ดยุกแห่งบราบันต์

ดยุกแห่งบราบันต์ หรือ ดยุกแห่งบราบ็อง (อังกฤษ: Duke of Brabant) เป็นพระอิสริยยศที่จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทรงสถาปนาให้แก่อ็องรีที่ 1 พระราชโอรสของก็อดฟรีที่ 3 เคานต์แห่งลูแวง (ซึ่งเป็นดยุกแห่งโลธารินเจีย อีกบรรดาศักดิ์หนึ่งด้วย) ซึ่งดัชชีบราบันต์ถูกสถาปนาขึ้นราวปี ค.ศ. 1183 โดยยกสถานะจากแลนด์กราฟบราบันต์ (Landgrave of Brabant) ซึ่งมีอยู่เดิมตั้งแต่ปี ค.ศ. 1085

ดยุกแห่งบราบันต์
รัชทายาทแห่งเบลเยียม
ตราอาร์มประจำพระองค์
สถาปนา16 ธันวาคม ค.ศ. 1840
องค์แรกเจ้าชายเลโอโปลด์ ดยุคแห่งบราบันต์ (สายเบลเยียม)
องค์ปัจจุบันเจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ดัชเชสแห่งบราบันต์ (สายเบลเยียม)​

ในปี ค.ศ. 1288 ผู้ถือบรรดาศักดิ์ "ดยุกแห่งบราบันต์" ยังถือเป็น "ดยุกแห่งลิมบูร์ก" อีกด้วย และต่อมาได้ขึ้นเป็นบรรดาศักดิ์ของ "ดยุกแห่งเบอร์กันดี" ในปี ค.ศ. 1430 ซึ่งยังคงใช้อยู่และสืบตระกูลกันต่อมาจนกระทั่งสมัยการปฏิวัติฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าดินแดนแถบภาคเหนือของบราบันต์นั้นจะเป็นดินแดนที่ปกครองโดยสาธารณรัฐดัตช์ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 ก็ตาม

รายพระนามและชื่อ

แก้
รูปชื่อเกิดเริ่มต้นสิ้นสุดถึงแก่อสัญกรรมตรา
อ็องรีที่ 1ค.ศ. 116521 สิงหาคม ค.ศ. 11905 กันยายน ค.ศ. 1235
อ็องรีที่ 2ค.ศ. 12075 กันยายน ค.ศ. 12351 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1248
อ็องรีที่ 3ค.ศ. 12301 กุมภาพันธ์​ ค.ศ. 124828 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1261
อ็องรีที่ 4ค.ศ. 125128 กุมภาพันธ์​ ค.ศ. 1261ค.ศ. 126729 เมษายน ค.ศ. 1272
ยอนที่ 1ค.ศ. 1252ค.ศ. 12673 พฤษภาคม ค.ศ. 1294
ยอนที่ 227 กันยายน ค.ศ. 12753 พฤษภาคม​ ค.ศ. 129427 ตุลาคม ค.ศ. 1312
ยอนที่ 3ค.ศ. 130027 ตุลาคม​ ค.ศ. 13125 ธันวาคม ค.ศ. 1355
โยฮันนา24 มิถุนายน ค.ศ. 13225 ธันวาคม ค.ศ. 13551 พฤศจิกายน ค.ศ. 1406
พระรูป/รูปพระนาม/ชื่อประสูติ/เกิดเริ่มต้นสิ้นสุดสิ้นพระชนม์/ถึงแก่อสัญกรรมตรา
อ็องตอนีสิงหาคม ค.ศ. 13841 พฤศจิกายน ค.ศ. 140625 ตุลาคม ค.ศ. 1415
ฌ็องที่ 411 มิถุนายน ค.ศ. 140325 ตุลาคม ค.ศ. 141517 เมษายน ค.ศ. 1427
ฟิลิปที่ 125 กรกฎาคม ค.ศ. 140417 เมษายน​ ค.ศ. 14274 สิงหาคม ค.ศ. 1430
ฟิลิปที่ 331 กรกฎาคม ค.ศ. 13964 สิงหาคม ค.ศ. 143015 มิถุนายน ค.ศ. 1467
ชาร์ลที่ 110 พฤศจิกายน ค.ศ. 143315 มิถุนายน​ ค.ศ. 14675 มกราคม ค.ศ. 1477
เจ้าหญิงแมรี13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 14575 มกราคม​ ค.ศ. 147727 มีนาคม ค.ศ. 1482
เจ้าชายฟร็องซัว​​
(พิพาท)​
18 มีนาคม ค.ศ. 1555ค.ศ. 158227 มิถุนายน ค.ศ. 1584
พระฉายาลักษณ์​/พระรูปพระนามพระราชสมภพ/ประสูติเริ่มต้นสิ้นสุดสวรรคต/สิ้นพระชนม์ตรา
อาร์ชดยุคมัคซีมีลีอาน
(รักษาการ)​
22 มีนาคม ค.ศ. 145927 มีนาคม ค.ศ. 1482ค.ศ. 149412 มกราคม ค.ศ. 1519
สมเด็จพระเจ้าเฟลิเปที่ 122 กรกฎาคม ค.ศ. 1482ค.ศ. 149425 กันยายน ค.ศ. 1506
สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 524 กุมภาพันธ์​ ค.ศ. 150025 กันยายน​ ค.ศ. 1506ค.ศ. 155521 กันยายน ค.ศ. 1558
สมเด็จพระเจ้าเฟลิเปที่ 221 พฤษภาคม ค.ศ. 1527ค.ศ.​ 15556 พฤษภาคม ค.ศ. 1598
เจ้าหญิงอิซาเบล กลารา เอวเฆเนีย12 สิงหาคม ค.ศ. 15666 พฤษภาคม​ ค.ศ. 159813 กรกฎาคม ค.ศ. 16211 ธันวาคม ค.ศ. 1633
อาร์ชดยุคอัลเบร็คท์​​
(ร่วม)​
13 พฤศจิกายน ค.ศ. 15596 เมษายน ค.ศ. 159813 กรกฎาคม ค.ศ. 1621
สมเด็จพระเจ้าเฟลิเปที่ 48 เมษายน ค.ศ. 160513 กรกฎาคม ค.ศ. 162117 กันยายน ค.ศ. 1665
สมเด็จพระเจ้าการ์โลสที่ 26 พฤศจิกายน​ ค.ศ. 166117 กันยายน ค.ศ. 16651 พฤศจิกายน ค.ศ. 1700
สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 61 ตุลาคม ค.ศ. 1865ค.ศ.​ 171420 ตุลาคม ค.ศ. 1740
จักรพรรดินีมาเรีย เทเรซา13 พฤษภาคม ค.ศ. 171720 ตุลาคม​ ค.ศ. 174029 พฤศจิกายน ค.ศ. 1780
สมเด็จพระจักรพรรดิโยเซ็ฟที่ 2​​13 มีนาคม ค.ศ. 174129 พฤศจิกายน ค.ศ. 178020 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1790
สมเด็จพระจักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 174720 กุมภาพันธ์​ ค.ศ. 17901 มีนาคม ค.ศ. 1792
สมเด็จพระจักรพรรดิฟรันทซ์ที่ 212 กุมภาพันธ์​ ค.ศ. 176817 กันยายน ค.ศ. 1665ค.ศ. 17932 มีนาคม ค.ศ. 1835
พระฉายาลักษณ์พระนามพระราชสมภพเริ่มต้นสิ้นสุดสวรรคตตรา
สมเด็จพระเจ้าเฟลิเปที่ 5​​19 ธันวาคม ค.ศ. 16831 พฤศจิกายน ค.ศ. 1700ค.ศ. 17149 กรกฎาคม ค.ศ. 1746

