บิลลี ไอลิช

บิลลี ไอลิช ไพเรต เบร์ด โอคอนเนลล์ (อังกฤษ: Billie Eilish Pirate Baird O'Connell; เกิด 18 ธันวาคม พ.ศ. 2544) เป็นนักร้อง-นักแต่งเพลง ชาวอเมริกัน เป็นที่รู้จักในปี พ.ศ. 2559 หลังออกซิงเกิลเปิดตัวซิงเกิลแรก "Ocean Eyes" ที่เผยแพร่ทางซาวด์คลาวด์ ต่อมาซิงเกิลออกวางขายอีกครั้งภายใต้สังกัดดาร์กรูมและอินเทอร์สโคปเรเคิดส์

บิลลี ไอลิช
ไอลิชระหว่างทัวร์คอนเสิร์ต แฮปปีเออร์แดนเอเวอร์เดอะเวิลด์ทัวร์ พ.ศ. 2565
เกิดบิลลี ไอลิช ไพเรต เบร์ด โอคอนเนลล์
18 ธันวาคม พ.ศ. 2544 (22 ปี)
ลอสแองเจลิส, แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักแต่งเพลง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2557–ปัจจุบัน
ญาติฟินเนียส โอคอนเนลล์ (พี่ชาย)
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ค่ายเพลง
เว็บไซต์billieeilish.com

อีพีแรกของเธอ ดอน สไมล์ แอต มี (พ.ศ. 2560) ติดในท็อป 15 ในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา และออสเตรเลีย และตามมาด้วยซิงเกิล "Bellyache" ไอลิชยังได้ร่วมงานกับนักร้องชาวอเมริกัน คาลิด ในซิงเกิล "Lovely" ออกจำหน่ายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2560 และอยู่ในอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ในฤดูกาลที่ 2 ของซีรีส์ 13 Reasons Why

สตูดิโออัลบั้มแรก เป็นสตูดิโออัลบั้มเปิดตัวที่ชื่อ เวนวีออลฟอลอสลีป, แวร์ดูวีโก? (พ.ศ. 2562) ขึ้นอันดับ 1 บนบิลบอร์ด 200 รวมถึงสหราชอาณาจักร แคนาดาและออสเตรเลีย อัลบั้มมี 4 ซิงเกิลที่ติดใน 40 อันดับของอเมริกา คือ "เวนเดอะปาร์ตี้ส์โอเวอร์", "เบอรี่เอเฟรนด์", "วิชยูเวอร์เกย์", และ "แบดกาย"

ใน พ.ศ. 2563 ไอลิชได้ร่วมเขียน และร้องเพลง "โนไทม์ทูดาย" สำหรับเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ในชื่อเดียวกัน และได้ออกซิงเกิล"เอเวอรี่ติงไอวอนเทด", "มายฟิวเจอร์", "แดร์ฟอร์ไอแอม", และ "ยัวร์พาวเวอร์"

ต่อมาในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ไอลิชได้ปล่อยสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สองมาในชื่อ แฮปปีเออร์แดนเอฟเวอร์ ซึ่งประกอบด้วยเพลง 16 เพลง ซึ่งมี 3 เพลงที่ไอลิชได้ออกเป็นซิงเกิลก่อนหน้านี้แล้ว ได้แก่ มายฟิวเจอร์, แดร์ฟอร์ไอแอม และยัวร์พาวเวอร์

จากข้อมูลของ RIAA ไอลิชได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำ 7 แผ่น และแผ่นเสียงทองคำ 2 แผ่น จากการจำหน่ายซิงเกิล[3]

ชีวิตช่วงแรก แก้

บิลลี ไอลิช ไพเรต เบร์ด โอคอนเนลล์ เกิดวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ณ ลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา,[4] เธอเป็นลูกสาวของ แม็กกี้ เบร์ด และ แพทริค โอคอนเนลล์ โดยทั้งคู่ก็มีชื่ออยู่ในวงการบันเทิงเช่นเดียวกัน.[5][6][7] เธอมีบรรพบุรุษเป็นชาวไอริช และชาวสกอตแลนด์[8] ("ไอลิช" มาจากภาษาไอริช ที่หมายความว่า "เอลิซาเบธ")[9] และเติบโตที่ Highland Park ใน ลอสแอนเจลิส[4][10][11] เธอได้รับการศึกษาที่บ้านจนอายุ 8 ปีเธอจึงได้เข้าร่วม Los Angeles Children's Chorus[12] ทำให้เธอได้เริ่มร้องเพลงตั้งแต่ยังเด็ก และเริ่มเขียนเพลงตั้งแต่อายุ 11 ปี โดยมีพี่ชายของเธอ Finneas O'Connell ที่ได้เริ่มเขียนเพลง พร้อมกับโปรดิวเพลงของตัวเองให้กับวงของเขาไปก่อนหน้าแล้ว[12]

ผลงานเพลง แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Billie Eilish Is Pop's Most Impressive 15-Year-Old". Billboard. March 23, 2017. สืบค้นเมื่อ February 5, 2019.
  2. 2.0 2.1 Yeung, Neil Z. "Billie Eilish". AllMusic. สืบค้นเมื่อ March 30, 2018.
  3. "Gold & Platinum - Billie Eilish". RIAA.com. Recording Industry Association of America. สืบค้นเมื่อ April 1, 2019.
  4. 4.0 4.1 "Billie Eilish on Apple Music". itunes.apple.com. สืบค้นเมื่อ October 21, 2017.
  5. "A Day In The Life Of Billie Eilish". Lnwy.co. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-29. สืบค้นเมื่อ 2019-06-26.
  6. "The Groundlings". The Groundlings Website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 16, 2018. สืบค้นเมื่อ January 15, 2018.
  7. "Scrumptious Mom Maggie Baird - October 2013". Scrumptiousmoms.com. October 1, 2013. สืบค้นเมื่อ May 16, 2018.
  8. Power, Ed. "An Interview with Billie Eilish: Pop's Ferocious New Enigma | Hotpress". Hotpress. สืบค้นเมื่อ November 8, 2018.
  9. Campbell, Mike. "Meaning, origin and history of the name Eilish". Behind the Name. สืบค้นเมื่อ June 2, 2019.
  10. "Get to Know: Billie Eilish | MTV UK". สืบค้นเมื่อ April 1, 2018.
  11. Savage, Mark (July 15, 2017). "Billie Eilish: Is she pop's best new hope?". BBC News. สืบค้นเมื่อ July 25, 2017.
  12. 12.0 12.1 "Meet Billie Eilish, Pop's Next It Girl". Vogue. สืบค้นเมื่อ February 3, 2018.
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยหม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์พิเศษ:ค้นหาอสมทพระสุนทรโวหาร (ภู่)สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ฟุตบอลโลก 2026 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย – รอบที่ 2พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปฟุตบอลทีมชาติไทยราชวงศ์จักรีวอลเลย์บอลI Hate You, I Love Youวรกมล ชาเตอร์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประเทศไทยตารางธาตุอาณาจักรอยุธยาอริยสัจ 4รอยรักรอยบาปนิราศภูเขาทองอาณาจักรสุโขทัยวอลเลย์บอลชายเอวีซีแชลเลนจ์คัพ 2024ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)วอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024ในวันที่ฝนพร่างพราย4 KINGS 2พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทวีปยุโรปศาสนาพุทธในประเทศไทยวชิรวิชญ์ ชีวอารีรายชื่ออักษรย่อของจังหวัดในประเทศไทยรายชื่อเครื่องดนตรี