พระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษ

พระมหากษัตริย์อังกฤษ สกอตแลนด์และไอร์แลนด์ตั้งแต่ ค.ศ. 1689 ถึง 1702

สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3[1] (ดัตช์: Willem Hendrik; อังกฤษ: William Henry หรือ William III of England; 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1650 — 8 มีนาคม ค.ศ. 1702) หรือรู้จักกันดีในพระนาม วิลเลียมแห่งออเรนจ์ ทรงเป็นประมุขแห่งราชรัฐออเรนจ์ตั้งแต่พระราชสมภพ สตัดเฮาเดอร์แห่งฮอลแลนด์ ซีแลนด์ ยูเทรกต์ เกลเดอร์ส และโอเฟอไรส์เซิลในสาธารณรัฐดัตช์ตั้งแต่ ค.ศ. 1672 และพระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ สกอตแลนด์และไอร์แลนด์ตั้งแต่ ค.ศ. 1689 กระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 1702ในสกอตแลนด์ พระองค์ทรงมีพระนามว่า วิลเลียมที่ 2 (อังกฤษ: William II of Scotland)[2] และยังมีการเรียกขานพระองค์อย่างไม่เป็นทางการว่า "พระเจ้าบิลลี" (King Billy) ในสกอตแลนด์และไอร์แลนด์[3] นักประวัติศาสตร์มักกล่าวถึงพระองค์ร่วมกับพระอัครมเหสี พระราชินีนาถแมรีที่ 2 ว่า วิลเลียมและแมรี ในฐานะที่ทั้งสองทรงครองราชสมบัติร่วมกันในฐานะพระมหากษัตริย์

สมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 เเละ 2
Colour oil painting of William
พระบรมสาทิสลักษณ์โดย ก็อดฟรีย์ เคลเลอร์ 1690
พระมหากษัตริย์แห่งอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์
ครองราชย์1689[a] – 8 มีนาคม ค.ศ. 1702
ราชาภิเษก11 เมษายน ค.ศ. 1689
ก่อนหน้าเจมส์ที่ 2 และ 7
ถัดไปแอนน์
ผู้ร่วมในราชสมบัติแมรีที่ 2 (1689–1694)
สตัดเฮาเดอร์แห่งฮอลแลนด์ ซีแลนด์ ยูเทรกต์ เกลเดอร์ส และโอเฟอไรส์เซิล
ครองราชย์4 กรกฎาคม ค.ศ. 1672 – 8 มีนาคม ค.ศ. 1702
ก่อนหน้าวิลเลิมที่ 2 เจ้าชายแห่งออเรนจ์
ถัดไปยุคไร้สตัดเฮาเดอร์ครั้งที่สอง
เจ้าชายแห่งออเรนจ์
ครองราชย์4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1650 – 8 มีนาคม ค.ศ. 1702
ก่อนหน้าวิลเลิมที่ 2 เจ้าชายแห่งออเรนจ์
ถัดไปโยฮัน วิลเลิม ฟริโซ (ประมุขในนาม)
พระราชสมภพ4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1650
บินเนนฮอฟ เดอะเฮก สาธารณรัฐดัตช์
สวรรคต8 มีนาคม ค.ศ. 1702 (51 ปี)
พระราชวังเค็นซิงตัน มิดเดิลเซ็กส์ ราชอาณาจักรอังกฤษ
ฝังพระบรมศพ12 เมษายน 1702
เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ ลอนดอน
มเหสีแมรีที่ 2
ราชวงศ์
พระราชบิดาวิลเลิมที่ 2 เจ้าชายแห่งออเรนจ์
พระราชมารดาเจ้าหญิงแมรี พระราชกุมารีและเจ้าหญิงแห่งออเรนจ์
ศาสนาโปรเตสแตนต์
ลายพระอภิไธย

พระเจ้าวิลเลียมทรงเป็นขุนนางดัตช์ชั้นสูง เป็นศาสนิกชนนิกายโปรเตสแตนต์ เป็นพระราชโอรสของวิลเลิมที่ 2 เจ้าชายแห่งออเรนจ์กับเจ้าหญิงแมรี สจวต ซึ่งเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ เสด็จพระราชสมภพที่กรุงเฮก ภายหลัง 8 วันจากที่พระองค์พระราชสมภพ พระบิดาของพระองค์ก็สิ้นพระชนม์ด้วยไข้ทรพิษ ดังนั้น จึงทำให้พระเจ้าวิลเลียมทรงกลายเป็นเจ้าชายผู้ทรงอำนาจสูงสุดนับตั้งแต่ถือกำเนิดเลยทีเดียวก็ว่าได้

เมื่อวันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 1650 ขณะพระเจ้าวิลเลียมมีพระชนมายุได้ราวสิบกว่าพรรษา พระราชมารดาก็สิ้นพระชนม์ด้วยไข้ทรพิษในระหว่างที่ทรงเยี่ยมพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษพระเชษฐาของพระองค์ โดยก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ลงได้ทรงตัดสินใจให้พระเจ้าชาลส์เป็นผู้ปกครอง โดยพระเจ้าชาลส์นั้นได้ทรงมอบหน้าที่ให้เป็นของเจ้าหญิงอมาเลีย เนื่องจากทรงเข้าใจในพระราชประสงค์ของพระเจ้าชาลส์เป็นอย่างดี และพระองค์ก็มิได้ทรงละเลยในการเขียนจดหมายติดต่อถึงหลานชายแต่อย่างใด

ใน ค.ศ. 1674 พระองค์ได้มีความพยายามในการที่จะสมรสกับแมรีหลานสาวของพระองค์เอง ซึ่งแมรี่เป็นธิดาของพระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ การสมรสนี้แม้นว่าเป็นไปอย่างยาก ลำบากมากก็ตาม แต่ในที่สุดก็ทรงได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสใน ค.ศ. 1677

พระองค์ได้ทรงเข้าไปมีส่วนร่วมในสงครามที่ต่อต้านอำนาจพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสหลายต่อหลายครั้งด้วยกัน เหล่าสมาชิกนิกายโปรแตสแตนต์ถึงกับได้มอบเหรียญตราและเครื่องราชอิสริยาภรณ์เนื่องจากเลื่อมใสศรัทธาในพระองค์ แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ชื่อเสียงและกิตติศัพท์ของพระองค์ทำให้พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็นพระมหากษัตริย์อังกฤษในเวลาต่อมา ถึงแม้ว่าจะมีเหตุผลอื่น ในการประสบความสำเร็จของพระองค์จะเป็นในด้านการทหาร หรือกองเรือรบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดก็ตาม

พระองค์สวรรคตใน ค.ศ. 1702 ด้วยโรคปอดอักเสบ อันเนื่องจากการที่พระองค์ทรงตกจากม้าของพระองค์เอง และเป็นที่เชื่อกันว่าม้าของพระองค์ นั้นได้ก้าวเท้าพลาดไปสะดุดกับรังของตัวตุ่นเข้า และนี่คงเป็นเหตุผลหนึ่งของที่มา ในการดื่มอวยพร Make a toasted ซึ่งมักจะมีการนิยมกล่าวกันในระหว่างที่ดื่มอวยพรว่า "the little gentleman in the black velvet waistcoat." และในปีถัดมา เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล ก็ได้เพิ่มเติมลงไปอีกว่า "opened the trapdoor to a host of lurking foes".

หมายเหตุ

แก้
  1. รัฐสภาอังกฤษอัญเชิญพระเจ้าวิลเลียมขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1689 และรัฐสภาสกอตแลนด์อัญเชิญฯ เมื่อ 11 เมษายน 1689

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, สารานุกรมประเทศในทวีปยุโรป ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2550, หน้า 251
  2. "Act of Union 1707, the Revolution in Scotland". UK Parliament. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 June 2008. สืบค้นเมื่อ 8 August 2008.
  3. Peter Burke (1997). Varieties of Cultural History. Cornell University Press. p. 51. ISBN 0-8014-8492-8.
ก่อนหน้าพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 แห่งอังกฤษถัดไป
พระเจ้าเจมส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ
พระมหากษัตริย์อังกฤษ
พระมหากษัตริย์ไอร์แลนด์
(ราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา)

(ค.ศ. 1689 – 1702
ร่วมกับพระราชินีนาถแมรีที่ 2 (ค.ศ. 1689 – 1694) )
พระราชินีนาถแอนน์
พระเจ้าเจมส์ที่ 7 แห่งสกอตแลนด์
พระมหากษัตริย์สกอตแลนด์
(ราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา)

(ค.ศ. 1689 – 1702
ร่วมกับพระราชินีนาถแมรีที่ 2 (ค.ศ. 1689 – 1694) )
ว่าง
วิลเลิมที่ 2 เจ้าชายแห่งออเรนจ์
เจ้าชายแห่งออเรนจ์
(ราชวงศ์ออเรนจ์-นัสเซา)

(ค.ศ. 1650 – 1702)
โยฮัน วิลเลิม ฟริโซ เจ้าชายแห่งออเรนจ์
🔥 Top keywords: โฉมฉาย ฉัตรวิไลหน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยพระสุนทรโวหาร (ภู่)พิเศษ:ค้นหาวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024อสมทพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)จิรวรรณ เตชะหรูวิจิตรฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024กัลย์กมล จิรชัยศักดิ์เดชาฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปรายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีอันดับโลกเอฟไอวีบีราชวงศ์จักรีมัณฑนา หิมะทองคำพระอภัยมณีทรีจี (วงดนตรี)ดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลดราก้อน ไฟว์แกเร็ท เซาท์เกตพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรโกปาอาเมริกาประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอริยสัจ 4อาณาจักรอยุธยาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโกปาอาเมริกา 2024วอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024ประวัติศาสตร์ไทยนิราศภูเขาทองตารางธาตุวอลเลย์บอลหญิงชิงแชมป์เอเชีย รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปีวอลเลย์บอลวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2023ทวีปยุโรป