห์ธัมฟ์ธิสนั้นไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันทางโบราณคดี
  2. 2.0 2.1 ฟาโรห์เนทเจอร์คาเร ซิพทาห์อาจจะทรงเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่หกหรือทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่แปด ซึ่งขึ้นอยู่กับของนักประวัติศาสตร์
  3. การมีอยู่ของนิโตคริสไม่ปรากฏหลักฐานยืนยันทางโบราณคดี
  4. บันทึกทางประวัติศาสตร์เพียงบันทึกชิ้นเดียวของราชวงศ์ที่เจ็ดถูกพบใน แอกิปเทียกา ของแมนิโธ ซึ่งเป็นนักประวัติศาสตร์ โดยบางคนถือว่าราชวงศ์ที่เจ็ดเป็นสิ่งสมมติขึ้นมา[1]: 393 [2]: xiii 
  5. นักประวัติศาสตร์บางคนถือว่าฟาโรห์เมอร์อิบเร เคติทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่เก้า[3][4][5][6] ในขณะที่บางคนเชื่อว่าฟาโรห์เมอร์อิบเร เคติทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงราชวงศ์ที่สิบ[7]
  6. ราชวงศ์ที่สิบเอ็ดก่อนหน้ารัชสมัยของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 โดยทั่วไปจะถูกจัดเป็นส่วนหนึ่งของช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองแห่งอียิปต์
  7. นักประวัติศาสตร์บางคนได้จัดว่าราชวงศ์ที่สิบสามเป็นส่วนหนึ่งของช่วงสมัยระหว่างกลางที่สองแห่งอียิปต์
  8. นักประวัติศาสตร์บางคนถือว่าฟาโรห์ยากบิม เซเคเอนเร ทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ที่สิบสี่[8] ในขณะที่บางคนเชื่อว่าฟาโรห์ยากบิม เซเคเอนเร ทรงขึ้นครองราชย์ในช่วงราชวงศ์ที่สิบหก[9]
  9. การมีอยู่ของราชวงศ์อไบดอสยังเป็นที่ถกเถียงกัน
  10. ราชวงศ์ที่ยี่สิบเจ็ดเป็นศัพท์เฉพาะทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงช่วงการปกครองครั้งแรกของผู้ปกครองจากจักรวรรดิอะคีเมนิดที่ทรงปกครองอียิปต์
  11. จักรพรรดิแคมไบซีสที่ 2 ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สองของจักรวรรดิอะคีเมนิด และทรงเป็นผู้ปกครองแห่งอะคีเมนิดพระแรกที่ทรงแผ่พระราชอำนาจควบคุมอียิปต์
  12. จักรพรรดิดาริอุสที่ 2 ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่เก้าของ จักรวรรดิอะคีเมนิด และทรงเป็นผู้ปกครองแห่งอะคีเมนิดพระองค์ที่แปดที่ทรงปกครองอียิปต์
  13. ราชวงศ์ที่สามสิบเอ็ดเป็นศัพท์เฉพาะทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงช่วงการปกครองครั้งที่สองของผู้ปกครองจากจักรวรรดิอะคีเมนิดที่ทรงปกครองอียิปต์
  14. จักรพรรดิอาร์ตาเซิร์กซีสที่ 3 ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สิบเอ็ดของจักรวรรดิอะคีเมนิด และทรงเป็นผู้ปกครองแห่งอะคีเมนิดพระองค์แรกที่ทรงสามารถฟื้นฟูพระราชอำนาจเหนืออียิปต์หลังจากสูญเสียไปถึง 61 ปี
  15. จักรพรรดิดาริอุสที่ 3 ทรงเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สิบสามของจักรวรรดิอะคีเมนิด และทรงเป็นผู้ปกครองแห่งอะคีเมนิดพระองค์สุดท้ายที่ทรงปกครองอียิปต์
  16. เมืองหลวงของราชอาณาจักรมาซิโดเนียในระหว่างที่ปกครองอียิปต์ คือ นครเพลลา โดดยศูนย์กลางการปกครองของอียิปต์ในช่วงเวลาดังกล่าว คือ เมืองอะเล็กซานเดอร์
  17. เริ่มจากด้านขวาสุดของแผนภูมินี้ มีเพียงราชวงศ์เดียวเท่านั้นที่ปกครองยืนยาวกว่า 250 ปี (ราชวงศ์ที่สิบแปด) และสองราชวงศ์ที่ปกครองระหว่าง 200 ถึง 225 ปี (จำนวนสองกล่องหน่วย) และอีกหนึ่งราชวงศ์ปกครองระหว่าง 175 ถึง 200 ปี (จำนวนหนึ่งกล่องหน่วย) เป็นต้น

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Hratch Papazian (2015). "The State of Egypt in the 100th Dynasty". ใน Peter Der Manuelian; Thomas Schneider (บ.ก.). Towards a New History for the Egyptian Old Kingdom: Perspectives on the Pyramid Age. Harvard Egyptological Studies. BRILL.
  2. Wilkinson, Toby (2010). "Timeline". The Rise and Fall of Ancient Egypt. New York: Random House. p. xiii. ISBN 9781408810026. The system of dynasties devised in the third century B.C. is not without its problems—for example, the Sixth Dynasty is now recognized as being wholly spurious, while several dynasties are known to have ruled concurrently in different parts of Egypt...
  3. Flinders Petrie, A History of Egypt from the Earliest Times to the XVIth Dynasty (1897), pp. 114–15.
  4. Alan Gardiner, Egypt of the Pharaohs. An introduction, Oxford University Press, 1961, p. 112.
  5. William C. Hayes, in The Cambridge Ancient History, vol 1, part 2, 1971 (2008), Cambridge University Press, ISBN 0-521-07791-5, p. 464.
  6. Nicolas Grimal, A History of Ancient Egypt, Oxford, Blackwell Books, 1992, p. 140.
  7. Jürgen von Beckerath, Handbuch der Ägyptischen Königsnamen, 2nd edition, Mainz, 1999, p. 74.
  8. Ryholt (1997), p. 409
  9. Sekhaenre Yakbim on Egyphica.net

ผลงานอ้างอิง แก้

🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพิเศษ:ค้นหาดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)อสมทพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรพระสุนทรโวหาร (ภู่)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโครงการเติมเงินผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาทวอลเลย์บอลสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกมลา สุโกศลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัววัฒนา อัศวเหมวอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024เทศกาลไหว้บ๊ะจ่างราชวงศ์จักรีประเทศไทยณพสิน แสงสุวรรณอิม นา-ย็องพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วอลเลย์บอลชายเอวีซีแชลเลนจ์คัพ 2024อริยสัจ 4ประเทศโปรตุเกสประเทศจีนฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปรายชื่อจังหวัดของประเทศไทยเรียงตามพื้นที่วรกมล ชาเตอร์นิธิ สมุทรโคจร4 KINGS 2ชาตรี ศิษย์ยอดธงรวงทอง ทองลั่นธมศิริลักษณ์ คองอิษยา ฮอสุวรรณพีรญา มะลิซ้อนทักษอร ภักดิ์สุขเจริญศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนาฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024