พระมหากษัตริย์แห่งสเปน

แก้
พระฉายาลักษณ์พระนามพระราชสมภพเริ่มต้นสิ้นสุดสวรรคตตรา
สมเด็จพระราชาธิบดีฆวน การ์โลสที่ 1​​5 มกราคม ค.ศ. 193822 พฤศจิกายน​ ค.ศ. 197519 มิถุนายน​ ค.ศ. 2014​ยังทรงพระชนม์
สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6​​30 มกราคม ค.ศ. 196819 มิถุนายน​ ค.ศ. 2014ปัจจุบัน​ยังทรงพระชนม์


รัชทายาทแห่งเบลเยียม

แก้
พระฉายาลักษณ์พระนามรัชทายาทในความสัมพันธ์พระราชสมภพเริ่มต้นสิ้นสุดสวรรคตตรา
เจ้าชายเลออปอล​​สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 1​​​พระราชโอรส ในสมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 1​​​ และสมเด็จพระราชินีหลุยส์-มารี9 เมษายน ค.ศ. 183516 ธันวาคม ค.ศ. 184017 ธันวาคม ค.ศ. 1865​
(สืบราชสมบัติ)​
17 ธันวาคม ค.ศ. 1909
เจ้าชายเลออปอล​​สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2พระราชโอรส ในสมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 2​​​ และสมเด็จพระราชินีมารี เฮนรีทเทอ12 มิถุนายน ค.ศ. 185917 ธันวาคม ค.ศ. 186522 มกราคม ค.ศ. 1869
เจ้าชายเลออปอล​​​สมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1พระราชโอรส ในสมเด็จพระเจ้าอัลแบร์ที่ 1​​​ และสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ3 พฤศจิกายน ค.ศ. 190123 ธันวาคม ค.ศ. 190917 กุมภาพันธ์​ ค.ศ. 1934​
(สืบราชสมบัติ)
25 กันยายน ค.ศ. 1983
เจ้าชายโบดวง​​สมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 3พระราชโอรส ในสมเด็จพระเจ้าเลออปอลที่ 3​​​ และสมเด็จพระราชินีอัสตริด7 กันยายน ค.ศ. 193017 กุมภาพันธ์​ ค.ศ. 193417 กรกฎาคม​ ค.ศ. 1951​
(สืบราชสมบัติ)
31 กรกฎาคม​ ค.ศ. 1993
เจ้าชายฟีลิป​​สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2พระราชโอรส ในสมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2​​​ และสมเด็จพระราชินีเปาลา15 เมษายน ค.ศ. 19609 สิงหาคม ค.ศ. 199321 กรกฎาคม​ ค.ศ. 2013​
(สืบราชสมบัติ)
​ยังทรงพระชนม์
เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต​​สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปพระราชธิดา ในสมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิป​​​ และสมเด็จพระราชินีมาตีลด์25 ตุลาคม ค.ศ. 200121 กรกฎาคม​ ค.ศ. 2013ปัจจุบัน​ยังทรงพระชนม์

บรรดาศักดิ์ในยุคปัจจุบัน

แก้

ราชอาณาจักรเบลเยียมในยุคปัจจุบันได้นำบรรดาศักดิ์ "ดยุกแห่งบราบันต์" กลับมาใช้อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้สำหรับพระราชทานเพื่อประกอบพระอิสริยยศของรัชทายาท (ถึงแม้ว่าจังหวัดนอร์ทบราบันต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของดัชชีในอดีต จะตกอยู่ในดินแดนของเนเธอร์แลนด์ตั้งแต่ ค.ศ. 1648 เป็นต้นมา)

รัชทายาทที่เฉลิมพระอิสริยยศเป็นดยุกแห่งบราบันต์ ได้แก่

พระอิสริยยศของเจ้าหญิงเอลีซาแบ็ตในฐานะรัชทายาทนั้น เรียกว่า "เจ้าหญิงแห่งเบลเยียม" มิใช่ "เจ้าหญิงแห่งชาวเบลเยียม" ซึ่งไม่ถูกต้อง และมักใช้ผิดพลาดอันเนื่องมาจากการเทียบเคียงกับพระอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ในฐานะ "พระมหากษัตริย์แห่งชาวเบลเยียม"

เจ้าหญิงเอลีซาแบ็ต ยังมีพระอิสริยยศเป็น "ดัชเชสแห่งบราบันต์" ซึ่งจะพระราชทานเฉพาะสำหรับองค์รัชทายาท ซึ่งบรรดาศักดิ์นี้ถือว่าสูงกว่าอิสริยยศ "เจ้าหญิง/เจ้าชายแห่งเบลเยียม"

กฎหมาย

แก้

จากพระราชบัญญัติลงวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1840 มาตรา 1 ย่อหน้าที่ 2 แก้ครั้งสุดท้ายเมื่อปีค.ศ. 2001 ระบุเกี่ยวกันการพระราชทานไว้ว่า : บรรดาศักดิ์ "ดยุกหรือดัชเชสแห่งบราบันต์" จะพระราชทานให้สำหรับเจ้าชาย หรือเจ้าหญิงซึ่งเป็นพระราชโอรส/ธิดาพระองค์ใหญ่ของพระมหากษัตริย์ โดยหากพระราชโอรส/ธิดาพระองค์หาได้ไม่ ให้บรรดาศักดิ์นี้ตกลงเป็นของพระโอรสหรือพระธิดาพระองค์ใหญ่ของเจ้าชายหรือเจ้าหญิงซึ่งเป็นพระราชโอรส หรือพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของพระมหากษัตริย์ (พระราชนัดดาพระองค์ใหญ่)[1]


อ้างอิง

แก้
  1. Text in French of the 2001 amendment : « Le titre de Duc de Brabant ou de Duchesse de Brabant sera toujours porté, à l'avenir, par le Prince ou la Princesse, fils aîné ou fille aînée du Roi, et, à défaut, par le Prince ou la Princesse, fils aîné ou fille aînée du fils aîné de la fille aînée du Roi. »
🔥 Top keywords: หน้าหลักองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยดวงใจเทวพรหม (ละครโทรทัศน์)วอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024โฉมฉาย ฉัตรวิไลพิเศษ:ค้นหาอสมทพระสุนทรโวหาร (ภู่)พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวอันดับโลกเอฟไอวีบีจิรวรรณ เตชะหรูวิจิตรฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2024รัญชน์รวี เอื้อกูลวราวัตรดอกเตอร์ไคลแมกซ์ ปุจฉาพาเสียวประเทศจอร์เจียวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่นกองทัพ พีควอลเลย์บอลชายเนชันส์ลีก 2024พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมศึกยุคลวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2023วอลเลย์บอลกาบรีแยลา กีมาไรส์รายชื่อตัวละครในพระอภัยมณีวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติบราซิลพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรประเทศไทยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกัลย์กมล จิรชัยศักดิ์เดชาราชวงศ์จักรีประเทศเช็กเกียประวัติศาสตร์ไทยสุภาพบุรุษจุฑาเทพ (ละครโทรทัศน์)สุภาพบุรุษจุฑาเทพช่อง 9 เอ็มคอต เอชดีคริสเตียโน โรนัลโดพระอภัยมณีวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย