มกรสังกรานติ

มกรสังกรานติ หรือ อุตตรายัน หรือ มาฆี หรือเรียกสั้น ๆ ว่า สังกรานติ เป็นเทศกาลในปฏิทินฮินดูที่บูชาพระสุรยะ มีการเฉลิมฉลองทุกปีในเดือนตามจันทรคติ เดือนมาฆะซึ่งเทียบเท่าเดือนมกราคมในปฏิทินกริกอเรียน มกรสังกรานติเป็นวันเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวในอินเดียและเนปาล[1][2][3] และเป็นวันที่ที่ฉลองการโยกย้ายของดวงอาทิตย์เข้าสู่มกรราศี (ราศีมังกร), และเป็นวันสิ้นสุดของทักษิณายัน อันเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาที่เวลากลางวันยาวนานกว่ากลางคืน[1][4]

มกรกรานติ
กิจกรรมต่าง ๆ เนื่องในมกรสังกรานติ เช่น การทำบูชา ก่อกองไฟ ชักว่าว
ชื่ออื่นอุตตรายัน
สังกรานติ
มาฆะ
โมโกระโสงกรานติ
เมลา
มาฆี
ฆุฆูติ
โภคี
ประเภทศาสนา & วัฒนธรรม, เทศกาลการเก็บเกี่ยว, สุรยะบูชา
การเฉลิมฉลองชักว่าว, ก่องกองไฟ, เทศกาล, บูชาพระอาทิตย์ในแม่น้ำ, อาหาร, ศิลปะ, ร่ายรำ, พบปะ, โคบูชา
เริ่มJanuary 13 or 14
วันที่14 หรือ 15 มกราคม (ตามปฏิทินฮินดู)
ความถี่Annual
ส่วนเกี่ยวข้องโปงคัล, มาเฆสังกรานติ, มาฆพิหู, มาฆี, เทศกาลตูสู

มกรสังกรานติ เป็นหนึ่งในเทศกาลโบราณ[5] ของอินเดียและเนปาลไม่กี่เทศกาลที่มีการฉลองตามวัฏจักรของดวงอาทิตย์ ในขณะที่เทศกาลส่วนใหญ่จะอิงตามวัฏจักรดวงจันทร์ตามในปฏิทินแบบสุริยจันทรคติของฮินดู[4] เนื่องด้วยเป็นเทศกาลตามสุริยคติจึงทำให้ตรงกับช่วงวันเดียวกันตามปฏิทินเกรเกอเรียนทุกปี ซึ่งคือวันที่ 14 หรือ 15 มกราคม[2] ยกเว้นในบางปีเท่านั้น[6]

มกรสังกรานติยังมีเทศกาลเทียบเท่าอื่น ๆ ทั่วทั้งในแถบอนุทวีปอินเดีย เช่น มาฆะสังกรานติในเนปาล, มาฆพิฆุในรัฐอัสสัม, มาฆี (ซึ่งต่อเนื่องจากโลหรี) ในปัญจาบ หรยาณา และหิมาจัลประเทศ, Sukarat ในอินเดียตอนกลาง, ไตโปงคัล ในทมิฬนาฑู, อุตตรายัน ในคุชราต อุตตราขัณฑ์ และอุตตรประเทศ, Ghughuti ในอุตตรขัณฑ์, มกรสังกรานติ ในโอริสา กรณาฏกะ มหาราษฏระ กัว และแถบเบงกอล (ที่ซึ่งเรียกว่าปูศสังกรานติ) และสังกรานติ ในอานธรประเทศกับเตลังคานา[7][8]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Tumuluru2015p30
  2. 2.0 2.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Melton2011p547
  3. Henderson, Helene (2005). Holidays, festivals, and celebrations of the world dictionary Third edition. Electronic edition: Detroit: Omnigraphics. p. xxix. ISBN 0-7808-0982-3.
  4. 4.0 4.1 James G. Lochtefeld (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: A–M. Rosen Publishing Group. p. 411. ISBN 978-0-8239-2287-1.
  5. "Makar Sankranti 2019: क्यों मनाई जाती है मकर संक्रांति, महत्व, पूजा विधि और मंत्र". PujaBooking. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.
  6. Jain Chanchreek; K.L. Chanchreek; M.K. Jain (2007). Encyclopaedia of Great Festivals. Shree Publishers. pp. 36–38. ISBN 978-81-8329-191-0.
  7. "After a 100 years, Makar Sankranti gets a new date", The Hindustan Times (Jan 14, 2017)
  8. Nikita Desai (2010). A Different Freedom: Kite Flying in Western India; Culture and Tradition. Cambridge Scholars Publishing. pp. 30–33. ISBN 978-1-4438-2310-4.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

แม่แบบ:Winter solstice

🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)วอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024โฉมฉาย ฉัตรวิไลพิเศษ:ค้นหาอสมทพระสุนทรโวหาร (ภู่)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอันดับโลกเอฟไอวีบีจิรวรรณ เตชะหรูวิจิตรฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024รัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวประเทศจอร์เจียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่นกองทัพ พีควอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2023วอลเลย์บอลกาบรีแยลา กีมาไรส์รายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติบราซิลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกัลย์กมล จิรชัยศักดิ์เดชาราชวงศ์จักรีประเทศเช็กเกียประวัติศาสตร์ไทยสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สุภาพบุรุษจุฑาเทพช่อง 9 เอ็มคอต เอชดีคริสเตียโน โรนัลโดพระอภัยมณีวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย